@article{ประณีตวตกุล_2013, title={การประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยควบคุมศัตรพืชโดยชีววิธื}, volume={16}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10497}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>งานวิจัยด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้ชีววิธีมีการพัฒนามายาวนาน แต่งานศึกษาเพื่อประเมินผลประโยชน์แก่สังคมของงานวิจัยลักษณะนี้ยังมีอยู่น้อย บทความนี้ประเมินผลกระทบจากการพัฒนางานวิจัยที่ผ่านมา โดยอาศัยข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามร่วมกับข้อมูลของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์ที่รวบรวมจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย การวิเคราะห์ใช้แบบจำลองโลจิท และการวิเคราะห์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ผลการศึกษาพบว่าผลประโยชน์ที่เกิดแก่สังคม ประกอบด้วย ความรู้ทางวิชาการที่เผยแพร่และถ่ายทอดสู่สาธารณะ การพัฒนาเทคโนโลยี และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากโครงการวิจัย กรณีโครงการ “การใช้ประโยชน์แตนเบียนของหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย <em>Cotesia flavipes</em> (Cameron) เพื่อควบคุมหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย" พบว่าก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 3.7ล้านบาทและกรณีโครงการ “การใช้ประโยชน์ของศัตรูธรรมชาติเพื่อการควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดฝักสด” 5 แสนบาท การลงทุนในงานวิจัยทั้งสองให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจคุ้มค่า และผลประโยชน์จะมีมูลค่าสูงขึ้นตามระดับ การยอมรับเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างโดยขยายการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรมากขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong><strong> </strong>การประเมินผลกระทบ การควบคุมโดยชีววิธี การยอมรับเทคโนโลยี</p> <p> </p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p>Biological control researches have been carried out for some time but there have been few studies to evaluate their benefit to society. The paper evaluates the impacts of biological control researches using the data from field survey and the National Biological Control Research Center. The data were collected from all regions of Thailand. A logit model and an economic surplus concept are used to base the analysis. The results show that the benefits to society comprised dissemination of knowledge to public, technological development, and economic impacts of the project. Two examples are the project ”Utilization of Cotesia flavipes (Cameron) for Augmentative Biological Control of Sugarcane Moth Borers”, which generated a net benefit of 3.7 million baht and the project “Utilization of Natural Enemies to Control Corn Stem Borer in Sweet Corn” of 0.5million baht. Both research projects are worth the investment. The economic value would increase if the level of adoption increased. Associated government agencies should encourage greater use of the research results. More training for farmers should be provided.</p> <p><strong>Keywords:</strong> impact assessment, biological control, adoption of technology</p>}, number={2}, journal={Asian Journal of Applied Economics}, author={ประณีตวตกุล สุวรรณา}, year={2013}, month={Jul.}, pages={48–64} }