https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/issue/feed วารสารศิลป์ปริทัศน์ 2024-12-27T14:45:45+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพงศ์ อินเกื้อ phattanan.kr@ssru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาจะต้องไม่เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือ ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น บทความทุกบทความที่ลงในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ (โดยผลการพิจารณาจะต้อง ผ่าน ทั้ง 3 ท่าน) (ตั้งแต่ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2565) (double blinded) โดยวารสารศิลป์ปริทัศน์ได้จัดทำวารสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) เป็นต้นไป กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับ และการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง ซึ่งวารสารศิลป์ปริทัศน์ จะนำไปเผยแพร่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มที่ 2</p> <p>คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนคณาจารย์และผู้สนใจ ร่วมส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการ "วารสารศิลป์ปริทัศน์" (Online) ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) โดยส่งบทความผ่านทางเว็บไซต์ได้ตั้งแต่บัดนี้ <strong>จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567</strong></p> <p><strong>หมายเหตุ ผู้มีความประสงค์ลงบทความในวารสาร จะต้องพิจารณาข้อมูล เงื่อนไข ขอบเขต วารสาร ที่เมนูหัวข้อ เกี่ยวกับวารสาร (About the Journal) เพื่อพิจารณารายละเอียด นโยบาย เงื่อนไข ขอบเขต ของวารสาร และทางวารสารจะถือว่าท่านได้อ่านและตกลงตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่วารสารกำหนด </strong></p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/268507 “The Capital: คุณเหลือหัวใจกี่ดวง”: การศึกษาการใช้เครื่องมือการละครประยุกต์เพื่อสื่อสารความสำคัญในการสร้างรัฐสวัสดิการภายใต้สังคมเสรีนิยมใหม่ 2023-08-17T12:08:13+07:00 รับขวัญ ธรรมบุษดี rubkwan.t@bu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษากิจกรรม “The Capital : คุณเหลือหัวใจกี่ดวง?” ที่ออกแบบจากกระบวนการผนวกแนวคิดทางสังคมศาสตร์เข้ากับกระบวนการละครประยุกต์ (Applied Drama) โดยใช้แนวคิด “ต้นทุนมนุษย์” ที่มนุษย์ในระบบเศรษฐกิจสังคมแบบเสรีนิยมใหม่ถูกบีบบังคับให้ต้องลงทุนในตัวเองเพื่อเอาชีวิตรอดในภาวะที่รัฐและทุนร่วมมือกันในการหากำไรกับชีวิตคนในทุกรูปแบบ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เครื่องมือทางการละครในการสื่อสารให้เห็นถึงผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์คนหนึ่งมีภาระต้นทุนชีวิตที่ต้องแบกในแต่ละสถานการณ์ชีวิตที่เข้มข้นขึ้นภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเสรีนิยมใหม่ ผลการวิจัยนำเสนอให้เห็นถึงกระบวนการละครประยุกต์ในการออกแบบกระบวนการโดยได้ผลลัพธ์ 6 กระบวนการได้แก่ 1) การเล่น 2) การสร้างตัวละคร 3) อุปกรณ์ประกอบการแสดง 4) การสร้างกติกา 5) การออกแบบสถานการณ์และการตัดสินใจ และ 6) การสะท้อนความคิด เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์การมีส่วนร่วมใน ‘การเล่น’ ผ่านเส้นทางชีวิตของตัวละคร กระบวนการมุ่งเน้นไปที่การเปิดพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านกระบวนการทางการละครและการถอยออกจากตัวละครเพื่อร่วมกันถกเถียงแลกเปลี่ยนถึงข้อเสนอและความเป็นไปได้ร่วมกัน งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ผลจากการนำกิจกรรมไปใช้ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลการวิจัพบว่ากระบวนทัศน์ทางการการละครสามารถสร้างจิตสำนึกทางชนชั้นและสร้างความเห็นอกเห็นใจระหว่างผู้คนผ่านการนำร่างกายเข้ามาใกล้กันผ่านสถานการณ์ที่เป็นความเจ็บปวดร่วมกันในสังคม การเผยแพร่เครื่องมือและองค์ความรู้ของกิจกรรมสู่สาธารณะสามารถทำให้เกิดการต่อยอดในเชิงปฏิบัติการได้จริง และพบว่าปฏิบัติการทางวัฒนธรรมนั้นเป็นอีกเครื่องมือสำคัญในการสร้างความตื่นรู้ต่อการสร้างรัฐสวัสดิการผ่านการมองเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำจากล่างขึ้นบน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/276192 การออกแบบอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนาจังหวัดพิจิตร 2024-10-18T13:48:56+07:00 เกษญาภรณ์ เชื้อโฮม S62126606003@ssru.ac.th ภาณุวัฒน์ กาหลิบ panuwad.ka@ssru.ac.th <p>กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนา จังหวัดพิจิตร กลุ่มแม่บ้านที่ใช้การถนอมอาหารด้วยการรมควัน<br />ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารแบบพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งคนไทยในสมัยก่อนนิยมนำปลามาย่างรมควัน การย่างรมควันจะทำให้เกิดกลิ่น และรสชาติเฉพาะตัวจากการเผาไหม้ ปลาที่ย่างรมควันจะมีสีน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นหืน ไม่เสียง่าย จากกรรมวิธีการแปรรูปที่เรียบง่าย การทำปลาย่างรมควันจึงเป็นอาหารแปรรูปที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการรวมกลุ่มกัน ซึ่งจากข้อมูลผู้วิจัยจึงได้จัดทำการออกแบบอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนาจังหวัดพิจิตร วัตถุประสงค์ คือ เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ซึ่งการออกแบบนี้จะสามารถช่วยให้มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน สวยงาม และน่าจดจำ ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยการสื่อสารและการนำเสนอ จะใช้ภาพถ่ายในการออกแบบ ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนา รูปแบบที่มีความสอดคล้อง ทั้งความหมาย และสามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม การใช้สีในการออกแบบนั้นจะสอดคล้องกันไปในงานออกแบบแต่ละชิ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ที่เป็นระบบ ซึ่งในการออกแบบในครั้งนี้ ได้มีแนวคิดที่ว่า “หอมกรุ่น ทั่วคุ้งน้ำ” โดยการออกแบบและจัดทำต้นแบบให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลทั่วไป อายุ 41–50 ปี จำนวน 100 คน ประเมินความพึงพอใจในผลงาน จากหัวข้อทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านความคิดสร้างสรรค์ 2. ด้านหน้าที่ ประโยชน์ ความสะดวกในการนำไปใช้ 3. ด้านความเหมาะสม สามารถนำไปผลิตจริงได้ และ 4. ด้านการออกแบบ ความสวยงาม พบว่ารูปแบบของผลงานมีความทันสมัย น่าสนใจ เนื้อหา รวมถึงภาพประกอบที่แสดงภาพลักษณ์ที่สวยงาม ทำให้เกิดการสื่อสารรับรู้ โดยผลประเมินความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับที่มาก ได้ผลคะแนนค่าเฉลี่ยที่ 4.40</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/276965 โครงการการออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมของผ้าไหม ในจังหวัดจังหวัดบุรีรัมย์ 2024-10-18T15:22:18+07:00 เตชิต เฉยพ่วง taechit.ch@ssru.ac.th <p>โครงการนี้เป็นโครงการการออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดเรื่องราวผ้าไหมในวัฒนธรรมร่วมกรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าไหมในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทอผ้าไหม ลวดลายทอผ้าไหม แหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ โดยเป็นกรณีศึกษาที่กลุ่มทอผ้าบ้านแดงใหญ่ และกลุ่มทอผ้าบ้านคูณซึ่งผู้วิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจและทำให้พบเอกลักษณ์สำคัญทั้งในด้านลวดลาย และเทคนิคการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่มีความเฉพาะ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มา มาวิเคราะห์ให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบทางการออกแบบแผ่นพับ ซึ่งเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความเหมาะสมต่อการเป็นสื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย จัดทำออกมาทั้งหมด 4 ฉบับ แต่ละแผ่นพับเป็นหัวข้อต่างๆ กันที่เชื่อมโยงเรื่องราวของผ้าไหมในจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเชื่อมโยงในด้านวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/271539 RESEARCH ON THE DESIGN METHOD OF CULTURAL AND CREATIVE PRODUCTS IN ZHUSHA TRADITIONAL VILLAGES BASED ON IMAGE TRANSFORMATION 2024-01-05T12:12:16+07:00 Yunling Liu s63584948022@ssru.ac.th Chanoknart Mayusoh chanoknart.ma@ssru.ac.th Pisit Puntien pisit.pu@ssru.ac.th <p>This study takes the Zhusha traditional village in Xiushui County, Jiujiang City, Jiangxi Province to discuss the application of image transformation as an important means in the design of cultural and creative products. The main purpose of this study is to comprehensively analyze the distinct characteristics and aspects of the regional culture of Xiushui Zhusha traditional village. Then, the relevant cultural elements are identified and extracted based on these distinct features. The questionnaire survey was used to investigate the needs of tourists and villagers. This will provide a theoretical basis for the innovative design of cultural and creative products containing the unique regional cultural attributes of the Xiushui Zhusha traditional village. Moreover, the design method and the design process are summarized in this process. Expert evaluation was conducted on the cultural and creative products of Zhusha traditional village with regional cultural characteristics. Establish a promotion platform to enhance the tourism image and influence of Zhusha traditional village. Ultimately, promote local economic development and increase the income of local agricultural communities.</p> <p> The research results are as follows: the cultural symbols of Zhusha traditional village have profound cultural and historical significance, are a powerful sign of community identification and inheritance; image transformation, as a general and effective design method, promotes the reinterpretation and reproduction of cultural symbols in contemporary context; design ideas and suggestions have been proposed to guide the future design of cultural creative products, emphasize the importance of protecting and promoting the cultural heritage of Zhusha traditional village, and adapt to the changing consumer preferences. This study helps to better understand the role of image transformation in the design of cultural and creative products, and to promote the preservation and revitalization of traditional village culture in the rapidly changing world.</p> <p> </p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/266637 การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ใหม่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน 2023-06-09T09:42:07+07:00 อภิชาติ ทวีวัฒน์ thavewat17@hotmail.com เพ็ญสิริ ชาตินิยม thavewat17@hotmail.com <p>บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การออกแบบอัตลักษณ์ พื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและแนวทางการปรับรูปแบบตามขนาดพื้นที่” โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่จะใช้ในพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (2) เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดสรรพื้นที่แสดงสินค้าชุมชน ที่มีลักษณะพิเศษสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ ในการวิจัยมุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์รูปแบบใหม่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์ที่มีความร่วมสมัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากอัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา</p> <p> ผลการวิเคราะห์อัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาผ่านผู้เชี่ยวชาญและปราชญ์ชุมชน สามารถแบ่งลักษณะ อัตลักษณ์ใหม่ สำหรับใช้เป็นแนวทางการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าจากอัตลักษณ์ใหม่อยุธยา ซึ่งประกอบด้วย สีอัตลักษณ์ ได้แก่ สีปูนอยุธยา สีแดงอยุธยา สีทองอยุธยา รูปทรงอัตลักษณ์ ได้แก่ รูปทรงเจดีย์ 3 องค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ลวดลายอัตลักษณ์ ได้แก่ มุมมองผังด้านบนเจดีย์ ลายสานปลาตะเพียน และวัสดุอัตลักษณ์ ได้แก่ อิฐดินเผา ไม้สัก ไม้ไผ่ ใบลาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์อัตลักษณ์อยุธยา สามารถประยุกต์ใช้การออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าที่แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ได้อย่างชัดเจนและยังสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชน รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าสามารถเชื่อมโยงอัตลักษณ์และการออกแบบ ที่สามารถกำหนดขนาดพื้นที่ที่สามารถขยายเพิ่มเติมในลักษณะพิเศษแบบ ยกขยายพื้นที่ขึ้นเป็น 2 ชั้น สร้างความโดดเด่น สวยงาม และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อย่างเหมาะสม</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/277527 ศิลปะบาติกและมัดย้อมผ้ารีไซเคิล จากสีธรรมชาติเปลือกแสมทะเล ความงามแห่งความยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านทอนลิบง เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 2024-11-19T11:10:57+07:00 สิรัชชา สำลีทอง siracha.sa@ssru.ac.th เตือนตา พรมุตตาวงค์ tuenta.po@ssru.ac.th ณัฐพล พิชัยรัตน์ Nat_pichairat@hotmail.com ธนพรรณ บุณยรัตกลิน thanaphan.b@siu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและพัฒนาการย้อมผ้าด้วยสีย้อมธรรมชาติ จากเปลือกต้นแสมทะเลโดยใช้ผ้ารีไซเคิล เพื่อทดลองสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกและผ้ามัดย้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยดำเนินการในชุมชนบ้านทอนลิบง เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยใช้แนวคิดความยั่งยืนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ การสังเกต สอบถาม และการสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในด้านการใช้ผลิตภัณฑ์จากผ้ารีไซเคิลและย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 50 คน เพื่อวิเคราะห์ผลความเป็นได้ด้าน ประเภทผลิตภัณฑ์ ความนิยมผลิตภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล ชุมชนรวบรวมวัสดุผ้ารีไซเคิลจากเศษผ้าม่านและผ้าจากโรงแรมในพื้นที่ นำไปแปรรูปเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผืนผ้า</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า จากการได้ทดลองย้อมผ้ารีไซเคิลด้วยสีสกัดจากเปลือกแสมทะเล ในกระบวนการแบบดั้งเดิมที่ลดการใช้สารเคมี ได้สีน้ำตาลอมส้มและน้ำตาลอมแดง ผ่านเทคนิคมัดย้อมและบาติก ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจของผู้บริโภคและขายได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เสื้อยืด กางเกงเลย์ กระเป๋าผ้า ผ้าคลุมไหล่ ตามลำดับ และคิดเป็น 75% สนใจผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล 58 % ยินดีจ่ายราคาสูงขึ้นหากผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุรีไซเคิลและมีความยั่งยืน การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนในการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สามารถนำไปปรับใช้ในชุมชนอื่นที่มีทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/273184 การศึกษาเรื่องบุคลิกภาพของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือย ที่เหมาะสมกับแนวคิดจักรราศีตะวันตก 2024-04-09T17:48:14+07:00 สเตเฟนนี่ ไพลิน ทีล zigaroxuz@gmail.com ปวินท์ บุนนาค zigaroxuz@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุบุคลิกภาพของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยที่เหมาะสมกับแนวคิดจักรราศีตะวันตกโดยใช้<br />การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในเรื่องประเภทและบุคลิกภาพของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยและ<br />บุคลิกภาพของแต่ละราศีตามแนวคิดของจักรราศีตะวันตกเพื่อนำไปสร้างเครื่องมือทางการวิเคราะห์ผลเพื่อหาความเชื่อมโยงกับผู้<br />เชี่ยวชาญด้านแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ตะวันตก เพื่อพิจารณา<br />และตรวจสอบความถูกต้องโดยจากความสำคัญของแนวคิดจักรราศีตะวันตกที่บ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายรวมถึงในงานออกแบบที่ต้องพึ่งพาความเชื่อในการขับเคลื่อนองค์กร สอดคล้องกับการ<br />เติบโตของธุรกิจกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีความต้องการสูงขึ้น อีกทั้งยังต้องการความหลากหลายในการสื่อสารที่มากขึ้น<br />ตามความต้องการของผู้บริโภคและคู่แข่งในตลาดที่มากขึ้น ภาพลักษณ์องค์กรจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสําคัญสู่ความสําเร็จขององค์กร<br />โดยจากผลการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผล พบว่าแต่ละราศีจากแนวคิดจักรราศีตะวันตก มีความสอดคล้องกับแนวคิด<br />บุคลิกภาพแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยมากกว่าสองบุคลิกภาพขึ้นไป โดยมีราศีที่มีบุคลิกภาพความหรูหราเป็นบุคลิกภาพ<br />หลักที่ตรงกับบุคลิกภาพของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือย และราศีที่มีบุคลิกที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือย โดยบุคลิกภาพของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยที่เหมาะสมกับแนวคิดจักรราศีตะวันตก จะสามารถนำไปพัฒนาเพื่อศึกษาการออกแบบ<br />อัตลักษณ์ของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อการสื่อสารภาพลักษณ์ที่แตกต่าง สร้างความสําเร็จในการแข่งขันทางธุรกิจต่อไป</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/274065 การใช้กกพื้นถิ่นเพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มรูปแบบทักษะการผลิตในชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก 2024-09-25T11:41:00+07:00 อาณัฏ ศิริพิชญ์ตระกูล arnut.si@rmutp.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการนำวัสดุจากต้นกกในพื้นที่ ตำบลโคกปรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ มาทำการศึกษาภูมิหลังและทำการออกแบบผลิตภัณฑ์จากต้นกกในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การศึกษาการใช้กกพื้นถิ่นในพื้นที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์จากกกในพื้นถิ่น และการทดสอบความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์จากกกพื้นถิ่นในพื้นที่ ซึ่งในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จากการลงพื้นที่และการออกแบบตามกระบวนการวิจัย ได้ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า การใช้กกในพื้นที่ ตำบลโคกปรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ชุมชนมีทักษะการนำต้นกกมาทำการแปรรูปด้วยการตากแห้ง ย้อม และทอเป็นผืน โดยสามารถสร้างลวดลายรูปแบบต่างๆได้อย่างดี ในการวิเคราะห์ด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ผู้วิจัยได้นำกกทอสีธรรมชาติมาใช้ในการพัฒนาเนื่องจากเป็นการลดต้นทุนและสร้างมูลค่าให้กับกกทอสีธรรมชาติ โดยใช้แนวคิดในการออกแบบร่วมกับวัสดุอื่นซึ่งงานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบร่วมกับไม้ยางที่มีราคาไม่สูงในชุมชนมีกลุ่มที่สามารถทำงานไม้ได้ และออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทที่นั่งสตูล รูปแบบต่างๆ 4 รูปแบบ โดยเน้นให้เกิดรูปร่าง รูปทรง ที่ได้จากรูปทรงธรรมชาติ รูปทรงเรขาคณิต และรูปทรงอิสระเพื่อสร้างรูปแบบที่แปลกตาและสร้างความน่าสนใจ และผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นการทดสอบความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์จากกกพื้นถิ่น 3 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านหน้าที่ใช้สอยและการใช้งาน 2.ด้านความสวยงาม 3.ด้านความเหมาะสมของวัสดุ โดยทดสอบทั้ง 4 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง 50 คน ซึ่งได้ระดับความพึ่งพอใจดังนี้ รูปแบบที่ 1 ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.36 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก รูปแบบที่ 2 ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.19 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก รูปแบบที่ 3 ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.19 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก รูปแบบที่ 4 ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.04 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้คือ ผลทดสอบความพึงพอใจอยู่ในระดับเหมาะสมมาก</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267219 แนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล ตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา 2023-05-16T09:58:13+07:00 ชนะภพ วัณณโอฬาร chanaphop.va@ssru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล ตำหนักพระ<br />วิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้แนวคิดในการจัดพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์ และแนวคิดการประเมินคุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรม และการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ ประกอบกับการศึกษาพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทานภดล หรือตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์ มีการจัดแสดงเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ 2 ท่าน คือ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ซึ่งจากการประเมินคุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรม พบว่าพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล มีทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีความสำคัญ 4 ด้าน คือ ความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ ความสำคัญเชิงสุนทรียศาสตร์ ความสำคัญเชิงวิชาการ และความสำคัญเชิงสังคม และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ และการศึกษาพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ สามารถเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดลได้ 2 ส่วน คือ การจัดแสดงภายนอกพิพิธภัณฑ์ โดยการคืนสภาพเดิมให้เหมือนกับในอดีตตามข้อมูลประวัติศาสตร์ และการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ในลักษณะการจำลองห้องที่ประทับในอดีต เสมือนเจ้านายยังคงมีพระชนม์ชีพ ตามหลักการจัดพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/275149 การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างสรรค์ศิลปะการปั้นปูนสด กรณีศึกษางานปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี 2024-10-18T14:59:02+07:00 นภดล สังวาลเพ็ชร noppadon.sa@ssru.ac.th ธีรศักดิ์ ลิ้มทัตธนกุล teerasak.lim@rmutr.ac.th ศุภวรรณ สัญญาลักษณ์ฤาชัย suppawan.sa@ssru.ac.th <p>การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างสรรค์ศิลปะการปั้นปูนสด กรณีศึกษางานปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ และลวดลายในงานปั้นปูนสด เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติ และการสร้างสรรค์ โดยมีการศึกษาข้อมูลด้วยการลงพื้นที่สำรวจ และสัมภาษณ์เชิงลึกช่างปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรีจำนวน 5 ท่าน นำข้อมูลมาสังเคราะห์เป็นข้อสรุป พบว่า อุปกรณ์สร้างสรรค์งานปูนปั้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นโดยคำนึงถึง วัสดุและกระบวนการในการสร้างสรรค์งานปั้นปูนสดเป็นหลัก คือ วัสดุมีเนื้อละเอียด สามารถผสมน้ำเพื่อให้มีความเหลวมากยิ่งขึ้นเพื่อง่ายต่อการสร้างสรรค์ จึงเหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะกดพิมพ์ ด้านกระบวนการเป็นการขึ้นรูปด้วยการปั้นสด ต้องทำทีละส่วนและนำมาประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ ที่ออกแบบไว้ จึงออกแบบด้วยการสร้างแม่ลาย ที่สามารถนำมาประกอบหรือสร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตผลงานศิลปหัตถกรรมงานปูนปั้น เพื่อให้ง่ายต่อการผลิต และสามารถสร้างความเป็นมาตรฐานให้กับชิ้นงานเพียง 2 ขั้นตอน คือ กดเนื้อปูนประกอบเป็นรูปทรง และนำไปตากให้แห้ง นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างสรรค์งานปั้นปูนสดยังสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนถึงกระบวนการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาให้กับเยาวชนหรือผู้ที่สนใจ ตลอดจนสามารถนำมาเป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะได้ตามจินตนาการ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้พัฒนาศิลปหัตถกรรมประจำชาติ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้อีกทางหนึ่งด้วย</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/270227 การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากฐานความเชื่อและความกลัว 2023-12-21T12:14:54+07:00 สุริวัลย์ สุธรรม suriwan.su@bsru.ac.th <p> การวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากฐานความเชื่อและความกลัว” การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัญลักษณ์ของมายาคติแห่งความเชื่อและความกลัว การตีความบริบทแวดล้อมตามทัศนะ และ2) เพื่อนำเสนอมุมมอง วิธีคิด และการสื่อความหมายผ่านผลงานทัศนศิลป์ในรูปแบบศิลปะสัญลักษณ์นิยม (Symbolism in art) และเผยแพร่ผลงานศิลปะร่วมสมัยสู่สาธารณะ กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) พิจารณาจากกลุ่มประชากรที่ได้รับสิ่งกระตุ้นเร้าความเชื่อและความกลัว โดยกำหนดช่วงอายุ 18 ปี - 70 ปีขึ้นไป เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 131 คน ตัวแทน 4 จังหวัด 1) จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) จังหวัดสมุทรปราการ 3) จังหวัดนนทบุรี และ 4) จังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview) ที่ผ่านการตรวจคุณภาพ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านและผ่านการขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานคิดที่ช่วยค้นหาประเด็นทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและความกลัว รวมไปถึงการตีความบริบทแวดล้อมตามทัศนะของผู้วิจัย</p> <p style="font-weight: 400;"> ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาทฤษฎีสัญศาสตร์ (Semiotics) ศิลปะสัญลักษณ์นิยม (Symbolism in art) ที่มีความสอดคล้องกับภาษาภาพ สนับสนุนและเผยให้เห็นทัศนะที่นำไปสู่การรับรู้ เป็นผลมาจาก “สื่อ” (Mass Media) ตัวกลางสำคัญ เชื่อมโยงและชักจูงผู้คนในสังคมและมีส่วนในการบ่มเพาะ “ความเชื่อ” เป็นพื้นฐานความคิดการแสดงออก “ความกลัว” ในยุคดิจิทัลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ มายาคติ (Mythologies) ที่มีรูปลักษณ์ของความงาม ผันแปรไปตามยุคสมัย เรื่องราวเนื้อหาถูกแสดงผ่านรูปแบบงานจิตรกรรม ตามแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยอย่างมีนัยยะสำคัญ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267205 ความงามของสีในบรรยากาศธรรมชาติ 2023-06-09T09:43:56+07:00 ณัฏฐา พงษ์สุวรรณ natta.pon@swbvc.ac.th <p>การสร้างสรรค์ผลงานชุด “ความงามของสีในบรรยากาศธรรมชาติ” จำนวน 4 ชิ้น ด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีอะคริลิค ในรูปแบบศิลปะกึ่งนามธรรม โดยการกำหนดค่าเปอร์เซ็นต์สีโทนร้อน สีโทนเย็น ในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยวิธีการระบายสี การแต้มสี ถูขยี้สี การป้ายสีโปร่งแสงซ้อนทับกันด้วยทีแปรงแบบสั้นๆ เกิดเป็นความเคลื่อนไหวของบรรยากาศตามสีที่กำหนด และสีสันบรรยากาศแต่ละช่วงเวลาตามความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ จากความประทับใจในความงามของสีบรรยากาศธรรมชาติ ที่ผู้สร้างสรรค์ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยว สะท้อนความรู้สึกแห่งความผ่อนคลาย ปิติ และความสุขใจ สอดคล้องกับทฤษฎีลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ ทฤษฎีสี แสง และทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ด้านความงาม ที่แสดงออกถึงความประทับใจของสีบรรยากาศธรรมชาติแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ร่วมกับการศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาสีกับความรู้สึก ในการนำโทนสีสื่อความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ผ่านผลงานศิลปะ เพื่อปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกจากความเครียดภายในจิตใจ สอดคล้องกับทฤษฎีสุขนิยม เป็นความสุขความพึงพอใจที่เกิดจากการสัมผัสธรรมชาติ กระตุ้นให้ทุกคนเห็นคุณค่าความงดงามของธรรมชาติจากการท่องเที่ยว เป็นการใช้ชีวิตเรียบง่ายสบายใจท่ามกลางธรรมชาติ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/274417 การวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์ และการใช้วัสดุเพื่อการเรียนการสอนในสาขาวิชาจิตรกรรม กรณีศึกษา ผลงานศาสตราจารย์เกียรติคุณวิโชค มุกดามณี 2024-10-18T14:31:32+07:00 จารุวรรณ เมืองขวา jaruwan.mu@ssru.ac.th <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม เรียบเรียง และศึกษาผลงานสร้างสรรค์ของศาสตราจารย์เกียรติคุณวิโชค มุกดามณี เพื่อนำไปสู่การศึกษาเทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ และเพื่อวิเคราะห์หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์จากผลงานสร้างสรรค์ ผ่านการตีความ โดยมีแนวคิดด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์รวมถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นส่วนสำคัญในเชื่อมโยงสุนทรียภาพกับเนื้อหาสาระของผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความหมาย ด้วยวิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p> ผลจากการวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พบว่า 1). ที่มา แนวความคิด และเนื้อหาที่มาจากเรื่องราวใกล้ตัวได้แก่เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ครอบครัว ชุมชน โดยเนื้อหาที่สำคัญที่สุดตลอดการสร้างสรรค์ผลงาน คือสภาพของสิ่งแวดล้อมที่ถูกเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาแทรกทำให้ชีวิต และความเป็นอยู่ของมนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2). กระบวนการสร้างสรรค์ 2.1). ด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุในผลงาน 3 ชิ้น คือ 1). งอกงาม (Growth) ปี พ.ศ.2546 2). สัญญาสิ่งแวดล้อม (Signal in Environment) ปี พ.ศ.2559 3). พักผ่อน (Rest) ปี พ.ศ.2561 จะประกอบไปด้วยรูปร่าง รูปทรงที่มีการดัดแปลงหรือลดทอนให้เข้าสู่สภาวะทางนามธรรม รวมถึงวัสดุสำเร็จรูป และวัสดุเก็บตก ต่างมีการนำมาถอดประกอบให้เหลือเพียงทัศนธาตุสำคัญ 2.2). ด้านเนื้อหา เมื่อวิเคราะห์ผลงานทั้งหมดแล้วศิลปินนำเสนอเรื่องราวที่เรียบง่ายที่แสดงให้เห็นถึงสัจจะของชีวิต และสัจจะของวัสดุที่นำมาใช้สร้างสรรค์ โดยเนื้อหาจะมีการใช้ทัศนธาตุพื้นฐานที่ศิลปินสร้างขึ้นรวมถึงทัศนธาตุที่เกิดมาพร้อมกับวัสดุเก็บตก และวัสดุสำเร็จรูปที่นำมาสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการนำเสนอความอุดมสมบูรณ์ และความสวยงามที่เป็นสัจจะธรรมทางธรรมชาติอย่างแท้จริง 2.3). ด้านรูปแบบ ได้สร้างสรรค์ไว้ทุกประเภท ทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อผสม และผลงานศิลปะจัดวาง 3). การวิเคราะห์ และสรุปประมวลผลการศึกษา สรุปได้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานมีความเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่ผลงานในชุดแรก ๆ โดยศิลปินได้ทำการศึกษาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ทั้งหมดต่างมีจุดร่วมทางทัศนธาตุ รวมถึงการนำวัสดุทางธรรมชาติมาผสมผสานกับวัสดุเก็บตก และวัสดุสำเร็จรูป ซึ่งความเป็นเอกภาพนี้ช่วยสร้างให้ผลงานเป็นที่น่าจดจำ และเรื่องราวที่นำเสนอได้เปลี่ยนแปลงมาตลอดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และแรงบันดาลใจที่เข้ามากระทบในแต่ละช่วงเวลา</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267403 สัญลักษณ์แห่งพุทธศรัทธา 2023-07-24T13:58:39+07:00 ศิริศิลป์ พรมกิ่งศิริพันธ์ sirisin1234za@gmail.com <p> การสร้างสรรค์ผลงานชุด “สัญลักษณ์แห่งพุทธศรัทธา” จากการศึกษาเทคนิคการปั้นปูนสดแบบไทยโบราณนั้นพบว่า เนื้อปูนมีลักษณะเฉพาะตั้งแต่วัสดุ ส่วนผสมปูนปั้นล้วนเป็นวัสดุที่ถูกคัดสรรเพื่อแสดงความเคารพ ความเชื่อ ความศรัทธา ที่ช่างปูนปั้นมักสร้างสัญลักษณ์ แทนคำสอนทางพุทธศาสนา ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้นำเทคนิคการผสมปูนสดแบบโบราณมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยการพัฒนาเทคนิค พบว่าการผสมมวลสารมงคลที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ชานหมาก น้ำมนต์ ข้าวก้นบาตร แผ่นทองคำเปลว ทำให้เนื้อปูนมีความพิเศษไม่เคยปรากฏการผสมวัสดุแบบนี้มาก่อน เป็นการนำเสนอแนวทางการผสมปูนปั้นให้เกิดเป็นผิวปูนที่มีสี และพื้นผิวที่แปลกตา จากการศึกษาทฤษฎีการปั้นปูนสดไทยโบราณ ร่วมกับศึกษาทฤษฎีสัญลักษณ์นิยมพบว่า การสร้างสัญลักษณ์ทางความเชื่อนั้น จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการรับรู้ การปลูกฝังทางความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นวัฒนธรรมทางความเชื่อ อันสามารถแสดงถึงคุณค่าของงานประติมากรรมปั้นปูนสดไทยแบบโบราณในลักษณะศิลปะร่วมสมัย</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/255934 THE ORIGIN AND DEVELOPMENT OF CHINESE NATIONAL VOCAL MUSIC FOR TEACHING IN THE MODERN CHINA 2022-03-10T13:30:40+07:00 Xie Cheng xie_cheng.bkk@hotmail.com Sakchai Hirunruk xie_cheng.bkk@hotmail.com <p>Research purposes are: 1. To know the origin of Chinese national vocal music. 2. To understand the Chinese national vocal music concept. 3. To know the development of Chinese national vocal contemporary music teaching in China. 4. To know the prospect of Chinese national vocal music teaching.</p> <p>Research methodology is a documentary studies and surveying research mixed method. Research tool is an interviewing form to interview two key informants, generated data and analyzing by descriptive analysis.</p> <p>Research results were: 1. the origin of Chinese national vocal music was the daily fife singing of Chinese and ethnic people and transmitted by oral tradition as well as influenced of western vocal music. 2. Concept of Chinese singing art is a comprehensive singing with national language rhyme, and emotional charming with sound and word. 3. The Chinese national vocal music teaching began in 1919; while western bel-canto was gradually introduced into China, later the "National Singing Class" was established in Shenyang Conservatory of Music, then become a stage of mutual integration in educational system of modern national vocal music. 4. The Chinese national vocal music teaching was constantly progress along with global acculturation; it is an inevitable combined with the current cultural trend.</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์