วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ <p>วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาจะต้องไม่เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือ ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น บทความทุกบทความที่ลงในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ (โดยผลการพิจารณาจะต้อง ผ่าน ทั้ง 3 ท่าน) (ตั้งแต่ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2565) (double blinded) โดยวารสารศิลป์ปริทัศน์ได้จัดทำวารสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) เป็นต้นไป กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับ และการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง ซึ่งวารสารศิลป์ปริทัศน์ จะนำไปเผยแพร่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มที่ 2</p> <p>คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนคณาจารย์และผู้สนใจ ร่วมส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการ "วารสารศิลป์ปริทัศน์" (Online) ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) โดยส่งบทความผ่านทางเว็บไซต์ได้ตั้งแต่บัดนี้ <strong>จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567</strong></p> <p><strong>หมายเหตุ ผู้มีความประสงค์ลงบทความในวารสาร จะต้องพิจารณาข้อมูล เงื่อนไข ขอบเขต วารสาร ที่เมนูหัวข้อ เกี่ยวกับวารสาร (About the Journal) เพื่อพิจารณารายละเอียด นโยบาย เงื่อนไข ขอบเขต ของวารสาร และทางวารสารจะถือว่าท่านได้อ่านและตกลงตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่วารสารกำหนด </strong></p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์</p> phattanan.kr@ssru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพงศ์ อินเกื้อ) Phattanan.kr@ssru.ac.th (นางสาวพัทธนันท์ กฤษณะกาฬ) Thu, 11 Apr 2024 12:34:35 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 HAUGUI WOOD CARVING SCULPTURE TO CREATIVE PRODUCTS DESIGN FOR PROMOTING TOURISM https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/266408 <p>The purpose of this study were to make the declining wood carving art of HuaGui in Hainan known to the public through innovative performance, and promoted the development of this cultural industry and the progress of tourism economy. This Study instrument used questionnaires, interview forms and field studies, conclusions through interviews, questionnaires and field surveys. According to the investigation, Hainan was a city with tourism as the main economic output, and tourism products were important economic products. Through the summary of HuaGui art inheritors on the characteristics of HuaGui wood carving art, field research and investigation. Combined with the demand of consumers, tourists and shops for tourism products, the innovative design of HuaGui wood carving art tourism products was carried out. The results were modified after feedback from design experts and tourists. Finally passed the evaluation of design experts and tourists. A variety of HuaGui art innovative tourism products with diverse materials were determined to be put on the market.</p> Yiqi Zhang, Chanoknart Mayusoh , Pisit Puntien Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/266408 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมแนวคิดการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายสตรีปาร์ตี้แวร์สําหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นเอเชีย จากทุนวัฒนธรรมผ้าเขียนเทียนชาติพันธุ์ม้ง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267215 <p>ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอเชีย ที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี มีจำนวนที่มากขึ้น โดยเป็นกลุ่มคนทำงานหรือศึกษาในสายงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานศิลปะ มีรายได้ปานกลาง เป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวิถีชีวิตเติบโตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยี โดยยังคงยึดถือคุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นถิ่น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์หาแนวคิดการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายสตรีปาร์ตี้แวร์สําหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นเอเชีย จากทุนวัฒนธรรมผ้าเขียนเทียนชาติพันธุ์ม้ง ด้วยเครื่องมือแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นเอเชีย จำนวน 50 คน (2) วิเคราะห์ลวดลายจากทุนวัฒนธรรมผ้าเขียนเทียนชาติพันธุ์ม้งสู่แนวทางการออกแบบสินค้าปาร์ตี้แวร์สำหรับกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นเอเชีย ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นเอเชียสนใจรูปแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์ในระดับมากที่สุด (X = 4.12) และ สนใจแนวคิดการออกแบบด้วยเรขาคณิตในระดับมากที่สุด (X = 4.27) (2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสร้างสรรค์แฟชั่นและสิ่งทอด้านการพัฒนาลวดลายใหม่พบว่า ลายที่ 1 ลวดลาย Dormice ในระดับมากที่สุด (X = 4.20) ลายที่ 2 ลวดลาย Reduce square ในระดับมาก (X = 3.80) และลายที่ 3 ลวดลาย Calypso ในระดับมาก (X = 3.60)</p> ณัฏฐ์กฤตา บัวคล้ายรัตนชัย, อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267215 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแฟชั่น และผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์เพื่อการท่องเที่ยว จากนวัตกรรม สีดิน ณ อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ภายใต้แนวคิดการข้ามวัฒนธรรมร่วมสมัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267418 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแฟชั่น และผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์เพื่อการท่องเที่ยว จากนวัตกรรม สีดิน ณ อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ภายใต้แนวคิดการข้ามวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม, แบบสอบถามที่ใช้วัดข้อมูลเบื้องต้น. บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ, แบบสัมภาษณ์, สถิติ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย โดยพบว่าจังหวัดสตูลซึ่งมีอุทยานธรณีโลกซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานธรณีโลกโดยยูเนสโก และเป็นแห่งที่ 5 ของเอเชียตะวันออก ว่าเป็นหินเก่าสมัย 500 ล้านปีใต้ท้องทะเลที่ได้เคลื่อนตัวขึ้นมาเนื่องจากการเคลื่อนของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่สวยงาม ดังนั้นจึงจัดได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสตูล ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายหลักของอุทยานธรณีโลกสตูลจึงเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและที่ตั้งใจเดินทางมาที่จังหวัดสตูลทั้งหมดเนื่องจากจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่ไม่ใช่สถานท่องเที่ยวที่เป็นทางผ่านนับได้ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีไลฟ์สไตล์ชอบการท่องเที่ยวและการผจญภัย และเป็นผู้มีฐานะในระดับหนึ่งและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ดังนั้นสินค้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดสตูลได้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยการใช้นวัตกรรมสกัดสีจากดินมาผ่านเทคนิคการทำผ้าบาติกซึ่งเป็นเทคนิคที่จังหวัดสตูลใช้เป็นหลักในการผลิตภัณฑ์กลุ่มผ้าและเครื่องแต่งกาย ร่วมกับการออกแบบโดยใช้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโมร็อกโก เพราะจังหวัดสตูลมีเอกลักษณ์ในด้านมีผู้ถือศาสนาพุทธและอิสลามมากพอๆกัน จึงทำให้พบเห็นสถาปัตยกรรมสไตล์โมร็อกโกได้มากใจจังหวัด</p> รพีภัทร สำเร, พัดชา อุทิศวรรณกุล Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267418 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเส้นใยในนาเกลือหวาน จังหวัดปัตตานี ด้วยแนวคิดความยั่งยืน สำหรับกลุ่มเป้าหมายรีดักชั่นนิส ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/272403 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) หาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอจากนาเกลือหวาน จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อหาแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์รูปแบบเครื่องแต่งกายสตรี สำหรับกลุ่มเป้าหมายรีดักชั่นนิส (Reductionists) ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการพัฒนาเส้นใยในนาเกลือหวาน จังหวัดปัตตานี ใช้ในรูปแบบวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ด้วยแนวคิดความยั่งยืนที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG การพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอจากนาเกลือหวาน จังหวัดปัตตานี ซึ่งเปนทรัพยากรทางการเกรษตรที่เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ โดยปัจจุบันการทำนาเกลือลดจำนวนลงเรื่อย ๆ เนื่องจากมีผลกระทบในด้านของพื้นที่ และเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่ยังยืน ชาวบ้านที่ทำนาเกลือจึงมีรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพของคนในครอบครัว ผู้วิจัยจึงค้นคว้าการพัฒนานวัตกรรมเส้นใยในนาเกลือ จังหวัดปัตตานี ที่สามารถนํามาพัฒนาได้หลายรูปแบบให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งทอและเป็นที่รองรับการเปดการคาที่มีแนวโนมเติบโตมากขึ้นในตลาดระดับสากล เพื่อขยายตลาดและขยายการหารายได้ให้กับคนในชุมชน โดยกระบวนการย้อมสีธรรมชาติซึ่งเป็นกระบวนการที่ชาวบ้านในพื้นที่มีความรู้ความสามารถในด้านภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา การวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1) ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ คือ ศึกษาทรัพยากรทางภูมิศาสตร์ในนาเกลือ จังหวัดปัตตานี และศึกษาการสกัดสีเพื่อย้อมสีจากทรัพยากรธรรมชาติในนาเกลือ จังหวัดปัตตานี ขั้นตอนที่ 2) ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ คือ ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทรัพยากรในนาเกลือ และทำการทดลองสกัดสีจากพืชสเป๊ะ (ผักเบี้ย) และโคลนบริเวณนาเกลือ จังหวัดปัตตานี เพื่อทดลองย้อมสีและวิเคราะห์หาข้อสรุป จึงพบว่า เมื่อสกัดสีจากทรัพยากรในนาเกลือหวาน จังหวัดปัตตานี จะให้สีที่มีความอ่อนละมุน และค่อนไปทางตุ่นและอ่อนมาก เนื่องจากแร่ธาตุในดินมีความเจือจางกว่านาเกลือในจังหวัดอื่นๆ ซึ่งพืชที่พบมากในบริเวณนาเกลือ คือ พืชสเป๊ะ (ผักเบี้ย) เมื่อสกัดสีมาแล้ว มีค่า PH อยู่ที่ 4.5 จะให้สีเหลืองอ่อนอมครีม เมื่อย้อมแล้วเส้นใยมีจะมีความนุ่มและไม่มีกลิ่น ต่อมาคือ โคลนในนาเกลือหวาน จังหวัดปัตตานี เมื่อนำมาสกัดแล้ว มีค่า PH อยู่ที่ 6.5 จะได้สีเหลืองตุ่นอมส้ม เมื่อย้อมแล้วเส้นใยมีจะมีความแข็งกระด่าง ซึ่งน้ำเกลือหวานจะอยู่ในขั้นตอนของการหมักเพื่อเตรียมเส้นใยการก่อนย้อมในสีธรรมชาติที่เตรียมไว้ และหมักน้ำเกลืออีกครั้งหลังจากนำไปแช่ในสารช่วยย้อม (Mordant) ส่งผลให้สีมีความอิ่มตัวที่ต่างกัน (Saturation) และระดับของสีทีต่างกัน (Palate Colors)</p> <p> </p> <p> ดังนั้นการพัฒนาเส้นใยในนาเกลือ จังหวัดปัตตานี ยังช่วยส่งเสริมและการต่อยอดทรัพยากรอันเป็นอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คนในชุมชนมีรายได้ และเห็นคุณค่าในการพัฒนาเพื่อนำมาเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ให้เกิดความน่าสนใจ ในกระแสนิยมของความยั่งยืน โดยสิ่งทอที่ได้จากการพัฒนาในครั้งนี้อีด้วย ยังเป็นการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย</p> ฮายานี มะลี, พัดชา อุทิศวรรณกุล Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/272403 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาอัตลักษณ์และออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/272437 <p>การพัฒนาอัตลักษณ์และออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากจักสานผักตบชวา 2)เพื่อออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผักตบชวา 3)เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผักตบชวา วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการออกแบบโดยรวบรวมเก็บข้อมูลอัตลักษณ์จากจักสานผักตบชวาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองนกกระทุง จำนวน 5 ท่าน และประเมินความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา สรุปผการประเมินรูปแบบวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 50 คน รูปแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นต้นแบบวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา คือ รูปแบบที่ 1 มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.71) ลำดับที่ 2 คือ รูปแบบที่ 2 มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.59) ลำดับที่ 3 คือ รูปแบบที่ 3 มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.26) ภาพรวม ทั้ง 3 รูปแบบ มีระดับความหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52)</p> <p>แนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานรับแรงบันดาลใจในการออกแบบรูปทรงมาจากรูปทรงธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการจักสาน ลวดลาย<a href="https://www.google.com/search?hl=th&amp;gbv=1&amp;q=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99+%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%97%E0%B9%8C&amp;spell=1&amp;sa=X&amp;ved=2ahUKEwit6ICUreL0AhUmxzgGHeDaApEQvwV6BAgLEAE">โมเดิร์นลอฟท์</a>มีความสอดคล้องรับกับรูปทรงผลิตภัณฑ์แสดงถึงการค้นพบลวดลายที่มีเทคนิคปรับการสานให้เป็นไปตามรูปทรงผลิตภัณฑ์จึงเกิดการแข็งแรง ทนทาน ซึ่งสะท้อนถึงฝีมือช่างสานของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวา บ้านคลองนกกระทุง ลวดลายที่เกิดขึ้นจึงเป็นลาดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ลักษณะการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เน้นในด้านความงามของรูปทรงเป็นหลักและมีประโยชน์ใช้สอย จึงสามารถเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ตกแต่งบ้านและเป็นเก้าอี้นั่งพักผ่อนที่มีความแปลกใหม่ โดดเด่น สามารถสร้างแนวทางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ จึงเกิดกระบวนการคิด แก้ไขปัญหา การสร้างสรรค์สร้างเกิดคุณค่าความงามของรูปทรงและองค์ความรู้ใหม่</p> ยุวดี พรธาราพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/272437 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ : ผู้ทรงนำการแต่งกายของไทยสู่แฟชั่นระดับโลก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/272726 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉลองพระองค์ชุดไทยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่เก้า ผู้ทรงนำการแต่งกายของไทยสู่แฟชั่นระดับโลก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าเมื่อคราเตรียมการเสด็จเยือนสหรัฐ และ 14 ประเทศในยุโรป ทรงโปรดเกล้าให้ผู้เชี่ยวชาญ และดีไซเนอร์ไทย ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีไทย ฉลองพระองค์ 8 องค์ต้นแบบ ได้กลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติไทยในเวลาต่อมา เรียก “ชุดไทยพระราชนิยม” และจากพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดเกล้าให้ ปิแอร์ บัลแมง นักออกแบบชาวฝรั่งเศส นำผ้าไหมไทยมาตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ชุดไทยพระราชนิยม และแบบสากลที่ทันยุคทันสมัยตามกระแสแฟชั่นนิยม เพื่อเผยแพร่ผ้าไหมไทย ภูมิปัญญาไทย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ทำให้ขจรขจายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นับว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงนำการแต่งกายของไทยสู่แฟชั่นระดับโลกอย่างแท้จริง</p> จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/272726 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 MULTI-SENSORY INTEGRATION IN BRAND DESIGN: A COMPREHENSIVE APPROACH TO CONSUMER EXPERIENCE https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/268695 <p>This research delves into the profound impact of multi-sensory integration on consumer experience within the domain of brand design, with a particular focus on the subject of artificial intelligence (AI) in brands. The study is rooted in the recognition that perception is a complex process that amalgamates information from various sensory channels, fostering a comprehensive understanding of our environment. Central to this exploration is the concept of 'Multi-Sensory Integrated Design,' an innovative approach that actively engages all human senses - sight, hearing, taste, smell, and touch - to craft a holistic sensory experience for consumers. The research investigates how the integration of multiple senses can effectively stimulate and guide consumer behavior, thereby elevating the overall brand experience. It emphasizes the evolving landscape of brand design in an era marked by rapid technological advancements and the omnipresence of the Internet. In this context, brands are transitioning from a product-service orientation to an emphasis on product-experience. The study employs a qualitative approach, gathering data from diverse sources, including academic articles, industry reports, and case studies of brands that have successfully implemented multi-sensory integration in their design. The findings underscore the paramount importance of multi-sensory integration in brand design, showcasing how the seamless blending of various senses not only enriches the consumer's experience but also fosters a deeper emotional connection between the consumer and the brand. The research also delves into the potential of emerging technologies such as augmented reality (AR) and virtual reality (VR) in enhancing multi-sensory brand experiences, particularly in the context of AI-powered applications. The research concludes with forward-looking suggestions for future studies and the application of the multi-sensory integration design concept to brand design, aligning with the ongoing trends in technological advancements. This research provides valuable insights for both practitioners and scholars, offering a roadmap for more effective and impactful brand design strategies in the future, with a special emphasis on the transformative role of AI in brands.</p> Heng Chen Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/268695 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้ทัศนศิลปศึกษากับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/269621 <p>ในการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลปศึกษากับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ถือเป็นสาระสำคัญสูงสุด เพราะจะเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้สอนบรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรฐานการจัดการศึกษา แผนผังการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลปศึกษากับการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นเครื่องมืออันสำคัญซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีพหุศิลปศึกษา ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้ทางทัศนศิลป์ และความหลากหลายในมิติต่าง ๆ ของสังคมมากำหนดและบูรณาการเป็นกรอบความคิดเพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย และยังบรรลุเป้าหมายที่ต้องการจะประเมินทั้งด้านทักษะการสอนทัศนศิลปศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย</p> วิรัตน์ ปิ่นแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/269621 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 THE AESTHETICS OF HOMESTAY DESIGN: EXPLORING THE CULTURAL AND EMOTIONAL SIGNIFICANCE OF HOMESICKNESS https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/271331 <p> This study is an aesthetic study of the form of homestay based on the concept of nostalgia, aiming to inherit and develop the home stay industry, including economic and cultural development, and promote the development and innovation of homestay. The purpose of this paper is to study the aesthetic design theory of homestay architecture from the perspective of homesickness concept. Analyze the nostalgic memory in the aesthetic design and the design strategy of Yangshuo homestay, and provide a new design scheme for the form of homestay. In the specific research process, through the perspective of nostalgia, explore the form design characteristics of homestay enterprises of Guangxi.</p> <p>The results of this study show that aesthetic design based on nostalgia can effectively promote the development and innovation of homestay and improve its competitiveness and cultural connotation. In the design process, we should pay attention to the excavation and inheritance of nostalgic memory, and integrate modern design elements to innovatively create a home stay form design solution to meet the contemporary needs of Yangshuo. In addition, it is necessary to explore the development characteristics of Guangxi home stay design from the perspective of nostalgia.</p> Zhongquan Gao, Chanoknart Mayusoh, Pisit Puntien Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/271331 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสีสันในธรรมชาติ โดยศิลปิน เมตตา สุวรรณศร, สรรณรงค์ สิงหเสนี, ศุภชัย สุกขีโชติ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267914 <p>งานวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสีสันในธรรมชาติ โดยศิลปิน เมตตา สุวรรณศร, สรรณรงค์ สิงหเสนี, ศุภชัย สุกขีโชติ ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสีสันในธรรมชาติ อันแสดงออกถึงความงามของธรรมชาติในมิติทางเทคนิคที่แตกต่างกัน รวมทั้งนำเสนอแนวทางการตีความด้วยกระบวนการทางศิลปะ ที่สร้างสรรค์ตามความถนัด ความสนใจของศิลปิน เมตตา สุวรรณศร สร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิค การปักด้วยปืนยิงพรมไฟฟ้า สรรณรงค์ สิงหเสนี เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ ศุภชัย สุกขีโชติ เทคนิคประติมากรรม 3 มิติ ด้วยปากกา 3D ที่มีลักษณะเฉพาะตน</p> <p>จากการสร้างสรรค์ผลงานพบว่า การปักด้วยปืนยิงพรมไฟฟ้าของเมตตา สุวรรณศร ผู้สร้างสรรค์นำเทคนิคการปักพรมด้วยอุปกรณ์ปืนไฟฟ้าที่สามารถปักเส้นใยได้อย่างอิสระรวดเร็ว ให้เกิดความพิเศษโดยใช้แรงบันดาลใจมาจากสีสันของธรรมชาติแต่ตัดทิ้งซึ่งความเป็นจริงและนำเสนอในแนวทางศิลปะนามธรรม คือการปักพรมให้เส้นใยผสมผสานสีจนเกิดการรวมตัวกัน ผสมสีสันด้วยม่านตาคล้ายงานลัทธิประทับใจในแสงสีที่เน้นการแตกกระจายสีทั่วทั้งภาพจนเกิดความงามในรูปแบบใหม่ที่มีความกลมกลืน เป็นสีสันที่งดงามบนผืนพรมศิลปะ ศิลปินสรรณรงค์ สิงหเสนี โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคู่สีที่สดใสในธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะมีคู่สีที่ใกล้เคียงกันและคู่สีตรงกันข้ามกันตามทฤษฎีวงจรสีธรรมชาติมาเป็นตัวเริ่มต้นสร้างสรรค์จิตรกรรมนามธรรม โดยใช้เทคนิคสีน้ำเปียกซ้อนเปียก (Wet-into-wet) ที่มีความเปียกชุ่มซึมซับเข้าหากันทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ปล่อยให้เกิดเป็นรูปทรงและเรื่องราวขึ้นเองตามธรรมชาติของสีน้ำ ศิลปินศุภชัย สุกขีโชติ สร้างประติมากรรมด้วย เทคนิค 3D Pen ด้วยการสร้างรูปทรงแมวจากเส้นพลาสติก ด้วยการร่างเส้นพลาสติกกับพื้นเป็นภาพแบนๆด้านข้าง เพิ่มส่วนที่เป็นผิว ขึ้นรูปนอกแต่ละด้านเป็นรูปทรงสามมิติ ขัดแต่งพื้นผิวด้วยหัวแร้งความร้อนปรับผิวให้ละลายเข้าหากันปิดรูให้เรียบ เทคนิคนี้สามารถนำมาปรับใช้สร้างรูปทรงผลงานประติมากรรมอื่นๆได้ จากที่กล่าวมาการวิจัยนี้เป็นรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสีสันในธรรมชาติ และเผยแพร่ผลงานต้นแบบแก่ผู้สนใจศิลปะให้เกิดประโยชน์ด้านที่มา แนวคิด เทคนิค และเกิดสุนทรียภาพได้</p> เมตตา สุวรรณศร, สรรณรงค์ สิงหเสนี, ศุภชัย สุกขีโชติ Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/267914 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 THE APPLIED OF CHINA’S DUN HUANG MURAL FROM FEI TIAN DESIGN IN CONTEMPORARY CERAMICS PRODUCT DESIGN https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/268171 <p>The objective of this research 1) To analyze and compare format of Fei Tian in painting between Dun Huang mural and Fei Tian format in contemporary ceramic design and 2) To use it as a guideline to design contemporary ceramics work. In this operation use qualitative research by analysis data and Quantitative research included research problem and design the random sample by reference from review the literature questionnaire and field observe. The procedure of this operation is 1) collection normal data and 2) interview and field observe in fieldwork. The object of analyze to analysis fly format of Deity in Dun Huang mural in contemporary ceramics work compare with Fei Tian format of Dun Huang mural. Descriptive statistic use for contemporary ceramic design from collected data to analysis content from interview and field observe in fieldwork. The result of research according to the objective found the point of comparing between Fei Tian format in Dun Huang mural and Fei Tian painting in contemporary ceramics work have several pair of color that have relativity with the shape that an origin from the painting in the past. To application to be a model of design can conclude to two point which is to be a model of Contemporary ceramics design by distill the element and recreate traditional fly format and color matched with contemporary ceramics design to restore fly format in Dun Huang mural, To widely spread traditional Dun Huang mural by dynamic inherit of traditional format continuously to carry on treasure of art ancient Dun Huang in contemporary ceramics design.</p> <p> </p> Kun Li, Pisit Puntien, Chanoknart Mayusoh Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/268171 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 EMOTIONALLY-INFORMED DESIGN IN INFORMATION GRAPHICS: A COMPARATIVE STUDY FROM CHINA'S REPUBLICAN ERA TO PRESENT AND ITS APPLICATION IN COVID-19 EDUCATIONAL GRAPHICS https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/268606 <p>This research aims to accomplish two primary objectives. The first objective is to conduct a comprehensive analysis of the evolution of emotionally-informed design in Chinese information graphics, tracing its development from the Republican era to the present day. The study employs a qualitative analysis methodology, utilizing the three-tier theory of emotionally-informed design as a theoretical framework. The analysis compares representative cases of information graphics across different periods, juxtaposing them with theories of societal cultural looseness and tightness. The study hypothesizes that changes in societal cultural looseness and tightness correspond to variations in the emotional depth exhibited in information graphics. The validation of this hypothesis forms a crucial part of this research. The second objective is to apply the patterns and trends identified in the first objective to the creation of information graphics. The study will summarize and apply methods of emotionally-informed design corresponding to these trends to develop three COVID-19 educational information graphics that resonate with the current era. The ultimate goal of this research is to explore the expressive methods of emotionally-informed design at three levels, adapting to contemporary society's reading habits and consumption environment. This approach aims to achieve a harmonious fusion of tradition, art, information, and technology.</p> Wenyi Zhang Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/268606 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 A SUMMARY OF THE RESEARCH ON THE LITERATURE OF HUAGU OPERA IN HUNAN PROVINCE, CHINA https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/255932 <p>Huagu opera is a kind of local opera in Hunan Province. It is widely spread in various regions of Hunan Province. It is formed on the basis of China's folk music and some other traditional culture. At present, there are not many works about it in China, which are generally limited to the research of music, singing and lyrics, and less related to the teaching of Flower Drum Opera. This paper attempts to comprehensively analyze the art of teaching and learning Huagu opera from the perspective of teaching, in order to fill the deficiency of previous research on this subject.</p> <p>Hunan Flower Drum Opera originated from folk song and dance. After three stages of development, it has gradually become a widely popular local opera in Hunan. This paper first discusses the inheritance, protection and development of Hunan Flower Drum Opera in China as a whole, then discusses the characteristics of Hunan Flower Drum Opera vocal music teaching one by one from the research on the vocal music characteristics of Hunan Flower Drum Opera, and finally analyzes the feasibility analysis and theoretical basis from the theories of educational Anthropology and cultural ecology.</p> <p>In general, this paper comprehensively analyzes the characteristics of Hunan Flower Drum teaching, provides some references for the filling, creation and appreciation of Hunan Flower Drum Opera college teaching, and also plays a certain role in promoting the further research of Hunan Flower Drum Opera lyrics.</p> Chen Gang, Panya Roongruang Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/255932 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานใน หลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/260979 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้ชุดวิชาในการจัดการเรียนการสอนในวิชาดนตรีระดับปริญญาตรี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี 3) เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนดนตรีในวิถีความปกติใหม่ โดยใช้การศึกษาวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบร่างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรีโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี โดยการสอบถามผู้สอนและนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรีมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านหลักสูตร ประกอบด้วยลักษณะหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอนภายในสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนภายในสถานประกอบการ 3) ด้านความร่วมมือ ประกอบด้วยประโยชน์ของสถานศึกษาและประโยชน์ของสถานประกอบการ รูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี ผลการศึกษาทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมากมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี</p> ปราโมทย์ เที่ยงตรง Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/260979 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 สัญญะในตัวละครนางละเวง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/265929 <p>ละครพันทางเป็นละครที่นำเรื่องราวและศิลปะการแสดงจากชนชาติอื่นเข้ามาผสมผสานกับแบบแผนการแสดงของไทย การศึกษาสัญญะในตัวละครต่างเชื้อชาติในละครพันทางจะเผยให้เห็นภาพความเป็นต่างชาติในมุมมองของผู้สร้างสรรค์และการถ่ายทอดความหมายเหล่านั้นสู่ผู้ชม งานวิจัยเรื่องสัญญะในตัวละครนางละเวงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัญญะในตัวละครนางละเวงที่ปรากฏในการแสดงละครพันทาง โดยเลือกศึกษาจากการแสดง 3 ตอนที่มีนางละเวงเป็นตัวละครสำคัญ ได้แก่ พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง (2548), พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง (2558) และ เล่ห์ละเวง (2562) ประกอบการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนในการสร้างสรรค์การแสดงแต่ละชุดและผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่าสัญญะที่ปรากฏในตัวละครนางละเวงแบ่งออกเป็น 1. สัญญะที่สื่อถึงเชื้อชาติ ปรากฏอยู่ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ท่ารำ ดนตรีและฉาก 2. สัญญะที่สื่อถึงความเป็นกษัตริย์ ปรากฏในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและฉาก และ 3. สัญญะที่สื่อถึงความเป็นนักรบ ปรากฏในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ดนตรีและฉาก ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ประเภทของสัญญะที่ใช้พบว่า สัญญะที่สื่อถึงเชื้อชาติเป็นสัญญะประเภทไอคอน (Icon) ที่สร้างขึ้นอาศัยความเหมือนต้นฉบับคือเครื่องแต่งกายของกษัตริย์และราชินีอังกฤษเป็นหลัก ฉากการแสดงเป็นองค์ประกอบที่พบความแตกต่างของสัญญะมากที่สุด กล่าวคือ มีทั้งฉากที่ไม่มีสัญญะเลย ฉากที่เป็นป่าซึ่งเป็นสัญญะประเภทไอคอนและฉากที่เป็นประเภทไอคอนผสมสัญลักษณ์ (Symbol)</p> น้ำหวาน ดาราวรรณ์, ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารศิลป์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APJ/article/view/265929 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700