@article{แสดงหาญ_2020, title={การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19 }, volume={9}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/241762}, abstractNote={<p>        การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการปรับตัวในการทำงานที่บ้าน เปรียบเทียบความแตกต่างของการปรับตัวในการทำงานที่บ้าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาถึงความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในการสนับสนุนการทำงานที่บ้านจากองค์กรต้นสังกัด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ สำหรับประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานที่บ้านในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในช่วงวิกฤตโควิด-19 มีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามกลับจำนวน 478 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่าในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามสามารถปรับตัวในการทำงานที่บ้านได้ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามสามารถปรับตัวได้ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งได้แก่ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน ด้านร่างกาย และด้านอัตมโนทัศน์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการปรับตัวในการทำงานที่บ้าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ผู้ปฏิบัติงานที่มีเพศเจนเนอเรชัน และปฏิบัติงานในประเภทองค์กรที่แตกต่างกัน สามารถปรับตัวในการทำงานที่บ้านได้ไม่แตกต่างกัน  แต่ในด้านรูปแบบการทำงานพบว่าผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานที่บ้านเต็มเวลากับทำงานที่บ้านบางส่วนเวลามีการปรับตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในการสนับสนุนการทำงานที่บ้านจากองค์กรต้นสังกัด พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ต้องการให้องค์กรต้นสังกัดสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ รองลงมาคือต้องการให้องค์กรสนับสนุนค่าอินเตอร์เน็ท ค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ และต้องการให้องค์กรมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น VPN, Platform, Application ที่สนับสนุนการทำงานที่บ้าน ตามลำดับ</p>}, number={2}, journal={วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา}, author={แสดงหาญ พรรัตน์}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={14–33} }