https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/issue/feedวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา2024-12-25T11:40:35+07:00Asst. Prof. Wanvicechanee Tanoamchard, Ph.D.journalbbs@buu.ac.thOpen Journal Systems<p><strong>วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha Journal of Business Management: BJBM)</strong></p> <p> วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดทำโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ กำหนดเผยแผร่ จำนวน 2 ฉบับต่อปี (ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม) เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้มีผลตั้งแต่ปี 2568 ถึงปี 2571 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยที่มีคุณภาพทางด้านบริหารธุรกิจของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนิสิต นักศึกษา และส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของบุคลากร คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และ นิสิตนักศึกษา ผลงานที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการและผ่านการพิจารณาความถูกต้องและคุณภาพทางวิชาการ (Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยการประเมินแบบปกปิดรายชื่อและสังกัดทั้งผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ (Double – blind peer review)</p> <p>ISSN 2730-230X (Online)</p> <p> </p>https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/275320การจัดการกลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กระจูด กรณีศึกษากลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตชะอวด2024-09-13T16:24:32+07:00วัลลภา พัฒนาwanlapa9222@gmail.comนวรัตน์ ผิวนวลnava_372@hotmail.comบุญรัตน์ บุญรัศมีboonrad.b@rmutsv.ac.thเมธัส เทพไพฑูรย์mathus.t@rmutsv.ac.th<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กระจูดของกลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตชะอวด และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กระจูด การวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดของกลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตชะอวด ซึ่งไม่ทราบขนาดประชากรที่แน่นอนจึงใช้สูตรคำนวณจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ Cochran ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 385 คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบการเผชิญหน้าในพื้นที่ทั่วประเทศ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรม LISEL ผลการศึกษาพบว่ากลยุทธ์การสร้างความแตกต่างอยู่ในระดับความสำคัญมาก ( = 3.92) และ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นองค์ประกอบกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า c2/df เท่ากับ 3.365 GFI เท่ากับ 0.998 AGFI เท่ากับ 0.918 CFI เท่ากับ 0.998 และ RMSEA เท่ากับ 0.048 ข้อเสนอแนะได้แก่ กลุ่มควรมุ่งเน้นและมีการพัฒนากลยุทธ์การสร้างความแตกต่างในแต่ละด้าน โดยการสร้างความแตกต่างอัตลักษณ์ของสินค้าที่โดดเด่น และมีการรักษามาตรฐานของสินค้า และมีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า</p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/273659การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์และกลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชน หรเทพแปรรูปเผือกหอม ตำบลหรเทพ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม2024-08-09T16:28:54+07:00พนิตสุภา ธรรมประมวลthampanit@hotmail.comกาสัก เต๊ะขันหมากtkasak@hotmail.com<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปเผือกหอมในจังหวัดสระบุรี 2) พัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชนหรเทพแปรรูปเผือกหอม และ 3) พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนหรเทพแปรรูปเผือกหอม โดยเป็นการวิจัยและพัฒนาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งเป็นการสานพลังจากพลังความร่วมมือ พลังการสนับสนุนจากภาครัฐ/เอกชน และพลังความรู้ รวม 23 คน และสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค 398 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา <br /> ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1) ความต้องการการบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปเผือกหอมอยู่ในระดับมาก 2) สามารถพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชนหรเทพแปรรูปเผือกหอมคือคุณค่าของสินค้าเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ได้มาตรฐาน เป็นของฝากได้ดี กลุ่มลูกค้าคือผู้รักสุขภาพและนิยมเอกลักษณ์ท้องถิ่น ช่องทางเข้าถึงสินค้าได้ ณ แหล่งผลิตและแหล่งท่องเทียว สายสัมพันธ์ลูกค้าเกิดจากการรักษามาตรฐานคุณภาพในราคาย่อมเยา พันธมิตรการค้าคือร้านสินค้าของฝาก 3) สามารถพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชน หรเทพแปรรูปเผือกหอมได้ 4 กลยุทธ์ คือ “เผือกหอมก้าวไกล” “เผือกหอมเตรียมการ” “เผือกหอมนวัตกรรม” และ “เผือกหอมถอนตัว” </p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/275865การวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจและโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชา: กรณีศึกษาพื้นที่ได้รับอนุญาตถูกต้องในเขตภูมิภาคกลางของ ประเทศไทย2024-11-02T00:26:19+07:00นาถรพี ตันโชnartraphee@rmutt.ac.thสันติกร ภมรปฐมกุลsantikorn_p@rmutt.ac.th<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชาที่ส่งผลต่อโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชา และเพื่อศึกษามูลค่าทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชาที่ส่งผลต่อโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชา โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ทำการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชาในพื้นที่ได้รับอนุญาตถูกต้องในเขตภูมิภาคกลางของประเทศไทยจำนวน 200 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ<br /> ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัจจุบันของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชาด้านการรองรับของธุรกิจสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชาและด้านสถานที่ตั้งของธุรกิจที่แตกต่างกันส่งผลต่อโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชาแตกต่างกัน โดยที่ด้านการรองรับในของธุรกิจสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชา พบว่า การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการลงทุนเพิ่มในกลุ่มธุรกิจ Start up ทั้งในและต่างประเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ สถานที่ตั้งของธุรกิจ พบว่า พระนครศรีอยุธยา มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าทุกพื้นที่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชา ประกอบไปด้วย รูปแบบการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ องค์ความรู้เกี่ยวกับกัญชา และคุณลักษณะผลิตภัณฑ์มีผลต่อโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากกัญชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/275905การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในชุมชนไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี2024-10-28T11:40:16+07:00ณัฐฐิณีภรณ์ ปิงแก้วkrunanja@gmail.comพิมพ์นภัส ภูมิกิตติพิชญ์pimnapat_i@rmutt.ac.th<p style="font-weight: 400;"> การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และ2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวชุมชนไท-ยวน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวชุมชนไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล<br /> ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสามลำดับแรกที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านกายภาพ และปัจจัยด้านสินค้า ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั้นมี 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านสินค้า ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านบุคลากรในการให้บริการ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.953 มีค่าอำนาจพยากรณ์ (R²) ร้อยละ 90.9 ดังนั้นหน่วยงานในพื้นที่ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมไปถึงการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดบริการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางกลับมาเที่ยวซ้ำ </p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/273400ความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทย กรณีศึกษาภาคเหนือตอนล่าง2024-05-29T10:51:28+07:00ภคพร วัฒนดำรงค์bhagapornw@gmail.comเนื้อทิพย์ สุ่มแก้ว nuatips@nu.ac.thกนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุตkanokkarnn@nu.ac.thจักรกฤษณ์ เสน่ห์ นมะหุตchakkrits@nu.ac.thอรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุลjualone@hotmail.com<p> การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงบริการทางการแพทย์กับการท่องเที่ยวถือเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ด้านการแพทย์แผนไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2) วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยในภาคเหนือตอนล่าง และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยในภาคเหนือตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้ทำการรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 40 คน คือ เป็นผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด โรงพยาบาลบาลที่มีการให้บริการการแพทย์แผนไทย วิสาหกิจชุมชนที่ปลูกพืชสมุนไพร สถานประกอบการ เป็นต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สถิติที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในเขตภาคเหนือตอนล่างระหว่างปี 2560-2564 มีแนวโน้มการใช้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวพบว่า ภาคเหนือตอนล่างมีหน่วยบริการการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบันที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวจำนวนไม่มาก และสมรรถนะการให้บริการของหน่วยบริการมีขีดจำกัด ดังนั้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยของภาคเหนือตอนล่างควรสร้างความแตกต่างของการจัดบริการ โดยการดึงนำอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ และการอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างจากการจัดบริการของภูมิภาคอื่น ๆ</p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/275858แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการแรงงานผู้สูงอายุของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก2024-09-06T10:16:50+07:00ฐิติมา พูลเพชรthitima_p@rmutt.ac.thดวงพร พุทธวงค์daungporn_p@rmutt.ac.th<p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการแรงงานผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อความต้องการแรงงานผู้สูงอายุของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ การจัดการแรงงานผู้สูงอายุของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก การวิจัยเป็นแบบผสานวิธีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 คน การวิจัยเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 12 ท่าน จากผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 12 ท่าน <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการแรงงานผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อความต้องการแรงงานผู้สูงอายุของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก พบว่า ผลการวิจัยพบว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการแบ่งปันความรู้ การวางแผนจากกำลังคนถึงความต้องการ และการจัดการความรู้ผ่านแรงงานผู้สูงอายุ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการจัดการแรงงานผู้สูงอายุในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และ 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการแรงงานผู้สูงอายุของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก พบว่า ควรมุ่งเน้น 4 ด้าน ได้แก่ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการจ้างงานของผู้สูงอายุที่ชัดเจน การบริหารแรงงานผู้สูงอายุโดยการออกแบบวัฒนธรรมองค์การที่ก่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้ การวางแผนจากกำลังคนถึงความต้องการแรงงานผู้สูงอายุ และการจัดการความรู้ โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดจากแรงงานผู้สูงอายุ</p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/275758Factors Influencing Intention to Purchase Intimate Hygiene Products of Female Consumers through Online Mobile Applications in Bangkok2024-10-31T16:01:05+07:00Nontnawat Wattananontnontnawat.wattananont@gmail.comSupasan PreedawiphatSupasan_pre@utcc.ac.thDavids Makararpongdavid.ishd@gmail.com<p> The objective of this study is to delve into the factors that significantly influence female consumers' intention to purchase intimate hygiene products via online mobile applications in Bangkok. The study specifically examined demographic factors, the 4P’s marketing mix (Product, Price, Place, Promotion), and the Technology Acceptance Model (TAM) factors that impacted the intention to purchase these products. The data were collected using an online Google Form questionnaire, with a total of 400 valid responses analyzed. Statistical measures used in this study included percentage, mean, and standard deviation. The hypotheses were tested using one-way ANOVA and multiple regression analysis. The results indicated that the factors significantly affecting the intention to purchase intimate hygiene products at a significance level of 0.05, in order of influence, were innovation and technology acceptance factors, precisely attitude towards using, and marketing mix factors were price, place, and product, respectively.</p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/275395Investigation of the influence of in-game banner advertising value on the purchase intention for in-game virtual goods in Thailand2024-09-30T10:59:55+07:00Sucheera Sinsaps.sucheera@udru.ac.thSupagrit Pitiphatsupagrit.pi@udru.ac.thWarapon Dansirimarketing.kums@gmail.com<p> A proliferation of online games has opened up new opportunities for digital advertisers, particularly through the rise of banner advertising. This study examines the impact of in-game advertising in online games on gamers' purchase intentions, using Ducoffe’s advertising value model as a theoretical framework. A confirmatory factor analysis was conducted to validate four key advertising value dimensions: Entertainment, Irritation, Credibility and Informativeness. Structural equation modeling was used to analyze data from a survey of 400 online gamers in Thailand. The results show that informativeness, entertainment, and credibility contribute significantly to the perceived value of in-game ads. Furthermore, it was found that this perceived advertising value has a positive effect on gamers’ intention to purchase virtual goods. These findings add to the body of knowledge in the advertising and gaming literature, and offer practical implications for digital marketers, game developers and online advertising platforms to improve the effectiveness of in-game ads in the gaming context.</p>2024-12-25T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา