วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM
<p><strong>วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha Journal of Business Management: BJBM)</strong></p> <p> วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดทำโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ กำหนดเผยแผร่ จำนวน 2 ฉบับต่อปี (ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม) เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยที่มีคุณภาพทางด้านบริหารธุรกิจของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนิสิต นักศึกษา และส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของบุคลากร คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และ นิสิตนักศึกษา ผลงานที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการและผ่านการพิจารณาความถูกต้องและคุณภาพทางวิชาการ (Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยการประเมินแบบปกปิดรายชื่อและสังกัดทั้งผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ (Double – blind peer review)</p> <p>ISSN 2730-230X (Online)</p> <p> </p>คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาth-THวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา2730-230X<p>บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์</p>การจำแนกประเภทและการทบทวนวรรณกรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี: กรณีศึกษาจากโครงการวิจัยในประเทศไทยด้วยการศึกษาแบบการทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/266554
<p> การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี (Grounded Theory: GT) เป็นยุทธศาสตร์การวิจัยที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศไทยและในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การวิจัยที่มีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็จะมีประเด็นการทบทวนวรรณกรรมก่อนการดำเนินการวิจัยที่แตกต่างกัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษา (1) ประเภทของ GT (2) ประเภทของการทบทวนวรรณกรรมก่อนการดำเนินการวิจัยในแต่ละประเภทของ GT และ (3) การระบุประเภทของ GT และการระบุและอธิบายการทบทวนวรรณกรรมก่อนดำเนินการวิจัย ในแต่ละรูปแบบของ GT ที่มีการศึกษาในประเทศไทยในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (2556-2565) โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบการทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ (Non-systematic Literature Review) ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 100 ของโครงที่ศึกษา ไม่ได้ระบุประเภทของ GT และไม่ได้ระบุประเภทของการทบทวนวรรณกรรมก่อนการดำเนินการวิจัยในแต่ละประเภทของ GT และพบว่า มีประมาณร้อยละ 83 ของโครงการวิจัยที่ศึกษาที่ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นหลักของการศึกษาเลยทั้งสองประเด็น มีประมาณร้อยละ 17 ของโครงการวิจัยที่ศึกษาที่ได้กล่าวถึงประเด็นที่หนึ่งของประเด็นหลักของการศึกษา และมีร้อยละ 100 ของโครงการวิจัยที่ศึกษาที่ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นที่สองของประเด็นหลักของการศึกษา จึงมีข้อเสนอแนะให้นักวิจัยที่จะดำเนินการวิจัย GT ได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจในการวิจัย GT ให้ชัดเจนก่อนดำเนินการวิจัย</p>นันทนา ชวศิริกุลฑลตระกูล จิตวัฒนากรนพพงศ์ เกิดเงินจำเนียร จวงตระกูล
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-28131137150การก่อหนี้และวิธีการจัดการหนี้สินที่ส่งผลต่ออิสรภาพทางการเงินของ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งหนึ่ง
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/267391
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อหนี้สินและวิธีการจัดการหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บแบบสอบถามจากสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งหนึ่งที่มีสัญญาเงินกู้กับสหกรณ์ตั้งแต่ 2 สัญญาขึ้นไป เป็นจำนวน 370 ชุด มีการวิเคราะห์โดยการทดสอบสหสัมพันธ์ถดถอยแบบพหุคูณ โดยมีตัวแปรอิสระเป็น มูลเหตุการก่อหนี้สิน และการจัดการหนี้สิน และมีตัวแปรตามเป็นอิสระภาพทางการเงิน<br /> ผลสรุปจากการวิเคราะห์ พบว่า มูลเหตุการก่อหนี้จากความต้องการพื้นฐานมาจากด้านที่อยู่อาศัยมากที่สุด และเป็นมูลเหตุที่มีผลเชิงบวกต่อการมีอิสรภาพทางการเงินด้านความมั่งคั่ง ในส่วนมูลเหตุการก่อหนี้จากความต้องการปัจจัยอื่น ๆ พบว่า มูลเหตุด้านการเดินทางมีมากที่สุด แต่เป็นมูลเหตุที่มีผลเชิงลบต่อการมีอิสรภาพทางการเงินทั้งด้านความอยู่รอดและด้านความมั่งคั่ง ทั้งนี้สมาชิกมีวิธีการจัดการหนี้สินโดยการเพิ่มรายได้-ลดรายจ่ายมากที่สุด และเป็นวิธีที่มีผลเชิงบวกต่อการมีอิสรภาพทางการเงินทั้งด้านความอยู่รอดและด้านความมั่งคั่ง จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่ออย่างมีคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของสมาชิก และยังสามารถควบคุมการใช้จ่ายเงินให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการกู้ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหาหนี้สิน และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้</p>พรพรรณษา สุขรัตน์กลางใจ แสงวิจิตรธนาวุธ แสงกาศนีย์กุลวดี ลิ่มอุสันโน
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-28131120การศึกษาศักยภาพเพื่อสร้างรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยชุมชน ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/265967
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research: PAR) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวและประชาชนในชุมชนตำบลธารปราสาท จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อถามนักท่องเที่ยวและประชาชน โดยการเก็บข้อมูลแบบสะดวก และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและระดับนโยบายในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลธารปราสาท จำนวน 12 คน โดยผ่านกิจกรรมการเสวนากลุ่มย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าศักยภาพด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมทั้ง 7 ด้านมีศักยภาพอยู่ในระดับมาก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนในการตัดสินใจ การกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว และมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรรมและสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน และร่วมรับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยเฉพาะทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สำคัญทางแหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่น่าสนใจ และการสร้างรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ได้รูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจำนวน 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1) เส้นทางการท่องเที่ยวเยือนอารยธรรมแหล่งโบราณคดี ไหว้ศาลปู่ตา เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และ เส้นทางที่ 2) เส้นทางการท่องเที่ยวเยือนอารยธรรมแหล่งโบราณคดีคู่ลำน้ำธารปราสาท เรียนรู้วิถีถิ่นวิถีชุมชน</p>กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-281312144ตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์เงินสดด้วยตัวชี้วัดทางบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/270485
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาตัวชี้วัดทางบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานตามเกณฑ์เงินสด เพื่อสร้างตัวแบบในการพยากรณ์ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์เงินสด โดยศึกษาจากกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการเปิดเผยข้อมูลเพียงพอต่อการศึกษา จำนวน 637 บริษัทจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ตัวแปรตามคือ เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานตามเกณฑ์เงินสด ตัวแปรต้น ได้แก่ ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คงค้าง ต้นทุนทางการเงิน ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนจากบริษัทร่วม เครื่องมือทางการเงิน กำไรต่อหุ้น ความสามารถในการลงทุนต่อ ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย และความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ พบว่าผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คงค้าง ต้นทุนทางการเงิน ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนจากบริษัทร่วม เครื่องมือทางการเงิน และกำไรต่อหุ้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน และความสามารถในการบริหารสินทรัพย์มีอิทธิพลเชิงลบต่อเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ส่วนความสามารถในการลงทุนต่อและความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยไม่มีอิทธิพลต่อเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์หาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 ราย ซึ่งผลการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกับผลการศึกษาอย่างเป็นฉันทามติ</p>พรทิวา แสงเขียว
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-281314559รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เมืองมรดกโลก)
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/267998
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบประสานวิธี โดยรวมการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง การสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 13 คน และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้แทนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน<br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับข่าวสารการท่องเที่ยวผ่านสื่อ Facebook และจากคนรู้จักมากที่สุด ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดกับครอบครัวเพื่อการพักผ่อน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สะดวก การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุควรพิจารณา 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านการสนับสนุนการท่องเที่ยว (2) ปัจจัยด้านสร้างความเป็นพระนครศรีอยุธยา (3) ปัจจัยด้านการบริหารความร่วมมือ และ (4) ปัจจัยด้านนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) ควรทบทวนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (2) กำหนดประเด็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเป็นวาระของจังหวัด (3) บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคท้องถิ่น (4) พัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (5) พัฒนาฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเพื่อการวางแผน และ (6) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ</p>อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์นภสนันท์ ทองอินทร์Jatupon Dongjit
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-281316077อิทธิพลของโรคโควิด-19 กับปัจจัยเฉพาะของกิจการที่ส่งผลต่อการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/267887
<p> การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของโรคโควิด-19 ต่อปัจจัยเฉพาะของกิจการกับการจ่ายเงินปันผลและอิทธิพลของปัจจัยเฉพาะของกิจการต่อการจ่ายเงินปันผลและอิทธิพลทางอ้อมของโรคโควิด-19 ต่อการจ่ายเงินปันผลโดยมีปัจจัยเฉพาะของกิจการเป็นตัวแปรส่งผ่าน การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 400 บริษัท โดยปัจจัยเฉพาะของกิจการวัดจากสภาพคล่อง ความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำกำไรและขนาดของกิจการในขณะที่การจ่ายเงินปันผลวัดจากผลตอบแทนจากเงินปันผลและอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บข้อมูลจากงบการเงินรายปี ช่วงระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 - พ.ศ.2565 โดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis ผลการศึกษาพบว่าโรคโควิด-19 ส่งอิทธิพลต่อปัจจัยเฉพาะของกิจการที่วัดจากสภาพคล่อง ความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำกำไรและขนาดของกิจการ และยังส่งผลไปที่การจ่ายเงินปันผลของกิจการ ตลอดจนปัจจัยเฉพาะของกิจการมีอิทธิพลต่อการจ่ายเงินปันผล นอกจากนั้นผลการวิจัยยังพบว่า โรคโควิด-19 มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการจ่ายเงินปันผลโดยมีสภาพคล่องความสามารถในการทำกำไรและขนาดของกิจการเป็นตัวแปรส่งผ่าน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05</p>อัศวเทพ อากาศวิภาตบุญญานุช ชีวาเกียรติยิ่งยง
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-281317898Digital and Interactive Marketing: A Bibliometric Review and Research Agenda
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/273422
<p> This study aims to synthesize the existing literature on digital and interactive marketing in the garment business. To determine the top contributors to research in terms of authors, publications, nations, and institutions, this study looked at research articles pertaining to digital and interactive marketing in the garment sector. Open-source bibliometric tools like biblioshiny and VOSviewer were used in the study to examine the body of literature throughout the search period and to spot new prospective directions for research. Based on bibliometric data, it is evident that this research domain has garnered significant attention. The bibliometric analysis that was conducted on a sample of 191 research articles sourced from the Scopus database indicates that the top 10 journals account for 45 percent of the published literature within global trends in digital and interactive marketing research. This observation indicates a notable prevalence of research papers within these journals. Typically, the subject of research in question has been predominantly influenced by two nations, namely the United States and China, which have established robust co-authorship connections. The research articles in the sample set are predominantly contributed by the top 10 countries, which collectively represent more than seventy percent of the total. An analysis of the most commonly utilized author keywords reveals the following digital marketing exerts influence across various domains such as marketing, social media, commerce, human behavior, internet infrastructure, digital storage, human interaction, online social networking, communication, and electronic commerce.</p>Subchat UntachaiTotsaporn WorawongthepChanapha Bast
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-2813199117Factors Influencing Male Consumers' Trust, E-WOM, Attitude, and Purchase Intention for Online Personalized Cosmetics Among Thai Online Shoppers
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BJBM/article/view/270252
<p> The purpose of this study is to establish the purchase intentions of male Thai Facebook users in the cosmetics sector, with a view to examining how they are related to factors which theoretically influence consumer behaviour. The research used probability sampling and non-probability sampling. Moreover, the sample was scoped and selected by using the multistage sampling technique of judgmental sampling, stratified sampling, then once again with judgmental sampling follow by convenient sampling and snowball sampling. The research focused on male Facebook members with more than one year of membership year as well as the participants must be a member of any Facebook cosmetics fan pages. The data collection was conducted using self-administered online questionnaires. The findings confirmed the significant impacts were between the need for uniqueness and attitude toward online shopping. The factors that impacting was E-WOM on online purchase intention, attitude toward product on E-WOM, attitude toward product on online purchase intention, attitude toward online shopping on online purchase intention. These findings provide valuable insights for beauty firms, E-retailers, marketers, and academia, emphasizing the importance of consumer purchase intentions in shaping successful marketing strategies and adapting to global competition.</p>Janisa WongsiriwacharakulSomsit Duangekanong
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-282024-06-28131118136