วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE <p> วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 มีการจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย ซึ่งจะพิจารณารับตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดรับผลงานของนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์และนักศึกษาทั้งจากหน่วยงานภายใน ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อเป็นสื่อกลางรายงานความก้าวหน้าในงานวิชาการและผลงานวิจัย และเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทัศนะและข้อคิดเห็นทางด้านการศึกษา</p> <p> </p> Buriram Rajabhat University th-TH วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2773-949X <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์&nbsp; อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ&nbsp; ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร&nbsp;</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์&nbsp; ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ&nbsp; ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง&nbsp;</p> การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคอนสวรรค์ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/266187 <p>บทคัดย่อ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคอนสวรรค์ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา 2) แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นแบบ ทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับ โดยใช้วิธีการของโลเวท (Lovett) การหาความเชื่อมั่นของแบบประเมินความสามารถการอ่านจับใจความ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) สถิติที่ใช้หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความและความสามารถการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สูตร t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคพาโนรามา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดีขึ้นไป ซึ่งมีคะแนนความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาพรวม ( = 3.25, S.D. = 0.18) อยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบด้านการตั้งคำถาม อยู่ที่ ( = 3.49, S.D. = 0.18) อยู่ในระดับดีมาก ด้านการตอบคำถามมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 3.76, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับดีมาก ด้านการบันทึกความรู้จากการอ่าน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ ( <strong>&nbsp;</strong>= 3.32, S.D.= 0.24) อยู่ในระดับดีมาก ด้านเขียนสรุปใจความสำคัญ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 2.91, S.D. = 0.11) อยู่ในระดับดี และด้านการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ ( &nbsp;= 2.76, S.D.= 0.19) อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามา มีผลคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( = 24.68, S.D.= 1.49) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 17.59, S.D.= 2.86) โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>&nbsp;</p> <p>คำสำคัญ : การพัฒนาความสามารถ, การอ่านจับใจความสำคัญ, วิธีการสอนแบบพาโนรามา</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> อรอนุตร ธรรมจักร อารียา พิมพา Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-27 2023-12-27 3 2 1 14 การส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/267740 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและ 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 303 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกำกับ ดูแลคุณภาพ ด้านการจัดทำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น&nbsp; และด้านการส่งเสริม สนับสนุน</li> <li class="show">การเปรียบเทียบการส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดทำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านการส่งเสริม สนับสนุน&nbsp; มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงทำการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่า สถานศึกษาขนาดใหญ่มีการส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง&nbsp;</li> </ol> อรุณสวัสดิ์ แก้วพิภพ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-27 2023-12-27 3 2 39 51 การศึกษาคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/267774 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา2565 จำนวน 76 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที t-test (Independent Sample) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก 2.1 จำแนกตามเพศ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผู้มีเทคนิคในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่หลากหลาย มีคุณลักษณะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุนันทนา กุศลประเสริฐ ภัทรหทัย ภู่สวัสดิ์ รจนาภรณ์ มีตา เริงฤทธิ์ คำหมู่ ลัลนา ปลั่งศรีรัตน์ สุรัสวดี เสาว์บุปผา สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-27 2023-12-27 3 2 53 65 การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนในยุคการเว้นระยะห่างทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/268476 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนในยุคการเว้นระยะห่างทางสังคม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 185 คน&nbsp; เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564&nbsp; เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนในยุคการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มีลักษณะแบบมาตรประมาณค่า โดยสอบถามในประเด็นหลักๆ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนตามที่อาจารย์กำหนด&nbsp; 2)&nbsp; สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 และ 3) การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19&nbsp;&nbsp;&nbsp; เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามให้นักศึกษากรอกข้อมูลผ่านออนไลน์&nbsp; และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li class="show">กิจกรรมการเรียนการสอนตามที่อาจารย์กำหนด ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก หากพิจารณารายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การควบคุมผู้เรียนโดยการเช็คชื่อในออนไลน์</li> <li class="show">สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ อาจารย์กำหนดงาน แบบฝึก หรือการบ้าน ให้มากเกินไป</li> </ol> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;3. การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ใส่หน้ากากอนามัยสวมปิดปาก-จมูกตลอดเวลา</p> อุดม หอมคำ Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-27 2023-12-27 3 2 67 76 ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/269897 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มบัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 80 คน และครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 ปีขึ้นไป จบการศึกษาปริญญาโท จบจากคณะครุศาสตร์ มีอาชีพรับราชการ และทำงานในโรงเรียนรัฐบาล 2) ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์ พบว่า ต้องการศึกษาต่อ จำนวน 92 คน จาก 100 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ การตัดสินใจศึกษาต่อเพราะมาตรฐานด้านหลักสูตร ส่วนใหญ่จบเกี่ยวกับสาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อยากให้เก็บค่าธรรมเนียมแบบแบ่งจ่ายเป็นภาคการศึกษา ต้องการให้จัดการเรียนรู้ เป็นภาคพิเศษ วันเสาร์-อาทิตย์ จัดแบบผสมผสาน ทั้งออนไลน์และออนไซต์ อยากให้เชิญอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียงในประเทศมาร่วมสอน/เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การดูงานให้มีทั้งในและต่างประเทศและต้องการแบบแผนที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และศึกษารายวิชา 3) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยสิ่งที่ต้องการ เป็นพิเศษ คือ การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน จัดทำหลักสูตรที่ใช้ได้จริง หลักสูตรบูรณาการ รูปแบบการสอน วิชาชีพครู เทคนิคการสอน ด้านหลักสูตร คือ การเรียนไปพร้อมกับการทำวิทยานิพนธ์ การปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรที่หลากหลาย ด้านการจัดการเรียนรู้ คือ การเรียนออนไลน์ อยากให้มีวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกที่พิเศษกว่าห้องเรียนระดับปริญญาตรีและโท อยากให้มีเรียนวันเดียว เชิญวิทยากรจากภายนอกมาร่วมบรรยาย ลดภาระงาน การเรียนเชิงรุก การฝึกคิด เรียนแบบผสมผสาน การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ การศึกษาแบบเรียนรวม ส่วนด้านอื่นๆ คือ การสร้างกัลยาณมิตร ที่ดีร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การเข้าใจผู้เรียน และการศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบในต่างประเทศ</p> ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน เบญจพร วรรณูปถัมภ์ สุเทียบ ละอองทอง วันทนีย์ นามสวัสดิ์ เฉลิมชัย เจริญเกียรติกานต์ Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-27 2023-12-27 3 2 77 91 กรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/267582 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความคิดเกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 ซึ่งเป็นยุคการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 จะต้องเป็นผู้บริหารมืออาชีพที่มีทั้งความรู้ ความสามารถทางการบริหารและความเป็นผู้นำทางวิชาการในการบริหารการศึกษา พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง กรอบความคิดแบบเติบโตเป็นกรอบแนวคิดความเชื่อส่วนบุคคลที่เชื่อว่าศักยภาพและความสามารถของตนเองเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยเรียนรู้จากกระบวนการฝึกฝนตนเองในการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และมุ่งที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถปรับตัวทันต่อเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่ความเป็นมืออาชีพ ซึ่งองค์ประกอบของกรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การชอบความท้าทายในการทำงาน 2) เรียนรู้จากความล้มเหลว 3. ความพยายาม 4) การเรียนรู้จากคำวิจารณ์และข้อเสนอแนะเชิงลบ และ 5) การหาแบบอย่างและแรงบันดาลใจ โดยผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 จะต้องมีคุณลักษณะทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาและปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ได้ พร้อมทั้งนำพาองค์กรก้าวไปสู่การเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ภูรีรัตน์ สุกใส ศุภกร จันทร์เพ็ญ สุนันทนา กุศลประเสริฐ สุวดี ถามูล สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-27 2023-12-27 3 2 15 28 ความเหลื่อมล้ำของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/267607 <p>ความเหลื่อมล้ำของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก คือ ความไม่เท่าเทียมกันของคุณภาพและมาตรฐานของการจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีในโรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารที่อาจมีคุณภาพไม่เท่ากับโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาที่พบแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านงบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ 2) ด้านสื่อเทคโนโลยี 3) ด้านบุคลากร โดยมีการนำเสนอแนวทางการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน โดยให้มีการส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ สื่อเทคโนโลยี อย่างเหมาะสมและเพียงพอตามบริบทของโรงเรียนขนาดเล็ก และต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด</p> สุพรรณี คะหาวงศ์ วราพินทร์ ชาววิวัฒน์ ภานุพงศ์ แกมเงิน วรวุฒิ ศิริอ่อน สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-27 2023-12-27 3 2 29 38