วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์</strong><br /><strong>Journal of Education Buriram Rajabhat University</strong><br /><strong>ISSN (Print) : 2773-949X</strong><br /><strong>ISSN (Online) : 2773-966X</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong><br /> วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 มีการจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย ซึ่งจะพิจารณารับตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดรับผลงานของนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์และนักศึกษาทั้งจากหน่วยงานภายใน ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อเป็นสื่อกลางรายงานความก้าวหน้าในงานวิชาการและผลงานวิจัย และเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทัศนะและข้อคิดเห็นทางด้านการศึกษา</p> <p><strong>ขอบเขตวารสาร: <br /></strong> ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทางด้านการศึกษา ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่: ปีละ 2 ฉบับ <br /></strong> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน <br /> ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทของบทความ: <br /></strong> รับบทความ 3 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) <br /> โดยรับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>นโยบายพิจารณากลั่นกรองบทความ:</strong><br /> วารสารรับพิจารณาบทความภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุมทางวิชาการหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น<br /><br /><strong>กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ:<br /></strong> บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Reviewer) อย่างน้อย 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ และต้องผ่านอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด</p> <p><strong>สงวนลิขสิทธิ์โดย:</strong> <br /> คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เนื้อหา ผลการศึกษา ข้อความการอ้างอิง และความคิดเห็นที่ปรากฏในแต่ละบทความ ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงฝ่ายเดียว บรรณาธิการและผู้พิมพ์ไม่ต้องรับผิดชอบ</p> <p><strong> ทั้งนี้ </strong><strong>ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong>ในทุกขั้นตอนการดำเนินงานงานวารสาร</p> <p> </p> <p> </p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์&nbsp; อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ&nbsp; ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร&nbsp;</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์&nbsp; ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ&nbsp; ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง&nbsp;</p> edujournal@bru.ac.th (อ.ดร.พัชนี กุลฑานันท์) lappakorn.ws@bru.ac.th (นายลาภกร วัฒนสุข) Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาผลคูณ โดยใช้เกมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/270970 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาผลคูณ โดยใช้เกมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 10 คน โดยมีเกณฑ์ในการเลือกคือนักเรียนที่มีผลทางการเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 เครื่องมือวิจัยในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีการพัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การหาผลคูณ โดยใช้เกมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนร้อยละ 34.00 เป็นคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนร้อยละ 79.5 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 45.5 2) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก</p> เปรมวดี บุญใบ, วรรณธิดา ยลวิลาศ Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/270970 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับเทคนิค TGT ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271006 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับเทคนิค TGT เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับเทคนิค TGT และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับเทคนิค TGT ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 75.26 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> จารุวรรณ อุปัญญ์, สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271006 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ทักษะการบริหารเวลาสู่ความสำเร็จ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271210 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอทักษะการบริหารเวลาสู่ความสำเร็จ เป็นการกำหนดและการควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเวลาและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดความเครียด ทักษะการบริหารเวลาที่สำคัญ ประกอบด้วย การบริหารตนเอง การบริหารลูกน้อง การบริหารชีวิตส่วนตัว และการบริหารครอบครัว ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อผู้บริหารในยุดิจิทัลที่มีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทักษะเหล่านี้ช่วยให้จัดสรรเวลาได้ดี ส่งผลให้ได้งานที่มีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุดภายใต้ความจำกัดของเวลาที่มีอยู่ โดยผู้บริหารที่มีการบริหารเวลาที่ดีควรมีแผนการทำงาน กำหนดตารางเวลาในการทำงาน จัดลำดับความสำคัญของงานก่อน-หลัง และควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย จะนำมาซึ่งการบริหารที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ได้ทั้งประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ส่วนตน</p> อิสรพล ปิ่นขจร, สายฟ้า หาสีสุข, รพีพรรณ ปรีชา Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271210 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271645 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ก่อนเรียนละหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสามชัยห้องที่ 3 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (ClusterRandom Sampling) เครื่องมือวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน 8 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3) แบบประเมินวัดความพึงพอใจของนักเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> <li>ความพึ่งพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.53, S.D. = 0.51)</li> </ol> จันจิรา บุญศรี, สมใจ ภูครองทุ่ง, จิรัชญา จารพัน Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271645 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการพัฒนาครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271914 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ 1) ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ 2) ความสามารถด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์คิดเป็นร้อยละ 41.18 แสดงว่า ครูมีพัฒนาการของความสามารถในการจัดการเรียนรู้ระดับกลาง 2) ความสามารถด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีร้อยละของคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 56.85 แสดงว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ในระดับสูง</p> ปริญา ปริพุฒ, พีรญา ทองเฉลิม Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271914 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์ผู้ใช้ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271917 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์ผู้ใช้ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูในสอนรายวิชาคณิตศาสตร์สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 50 คน และนักออกแบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฟอร์มเก็บข้อมูลระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง แบบฟอร์มเก็บข้อมูลกำหนดแนวทางการสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์จากประสบการณ์ผู้ใช้ การวิจัยนี้ใช้การคิดเชิงออกแบบ ในระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสำรวจ มี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 2 นิยามปัญหา และขั้นที่ 3 การสร้างความคิด มาช่วยในศึกษาความต้องการจำเป็นความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการออกแบบนวัตกรรมส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ในขอบเขต 5 มิติ คือ บทบาท อารมณ์ความรู้สึก การรับรู้ เจตคติ และพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการของครู นักเรียนและนักออกแบบเกี่ยวกับการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ต้องการสื่อที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับเนื้อหาและบริบทของโรงเรียน 2) ประสบการณ์ของผู้ใช้เกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 มิติ พบว่า 2.1) มิติบทบาท ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนตามความถนัดของตัวเองโดยเน้นไปที่การสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้และบริบทของโรงเรียน 2.2) มิติอารมณ์ความรู้สึก ครูกลุ่มนี้มีความรู้สึกว่า นักเรียนค่อนข้างที่จะมีพื้นฐานอ่อน ต้องปรับเนื้อหาให้เข้ากับตัวผู้เรียน 2.3) มิติการรับรู้ ครูรับรู้จากการทำแบบฝึกหัดหรือผลสอบของนักเรียนที่ไม่ค่อนข้างอ่อน และไม่มีความกระตือรือร้นในเรื่องนั้นๆ 2.4) มิติเจตคติ ครูพบว่าเด็กไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ก็เลยขาดความใส่ใจ และ 2.5) มิติพฤติกรรม พฤติกรรมครูและนักเรียนให้ความร่วมมือในการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เช่น ยินดีนำนวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้ในการจักการเรียนการสอนของตนเอง เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์</p> กิตติพล สุวรรณไตรย์, วรรณธิดา ยลวิลาศ, ปวีณา ขันธ์ศิลา Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/271917 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/272170 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 168 รูป กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปริยัติธีรวิทยา จำนวน 30 รูป ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การประเมินการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /><strong> </strong>= 4.51, S.D. = 0.93) 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน <br />มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<strong> <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></strong>= 4.53, S.D. = 0.84)</p> พระมหากิตติพัฒน์ ศรีชัย Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/272170 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700