@article{ปรีชาศิลปกุล_2020, title={เหลียวหลัง แลหน้า นิติปรัชญานิพนธ์ของไทย}, volume={13}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/242752}, abstractNote={<p>บทความนี้ต้องการศึกษาถึงความเคลื่อนไหวของงานเขียนนิติปรัชญาในสังคมไทย นับตั้งแต่ได้มีวิชาปรัชญาถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 4 ทศวรรษก่อน ซึ่งสามารถจัดแบ่งความเคลื่อนไหวของงานเขียนนิติปรัชญาได้เป็น 2 ช่วงสำคัญ คือ หนึ่ง ระยะก่อตัวของความรู้ด้านนิติปรัชญา สอง ระยะของการขยายตัวของความรู้</p> <p>ในระยะแรก งานเขียนทางด้านนิติปรัชญาจะสัมพันธ์กับการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาอย่างมาก และมีการให้ความสำคัญกับแนวความคิดหลัก 3 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ แนวความคิดสำนักกฎหมายบ้านเมือง สำนักกฎหมายธรรมชาติและสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ในระยะต่อมา งานเขียนด้านนิติปรัชญาได้ถูกผลิตขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเพียงอย่างเดียว รวมทั้งความรู้ทางด้านนิติปรัชญาได้ขยายออกไปสู่ขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่สัมพันธ์กับแนวคิดทางสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์</p> <p>ความรู้ทางด้านนิติปรัชญาในสังคมไทยต้องเผชิญกับข้อจำกัดอันเนื่องมาจากระบบการศึกษาที่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของวิชาชีพ, การยกย่องนักกฎหมายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็ได้ส่งผลท้าทายต่อระบบความรู้ทางนิติปรัชญาในสังคมไทยอย่างสำคัญ</p>}, number={2}, journal={CMU Journal of Law and Social Sciences}, author={ปรีชาศิลปกุล สมชาย}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={45–63} }