@article{โสมณวัตร_2012, title={นิติสำนึกของพลเมืองผู้ขัดขืนกฎหมายเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม}, volume={5}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/64590}, abstractNote={<h4>Abstract</h4><br /><div><p>โทษจำคุกในสายตาของพลเมืองผู้ขัดขืนกฎหมายมีพื้นฐานเดียวกัน คือ การไม่ยอมรับความชอบธรรมที่รัฐใช้อำนาจลงโทษจำคุก ทั้งนี้การลงโทษจำคุกแก่พลเมืองเหล่านี้ล้วนแต่ปราศจากผลในการป้องปรามหรือปรับปรุงพฤติกรรมใดใดทั้งสิ้น และการลงโทษที่ลงมานั้น พลเมืองเหล่านี้ยอมรับโทษ แต่ไม่เคยยอมรับผิดเนื่องจากการเคลื่อนไหวของตน ซึ่งการลงโทษนั้นไม่ต่างจากการใช้ “อำนาจดิบ” คือ ยอมรับโทษ เพราะรัฐมีอำนาจสามารถบังคับเอาโทษกับพวกเขา/พวกเธอได้เท่านั้น</p><p>                อย่างไรก็ตามลายละเอียดบางประการของพลเมืองแต่ละคนในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น จินตนา แก้วขาว มองโทษจำคุกที่ตนเผชิญเป็นเพียงเกมส์หนึ่งที่รัฐตั้งกติกาไว้ทั้งหมดจึงไม่ใช่ความผิดของเธอเลยไม่ว่าจะเป็นทางศีลธรรมหรือทางการเมืองที่เธอต้องติดคุก เพราะรัฐมีอำนาจดิบและจะเอาเธอเข้าคุก ด้วยเหตุนี้จินตนาจึงมีวิธีการตอบโต้การถูกจำคุกของเธออย่างถึงพริกถึงขิง เนื่องจากเธอถือว่านอกศาลนั้นเป็นเวทีของเธอ ในขณะที่พ่อหลวงนงมีท่าทีที่ค่อนข้างวางเฉยกับการต้องโทษจำคุก คือ “เหมือนการย้ายที่นอน” เท่านั้น ยิ่งหากจำคุกแล้วได้มาซึ่งที่ดินทำกินก็คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม แต่ทั้งหมดนี้ค่อนข้างต่างกับความคิดของพ่อสมัย ที่มองว่าการต้องโทษจำคุกนั้น หากจำเป็นก็สามารถติดคุกได้ แต่ก็ถือว่าการติดคุกเป็นผลจากยุทธวิธีการเคลื่อนไหวที่ผิดพลาดให้แก่การกลั่นแกล้งของฝ่ายทุน</p><p>                ทั้งนี้ “นิติสำนึก” ต่อโทษจำคุกที่ต่างกันนี้ เกิดจากปัจจัยแวดล้อมและประสบการณ์ที่ต่างกันของแต่ละคนในแต่ละพื้นที่ โดยมีกรอบกว้าง การกระทะกันระหว่างคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการเคลื่อนไหว และประสบการณ์ท่าทีดีร้ายที่พลเมืองมีต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นผลสอดคล้องต่อเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ 5 ประการที่แตกต่างกัน คือ 1). ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่เผชิญกับความรุนแรง 2). ประสบการณ์การข้องแวะกับระบบกฎหมายและสังคมการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นว่าใครเสี่ยงคุกมากน้อยกว่ากัน 3). การเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับเครือข่ายชนชั้นกลางในเมือง เช่น นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และสื่อมวลชน 4). ภูมิหลังและประสบการณ์ส่วนตัว  และ 5). ความเข้มแข็งและความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหว </p><p> </p><p>DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2012.11</p></div>}, number={1}, journal={CMU Journal of Law and Social Sciences}, author={โสมณวัตร กฤษณ์พชร}, year={2012}, month={มิ.ย.}, pages={65–120} }