CMU Journal of Law and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS <p><strong>วารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences</strong> ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ โดยเป็นวารสารที่มีการ<strong>ประเมินบทความก่อนตีพิมพ์ (refereed journal)</strong> โดยผู้ประเมินอย่างน้อยจำนวน 2 ท่าน ทั้งนี้ผู้ประเมินไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบผู้ประเมิน (double blind review) มี<strong>กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong> ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม และมี<strong>ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์เผยแพร่</strong> 2 ประเภท</p> <p>(1) บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่นำเสนอองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี การวิจัย ข้อค้นพบใหม่ อันเกี่ยวเนื่องและครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ</p> <p>(2) บทความวิจารณ์หนังสือ (book review) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) อันเกี่ยวเนื่องและครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ</p> <p>ทั้งนี้ สำหรับบทความ ประเภทบทความวิจารณ์หนังสือ (book review) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) ซึ่งเป็นบทความประเภท Non Peer Review Content กองบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาคุณภาพบทความ หรืออาจพิจารณานำส่งบทความให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 คน เป็นผู้พิจารณาคุณภาพบทความตามความเหมาะสม (โดยหากเป็นการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ กองบรรณาธิการจะพิจารณาจากความเชี่ยวชาญที่ตรงกับสาขาของบทความเป็นหลัก ผู้พิจารณาบทความ และผู้เขียน อาจมีต้นสังกัดเดียวกันหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี การประเมินคุณภาพบทความจะดำเนินการโดยปิดบังชื่อผู้เขียน และผู้พิจารณาบทความ) </p> <p>สนใจจัดส่งบทความ กรุณาศึกษา จากคู่มือการจัดทำบทความ <strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1h1m24wjv4Yx1DFmHQd7Z5cbto1EckQFs/view?usp=sharing">ดาวน์โหลด คลิก</a></strong></p> <p>ISSN 2672-9245 (Online) </p> <p>...</p> <p>วารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences เริ่มตีพิมพ์ครั้งแต่ในปี 2546 โดยใช้ชื่อ วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 1 ฉบับ มกราคม - ธันวาคม และมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องเป็นจำนวน 4 ปี ระหว่าง 2546-2549 หลังจากนั้นหยุดไป 5 ปี กลับมาเริ่มตีพิมพ์อีกครั้งในปี 2555 ซึ่งมีกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม วารสารฯ ได้เริ่มจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ในปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. พ.ศ. 2558) ต่อมาในปี 2559 กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ฯ ได้พัฒนาวารสาร และนำวารสารฯ เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (Thai Journal Citation Index) ได้สำเร็จ หลังจากนั้น ในปี 2562 ยกเลิกชื่อวารสารภาษาไทย คือ 'วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่', ISSN (เดิม): 1685-9723 และ E-ISSN (เดิม): 2586-9604 และเริ่มใช้เฉพาะชื่อวารสารภาษาอังกฤษ ‘CMU Journal of Law and Social Sciences’ E-ISSN: 2672-9245 ตั้งแต่ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562 (Vol.12 No.1 2019) เป็นต้นไป</p> <p>...</p> <p><strong>วารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences</strong> ไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการ ตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน</p> คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ th-TH CMU Journal of Law and Social Sciences 2672-9245 <p>O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)</p> <p>O กองบรรณาธิการ&nbsp;CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย</p> ปัญหาการคุ้มครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลในจักรวาลนฤมิต https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/270133 <p>การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบและรูปลักษณ์ของสินทรัพย์ดิจิทัลในจักรวาลนฤมิตล้วนเกิดจากการคิดค้นและความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของผู้ออกแบบตรงตามวัตถุประสงค์ การคุ้มครองสิทธิบัตร แต่ทว่าลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถจับต้องและมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ในขณะที่กฎหมายสิทธิบัตรไทยมุ่งคุ้มครอง การประดิษฐ์และการออกแบบไปที่ผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ</p> <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลในจักรวาลนฤมิตโดยการศึกษาข้อมูลทางเทคโนโลยีของสินทรัพย์ดิจิทัลในจักรวาลนฤมิต ทฤษฎี หลักการ กฎหมายสิทธิบัตร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทย สหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 คำจำกัดความ “การประดิษฐ์”และ“กรรมวิธี” ตามมาตรา 3 ไม่ครอบคลุมถึงการคิดค้นหรือกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้หรือผลิตภัณฑ์เสมือนอันเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ดิจิทัลในจักรวาลนฤมิต แม้ลักษณะของ“กรรมวิธี” ที่ไม่เป็นนามธรรมควรได้รับการคุ้มครองก็ตาม ทั้งนี้ ความเป็นผลิตภัณฑ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์มุ่งไปที่ผลิตภัณฑ์อย่างทรัพย์แตกต่างจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถตีความผลิตภัณฑ์อย่างทรัพย์สินได้ อย่างไรก็ตาม “แบบผลิตภัณฑ์” ไม่ชัดเจนว่าให้รวมถึงการออกแบบดิจิทัล อีกทั้ง หากมีการนำเอารูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ทางกายภาพมาออกแบบสินทรัพย์ดิจิทัลในจักรวาลนฤมิตถือว่ามีความใหม่ตามมาตรา 56 ซึ่งขาดความสร้างสรรค์และขัดแย้งกับความจริงที่เป็นการโอนถ่ายรูปลักษณ์ไปยังสินค้าคนละประเภทเท่านั้น</p> <p> ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะให้ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ให้ครอบคลุมกรรมวิธีในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคอย่างเฉพาะเจาะจง แม้จะไม่ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานหลักของผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ ส่วนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้รวมถึงการออกแบบดิจิทัล รวมถึงข้อเสนอแนะอื่นที่เหมาะสม เพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในจักรวาลนฤมิตร</p> ธนพร สรรพกิจจำนง Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 1 35 การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานล้อเลียนประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/270131 <p>ด้วยเหตุที่สังคมมีการพัฒนาไปสู่ยุคดิจิทัลจึงเป็นผลให้เกิดงานสร้างสรรค์ที่มีความหลากหลายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งมักจะเป็นประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ และได้ถูกนำมาสร้างในรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “งานล้อเลียน”</p> <p> บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานล้อเลียนประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งมีประเด็นที่ศึกษา ได้แก่ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ความเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ และความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยศึกษาเปรียบเทียบกับแนวคำพิพากษาของศาลและหลักกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏแนวคำพิพากษาของศาลและหลักกฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้และแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม</p> <p> จากการศึกษาและวิเคราะห์ พบว่า งานล้อเลียนมีลักษณะเป็นการดัดแปลงโดยมีการจัดทำขึ้นใหม่แต่หากทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่อาจเป็นงานสร้างสรรค์ได้ และงานล้อเลียนเชิงเสียดสีเป็นการละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ (moral right) ส่วนงานล้อเลียนทั้งเชิงตลกขบขันและเสียดสีเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27 หรือมาตรา 28 แล้วแต่กรณี โดยไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคแรก และมาตรา 32 วรรคสอง (3) รวมถึงมาตรา 33</p> <p> ทั้งนี้ งานล้อเลียนประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นงานที่มีการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์ ความวิริยะอุตสาหะพยายามใช้ปัญญาในการสร้างงาน และได้แสดงออกซึ่งความคิดในรูปแบบงานศิลปกรรมหรือโสตทัศนวัสดุอันสมควรได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ครอบคลุมผลงานทั้งชิ้น ส่งผลให้เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวจะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในส่วนเนื้อหาของงานต้นฉบับ</p> <p>ผู้เขียนเห็นว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ปรากฏหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน รวมถึงแนวคำพิพากษาของศาลในประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้งานล้อเลียนได้รับยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพิ่มเติมนิยามคำว่า“งานสร้างสรรค์”และให้ความคุ้มครองงานดัดแปลงที่มีการจัดทำขึ้นใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและการวินิจฉัยคดีของศาล รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สร้างสรรค์โดยเฉพาะผู้สร้างงานล้อเลียนเพื่อเป็นการรองรับเสรีภาพในการแสดงออกทางด้านศิลปะให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ยุคดิจิทัล</p> กวินทรา ศรีถนัด Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 36 70 ทบทวนวิธีอาชญาวิทยาคลาสสิก : มุมมองศีลธรรมของอาชญากรรมในเด็ก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/271467 <p>งานศึกษาอาชญาวิทยาคลาสสิก (Classical criminology) ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายจากมุมมองของอาชญาวิทยากระแสหลัก (Mainstream criminology) โดยบทความนี้จะอธิบายในมุมมองกลับกัน กล่าวคือ บทความนี้จะทำการวิเคราะห์อาชญาวิทยากระแสหลักเกี่ยวกับหลักการศึกษาการกระทำความผิดเกี่ยวกับเด็ก จากมุมมองอาชญาวิทยาคลาสสิก ซึ่งกล่าวได้ว่าอาชญาวิทยาคลาสสิกไม่ได้ยึดติดอยู่กับแนวคิดของ Beccaria หรือ Bentham เสมอไป เนื่องจากหัวใจหลักของการศึกษาอาชญาวิทยาคือ การศึกษาเชิงศีลธรรม ด้วยการพิจารณาระบบของกระบวนยุติธรรมจากจุดยืนของสัจนิยมเชิงศีลธรรม หรือการคงไว้ซึ่งหลักการพื้นฐานที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาจำเป็นต้องปฏิบัติตาม กระทั่งปัจจุบันอาชญาวิทยาคลาสสิกถูกลดทอนความสำคัญลงอย่างมาก แต่ก็ยังมีความพยายามในการฟื้นฟูแนวคิดนี้กลับคืนมา ในขณะที่อาชญาวิทยากระแสหลักมักจะไม่สนใจต่อการเรียกร้องให้มีการพิจารณากระบวนการยุติธรรมของเด็กและเยาวชนในแง่ของศีลธรรมไม่ว่าในด้านดีหรือร้าย</p> <p>บทความนี้อธิบายความแตกต่างอย่างสำคัญระหว่างอาชญาวิทยาคลาสสิกกับอาชญาวิทยากระแสหลัก ในวิธีศึกษาที่คล้ายคลึงกัน พบว่ามีความแตกต่างกันในด้านข้อสันนิษฐานเชิงปรัชญา กล่าวคืออาชญาวิทยาคลาสสิกมองอาชญากรรมเยาวชนว่าเป็นความชั่วร้ายและมีกฎหมายอาญาเป็นเครื่องมือรักษาความถูกต้อง ถึงอย่างไรก็ตามอาชญาวิทยาอาจเป็นเครื่องมือควบคุมอย่างไร้มนุษยธรรมหรือกลายเป็นเครื่องมือสำหรับกดขี่ ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการคืนชีวิตให้เด็กให้จากหลุดพ้นจากพฤติกรรมของอาชญากร</p> อเล็กแซนเดอร์ ซือตอฟ วัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 71 105 อยู่บนหลักสากล ? : ศึกษาการใช้มาตรการควบคุมการชุมนุมสาธารณะของรัฐไทยระหว่างปี 2563 – 2565 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/270155 <p>ปัจจุบัน สถานการณ์การเมืองไทยดำเนินมาอยู่ในจุดไม่เคยมีให้เห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ มีการแสดงออกและการเคลื่อนไหวในประชาธิปไตยผ่านการชุมนุมสาธารณะอย่างกว้างขวาง ผลที่ตามมาคือ การใช้มาตรการควบคุมการชุมนุมที่รุนแรงเพื่อสลายการชุมนุมโดยที่ฝ่ายรัฐมักอ้างว่า ผู้ชุมนุมกระทำผิดกฎหมายและมาตรการของรัฐเป็นไปตามหลักสากล ดังนั้น บทความชิ้นนี้ จึงต้องการศึกษาว่า การกระทำของรัฐไทยสอดคล้องกับหลักสากลตามที่กล่าวอ้างจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด โดยวิเคราะห์จากหลักสากลที่มีการระบุไว้ในเอกสารขององค์กรระหว่างประเทศที่พยายามกำหนดมาตรฐานสากลเกี่ยวกับควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะ มาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งสื่อมวลชน งานวิชาการ และข้อมูลภาคประชาสังคม ซึ่งมีการนำเสนอภาพเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงทั้งต่อผู้ชุมนุมและประชาชนทั่วไป</p> <p> การศึกษาพบว่า ปฏิบัติการของรัฐไทยในกรณีการเข้าควบคุมหรือจัดการการชุมนุมยังคงปรากฏการใช้อำนาจที่เกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน โดยเฉพาะการมีปฏิบัติการการใช้กำลังที่ไม่สอดคล้องกับพฤติการณ์การชุมนุม ทั้งยังบกพร่องในการดำเนินมาตรการชดเชยเยียวยาและการแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้เสียหายระหว่างการชุมนุมสาธารณะอยู่เสมอมา</p> ภาสกร ญี่นาง Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 106 139 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคกรณีทรัพยากรสัตว์น้ำคร่อมเขตและชนิดพันธุ์อพยพย้ายถิ่นไกล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/270182 <p>องค์การบริหารจัดการการทำประมงระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค (RFMO/As) เป็นกลไกทางกฎหมายในการควบคุมการทำประมงทรัพยากรสัตว์น้ำคร่อมเขตและชนิดพันธุ์ย้ายถิ่นไกล แต่การดำเนินการให้บรรลุผลตามเป้าหมายของความตกลงเพื่อการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1982 เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการจัดการสัตว์น้ำชนิดพันธุ์ที่คร่อมเขตและย้ายถิ่นไกล ค.ศ. 1995 (UNFSA) ยังมีปัจจัยหลายประการที่ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า UNFSA อยู่บนหลักความร่วมมือของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความยืดหยุ่นและปรับตามความร่วมมือของรัฐแต่ละพื้นที่ ลักษณะดังกล่าวส่งผลดีในแง่การกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และชนิดพันธุ์สัตว์น้ำแต่ในขณะเดียวกันเผชิญความท้าทายจากระดับความร่วมมือที่แตกต่างกันของรัฐสมาชิกของ RFMO/As ในเขตพื้นที่ต่างๆ</p> <p>นอกจากนั้น เงื่อนไขในการเข้าทำประมงทรัพยากรสัตว์น้ำคร่อมเขตและชนิดพันธุ์ย้ายถิ่นไกลตาม UNFSA เพื่อการเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำนั้น ส่งผลต่อรัฐสมาชิก และรัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิก UNFSA แต่ให้ความร่วมมือกับ RFMO/As เนื่องจากเงื่อนไขในการเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำตาม UNFSA ถูกนำไปกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขการใช้ทรัพยากรใน RFMO/As ด้วย</p> <p>ทั้งนี้ รัฐเจ้าของธงเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินการให้มาตรการอนุรักษ์และจัดการของ RFMO/As ประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก UNFSA และกฎหมายขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมเพิ่มภาระให้แก่รัฐเจ้าของธงในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในระดับภูมิภาค ทั้งจากแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบของรัฐเจ้าของธงและการกำหนดให้รัฐเจ้าของธงต้องให้ความร่วมมือกับรัฐอื่น รัฐเจ้าของธงที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาต้องรับภาระหนักในการดำเนินการดังกล่าว</p> <p>การบังคับใช้กฎหมายตาม UNFSA พบว่า RFMO/As มีการปรับปรุงมาตรการขึ้นและตรวจเรือประมงโดยรัฐที่ไม่ใช่รัฐเจ้าของธงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ UNFSA มากอื่น ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายคือมาตรการขึ้นและตรวจเรือยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันในทุกเขตทางทะเล อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการกำหนดให้มีมาตรการขึ้นและตรวจเรือโดยรัฐอื่นที่มิใช่รัฐเจ้าของธงของ RFMO/As ได้เร่งให้เกิดการตรวจสอบการปฏิบัติตามและการบังคับใช้กฎหมายของ RFMO/As</p> <p>นอกจากนั้น การให้ความร่วมมือของประเทศสมาชิกและประเทศที่มิใช่สมาชิกแต่ให้ความร่วมมือกับ RFMO/As ในการดำเนินการตามข้อกำหนดของ RFMO/As ตลอดจนความร่วมมือในการสร้างกลไกทางกฎหมายในระดับภูมิภาคหรืออนุภูมิภาคเพื่อตรวจสอบการทำประมงในเขตต่างๆทางทะเล เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมที่อาจพ้นจากการตรวจสอบได้</p> โศภิต ชีวะพานิชย์ Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 140 172 เหตุแห่งการยกฟ้องกรณีผู้เสียหายเป็นโจทก์ ในคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบ ภาค 6 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/270135 <p>ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางสังคม ทั้งเป็นอุปสรรคสำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ถือว่าเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามกฎหมาย โดยเปิดกว้างให้ผู้เสียหายมีอำนาจในการฟ้องคดีด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามปรากฏว่าคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ส่วนใหญ่ศาลพิพากษายกฟ้อง ยิ่งไปกว่านั้นพบว่าศาลพิพากษา ยกฟ้องตั้งแต่ในชั้นตรวจคำฟ้อง ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายไม่อาจเข้าถึงกระบวนยุติธรรมและใช้สิทธิฟ้องคดีได้อย่างเต็มที่ ทั้งที่กฎหมายได้ให้อำนาจผู้เสียหายฟ้องคดีอย่างเต็มที่โดยมิได้มีบทบัญญัติใดจำกัดอำนาจไว้ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาสาเหตุสำคัญที่ศาลพิพากษายกฟ้องผ่านการให้เหตุผลทางกฎหมายที่ปรากฎในคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 6 แบ่งเหตุแห่งการยกฟ้องออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้คือ 1. ยกฟ้องเนื่องด้วยจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด 2. ยกฟ้องเนื่องด้วยเหตุคำฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 3. ยกฟ้องเนื่องด้วยเหตุอำนาจฟ้อง 4. ยกฟ้องเนื่องด้วยโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีไม่สุจริต</p> ณัฏฐ์ชุดา ผ่องโสภณรัตน์ Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 173 200 ช่องว่างรายได้ระหว่างเพศในวงการกีฬา: บทเรียนการจ่ายค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียมให้แก่ทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติ จากสหรัฐอเมริกาสู่ประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/271766 <p>นักกีฬาอาชีพหญิงได้เข้าสู่วงการกีฬาสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นนักกีฬาอาชีพชายมักได้รับค่าจ้างมากกกว่านักกีฬาอาชีพหญิงในวงการกีฬาอาชีพสหรัฐอเมริกา ช่องว่างรายได้ระหว่างเพศในวงการกีฬาอาชีพและข้อวิตกเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ถูกสะท้อนในบริบทระดับชาติ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกาได้ฟ้องร้องนายจ้างของตนเอง ได้แก่ สหพันธ์กีฬาฟุตบอลสหรัฐอเมริกา เพื่อเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าจ้างอย่างเสมอภาคและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม กรณีศึกษาการจ่ายค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียมระหว่างทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกาและทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกาได้ถูกหยิบยกมาทำการศึกษาในบทความฉบับนี้ การเลือกปฏิบัติในการจ่ายค่าจ้างให้ชายและหญิงที่ปฏิบัติงานอย่างเดียวกันในอัตราที่แตกต่างกันภายใต้รัฐบัญญัติของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างอย่างเสมอภาค ค.ศ. 1963 ในฐานะที่เป็นกฎหมายแรงงานที่วางหลักเกณฑ์ห้ามเลือกปฏิบัติทางเพศด้านค่าจ้างและกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ชายและหญิงที่ทำงานอย่างเดียวกันในอัตราที่เท่ากันได้ถูกหยิบยกมาศึกษาวิเคราะห์ในบทความฉบับนี้ ประสบการณ์ของสหรัฐอเมริกาย่อมกลายเป็นบทเรียนต่อประเทศไทยอันนำไปสู่ความท้าทายทางกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างอย่างเสมอภาคถ้าหากปฏิบัติงานอย่างเดียวกันในอุตสาหกรรมกีฬา แล้วความท้าทายทางกฎหมายเช่นว่านี้ย่อมนำไปสู่การพัฒนากีฬาวงการฟุตบอลไทยในอนาคต</p> ปีดิเทพ อยู่ยืนยง Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 201 225 Reflection of Special Autonomy by Aceh Local Government Policy in Economics And Politics Based on Helsinki MOU https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/270908 <p>After 1998, the Indonesian government proposed the creation of an autonomous territory in the Republic. Indonesia has four special autonomous provinces, one of which is Aceh, which was formed following the 2005 conflict resolution. This research will focus on the local government's execution of the Helsinki MoU to ensure Aceh's peace and progress. The Qualitative technique is a way to analyze this study based on a literature review and local government policy and regulation to measure the results and changes during Aceh Special Autonomy. One of the primary policies implementing the Special Autonomy under the MoU Helsinki is the Law of Governing Aceh (LoGA) No. 11 of 2006. However, the Aceh local administration has yet to handle certain fundamental political and economic issues necessary to ensure Aceh's prosperity.</p> Rico Novianto Copyright (c) 2024 CMU Journal of Law and Social Sciences https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-06-27 2024-06-27 17 2 226 250