@article{แก้วเกลี้ยง_2018, place={Nakhon Nayok, Thailand}, title={ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงสร้างของสมาชิกผู้ติดยาเสพติดในสถาบันแบบเบ็ดเสร็จ}, volume={5}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/154539}, abstractNote={<p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงสร้างของสมาชิกในสถาบันแบบเบ็ดเสร็จ (Total Institution) ที่มีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างความเป็นสถาบันตาม “ตัวแบบทางกระบวนการยุติธรรมชุดเก่า” และ “ตัวแบบทางการแพทย์” กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ติดยาเสพติดเพศชายที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว ซึ่งได้นำแนวคิดเกี่ยวกับสถาบันแบบเบ็ดเสร็จของเออร์วิง กอล์ฟแมน (Erving Goffman) มาเป็นมโนทัศน์เร้าความรู้สึก (Sensitizing Concept) ในการวิเคราะห์ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยทำการเก็บข้อมูลผ่านทางการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) ในลักษณะของการฝังตัวในสนามเป็นเวลา 2 เดือน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกในสถาบันดังกล่าวมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงสร้างในลักษณะของการต่อรองต่อโครงสร้าง ทั้งการต่อรองเชิงปฐมภูมิ (Primary Adjustment) และการต่อรองเชิงทุติยภูมิ (Secondary Adjustment) สำหรับการต่อรองเชิงปฐมภูมิ สมาชิกได้พยายามแสดงตัวเป็น “สมาชิกที่ดี” ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกับโครงสร้าง ส่วนการต่อรองเชิงทุติยภูมิ เป็นการกระทำระหว่างกันของสมาชิกใน “โลกลับหลังเจ้าหน้าที่” ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาหารือระหว่างกัน การสรวลเสเฮฮาระหว่างกันการเล่า “ความลับ” ระหว่างกัน การนินทาระหว่างกัน และการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวระหว่างกัน โดยการต่อรองในลักษณะนี้แสดงถึงระเบียบความสัมพันธ์ชุดใหม่ที่สมาชิกร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อสร้างความผ่อนคลายและลดความตึงเครียดให้กับตนเอง อย่างไรก็ตาม ทั้งการต่อรองเชิงปฐมภูมิและการต่อรองเชิงทุติยภูมิล้วนเป็นกลยุทธ์ที่สมาชิกสร้างขึ้น เพื่อเอาตัวรอดในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น มิได้เป็นการทำลายโครงสร้างให้สูญสลายลงไปแต่อย่างใด</p>}, journal={วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า}, author={แก้วเกลี้ยง กฤษฎา}, year={2018}, month={ส.ค.}, pages={1–38} }