TY - JOUR AU - ชุติกาโม, ยอดชาย PY - 2018/08/01 Y2 - 2024/03/29 TI - พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก 116: ปฐมบทการปกครองท้องถิ่นไทย JF - วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า JA - CRMA_HUSO VL - 5 IS - 0 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/154541 SP - 67-94 AB - <p>แม้ว่าพระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก 116 จะมิใช่กฎหมายที่แสดงถึงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน แต่กฎหมายฉบับนี้ได้แสดงถึงการวางรากฐานการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากสังคมไทยได้พัฒนาจากรัฐจารีตมาสู่การเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ต้องมีการปฏิรูปการปกครองและรวมอำนาจที่ส่วนกลาง โดยในระดับท้องที่ท้องถิ่นต่างที่ห่างไกลเมืองหลวงได้มีกลไกของระบบราชการคือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ทำหน้าที่ให้กับรัฐบาลในพื้นที่ โดยมีอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด ต่างจากการปกครองท้องที่ในแบบเดิมของรัฐในระบบจารีตที่ห่างเหินจากส่วนกลางและไม่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ ยังมีการเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นเป็นครั้งแรกคือการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นการวางรูปแบบอำนาจการปกครองในพื้นที่ท้องถิ่นของไทยอย่างเป็นระบบครั้งแรก เป็นการเปิดโอกาสให้ราษฎรได้เรียนรู้การเลือกตั้งในระดับพื้นฐาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นฝึกหัดราษฎรให้รู้จักกับการเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถือได้ว่าเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการปกครองท้องถิ่นที่จะพัฒนาขึ้นสืบเนื่องมาตามบริบทของสังคมไทย</p> ER -