https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/issue/feed วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2024-08-09T18:43:59+07:00 พันเอกหญิง รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์ journal_huso@crma.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เกิดขึ้นเมื่อปีงบประมาณ 2557 (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน ก.ย.56 – ส.ค.57) เป็นวารสารรายปี ตีพิมพ์บทความโดยผ่านการกลั่นกรองแบบอำพรางสองฝ่าย (Double-blind peer review) โดยตั้งแต่ฉบับที่ 9 (2565) เป็นต้นไป บทความจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา อย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งวารสารมุ่งเน้นบทความด้านการศึกษา การพัฒนาประเทศ การทหารและความมั่นคง ในสาขาสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ และสังคมศาสตร์ทั่วไป โดยได้จัดทำวารสารเป็น 2 รูปแบบ คือ วารสารตีพิมพ์ ISSN 2392-5698 (Print) และในปีที่ 6 (2562) ได้จัดทำเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2673-0022 (Online) และไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในทุกขั้นตอน</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/275633 บรรณาธิการแถลง 2024-08-04T12:23:25+07:00 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/275634 ก่อร่างเป็นบางกอก 2024-08-04T12:29:26+07:00 กฤษฎา แก้วเกลี้ยง krissada.ka@crma.ac.th 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/272042 การศึกษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการ : กรณีศึกษา ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปี 2565 2024-02-14T10:12:13+07:00 สาริศา เขี้ยวงา sarisa.kh@crma.ac.th <p> การศึกษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการ : กรณีศึกษา ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการของส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ด้านการใช้คำ การใช้ประโยค และรูปแบบการเขียน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยหนังสือราชการที่ปรากฏในระบบเวียนทราบ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยการสุ่มเลือก จำนวน 120 ฉบับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการทั้งสิ้น 3 ด้าน ได้แก่ การใช้คำ การใช้ประโยค และรูปแบบการเขียน ด้านการใช้คำพบข้อบกพร่องจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การใช้คำไม่ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย และการใช้ภาษาไม่เหมาะสม ด้านการใช้ประโยคพบข้อบกพร่องจำแนกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การเรียงประโยคผิดหลักภาษา การใช้ประโยคที่ไม่สมบูรณ์ การผูกประโยคที่ใช้คำซ้ำกันอยู่ใกล้ชิดกัน และประโยคไม่กระชับและไม่สละสลวย ด้านรูปแบบการเขียนพบข้อบกพร่องจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้อง และการเว้นวรรคไม่ถูกต้อง</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/272404 ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกลขนส่งทหารบก ตามแนวคิดเป้าหมายในชีวิต 2024-03-02T09:59:11+07:00 กฤช ประชาญสิทธิ์ precadetjeep@gmail.com ธีรภัทร กุโลภาส dhirapat.k@chula.ac.th <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก ตามแนวคิดเป้าหมายในชีวิต โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก ตามแนวคิดเป้าหมายในชีวิต ประกอบด้วย 1) งานวินัยและความประพฤตินักเรียน 2) งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) งานกิจกรรมแนะแนว ซึ่งทุกงานมีสภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นสูงสุดในการพัฒนา คือ งานกิจกรรมแนะแนว รองลงมา คือ งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และงานวินัยและความประพฤตินักเรียน ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมงานด้านกิจกรรมการแนะแนวมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับแนวคิดเป้าหมายในชีวิตที่จะนำไปสู่การทำงานในอนาคต</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/271999 แนวทางการพัฒนากิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2024-02-20T10:59:36+07:00 สาธนี แก้วสืบ kaewsub@gmail.com กนกรัตน์ พงษ์โพธากุล kanokrath.p@bid.kmutnb.ac.th <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมจิตอาสา 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นของกิจกรรมจิตอาสา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ข้าราชการ นักเรียนนายร้อย และประชาชนในพื้นที่โดยรอบ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมจิตอาสาโดยรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความพึงพอใจ และด้านประสิทธิภาพ สำหรับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นของกิจกรรมจิตอาสา พบว่า ด้านประสิทธิภาพ คือ จำนวนบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มีไม่เพียงพอ ด้านความพึงพอใจ ผู้ให้ข้อมูลหลักบางกลุ่มเห็นว่า เป็นการบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นการเพิ่มภาระงาน ด้านการมีส่วนร่วม คือ ขาดการประสานงานที่ดีกับผู้นำชุมชนในพื้นที่ ดังนั้น แนวทางการพัฒนากิจกรรมจิตอาสา ในด้านประสิทธิภาพ ควรมีการจัดสรรบุคลากร เวลา สถานที่ จัดหางบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและเหมาะสม ด้านความพึงพอใจ ควรมีการขยายพื้นที่ให้มากขึ้น เพิ่มเติมรูปแบบของกิจกรรมจิตอาสา และด้านการมีส่วนร่วม ควรมีการปลูกฝังการเป็นจิตอาสาเพิ่มขึ้น รวมถึงจัดให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/271522 การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2024-01-29T19:53:54+07:00 อดิศักดิ์ ใหมทอง 65010581063@msu.ac.th ธรินธร นามวรรณ tharinthorn.n@msu.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) พัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 454 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินแนวทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการนิเทศภายใน ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ด้านการดำเนินการนิเทศภายใน ด้านสะท้อนผล รายงานและเผยแพร่ผลการนิเทศภายใน และด้านการประเมินผล ติดตาม และปรับปรุงการทำงานการนิเทศภายใน ตามลำดับ 2) แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย แนวทางจำนวน 30 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง พบว่า แนวทางมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/271930 การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนนายร้อยในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) 2024-03-10T10:39:47+07:00 อาคม โง้นแดง arkom.ng@crma.ac.th วาริษ เหมาะทอง waris5569@gmail.com เฟื่องวิชช์ สัจจาพันธ์ Fsoscar9344@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนนายร้อยในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนนายร้อยในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จำแนกตามปีและกลุ่มสาขาวิชา และ 3) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จำแนกตามปีและกลุ่มวิชา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 2-5 จำนวน 288 นาย ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนนายร้อยมีพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อการติดต่อสื่อสารในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ต่างกันและกลุ่มสาขาวิชาที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไม่แตกต่างกัน และ 3) นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ต่างกันและกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไม่แตกต่างกัน</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/272128 แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 2024-04-09T09:06:59+07:00 ณัฐสินี ศรีนครชัยเจริญ 64441005@stu.eau.ac.th ปองสิน วิเศษศิริ v.pongsin@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน 2) แนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ตามมาตรการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ข้าราชการครู จำนวน 103 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพดำเนินงาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตามมาตรการอยู่ในระดับมากทุกมาตรการ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรการ พบว่า มาตรการที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน รองลงมา คือ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต 2) แนวทางที่เหมาะสม พบว่า มีมาตรการที่ต้องทำการพัฒนาการดำเนินงานอย่างเร่งด่วน 3 มาตรการ ก่อนที่จะจัดการกับมาตรการที่เหลือ คือ 1. การจัด สวัสดิการความปลอดภัย และการสร้างขวัญและกำลังใจ โดยควรขจัดความกังวลใจของครูในการออกไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกรูปแบบ และจัดและสร้างความเข้าใจในเรื่องสวัสดิการให้ได้อย่างเหมาะสม 2. การพัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิดและการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา โดยควรส่งเสริมการจัดงบประมาณ อุปกรณ์ และการเสริมความรู้ให้ครูผลิตสื่อดิจิทัล และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าใช้คลังสื่อนี้ได้ง่ายอย่างทั่วถึง และ 3. การเสริมพลังพัฒนาครูและผู้บริหารการศึกษา โดยควรกำหนดนโยบายในการเสริมพลังครูและจัดงบประมาณสำหรับการยกระดับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/271450 การค้ามนุษย์ข้ามชาติในประเทศไทย: สถานการณ์ การคุ้มครองเหยื่อและการปราบปราม 2024-02-12T18:10:41+07:00 กุลธิดา มาลาม kunmalam@gmail.com <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะของการค้ามนุษย์ข้ามชาติ และนำเสนอสถานการณ์ มาตรการคุ้มครองเหยื่อ รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ข้ามชาติซึ่งผู้เขียนได้รับจากการศึกษารวบรวมหนังสือ ตำรา และเอกสารทางวิชาการ สำหรับการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ข้ามชาติในประเทศไทยจะทำให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพความรุนแรงของสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงลักษณะของการค้ามนุษย์ข้ามชาตินับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงการส่งมอบผู้อพยพย้ายถิ่นข้ามชาติ รูปแบบการค้ามนุษย์ข้ามชาติและลักษณะของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอถึงมาตราการที่รัฐบาลไทยพยายามที่จะปฏิบัติตามกฎหมายสากลเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/273100 ข่าวลือว่าด้วยแผนรวมไทย-ลาว ในทศวรรษ 2510 ระหว่างยุคสงครามเย็น 2024-04-07T16:53:48+07:00 สืบสายสยาม ชูศิริ seubsaisiam.c@tsu.ac.th <p> บทความนี้มุ่งศึกษาข่าวลือเรื่อง “แผนรวมไทย – ลาว” ที่เกิดขึ้นในหมู่ปัญญาชนไทยฝ่ายก้าวหน้าภายใต้บริบทของทศวรรษ 2510 ระหว่างยุคสงครามเย็นว่าเกิดจากสาเหตุใด และข่าวลือดังกล่าวมีข้อเท็จจริงและเอกสารราชการสนับสนุนมากน้อยเพียงใด ภายใต้การศึกษาผ่านระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์จากการศึกษาพบว่า ความร่วมมือทางการเมืองและทางการทหารของฝ่ายรัฐบาลไทยกับลาวฝ่ายขวา คือ การส่งทหารรับจ้างชาวไทยไปรบในลาว และรัฐบาลไทยพยายามปิดเป็นความลับ ไม่เปิดเผยสู่สาธารณชน ทำให้ข้อมูลข่าวสารคลุมเครือ ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ข่าวลือ” มากมายในช่วงเวลานี้ ข่าวเรื่องแผนรวมไทย - ลาว ในหมู่ปัญญาชนไทยฝ่ายก้าวหน้า อาจเกิดขึ้นจากสภาวะความคลุมเครือที่ว่านี้ ในส่วนข้อเท็จจริงที่ได้จากเอกสารราชการเท่าที่เปิดเผยในภายหลังพบว่า ไม่มีเรื่องการส่งทหารไทยเข้าไปในลาวเพื่อผนวกดินแดนลาวให้กลับเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยตามข่าวลือที่ว่านี้</p> 2024-08-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า