วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO <p>วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เกิดขึ้นเมื่อปีงบประมาณ 2557 (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน ก.ย.56 – ส.ค.57) เป็นวารสารรายปี ตีพิมพ์บทความโดยผ่านการกลั่นกรองแบบอำพรางสองฝ่าย (Double-blind peer review) โดยตั้งแต่ฉบับที่ 9 (2565) เป็นต้นไป บทความจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา อย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งวารสารมุ่งเน้นบทความด้านการศึกษา การพัฒนาประเทศ การทหารและความมั่นคง ในสาขาสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ และสังคมศาสตร์ทั่วไป โดยได้จัดทำวารสารเป็น 2 รูปแบบ คือ วารสารตีพิมพ์ ISSN 2392-5698 (Print) และในปีที่ 6 (2562) ได้จัดทำเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2673-0022 (Online) และไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในทุกขั้นตอน</p> สภาคณาอาจารย์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า th-TH วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2392-5698 <p>เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี</p> <p>บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ</p> การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในสภาวะวิกฤตช่วงสถานการณ์โควิด 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/264571 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชในภาวะวิกฤตช่วงสถานการณ์โควิด 2019 (COVID-19) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือกับสภาวะวิกฤต เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงานหรือการให้บริการในภาวะวิกฤตช่วงสถานการณ์โควิด 2019 ที่เกิดขึ้น โดยองค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์และแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ หากองค์กรไม่มีกระบวนการรองรับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อผู้รับบริการ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การเงิน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สิน</p> <p>ดังนั้น โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศต้องดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้เป็นปัจจุบัน โดยใช้แนวทางบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล BS25999 ที่ได้รับการใช้อย่างแพร่หลาย มี 6 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) การบริหารโครงการจัดการความต่อเนื่อง 2) การศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร 3) การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง 4) การพัฒนาและเตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน 5) การทดสอบ ปรับปรุง และทบทวนแผน 6) การปลูกฝัง BCM ให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาไปสู่มาตรฐาน ISO 22301 : 2012 โดยขอบเขตวิธีการบริหารจัดการและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของแต่ละหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศ อาจแตกต่างกันไปตามขนาด ประเภทภารกิจ และทรัพยากรที่ใช้งาน ผนวกกับการนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) รวมทั้งระบบดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งเป็นจุดแข็งของกองทัพอากาศ</p> พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 91 102 การส่งเสริมหลักประชาธิปไตยในกระทรวงกลาโหม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/266264 <p>กฎหมายในลำดับชั้นพระราชบัญญัติของกระทรวงกลาโหมยังขาดหลักประชาธิปไตยบางประการที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หากเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายในลำดับชั้นพระราชบัญญัติของกระทรวงกลาโหมกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และหาแนวทางปรับปรุง แก้ไขหรือเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับหลักประชาธิปไตยในกฎหมายลำดับชั้นพระราชบัญญัติของกระทรวงกลาโหม </p> <p>จากการศึกษาพบว่า กฎหมายในลำดับชั้นพระราชบัญญัติของกระทรวงกลาโหมไม่ปรากฏหลักความเป็นกลางทางการเมืองและขาดการรับรองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคบางประการตามหลักประชาธิปไตยแก่ข้าราชการกระทรวงกลาโหมซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่ในข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยข้าราชการกลาโหมกับการเมือง พ.ศ. 2499 ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยประมวลจริยธรรมและการรักษาจริยธรรม พ.ศ. 2564 และพระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. 2566 มีกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมหลักประชาธิปไตยในกฎหมายลำดับชั้นพระราชบัญญัติของกระทรวงกลาโหมเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหาหลักความเป็นกลางทางการเมืองของข้าราชการกระทรวงกลาโหมและโทษทางวินัย และรับรองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคบางประการแก่ข้าราชการกระทรวงกลาโหม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับมาตรา 27 วรรคห้าหรือบทบัญญัติอื่นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายจะนำไปสู่ผลที่ทำให้ข้าราชการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ยืดถือหลักประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐอย่างเคร่งครัด และกระทรวงกลาโหมพึงดำเนินการตามแนวนโยบายแห่งรัฐได้</p> ลิษา สิริปทุมมาศ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 103 117 การศึกษาเพื่อค้นหาเมืองถลางและสนามรบ พ.ศ. 2328 และ พ.ศ. 2352 จากหลักฐานปฐมภูมิใหม่ของต่างประเทศ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/266643 <p>ประวัติศาสตร์เมืองถลางและสงครามถลาง พ.ศ. 2328 และ พ.ศ. 2352 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อ้างอิงจากหลักฐานทุติยภูมิ เช่น 1) พงศาวดารเมืองถลาง และหนังสือรายงานผลการสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง พ.ศ. 2539 “ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร รายงานสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง ครั้งที่ 2” กล่าวว่า เมืองถลางและสนามรบเมืองถลาง พ.ศ. 2328 อยู่ที่บ้านตะเคียน อ.ถลาง 2) พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 กล่าวว่า เมืองถลาง พ.ศ. 2352 คือ เมืองถลางเก่าใกล้ชายทะเลของเกาะด้านเหนือ และสนามรบเมืองถลาง พ.ศ. 2352 อยู่ที่บ้านดอน</p> <p>ปัจจุบันหลักฐานปฐมภูมิค้นพบใหม่ของต่างประเทศ เปิดเผยว่า 1) เมืองถลาง พ.ศ. 2328 คือ เมืองท่าเรือ และพยานชาวอังกฤษผู้เห็นเหตุการณ์รายงานว่า กองทัพพม่าเข้าโจมตีอ่าวท่าเรือและเมืองท่าเรือ ดังนั้น สนามรบเมืองถลาง พ.ศ. 2328 อยู่ที่อ่าวท่าเรือและเมืองท่าเรือ 2) พยานชาวฝรั่งเศส ผู้อยู่ในเหตุการณ์สงครามถลาง พ.ศ. 2352 และเป็นเชลยของทหารพม่า รายงานว่า เมืองถลางและสนามรบเมืองถลาง พ.ศ.2352 อยู่ที่เมืองท่าเรือ</p> เอกพล มโนสุนทร กฤตพร ชาตรีสกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 118 131 หอจดหมายเหตุต่างประเทศ ทูลกระหม่อมอาจารย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/269679 กฤษฎา แก้วเกลี้ยง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 132 135 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ตามแนวคิดทักษะการทำงานระยะไกล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/265679 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยตามแนวคิดทักษะการทำงานระยะไกล โดยมีประชากร คือ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการทำงานระยะไกลของครูทั้งสามด้าน คือ 1) ทักษะด้านการสอนระยะไกล2) ทักษะด้านการจัดการระยะไกล และ 3) ทักษะด้านสังคมและปฏิสัมพันธ์ระยะไกล มีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในภาพรวม และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวม ผลการจัดลำดับค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยตามแนวคิดทักษะการทำงานระยะไกลจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ทักษะด้านการสอนระยะไกล ทักษะด้านการจัดการระยะไกลและทักษะด้านสังคมและปฏิสัมพันธ์ระยะไกล ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมให้ครูมีทักษะการทำงานระยะไกลเพื่อพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน</p> พงษ์พัฒน์ พร้อมสุขสันต์ เพ็ญวรา ชูประวัติ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 1 15 การศึกษาบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/265031 <p>บุคลิกภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิต การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อย และ 2) เปรียบเทียบบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักเรียนนายร้อยบังคับบัญชา จำนวน 17 นาย โดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 142 นาย ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ใบงานกิจกรรมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ผลส่วนนี้โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบวัดบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อยอยู่ในระดับสูง 2) ผลการเปรียบเทียบตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีเหตุผลในการเลือกเข้ามาเป็นนักเรียนนายร้อย และมีความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนนายร้อยที่แตกต่างกัน มีบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนลักษณะการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ทำให้บุคลิกภาพฯ ของนักเรียนนายร้อยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ การรับรู้ต่อการเป็นนักเรียนทหารที่แตกต่างกันไม่ส่งผลให้บุคลิกภาพฯ ของนักเรียนนายร้อยแตกต่างกัน</p> รุ่งอรุณ วัฒยากร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 16 30 ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนทวีธาภิเศก ตามแนวคิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/265655 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนทวีธาภิเศกตามแนวคิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>) </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนทวีธาภิเศกตามแนวคิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียน ประกอบด้วย 1) ความตระหนักในตนเอง และความมีอิสระในการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ความสามารถในการแสวงหา และจัดการความรู้ 4) ความสามารถในการประเมินกระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 5) การมีทักษะการคิด มีสภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นสูงสุดในการพัฒนา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการพัฒนาการบริหารวิชาการให้นักเรียนมีสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อให้นักเรียนสามารถปรับตัว และปรับวิธีการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และความต้องการของสังคมในปัจจุบันและโลกอนาคตได้</p> ชมภูนุช จันทร์แสง นันทรัตน์ เจริญกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 31 45 ความพึงพอใจด้านสวัสดิการในการช่วยเหลือกำลังพลปลดพิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติราชการสนาม สังกัดกองทัพบก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/267869 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของกำลังพลปลดพิการทุพพลภาพด้านสวัสดิการในการช่วยเหลือกำลังพล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และความคาดหวังของกำลังพล ด้านการจัดสวัสดิการช่วยเหลือกำลังพลปลดพิการทุพพลภาพ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และความคาดหวังด้านสวัสดิการในการช่วยเหลือกำลังพลปลดพิการทุพพลภาพกับความพึงพอใจด้านสวัสดิการในการช่วยเหลือกำลังพล โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ กำลังพลปลดพิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติราชการสนาม สังกัดกองทัพบกทุกชั้นยศ จำนวน 145 นาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสามารถเก็บข้อมูลได้ จำนวน 128 นาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและหาความสัมพันธ์ด้วยตารางไขว้</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กำลังพลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลางด้านสวัสดิการในการช่วยเหลือกำลังพลปลดพิการทุพพลภาพ 2) ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และความคาดหวังของกำลังพล พบว่า กำลังพลส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 61 ปี สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีชั้นยศร้อยตรี-ร้อยเอก มีรายได้ระหว่าง 15,000-30,000 บาท มีสถานภาพโสด และไม่มีบุตร มีความรู้ด้านการจัดสวัสดิการโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความคาดหวังการจัดสวัสดิการโดยรวมในระดับปานกลาง และ 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า รายได้ ตลอดจนความรู้และความคาดหวังเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของกำลังพล ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ชั้นยศ สถานภาพสมรสและจำนวนบุตร ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของกำลังพลปลดพิการทุพพลภาพต่อสวัสดิการที่ได้รับ</p> จุฑามาศ ฉายกำเหนิด มาตรินี รักษ์ตานนท์ชัย Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 46 60 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/267679 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลระหว่างสมรรถนะหลักกับสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ข้าราชการทหารที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนนายสิบทหารบก จำนวน 130 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการถดถอยพหุคูณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้บังคับบัญชาในโรงเรียนนายสิบทหารบก จำนวน 8 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคล คือ อายุและเวลารับราชการ มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) สมรรถนะหลักด้านความรู้ ลักษณะนิสัย แรงจูงใจ และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับสมรรถนะ SMART ในการปฏิบัติงานของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก พบว่า โรงเรียนนายสิบทหารบกควรพัฒนาและส่งเสริมกำลังพลอย่างต่อเนื่องในด้านความเสียสละ ด้านมีคุณธรรม ด้านดำรงความถูกต้องพร้อมรับผิด ด้านมุ่งมั่นในผลสัมฤทธิ์ และด้านร่วมคิดทำงานเป็นทีม เพื่อให้สมรรถนะ SMART ของกำลังพลอยู่ในระดับสูงต่อไป</p> สรเชษฐ ดีเอื้อ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 61 75 A Necessary Friendship: The Development of Thai-Soviet Relations from the Perspective of the United States, 1945-1963 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/265742 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางการทูตและพัฒนาการในช่วงบุกเบิกของความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตระหว่าง ค.ศ. 1945-1963 จากมุมมองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และทัศนคติของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาต่อความสัมพันธ์ไทย-โซเวียต ผ่านเอกสารของสำนักจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ (National Archives and Records Administration) สหรัฐอเมริกา โดยใช้การวิจัยเอกสารและระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์เอกสาร</p> <p>งานวิจัยค้นพบว่า ความสัมพันธ์ไทย-โซเวียตในช่วงเวลานี้เริ่มด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์เมื่อ ค.ศ. 1946 ซึ่งเป็นไปได้อย่างค่อนข้างราบรื่น ตามด้วยความพยายามในการพัฒนาความสัมพันธ์ในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งประสบความสำเร็จจำกัด และจบด้วยความตึงเครียดและการร่นถอย ในส่วนของทัศนคติของสหรัฐอเมริกามีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจากการไม่ค่อยให้ความสนใจสู่การติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมถึงการกดดันและการมีมาตรการก้าวก่าย ถึงแม้ไทยและสหภาพโซเวียตมีความแตกต่างพื้นฐานด้านอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ความแตกต่างนี้มิได้เป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการพัฒนาความสัมพันธ์ โดยเฉพาะในมิติของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ความพยายามเหล่านี้ส่วนมากจะถูกบั่นทอนด้วยกิจกรรมประชาสัมพันธ์และข่าวกรองซึ่งขาดการประสานงาน</p> อภิเษก มนเทียรวิเชียรฉาย Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10 76 90 บทบรรณาธิการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/269920 บรรณาธิการ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-03 2023-10-03 10