วารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm <p>&nbsp;วารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์ (Journal of Educational Administration and Education) ดำเนินการโดย หลักสูตรครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความพิเศษ และวิจารณ์หนังสือ ในสาขาบริหารการศึกษา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา&nbsp;</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต&nbsp; สาขาการบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา</p> <p><span style="font-weight: 400;">บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย&nbsp;</span></p> [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นวรัตน์ ไวชมภู) [email protected] (คุณซากียะห์ ฆาเฮง) Fri, 17 Dec 2021 15:51:34 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/250857 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)&nbsp; ศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู 2) เปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ตามตัวแปรเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนอำเภอจะแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จำนวน 202 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยการหยิบฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ใเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ตอน หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ได้ค่าระหว่าง 0.67 – 1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยการวิเคราะห์ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคได้ค่าเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีอิสระ ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า</p> <p>1. ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.62, S.D.=0.40) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อเช่นกัน</p> <p>2. ผลการเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ ภาพรวมพบว่าไม่แตกต่าง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน ด้านการยอมรับนับถือ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามตัวแปรวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ภาพรวมและรายด้านพบว่าไม่แตกต่าง</p> <p>3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ในด้านสภาพการทำงานพบว่า ผู้บริหารควรมีการกระจายงานให้มีความเหมาะสมตามภาระหน้าที่ของครูด้วยความเป็นธรรม ด้านความมั่นคงและปลอดภัยพบว่า ผู้บริหารควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลและตรวจตราความปลอดภัยของครู ด้านความมีสัมพันธภาพพบว่า ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในองค์กร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนพบว่า ผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้ครูอยู่อย่างพอเพียง ไม่สร้างหนี้เกินตัว ด้านการยอมรับนับถือพบว่า ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของครู เพื่อเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ด้านความสำเร็จพบว่า ผู้บริหารควรมีนโยบายในการวางแผนการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และด้านความก้าวหน้าในอาชีพ พบว่า ผู้บริหารควรกระตุ้นความตั้งใจให้ครูคิดค้นวิทยาการใหม่ๆในการพัฒนาผู้เรียน และเป็นกำลังใจในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป</p> ริฟอรรถ ยะโกะ, นวรัตน์ ไวชมภู Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/250857 Fri, 17 Dec 2021 00:00:00 +0700 การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251204 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา และ 3) ประมวลปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาอำเภอสายบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 250 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายด้วยการหยิบฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ได้ค่าระหว่าง 0.60 – 1.00 หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัคได้ค่าเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีอิสระ และการทดสอบค่า ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>1. การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.31, S.D.=0.42)</p> <p>2. การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่าง ยกเว้น ด้านการคัดครองนักเรียนและด้านการป้องกันและการแก้ไขปัญหา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>3. ข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารควรดำเนินการให้ครูศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ควรดำเนินการให้มีระบบการคัดกรองนักเรียนตามเกณฑ์การคัดกรอง โดยใช้แบบประเมิน (SDG) ในการคัดกรอง ควรดำเนินการให้มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนทุกภาคเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมโฮมรูมให้กับผู้เรียนในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างเหมาะสม ควรดำเนินการให้มีความเอาใจใส่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และควรดำเนินการให้มีการชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจถึงความจำเป็นในการส่งต่อ โดยใช้คำพูดที่สร้างสรรค์ของครู</p> นูรมาน พิทักษ์สุขสันต์, นิตยา เรืองแป้น Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251204 Mon, 20 Dec 2021 00:00:00 +0700 การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251201 <p>การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปร เพศ ประสบการณ์ในตำแหน่งปัจจุบัน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ประมวลผลปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 กำหนดขนาดตามตารางของเครจซี มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 130 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากไม่ใส่คืนตามเกณฑ์สัดส่วนอำเภอและขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบอิสระ และทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>1. ผู้บริหารสถานศึกษามีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.57, S.D.=.41)</p> <p>2. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ที่มีเพศ ประสบการณ์ในตำแหน่งปัจจุบัน และขนาดสถานศึกษาแตกต่างกัน มีการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน</p> <p>3. ปัญหาของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ ขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีแนวปฏิบัติในแต่ละระบบของการประกันคุณภาพภายในที่ชัดเจน ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ และมีข้อเสนอแนะ คือ สร้างความรู้ ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพให้ชัดเจน และพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> สุเชาว์ หมั่นดี, นิตยา เรืองแป้น Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251201 Mon, 20 Dec 2021 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252300 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน และ 3) ประมวลข้อเสนอแนะของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2563 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 170 คน สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของดูบริน หาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.67-1.00 หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าทีอิสระ สถิติค่าเอฟ และทำการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.96, S.D.=0.64)</p> <p>2. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี จำแนกตามเพศ พบว่า ผู้บริหารที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ผู้บริหารที่มีขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 1 คู่ คือ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มากกว่า ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก</p> <p>3. ผลการประมวลข้อเสนอแนะของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ในด้านผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจในระดับสูง พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนต้องสามารถมองภาพรวมขององค์กรได้และเห็นคุณค่าเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการทำงานของครู ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ พบว่า ผู้บริหารควรมีเครือข่ายในการสนับสนุนองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม<strong>ิ </strong>ด้านการมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต พบว่า ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำและเป็นขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับครู ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ พบว่า ผู้บริหารต้องมีแนวคิดที่จะพัฒนาตนเองและโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พบว่า ผู้บริหารควรมีทักษะในการมองภาพแห่งอนาคตคาดการณ์อนาคตว่าโรงเรียนของตนจะต้องไปอยู่ในจุดไหน</p> มูฟีด วาโซะ, นวรัตน์ ไวชมภู Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252300 Mon, 20 Dec 2021 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ ของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252877 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู 3) เปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารกับครู และ 4) ประมวลข้อเสนอแนะของประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี จำนวน 296 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 28 คน และครู จำนวน 268 คน สุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ โดยการคำนวณเกณฑ์สัดส่วนและจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าทีอิสระ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>1. ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน</p> <p>2. ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน</p> <p>3. ผลเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารกับภาพรวม ด้านการบริหารงานบุคคล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>4. ผลการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี ในด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารควรมีการตื่นตัวตลอดเวลาในการบริหารงานวิชาการให้มีความยืดหยุ่น โดยการใช้เทคโนโลยีในการสอนให้ทันกับทุกสถานการณ์และอย่างเป็นระบบ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ควรมีแผนการปฏิบัติงานประจำปี โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์เป็นหลัก มีความโปร่งใส ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าแก่ตัวผู้เรียนให้มากที่สุด ด้านการบริหารงานบุคคล การสร้างความตระหนักและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงานบุคคลโดยการพัฒนาบุคคลากรในองค์อยู่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง และด้านการบริหารงานทั่วไป การพัฒนาด้านการสร้างเครือข่ายชุมชน และระดมภาคีเครือข่าย การต้องดูแลทั้งระบบ</p> มูฮามัดตอยูดีน เจ๊ะเเว, นวรัตน์ ไวชมภู Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252877 Tue, 21 Dec 2021 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอจะแนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251453 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามตัวแปรเพศ&nbsp; ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา และ 3) ประมวลข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในอำเภอจะแนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคอร์ท หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.60 – 1.00 หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ. 861 สถิติที่ใช้ คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และทำการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอจะแนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> <p>2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอจะแนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต3 จำแนกตามตัวแปรเพศ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ด้านตัวแปรเพศระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า เพศชายแตกต่างจากเพศหญิง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และด้านขนาดของสถานศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอจะแนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ได้แก่ 1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ คือ ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้ครู 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ คือ ควรให้ขวัญและกำลังใจให้กับครู 3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา คือ ควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ 4) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล คือ ควรมีความเป็นกันเอง และเป็นที่พึ่งของครูได้ทุกเรื่อง</p> มาหะมะซาตา เจ๊ะมะ, จรุณี เก้าเอี้ยน Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251453 Wed, 22 Dec 2021 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251942 <p>การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของครูผู้สอน และ 3) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารกับครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียน โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 23 คน และ 2) ครูในโรงเรียนประถมศึกษา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีอิสระ ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า</p> <p>1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การกระตุ้นทางปัญญา</p> <p>2. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้ครู ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ทั้ง 4 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ รองลง คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา</p> <p>3.ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารกับและครู ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ภาพรวมและรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารกับการรับรู้ของครู ไม่แตกต่างกัน</p> นิอาลี หะยีนิมะ, นวรัตน์ ไวชมภู Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/251942 Mon, 27 Dec 2021 00:00:00 +0700 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัด สำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252107 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร ตามตัวแปรเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างคือครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนรปะมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และทำการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคูโดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับการบริหารบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.08, S.D.=0.37)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัด สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำแนกตามตัวแปรเพศ ประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่า ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนตัวแปรวุฒิการศึกษา พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัด สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มากที่สุดคือ ควรสนับสนุนการจัดการประชุมปกครองนักเรียน ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและร่วมกิจกรรมกับสถาบันการศึกษาอื่น ผู้บริหารควรพิจารณาเนื้อหาไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี และควรมีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านวิชาการให้เป็นไปตามแผนวิชาการ</span></p> บัรนัน สาแล, จรุณี เก้าเอี้ยน Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252107 Fri, 04 Feb 2022 00:00:00 +0700 การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดนราธิวาส https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252272 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส 2) เปรียบเทียบการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส และ 3) ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และการทดสอบความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส ภาพรวม อยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลเปรียบเทียบการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารควรมีการประชุมด้านการบริหารและการจัดการเพื่อวางแผน​ในการใช้ทรัพยากร​ที่มีให้เกิดประสิทธิภาพ​มากที่สุด ด้านการบริหารการวางแผน คือผู้บริหารควรมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เป็นสถานศึกษาที่มีความทันสมัยต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารด้านวิชาการ คือ ผู้บริหารควรมีการพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนที่สูงขึ้น ด้านการบริหารด้านงบประมาณ คือ ผู้บริหารควรมีการศึกษาวิเคราะห์การจัดและการพัฒนาการศึกษาในการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษาตามกรอบทิศทางของพื้นที่การศึกษาและความต้องการของสถานศึกษาและการบริหารด้านบุคคล คือ ผู้บริหารควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ</span></p> นาซีฮะห์ ลาเตะ, จรุณี เก้าเอี้ยน Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EdD_Adm/article/view/252272 Fri, 04 Feb 2022 00:00:00 +0700