Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO <p> วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความคิดเห็นทางวิชาการ </p> <p>เพื่อเผยแพร่งานการศึกษาค้นคว้าและวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ</p> <p>เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็นทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p><strong>ขอบเขต</strong></p> <p>บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในด้านปรัชญาและศาสนา ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม วัฒนธรรมศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา รัฐประศาสนศาสตร์ พัฒนาสังคม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี สารสนเทศและการสื่อสาร และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)</strong></p> <p>วารสารมีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ตีพิมพ์รูปแบบระบบวารสารอิเล็คทรอนิคส์</p> <p>-ฉบับเดือนมกราคม – เมษายน (กำหนดออกเดือนเมษายน)<br />-ฉบับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม (กำหนดออกเดือนสิงหาคม)<br />-ฉบับเดือนกันยายน – ธันวาคม (กำหนดออกเดือนธันวาคม)</p> en-US [email protected] (Umarin Tularak, Ph.D.) [email protected] (Kwannakorn Mungkampa) Wed, 03 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีนกรณีศึกษามหาวิทยาลัยยูนนาน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/268992 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทและวิธีการของมหาวิทยาลัยยูนนานในการช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของชนบทจีน 2) สรุปประสบการณ์การแก้จนตรงเป้าของจีนเพื่อเป็นแบบแผนนำไปประยุกต์ในประเทศอื่น โดยใช้วิธีการศึกษาจากการรวบรวมเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับนโยบายแก้จนของจีนในระดับมหาวิทยาลัย 12 คน ผลการศึกษาพบว่า สถาบันอุดมศึกษากว่า 3,000 แห่งของจีนทุกแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยยูนนานได้ตั้งสำนักงานขจัดความยากจน มีการจัดสรรงบประมาณ ส่งผู้บริหาร คณาจารย์ลงพื้นที่ไปประจำยังหมู่บ้านที่ยากจน การจัดตั้งสำนักงานบรรเทาความยากจนขึ้นมาถือเป็นการสร้างกลไกที่ครบวงจร โดยใช้รูปแบบ 1 : 1 คือ 1 มหาวิทยาลัย 1 พื้นที่รับผิดชอบ, อาจารย์ เจ้าหน้าที่ 1 คน รับผิดชอบ 1 ครอบครัว ซึ่งเป็นหนึ่งในแบบแผนสำคัญในการแก้จนของจีนคือ การแก้จนตรงเป้า กล่าวคือ ตรงเป้าทั้งในเชิงกลุ่มเป้าหมาย การจัดทำโครงการ งบประมาณ มาตรการ บุคลากร และผลงาน สำหรับข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้กับประเทศไทย คือ การนำแบบแผนดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมโดยอาจเริ่มต้นจากพื้นที่ยากจนนำร่องกับมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพและความพร้อมไปก่อนเพื่อถอดบทเรียนและขยายผลไปสู่พื้นที่และมหาวิทยาลัยอื่นต่อไป</p> <p>คำสำคัญ: บทบาท; สถาบันอุดมศึกษา; มหาวิทยาลัยยูนนาน; แก้จน</p> Li Renliang, ประทีป ช่วยเกิด, Cheng Yu, Guo Tingting, จิรวัฒน์ ศรีเรือง Copyright (c) 2024 Humanities and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/268992 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 สถานภาพการวิจัยด้านปรัชญาจีนในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/268730 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานภาพการวิจัยด้านปรัชญาจีนในประเทศไทย เป็นการวิจัยเอกสาร ทำการการเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง หน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยอีก 2 หน่วยงาน ฐานข้อมูลงานวิจัย (Thai Lis) และระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journal Online) หลังจากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแยกตามขอบเขตของงานวิจัย 3 ประเด็นคือ การวิเคราะห์เนื้อหาตามยุคสมัย สำนักคิดทางปรัชญา และประเภทของสาขาปรัชญา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยทางด้านปรัชญาจีนในประเทศไทยมีทั้งหมด 60 เรื่อง แยกออกเป็นยุคสมัยของปรัชญาจีนที่มีการวิจัยมากที่สุดได้แก่ ยุคสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน ส่วนสำนักคิดทางปรัชญาจีนที่มีการศึกษาวิจัยมากที่สุดคือ ปรัชญาขงจื่อหรือปรัชญาสำนักรู่ หากแยกพิจารณาการวิจัยจำแนกตามประเด็นสาขาของปรัชญา พบว่า การวิจัยด้านปรัชญาจีนในประเทศไทยที่มีลักษณะของปรัชญาบริสุทธิ์ ประเด็นที่ทำวิจัยมากที่สุดได้แก่ ด้านจริยศาสตร์ ส่วนงานวิจัยด้านปรัชญาจีนที่เป็นปรัชญาประยุกต์ ประเด็นที่มีการทำวิจัยมากที่สุดคือปรัชญาสังคมและการเมือง</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:</strong> สถานภาพองค์ความรู้ , การวิจัย , ปรัชญาจีน , ประเทศไทย</p> พุทธรักษ์ ปราบนอก, เด่นพงษ์ แสนคำ , วัชรพล ศิริสุวิไล Copyright (c) 2024 Humanities and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/268730 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมความเป็นหญิงในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/268578 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่ออุดมการณ์ความเป็นหญิงผ่านกลวิธีทางภาษาต่าง ๆ ในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ มัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ของแฟร์คลาฟ (Fairclough, 1995) เป็นกรอบการศึกษาหลักในการวิเคราะห์ตัวบท วิถีปฏิบัติทางวาทกรรม และ วิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า หนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปรากฏอุดมการณ์ความเป็นหญิงที่เด่นชัดทั้งสิ้น 5 อุดมการณ์ คือ 1) อุดมการณ์เกี่ยวกับความงาม 2) อุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทของภรรยา 3) อุดมการณ์เกี่ยวกับผู้หญิงในฐานะวัตถุทางเพศ 4) อุดมการณ์เกี่ยวกับชนชั้นคู่ครอง และ 5) อุดมการณ์เกี่ยวกับกิริยามารยาท ซึ่งอุดมการณ์ดังกล่าวสื่อผ่านกลวิธีทางภาษาต่าง ๆ ได้แก่ 1) กลวิธีทางศัพท์ ประกอบด้วย การใช้ชื่อและการเรียกชื่อ การอ้างถึง และการใช้คำกริยา 2) กลวิธีการขยายความ 3) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม ประกอบด้วย การใช้มูลบท การใช้วัจนกรรม และการใช้อุปลักษณ์</p> <p> จากการวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมของหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ข้างต้นนี้ทำให้เห็นว่ากระบวนการผลิตและบริโภคตัวบทหนังสือเรียนมีความเกี่ยวพันกับอำนาจรัฐและสถานภาพทางสังคมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าหนังสือเรียนมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนเป็นแบบแผนและอยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐ หนังสือเรียนจึงเป็นวาทกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดอุดมการณ์ที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมหรือดีงามไปยังผู้เรียนที่เป็นเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างสมาชิกที่ พึงประสงค์ของสังคม อุดมการณ์ที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือเรียนเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลและ มีบทบาทสำคัญในการชี้นำสมาชิกในสังคมไปในทิศทางที่รัฐต้องการโดยที่สมาชิกเหล่านั้นอาจไม่รู้ตัว</p> <p>ในแง่ของการวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม อุดมการณ์ความเป็นหญิงในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นผลมาจากแนวคิดปิตาธิปไตยในสังคมไทย ผู้หญิงจึงถูกควบคุมความเป็นหญิงจาก ความคาดหวังของสังคมในมุมที่สังคมต้องการที่จะให้เป็น และอุดมการณ์เหล่านี้ถูกแฝงฝังอยู่ในหนังสือเรียน แม้ในปัจจุบันก็มีชุดความจริงใหม่เพิ่มเติมขึ้นมา เพราะในแง่ของการขัดเกลาและควบคุมเยาวชนผ่านระบบการศึกษานั้นจำเป็นที่จะต้องมีชุดวาทกรรมหลักที่เป็นไปตามโครงสร้างสังคมไทยซึ่งจำเป็นต้องรักษาไว้เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคม ซึ่งหากนักเรียนในฐานะเยาวชนของชาติไม่มีมุมมองที่รู้เท่าทันชุดวาทกรรมเหล่านี้ที่ถูกผลิตซ้ำก็จะถูกหล่อหลอมและกลายเป็นหนึ่งในกลไกของการผลิตซ้ำอุดมการณ์แบบสังคมชายเป็นใหญ่ต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : อุดมการณ์, วาทกรรม, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, ความเป็นหญิง</p> <p> </p> ธีรธร รังสีปัญญา , ศานิตย์ ศรีคุณ Copyright (c) 2024 Humanities and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/268578 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทยของยูทูบเบอร์ลาว https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/266888 <p><strong> บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> </strong>การใช้ภาษาที่สองย่อมเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้เป็นปกติในการพูดในชีวิตประจำวันของชาวต่างชาติ รวมถึง ยูทูบเบอร์ชาวลาวที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการใช้ภาษาไทยของ ยูทูบเบอร์ชาวลาวจำนวน 5 คน จาก 5 ช่อง ที่เผยแพร่บนยูทูบในช่วงปี พ.ศ. 2565-2566 จากคลิปวีดีโอจำนวน 50 คลิป ที่มีการพูดภาษาไทยเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอรายการ โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการเรียนภาษาที่สองเป็นกรอบการวิจัย ซึ่งมุ่งวิเคราะห์การออกเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว พยัญชนะต้นควบกล้ำ รวมถึงข้อผิดพลาดของการใช้คำศัพท์ และสำนวน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ยูทูบเบอร์ชาวลาวมีข้อผิดพลาดในการออกเสียงพยัญชนะต้นภาษาไทยบางเสียง โดยใช้เสียงปฏิภาคพยัญชนะต้นในภาษาลาวแทนภาษาไทย มีข้อผิดพลาดด้านการใช้คำศัพท์ โดยพบทุกประเภทของคำศัพท์ ทั้งคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำช่วยกริยา คำลงท้าย และคำถาม นอกจากนี้ยังพบข้อผิดพลาดด้านการใช้สำนวน สาเหตุเกิดจากการแทรกแซงภาษาแม่ในการพูดภาษาที่สอง และไม่ชำนาญภาษาไทยมากพอ เพราะคนลาวส่วนใหญ่เรียนรู้ภาษาไทยด้วยตนเอง ผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวลาว ซึ่งประเทศไทยและประเทศลาวมีความใกล้ชิดด้านภาษาและประเทศที่มีพรมแดนเชื่อมต่อกัน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การเรียนรู้ภาษาที่สอง, ข้อผิดพลาดทางภาษา, ภาษาไทย, ภาษาลาว, ยูทูบเบอร์ชาวลาว </p> กัลยรัตน์ อุ่นทานนท์ Copyright (c) 2024 Humanities and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/266888 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 การใช้ระบบอุปถัมภ์เพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์ในการจัดการกลุ่มของกลุ่มทอผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/269330 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์ในการจัดการกลุ่มของกลุ่มทอผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่นและวิเคราะห์การใช้ระบบอุปถัมภ์เพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์ในการจัดการกลุ่มของกลุ่มทอผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตการณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 24 ราย ได้แก่ ตัวแทนจากกลุ่มทอผ้าไหม และตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทอผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่นได้ประกอบสร้างอัตลักษณ์ในการจัดการกลุ่มด้วยการบอกเล่าให้สังคมรับรู้ความหมายของตัวตนของกลุ่มได้สร้างขึ้น ผ่านการจัดการกลุ่ม 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดตั้งกลุ่ม ด้านการจัดการกลุ่ม ด้านการวางแผนการผลิต ด้านการจัดการการผลิต ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการตลาด ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการเงิน และด้านการจัดทำบัญชี และ 2) กลุ่มทอผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่นได้ใช้ระบบอุปถัมภ์ 4 ประเภท ได้แก่ การอุปถัมภ์ในหมู่เครือญาติ การอุปถัมภ์ในหมู่มิตรสหาย การอุปถัมภ์ในองค์กร และการอุปถัมภ์ระหว่างอาชีพ เพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์ในการจัดการกลุ่มทั้ง 9 ด้าน</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การประกอบสร้างอัตลักษณ์, ระบบอุปถัมภ์, การจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน</p> เบญจวรรณ นัยนิตย์, กีรติพร จูตะวิริยะ , วิภาวี กฤษณะภูติ Copyright (c) 2024 Humanities and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/269330 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/270861 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนของประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนของกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา เก็บข้อมูลจากกลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกสมาคมชาวประมง ประธานสหกรณ์การประมง ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้าน ตัวแทนสมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้าน จำนวน 30 ราย ตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ราย ได้แก่ สำนักงานนักพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 36 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า การรวมกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนของกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี แบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก ได้แก่ การศึกษาเรียนรู้ดูงานจากชุมชนต้นแบบ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน และช่วงที่สอง คือ การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์กลุ่มประมงพื้นบ้าน ได้แก่ การรณรงค์ต่อต้านการทำการประมงไม่เหมาะสมและผิดกฎหมาย การวางแผน ส่งเสริม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเพื่อให้เกิดรายได้ การอนุรักษ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ กระบวนการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนของกลุ่มประมงพื้นบ้าน พบว่า กลุ่มประมงพื้นบ้านมีการทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อจัดโครงสร้างกลุ่ม การกำหนดบทบาทหน้าที่การดำเนินงานสมาชิกกลุ่ม การกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับกลุ่มประมงพื้นบ้านในการดำเนินงาน</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การบริหารจัดการ, ความมั่นคงทางอาหาร, กลุ่มประมงพื้นบ้าน</p> ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน , อนุรักษ์ สิงห์ชัย Copyright (c) 2024 Humanities and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/270861 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของผู้หญิงที่สามีย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/270521 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้มุ่งศึกษากระบวนการสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของผู้หญิงที่สามีย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีหน่วยการวิเคราะห์ระดับบุคคล เก็บข้อมูลจากผู้หญิงที่สามีย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศจำนวน 20 ราย ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศของแรงงานอย่างต่อเนื่อง เก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อกันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความหมายตามแก่นสาระ (Thematic Analysis) และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงมีกระบวนการสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 แสวงหาหนทางและทุน ระยะที่ 2 จัดการหนี้สิน ระยะที่ 3 สร้างเนื้อสร้างตัว</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> กระบวนการสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ, การย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ</p> สุวิมล คำน้อย, ภาวดี พันธรักษ์ Copyright (c) 2024 Humanities and Social Sciences https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/270521 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700