วารสารหาดใหญ่วิชาการ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal
<p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขต<br /></strong> วารสารหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ด้านการวิจัยและบทความวิชาการของอาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์และสนับสนุนผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ</p> <p> โดยมีขอบเขตของบทความที่เปิดรับ ดังนี้<br /> 1) บริหารธุรกิจ มีสาขาวิชาย่อย คือ การจัดการ พฤติกรรมองค์การ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การตลาด การบัญชี การเงิน การจัดการการท่องเที่ยว และเทคโนโลยีสารสนเทศ<br /> 2) การศึกษา มีสาขาวิชาย่อย คือ การบริหารการศึกษา <br /> 3) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มีสาขาวิชาย่อย คือ การเมืองการปกครอง นโยบายสาธารณะ และการจัดการภาครัฐ <br /> 4) จิตวิทยา มีสาขาวิชาย่อย คือ จิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาประยุกต์ และจิตวิทยาคลินิก<br /> 5) ศิลปะและมนุษยศาสตร์ มีสาขาวิชาย่อย คือ ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์<br /> 6) สาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์</strong><br /> 1) บทความวิจัย (Research Article)<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p> </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียม</strong><br /> 1) บทความภาษาไทย อัตราค่าธรรมเนียม 4,000 บาท<br /> 2) บทความภาษาอังกฤษ อัตราค่าธรรมเนียม 4,000 บาท<br /><br /><strong> หมายเหตุ:</strong><br /> - ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เป็นการเรียกเก็บครั้งเดียว<br /> - ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จัดเก็บเมื่อผู้เขียนผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ก่อนการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ<br /> - หากผลการประเมินคุณภาพของบทความ พบว่า ไม่สามารถเผยแพร่ได้ หรือผู้เขียนขอถอนบทความออกจากระบบภายหลังการชำระค่าธรรมเนียม ทางวารสารหาดใหญ่วิชาการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในทุกกรณี</p> <p> </p> <p><strong>ขั้นตอนในการตอบรับตีพิมพ์</strong><br /> 1) พิจารณาเบื้องต้น โดยกองบรรณาธิการ<br /> 2) ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ<br /> 3) ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน/ ตามแนวทาง Double Blinded)<br /> 4) ตรวจสอบความถูกต้องของบทความหลังการแก้ไขอย่างละเอียด โดยกองบรรณาธิการ<br /> 5) ตอบรับบทความเข้าตีพิมพ์เผยแพร่<br /><br /><strong> หมายเหตุ:<br /></strong> - ระยะเวลาในการตอบรับตีพิมพ์ นับจากวันที่ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ<br /> - วันที่ชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความนับเป็นวันรับบทความ<br /> - ระยะเวลาในการตอบรับตีพิมพ์อาจเปลี่ยนแปลง หากผู้เขียนไม่ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือต้องมีการแก้ไขหลายครั้ง<br /> - ทางวารสารฯ ใช้ช่องทาง TCI thaijo สำหรับการติดต่อผู้เขียนตลอดขั้นตอนการพิจารณาบทความ ขอให้ท่านติดตามผ่านหน้าระบบ TCI thaijo<br /> <strong>- การติดต่อประสานงานในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ ขอให้ติดต่อโดยตรงมายังฝ่ายบริหารจัดการวารสารฯ ที่เบอร์ 074-200347 หรือ E-mail: hu_apc@hu.ac.th ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เขียน</strong><br /><br /><br /> - ***<strong>รายการที่ผู้เขียนต้องนำส่ง</strong> ประกอบด้วย<br /> - ต้นฉบับบทความเป็นไฟล์ Microsoft Word และ PDF<br /> - แนบแบบฟอร์มนำส่งบทความ<br /> - หนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)<br /> - ใช้รูปแบบการอ้างอิง APA ตามที่วารสารกำหนด<br /><br /><br /></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong><br /> วารสารหาดใหญ่วิชาการ กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม<br /> ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม<br /> โดยเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN: 2651-1614 (Online) เริ่มจัดทำตั้งแต่ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2561)</p> <p> </p> <p><strong>***วารสารหาดใหญ่วิชาการ รับพิจารณาบทความซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของ TCI เน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของผู้เสนอหรือผู้เกี่ยวข้องใด ๆ และปฏิบัติกับผู้เขียนทุกคนด้วยความเสมอภาค***</strong></p>ฝ่ายเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่th-THวารสารหาดใหญ่วิชาการ2651-1614<p>บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ข้อความและบทความในวารสารหาดใหญ่วิชาการเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กองบรรณาธิการวารสารหาดใหญ่วิชาการ ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มาของบทความ</p>Integrating Evaluation Models for Comprehensive Project Assessment: A Case Study of Mae Khri, Patthalung, Thailand
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/272996
<p>Effective project evaluation is crucial for the success of government initiatives. This study investigates the potential of integrating multiple evaluation models into a unified framework for a more holistic assessment. It employs a phased approach, to explore projects within a municipality in Thailand. This study utilizes six evaluation models Needs Assessment, CIRO, CIPP, PDCA, Discrepancy, and Alkin at various stages of the project. In the initial phases, the CIRO and CIPP models are employed for needs assessment and project design, which helps ensure a thorough understanding of community needs and alignment with project objectives. The PDCA cycle is adopted during implementation, facilitating continuous monitoring and iterative adjustments. Discrepancy evaluation is implemented concurrently, identifying deviations from planned outcomes. The Alkin Model takes center stage during the evaluation phase, offering a multifaceted assessment through various tools such as interviews, surveys, and project data.</p> <p>Findings from each model are integrated, providing a comprehensive understanding of the project’s strengths, weaknesses, and impacts. This integrated approach may require intensive data collection. However, the benefits outweigh the challenges, as the gained insights contribute to improved project planning, implementation, and future iterations. The implications offer valuable guidance for government agencies, highlighting the potential of integrating evaluation models to maximize project success and community development.</p>Nattha LertpanyawiwatKanokkul PhetuthaiIrisa PrommachanSuttichai RakjanAthisa PankongWannisa JunhomWanchai DhammasaccakarnUthis Sangkarat
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-17231183198Working Capital Management, Firm Performance: A Case Study of Listed Firms on MAI
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/274457
<p>This study investigates the relationship between working capital management and firm performance within the Market for Alternative Investment (MAI) in Thailand. By utilizing panel data analysis, the study examines how different working capital policies and the efficiency of working capital management affect the firm performance of listed companies. The population for this study comprises 210 companies listed on the Market for Alternative Investment, spanning across eight industry sectors. Using a purposive sampling method, a sample of 199 companies was selected, resulting in 2,295 observations covering 14 years from 2009 to 2022.</p> <p>The findings reveal that working capital policy significantly affects firm performance. Specifically, an aggressive working capital investment policy enhances performance by minimizing excess inventory and associated costs, while a conservative working capital financing policy improves performance by mitigating liquidity issues. The efficiency of working capital management, as measured by the cash conversion cycle, is negatively related to firm performance, although its impact is minor compared to the cash ratio. The performance index shows no significant impact on firm performance. These insights underscore the importance of strategic WCM in enhancing firm value and operational efficiency.</p>Bhannawat WanganusornSirikul TulasombatRatchaneeya BangmekThatphong Awirothananon
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-17231126ผลกระทบของปริมาณหนี้สินที่มีต่อความสามารถทำกำไรของบริษัทร้านอาหารในประเทศไทย: การศึกษาเชิงประจักษ์จากบริษัทร้านอาหารชั้นนำ 40 บริษัท
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/274749
<p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของปริมาณหนี้สินและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทร้านอาหารชั้นนำของประเทศไทยจำนวน 40 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2565 และเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปริมาณหนี้สินที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทดังกล่าว โดยอาศัยการวิเคราะห์การถดถอยแบบ Fixed Effects และ Random Effects ทั้งนี้ ความสามารถในการทำกำไรในงานวิจัยเรื่องนี้วัดโดยอัตราส่วนทางการเงินจำนวน 2 ตัว ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตรากำไรสุทธิ</p> <p>จากการศึกษาพบว่าในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา บริษัทร้านอาหารทั้ง 40 แห่ง มีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตรากำไรสุทธิโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 7.40 และ 3.60 ตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 51.44 นอกจากนี้ยังพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วบริษัทร้านอาหารทั้ง 40 แห่ง มีหนี้สินระยะสั้นมากกว่าหนี้สินระยะยาว เนื่องจากอัตราส่วนหนี้สินหมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวมโดยเฉลี่ยมีค่าเท่ากับร้อยละ 34.64 ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวมโดยเฉลี่ยมีค่าเพียงร้อยละ 16.81 จากการศึกษาพบว่า ปริมาณหนี้สินรวมมีผลกระทบในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม แต่ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตรากำไรสุทธิ ทั้งนี้ ปริมาณหนี้สินระยะสั้นมีผลกระทบในเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัตรากำไรสุทธิ ในขณะที่ปริมาณหนี้สินระยะยาวไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อทั้งอัตราผลตอบแทน ต่อสินทรัพย์รวม และอัตรากำไรสุทธิ ผลการวิจัยเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งนักลงทุนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ นักลงทุนสามารถใช้ข้อมูลจากงานวิจัยในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ของบริษัทร้านอาหาร ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลจากงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการจัดการการดำเนินงานของบริษัทร้านอาหารให้มีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมและยั่งยืน</p>ศุภเจตน์ จันทร์สาส์นธันยกร จันทร์สาส์น
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-172312749ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาเชิงการตลาดของตราสินค้าประเภทแฟชั่น ผ่านสื่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/268588
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสนใจของผู้บริโภคต่อลักษณะและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาเชิงการตลาดของตราสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านสื่อสังคม 2) ระดับการตอบสนองของผู้บริโภคจากการรับชมเนื้อหาเชิงการตลาดของตราสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านสื่อสังคม และ 3) ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาเชิงการตลาดของตราสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านสื่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวายที่มีอายุระหว่าง 26 - 42 ปี จำนวน 385 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นรวม เท่ากับ 0.899 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสนใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก โดยลักษณะของเนื้อหาที่สร้างอารมณ์/บันเทิง นำเสนอในรูปแบบวิดีโอ ได้รับความสนใจสูงสุด 2) ระดับการตอบสนองของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก โดยมีการตอบสนองในขั้นตอนการซื้อสูงสุด และ 3) ลักษณะของเนื้อหาเชิงการตลาดที่สร้างแรงบันดาลใจ (ß = 0.258) ให้แนวคิด (ß = 0.159) บอกแนวทางแก้ปัญหา (ß = 0.138) และให้คำแนะนำหรือความรู้ (ß = 0.116) มีอิทธิพลทางบวกต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค ตามลำดับ ในขณะที่รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาเชิงการตลาดแบบอินโฟกราฟฟิก (ß = 0.335) วิดีโอ (ß = 0.271) และบทความ (ß = 0.205) มีอิทธิพลทางบวกต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค ตามลำดับ งานวิจัยนี้มีประโยชน์ คือ สามารถเป็นข้อมูลให้กับเจ้าของตราสินค้าแฟชั่นต่าง ๆ นำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด และการพัฒนาลักษณะและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาเชิงการตลาดผ่านสื่อสังคมให้ได้รับการตอบสนองจากผู้บริโภคสูงสุด</p>ชัญญภัทร อำพันสุขโข
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-172315071ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์น้ำมัน PTT Super Power Diesel B7 ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/272250
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทัศนคติ ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำมัน และปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์น้ำมัน PTT Super Power Diesel B7 ของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยการศึกษาจะทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้บริการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง PTT Super Power Diesel B7 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และต้องมีการปรับปรุงจนติดตลาด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมัน PTT Super Power Diesel B7 ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้การคำนวณจากค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์เชิงถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 36 - 45 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีอาชีพรับราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทัศนคติด้านการสื่อสาร ความรู้ทั่วไปของผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และทัศนคติด้านแรงจูงใจ ด้านประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำมันด้านความรู้ทั่วไป ด้านความรู้เฉพาะเจาะจง และส่วนประสมการตลาดบริการด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการขาย ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์น้ำมัน PTT Super Power Diesel B7 ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในการพัฒนากลยุทธ์ให้เกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์ และผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันแบรนด์อื่นที่จะนำผลการวิจัยไปปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันให้กลายเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น</p>ฤทธิรงค์ ช่วยป้องอรุณลักษณ์ อรชรออมสิน แก้วสมวงศ์วาสนา สุวรรณวิจิตร
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-172317288ผลกระทบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชีของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/273012
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชีของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน จำนวน 106 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง 0.700 – 0.833 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ด้านการถ่ายโอนสู่เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ และด้านการยินยอมระบบฉันทามติ มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชี โดยผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางให้องค์กรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p>ศิรินันท์ มศรีภูมิณัฐวงศ์ พูนพลอนุพงศ์ สุขประเสริฐ
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-1723189113ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินและบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อความสำเร็จในการดําเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/273466
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินและบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐระดับมหาวิทยาลัย ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 456 คน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง 0.880 – 0.931 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการดำเนินงานโดยรวม ด้านลดโอกาสที่เกิดการสูญเสียจากการดำเนินงานและด้านการป้องกันความเสียหายของทรัพยากร 2) ด้านการกำกับติดตามและควบคุมตามหลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการดำเนินงานโดยรวม ด้านลดโอกาสที่เกิดการสูญเสียจากการดำเนินงาน ด้านการป้องกันความเสียหายของทรัพยากร และด้านการสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน และ 3) ด้านการกำหนดภาระงานด้านความเสี่ยง ด้านการใช้ข้อมูลสารสนเทศ และด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการดำเนินงานโดยรวมและรายด้านทุกด้าน ประโยชน์ของงานวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมและบูรณาการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงได้</p>นายิกา ทองเสมอณัฐวงศ์ พูนพลธัญญธร ศรีวิเชียร
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-17231114140ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงจริยธรรมในวัยรุ่น: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/272941
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลที่สนับสนุนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงจริยธรรมของวัยรุ่น และสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงจริยธรรมของวัยรุ่น โดยดำเนินการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนอัตลักษณ์เชิงจริยธรรมของวัยรุ่น ครอบคลุมงานวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ตีพิมพ์ระหว่าง ปี พ.ศ. 2562 ถึง 2566 จากฐานข้อมูล อาทิ PsycINFO, Web of Science และอื่น ๆ รวมจำนวน 1,128 เรื่อง ถูกคัดเลือกและประเมินคุณภาพด้วย SPIDER เหลืองานวิจัยจำนวน 25 เรื่องเพื่อนำมาสังเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงจริยธรรม 9 ปัจจัย คือ 1) ความเห็นอกเห็นใจ 2) บทบาทของเพศ 3) อายุและประสบการณ์ 4) การนับถือศาสนา 5) การมีเป้าหมายเพื่อสังคม 6) ความฉลาด 7) การรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคม 8) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม และ 9) ผลประโยชน์ตามสถานการณ์และต้นทุนต่อสถานการณ์ และปัจจัยทางสภาพแวดล้อม จำนวน 5 ปัจจัย คือ 1) รูปแบบการเลี้ยงดู 2) โลกเสมือนทางออนไลน์ 3) ความแตกต่างทางวัฒนธรรม 4) ลักษณะนิสัยเพื่อน และ 5) ระบบโรงเรียน ประโยชน์ของการวิจัยครั้งนี้ทำให้เห็นภาพรวมและขอบเขตของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอัตลักษณ์เชิงจริยธรรมว่า มีการศึกษาในแง่มุมใดมาแล้วเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่สนับสนุนการมีอัตลักษณ์เชิงจริยธรรมของวัยรุ่นเจเนอเรชัน Z ผ่านการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อค้นพบไปประยุกต์ใช้ เพื่อที่จะสนับสนุนการเกิดอัตลักษณ์เชิงจริยธรรมในวัยรุ่น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพัฒนาคุณภาพคนและสังคม</p>นฤมล ปิติทานันท์นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-17231141159Exploring Chinese Homeland Sentiment in the Food Documentary: A Bite of China
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/272959
<p>This article utilizes the theories of film art, narratology, semiotics, and documentary filmmaking to analyze the text structure, audio-visual representation, and symbolism of the Chinese food documentary “A Bite of China”. The article reveals that the film not only showcases distinctive cuisines and their preparation processes from places throughout China, but also extensively examines the close connection between food and Chinese culture.</p> <p>This article focuses on exploring homeland sentiment that is embedded in this documentary and its cultural significance, finding that it mainly consists of the camaraderie of neighbors supporting each other and the homesickness of longing for one’s hometown. By referencing aspects of daily life, narrating from the perspective of ordinary Chinese people, and meticulously portraying characters, this documentary effectively conveys the deep feelings that they have towards their homeland and culture. This article points out that this mode of expression not only strengthens its emotional resonance with the audience, but also promotes the exchange and integration of traditional Chinese culture with modern values, providing a unique perspective that enables global audiences to understand Chinese culture.</p>Zhu GuangdeKanokporn NumtongKewalee Petcharatip
Copyright (c) 2025 วารสารหาดใหญ่วิชาการ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-172025-03-17231160182