https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/issue/feed วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา 2024-11-11T09:46:45+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ Touch_life@outlook.co.th Open Journal Systems <p>วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา จะครอบคลุมเนื้อหา ด้านการวิจัย ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการจัดการอุตสาหกรรม ด้านรัฐศาสตร์ ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านบริหารการศึกษา ด้านการเงิน การบัญชี และธนาคาร ด้านการท่องเที่ยว โลจิสติกส์ และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านนวัตกรรมการจัดการ</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274750 แนวทางการสร้างนวัตกรรมของห่วงโซ่อุปทานธุรกิจผักอินทรีย์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 2024-09-02T10:21:50+07:00 วิชุดา จันทร์เวโรจน์ vichuda.jun@gmail.rru.ac.th ณฐ สบายสุข vichuda.jun@gmail.rru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) บทบาทของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ด้านการปลูกผักอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) แนวทางการสร้างนวัตกรรมห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยใช้แนวคิดของตัวแบบการปฏิบัติงานโซ่อุปทานกระบวนการ SCOR model เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 385 ราย เป็นผู้บริโภคผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นักวิชาการเกษตรในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 คน เกษตรอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน ประธานชมรมของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน ผู้ปลูกผักอินทรีย์ จำนวน 10 คน ผู้จำหน่ายผักอินทรีย์ จำนวน 1 คน ผู้บริโภคผักอินทรีย์ จำนวน 2 คน จำนวน 17 คน คัดเลือกเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ (1) แบบสอบถาม (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย (1) การวางแผนการดำเนินงานในด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักผักอินทรีย์ (2) การจัดการโซ่อุปทานผักอินทรีย์ (3) การจำหน่ายผักอินทรีย์ (4) การปลูกผักอินทรีย์ (5) ปัญหาของการปลูกผักอินทรีย์ (6) การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์และ (7) เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ได้เข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์<strong> </strong>2) บทบาทของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ด้านการปลูกผักอินทรีย์ คือ การสนับสนุนละส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปลูกผักอินทรีย์ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์มีประสบการณ์หรือมีระยะเวลาในการปลูกผักอินทรีย์ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากขึ้น 3) แนวทางการสร้างนวัตกรรมห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์ คือ (1) ควรมีการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการซื้อขายผักอินทรีย์ตามแนวคิดวงจรการพัฒนาระบบ เพื่อใช้ในการซื้อขายผักอินทรีย์ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อนําไปใช้งาน (2) ควรมีการพัฒนาระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และ (3) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกับภาคเอกชนในการสื่อสารการตลาดสินค้า PGS กับผู้บริโภคมากขึ้น</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275139 การพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2024-10-05T15:07:57+07:00 มลทิชา โอซาวะ atcharawan_mam@hotmail.com มธุรส ปราบไพรี atcharawan_mam@hotmail.com พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์ atcharawan_mam@hotmail.com อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์ atcharawan_mam@hotmail.com นงลักษณ์ กลิ่นพุดตาล atcharawan_mam@hotmail.com วรรณวณัช นงนุช atcharawan_mam@hotmail.com <p>จากแนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ และจังหวัดเพชรบุรียังได้รับการจัดเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชน 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ของผู้สูงอายุ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสำรวจ การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อยจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาทดลองเส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี มีความโดดเด่นด้านวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม<br />2) รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ของผู้สูงอายุกลุ่มคุณภาพตามหลักกิจกรรม 5 อ. โดยการประเมินและเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปลาย ภูมิลำเนาภาคกลาง มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน เคยเดินทางมามากกว่า 3 ครั้ง เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และสนใจกิจกรรมสร้างสรรค์เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้รับรู้ข้อมูลมาจากเพื่อน/ครอบครัวและญาติ ส่วนการประเมินกิจกรรม 5 อ. อยู่ที่ระดับมากที่สุด งานวิจัยนี้มีความแตกต่างโดยได้ต้นแบบผลการประเมินการพัฒนาชุมชนซึ่งพบว่า ชุมชนเมืองเก่าเหมาะที่จะเป็นต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมเชิงสุขภาพ เพื่อผู้สูงอายุ</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275401 A Success Model of Hotel and Lodging Business Operations for tourism in Thailand 2024-09-16T11:54:03+07:00 Supatta Pranee supatta.pr@ssru.ac.th Patsiri Suwannapirom supatta.pr@ssru.ac.th <p>Nowadays, there is a hugely competitive rate in hotel and lodging business operations, so entrepreneurs should plan and define the operational strategies for their business growth and achievement. This research was aimed to; 1) study the level of entrepreneurship focus, digital marketing strategy, innovative capability, competitive advantage, and success of hotel and lodging business operations; 2) study the entrepreneurship focus, digital marketing strategy, innovative capability, and competitive advantage affecting the success of hotel and lodging business operations; and 3) develop a success model of hotel and lodging business operations in Thailand. There were 340 sample groups comprised of entrepreneurs, managing directors, assistant managing directors, and general managers using cluster sampling. The quantitative research data were gathered by using the questionnaire and the qualitative research data were gathered by using the interview. The questionnaire for gathering data of the qualitative research and the interview for gathering data of the quantitative research comprised 5 sections by the observation variables. Quantitative research analysis by using the structural equation and qualitative research using focus groups.</p> <p>The findings revealed that; 1) the level of entrepreneurship focus, digital marketing strategy, innovative capability, competitive advantage, and success of hotel and lodging business operations were at a high level; 2) the entrepreneurship focus, digital marketing strategy, innovative capability, and competitive advantage affecting the success of hotel and lodging business operations; and 3) a success model of hotel and lodging business operations in Thailand that the researcher has developed, “B-F DIC Model” was the quality model of hotel and lodging business operations with entrepreneurship focus on using the management strategies in the digital era responding to the consumer needs and providing competitive advantage to other entrepreneurs.</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275443 Alternative Renewable Energy for Airports in United Arab Emirates 2024-10-09T14:30:15+07:00 Mohamed Aadel Abbas Mohamed Sharif Karimpour mohammedadel94@gmail.com Waraporn Temkaew mohammedadel94@gmail.com Areerat Sensod mohammedadel94@gmail.com <p>This research aimed 1) to explore alternative renewable energy solutions for airports in the United Arab Emirates (UAE), 2) to assess the feasibility of integrating renewable energy into UAE airport infrastructure, and 3) to analyse the potential of Piezoelectricity as an alternative energy source for airports. The research examined current renewable energy adoption in the UAE aviation sector, evaluating factors such as environmental impact, economic viability, and scalability. A comprehensive analysis of renewable technologies was conducted, followed by a SWOT analysis to assess their application within airport operations.</p> <p>The findings indicate that 1) Piezoelectricity is a viable alternative energy source for airports, with benefits such as minimal environmental impact, low maintenance, and versatile implementation in airport applications like runways; 2) Circuit simulations confirmed Piezoelectricity’s potential, though challenges remain, including the need for more durable materials and optimized energy conversion efficiency. 3) In comparison to solar, wind, and hydropower, Piezoelectricity presents unique advantages in airport settings, though further research is needed to enhance its efficiency and scalability. The study provides valuable insights for stakeholders and policymakers, providing a roadmap for the sustainable integration of renewable energy in airports and aligning with the UAE’s sustainability objectives for the aviation industry.</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/270264 แนวทางการดำเนินธุรกิจนวดแผนไทยอย่างยั่งยืน: กลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ 2024-06-10T15:44:41+07:00 สินีนาถ เริ่มลาวรรณ sineenat.rer@rru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ 2) เพื่อศึกษาทักษะในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิให้มีความยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการผสานวิธีการรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามโดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้บริการนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ จำนวน 250 คน ด้วยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้แบบสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจนวดแผนไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจนวดแผนไทย จำนวน 20 คน ด้วยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิมีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวน 3-4 ครั้งต่อเดือน วัตถุประสงค์การใช้บริการนวดแผนไทยเพื่อดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการนวดประคบสมุนไพร ช่วงเวลาที่มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นช่วงเย็น ระยะเวลาในการใช้บริการ 2 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้งประมาณ 200-500 บาท</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ทักษะในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ พบว่า ทักษะในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์</span><span style="font-size: 0.875rem;">มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะด้านเทคนิค ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. แนวทางการดำเนินงานธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิให้มีความยั่งยืน พบว่า ผู้ประกอบการควรมีความรู้ในศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ และศาสตร์การนวดแผนไทย พัฒนาฝีมือของพนักงานให้บริการที่ได้คุณภาพและมีมาตรฐาน การประชาสัมพันธ์และการตลาด การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการลูกค้า และการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังของรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง</span></p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276598 Service Satisfaction with the National Sports Development Fund of Stakeholders 2024-10-09T14:21:01+07:00 Tanapol Kortana tanapol.ko@ssru.ac.th <p>The objective of this research is to study the factors influencing satisfaction with the services that impact the repeated service usage of the National Sports Development Fund. This study was quantitative research. The sample consisted of 604 individuals who have contacted/used the services of the National Sports Development Fund. The sample size was determined using Taro Yamane 's, sample size calculation formula at a confidence level of 95 percent. The research utilized a multi-stage random sampling method. The research tool was a questionnaire. The statistics used in this study were multiple regression analysis.</p> <p>The findings indicated that the stakeholders were highly satisfied in all aspects and every item. The highest satisfaction was with the service provider staff, followed by facilities, service quality, and the service process, in that order. Positive perspectives on various service aspects were reflected, including having knowledge in the field, providing good advice, being attentive in service, giving importance to everyone equally, and having multiple communication channels, among others. When analyzing the multiple regression model, it was found that overall satisfaction with the services influencing the repeated service usage of the National Sports Development Fund, all four aspects, predicted the repeated usage behavior (Y). The satisfaction with service process had the most significant influence, followed by satisfaction with convenience facilities and satisfaction with service quality, in that order. While, satisfaction with service provider staff had no statistically significant influence on the repeated service usage of the National Sports Development Fund.</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/273460 แนวทางการพัฒนาศักยภาพตำรวจสันติบาลสู่ความเป็น สันติบาลมืออาชีพในระดับสากล 2024-06-11T14:36:31+07:00 เกศสุตารินท์ ธนารุ่งไพลิน zuezoo9393@gmail.com ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ zuezoo9393@gmail.com สถิตย์ นิยมญาติ zuezoo9393@gmail.com กมลพร กัลยาณมิตร zuezoo9393@gmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของตำรวจสันติบาลสู่ความเป็นสันติบาลมืออาชีพในระดับสากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ<br />35 ท่าน ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4 ท่าน กองบัญชาการตำรวจสันติบาล 30 ท่าน<br />และ นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ 1 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือและวิธีการในการรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการการพัฒนาศักยภาพที่สำคัญของตำรวจสันติบาลสู่ความเป็นมืออาชีพในระดับสากล คือ การพัฒนาระบบการเรียนการสอน หลักสูตรการอบรม การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือ การพัฒนาบุคลากร การยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต การส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงด้านการบังคับใช้กฎหมาย และการส่งเสริมการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและหน่วยงานต่างประเทศ ดังนั้น ข้อเสนอสำคัญแนวทางการพัฒนาศักยภาพตำรวจสันติบาลสู่ความเป็นมืออาชีพในระดับสากล จึงมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาปัจจุบันและปฏิบัติตามมาตรฐานในระดับประเทศและสากล โดยได้จำแนกเป็น 3 ระยะ รวม 11 แผนงาน ประกอบด้วย ระยะเร่งด่วนดำเนินการโดยเร็วที่สุด จำนวน 7 แผนงาน ระยะกลาง ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี จำนวน 2 แผนงาน และระยะยาว ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี จำนวน 2 แผนงาน เป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีคุณค่าต่อไป</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/273461 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืน ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-06-28T09:42:38+07:00 ณฐกร สุวรรณธาดา zuezoo9393@gmail.com ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ zuezoo9393@gmail.com สถิตย์ นิยมญาติ zuezoo9393@gmail.com กมลพร กัลยาณมิตร zuezoo9393@gmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ศึกษาองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) หาแนวทางกำหนดนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 26 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องภาคเอกชน จำนวน 11 ท่าน กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องภาครัฐ จำนวน 8 ท่าน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการการจัดระเบียบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการอนุรักษ์ ด้านการฟื้นฟูทรัพยากร และด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนมีการห้ามกระทำการใด ๆ ในที่จับสัตว์น้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ การจัดทำแนวเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การวางซั้งกอ ธนาคารปูม้า และการควบคุมเฝ้าระวังการทำการประมงผิดกฎหมาย (2) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใน 4 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ความต้องการในการมีส่วนร่วมของชุมชนมีความต้องการมีส่วนร่วมทุกด้าน และ (3) แนวทางกำหนดนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าความยั่งยืนของทรัพยากรประมงอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงในการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมและการบำรุงรักษา ดูแลอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรหน้าบ้าน และโครงการต่างๆ จากการสนับสนุนของรัฐและเอกชน ดังนั้นการกำหนดนโยบายการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276653 อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การและการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการปฏิบัติงานสำหรับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง 2024-10-05T14:58:05+07:00 ปิยะนุช เงินชูศรี piyanuch.n@rumail.ru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการปฏิบัติงานสำหรับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 12 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 440 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์จากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรทุกตัวมีความเข้ากันได้ดีและเป็นไปตามเกณฑ์ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ (1) ด้านภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อวัฒนธรรมองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเองและความสามารถในการปฏิบัติงาน (2) ด้านวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและความสามารถในการปฏิบัติงาน และ (3) ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการปฏิบัติงาน และ 2) ภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยมีรับรู้ความสามารถของตนเอง และวัฒนธรรมองค์การเป็นตัวแปรส่งผ่านและพบว่าวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่านและสามารถพยากรณ์ความสามารถในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 41 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> 2024-11-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/273843 แนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย 2024-10-17T16:43:57+07:00 สุธีระพงษ์ สว่างวงศ์ sawangwong02@gmail.com ธัญญรัตน์ คำเพราะ sawangwong02@gmail.com สถาพร ศรีสมวงศ์ sawangwong02@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา และสาเหตุการลาออกของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่เคยปฏิบัติงาน และลาออกจำนวน 15 คน ผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทรัพยากรบุคคลส่วนงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 3 คน จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และประมวลผล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและสาเหตุการลาออกของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1) ด้านความมั่นคง และความก้าวหน้าในอาชีพ 2) ด้านนโยบายค่าตอบแทน และสวัสดิการ 3) ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานดังนั้นเพื่อพัฒนาแนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินผู้บริหารสายการบินควรกำหนดนโยบายการบริหารงานซึ่งพิจารณาความต้องการจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อส่งเสริมความเป็นได้ในเชิงการบริหารจัดการโดยการพิจารณาปรับเพิ่มสัญญาจ้างงาน เปิดโอกาสให้มีการโยกย้ายภายในองค์กรที่เหมาะสม การปรับปรุงค่าตอบแทน และสวัสดิการให้เหมาะสมกับตลาดแรงงานในปัจจุบัน นอกจากนี้การสร้างสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานโดยการพิจารณาปรับเพิ่มช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อนําเสนอแก่ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินนำไปใช้ประกอบการพัฒนาแนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบิน</p> 2024-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274268 การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูงของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี 2024-10-28T09:56:15+07:00 ธนาพล จีรเดชภัทร์ tomk10bb@gmail.com มีชัย ออสุวรรณ meechai.o@ku.th พร้อมพิไล บัวสุวรรณ meechai.o@ku.th สุดารัตน์ สารสว่าง meechai.o@ku.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 348 คน ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี ดำเนินการร่างกลยุทธ์โดยใช้ SWOT Analysis ประเมินกลยุทธ์ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยใช้แบบประเมินและการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าความถี่ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI <sub>Modified</sub>) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลจากวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) กลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี มีองค์ประกอบของกลยุทธ์ คือ หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์หลัก 5 ด้าน กลยุทธ์รอง 14 กลยุทธ์ และ วิธีการดำเนินการ/กิจกรรม/แนวทาง 79 ตัวชี้วัด ผลการประเมินกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ 9 ท่าน พบว่า กลยุทธ์มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-11-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274964 โมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระบบนิเวศทางการเรียนรู้ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจและประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2024-10-18T13:21:01+07:00 อมรรัตน์ โพธิ์เพชร amornrat.phop@ku.th สุดารัตนน์ สารสว่าง amornrat.phop@ku.th วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง amornrat.phop@ku.th วารุณี ลัภนโชคดี amornrat.phop@ku.th <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำทางวิชาการ ระบบนิเวศทางการเรียนรู้<br />การเสริมสร้างพลังอำนาจ ประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครู และผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระบบนิเวศทางการเรียนรู้ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจและประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และ 3) ศึกษาขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระบบนิเวศการเรียนรู้ ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจ และประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครู ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจาก 260 โรงเรียน<br />และผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบาย 2 คน นักวิชาการ 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน และครูเชี่ยวชาญ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์สมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของภาวะผู้นำทางวิชาการ ระบบนิเวศทางการเรียนรู้<br />การเสริมสร้างพลังอำนาจ ประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, S.D.=0.43) 2) ผลการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระบบนิเวศทางการเรียนรู้ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจและประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ตัวแปรแฝงภายนอก จำนวน 2 ตัวแปร 12 องค์ประกอบ และตัวแปรงแฝงภายใน จำนวน 3 ตัวแปร 14 องค์ประกอบ และ 3) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (<em>χ</em>2=249.962 (218), <em>χ</em>2/<em>df</em> =1.147, P-value=0.677, SRMR=0.093, RMSEA=0.032, CFI =0.996 และ TLI=0.994)</p> 2024-11-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275942 การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สุขภาวะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2024-10-18T14:48:25+07:00 สงกรานต์ อนุสุเรนทร์ songkranxanusuren@gmail.com พิมพ์อร สดเอี่ยม Songkranxanusuren@gmail.com กรรณิกา ไวโสภา Songkranxanusuren@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสุขภาวะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนสุขภาวะ จำนวน 668 โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสุขภาวะมี 5 องค์ประกอบย่อย 17 ตัวบ่งชี้ โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> 2024-11-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276927 บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก 2024-10-18T11:13:22+07:00 สุขวรรณ สุทธิวงศ์ 63563827023@ssru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของการคมนาคมขนส่ง ปัจจัยการบริหารงาน ปัจจัยการผลิต ต้นทุนการขนส่ง และประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ใช้การวิจัยเชิงผสม การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ จำนวน 380 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรจากหน่วยงานส่วนราชการจังหวัดตาก ที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก นักวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชนสาขาที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจ จำนวน 15 ราย วิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาร่วมกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก การคมนาคมขนส่ง ปัจจัยการบริหารงาน ปัจจัยการผลิต และต้นทุนการขนส่ง อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) ปัจจัยการผลิต มีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยการบริหารงาน การคมนาคมขนส่ง และต้นทุนการขนส่ง ตามลำดับ และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เป็นภาพแผนภูมิ ประกอบด้วย ปัจจัยการผลิตที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดเป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด ปัจจัยการบริหารงานและการคมนาคมขนส่งอยู่ตรงกลางและมีต้นทุนการขนส่งช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นประสิทธิผลการลดต้นทุนของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ต้องประกอบด้วยการลดต้นทุนการบริหารโลจิสติกส์ การลดต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า</p> 2024-11-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276910 บทบาทการเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในการเมืองไทย 2024-10-18T11:05:44+07:00 ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ tuan_iskandar@outlook.com <p>บทความวิจัยเรื่องบทบาทการเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทาในการเมืองไทยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาภูมิหลังและชีวประวัติของวันมูหะมัดนอร์ มะทา 2. เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมบทบาททางการเมืองและความเป็นผู้นำตลอดจนการผลักดันนโยบายสาธารณะที่สำคัญในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ทฤษฎี แนวคิด ที่เกี่ยวข้องดังนี้ แนวคิดเกี่ยวกับชีวประวัติ การกล่อมเกลาทางการเมือง แนวคิดเกี่ยวกับบทบาท แนวคิดเกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคม แนวคิดว่าด้วยผู้นำทางการเมือง แนวคิดผู้นำทางการเมืองในอิสลาม แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะในหลักการศาสนาอิสลาม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าวันมูหะมัดนอร์ มะทา เกิดในตระกูลชนชั้นนำทางศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นชนส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาที่ดีจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ความเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีปัจจัยสำคัญมาจากการยึดมั่นในหลักการศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด การได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากผู้นำทางการเมืองร่วมสมัย การได้รับการเกื้อหนุนและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากประชาชน อันสะท้อนถึงบทบาทการเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสังคมมุสลิมและสังคมไทย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับอำนาจประชาชน</p> 2024-11-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274572 แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนในประเทศไทย 2024-10-18T11:38:38+07:00 ปรียาดา ทะพิงค์แก tapingkae.preeyada@gmail.com ยงยุทธ ยะบุญธง yongyouth.y@cmu.ac.th ธารณ์ ทองงอก tharn.t@cmu.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง 2) เพื่อค้นหาแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดี และ 3) เพื่อร่างและตรวจสอบแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการผสานวิธี โดยผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดตามการบริหารแบบวงจรคุณภาพใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคลากร ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารทรัพยากร และด้านการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสำรวจสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง โดยกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนที่มีศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งจำนวน 132 โรงเรียนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 396 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การศึกษาแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดี โดยกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนต้นแบบจำนวน 5 โรงเรียนจาก 4 ภูมิภาค โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ประสานงาน และผู้สอน รวม 15 คน และ 3) การร่างและตรวจสอบแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รวม 9 คน โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคลากร และด้านการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม บางโรงเรียนยังมีปัญหาด้านนโยบาย การประสานงาน หลักสูตรที่ไม่ทันสมัย บุคลากรที่ขาดการอบรม งบประมาณที่ไม่เพียงพอ อุปกรณ์ที่ขาดแคลน และเครือข่ายความร่วมมือที่จำกัด ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย วางแผนสืบทอดงานและจัดการฝึกอบรม จัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง จัดหาอุปกรณ์ที่เพียงพอ และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือโดยการประชาสัมพันธ์และหาภาคีเครือข่ายเพิ่มเติม</li> <li>ศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดีดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามนโยบายของโรงเรียน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 และขยายเครือข่ายความร่วมมือ โดยการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบ และการปรับปรุง โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร<br />การปรับปรุงหลักสูตร และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย</li> <li>แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) วิธีการดำเนินงาน และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ เพื่อให้การบริหารศูนย์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร การพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย รวมถึงการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสมและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งของนักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ</li> </ol> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ (2) หลักการ (3) วิธีการดำเนินงาน และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร การพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย การบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ จะส่งผลให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งให้กับนักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ</p> 2024-11-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/277179 บุพปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง 2 2024-11-11T09:46:05+07:00 กชนิภา อินทสุวรรณ์ kochnipha@outlook.com สุพัตรา ปราณี supatta.pr@ssru.ac.th <p>การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของนักท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้สำคัญสำหรับเศรษฐกิจท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของตัวแปรคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว นวัตกรรมการบริการ ความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2) อิทธิพลของตัวแปรคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว นวัตกรรมการบริการ ความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 3) สร้างแบบจำลองความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เคยมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนล่าง 2 จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว นวัตกรรมการบริการ ความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการบริการ นวัตกรรมการบริการ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นอกจากนี้ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ส่งผลทางอ้อมเชิงบวกต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผ่านความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แบบจำลองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “STSITL Model” โดยคุณภาพการบริการที่สูงช่วยสร้างความพึงพอใจและความตั้งใจในการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ที่ดีและนวัตกรรมในการบริการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและสร้างความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีความภักดีและมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำและแนะนำให้กับผู้อื่น ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวมีฐานลูกค้าที่มั่นคงและยั่งยืน</p> 2024-11-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275960 ยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 2024-10-24T20:37:33+07:00 สำเนียง เพ่งผล art.education2519@gmail.com ชิษณพงศ์ ศรจันทร์ art.education2519@gmail.com พิมพ์อร สดเอี่ยม art.education2519@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารวิชาการ ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 2) เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค PNI<sub>Modified</sub> ระยะที่ 2 จัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจัดการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญร่วมร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม ระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์ในขั้นตอนสุดท้าย ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังการบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก<strong> </strong>สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านการจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนา ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 5 ด้านนั้นมีสภาพปัจจุบันและความคาดหวังมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด มีค่า PNI = 3.90 สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยที่ (M=4.88) (S.D.=0.33) น้อยที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลมีค่า PNI = 3.09 สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยที่ (M=4.51) (S.D.=0.58) สภาพที่คาดหวังที่(M=4.17) (S.D.=0.40) สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ ยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 7 แนวทาง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ 8 แนวทาง 3) ยุทธศาสตร์ด้านการวัดผลประเมินผล ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ 6 แนวทาง 4) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 6 แนวทาง 5) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 4 แนวทาง</p> 2024-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276054 รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเลย 2024-10-21T14:57:40+07:00 วุฒิชัย ดานะ wuttichaidana@gmail.com บุญช่วย ศิริเกษ wuttichaidana@gmail.com พิมพ์อร สดเอี่ยม wuttichaidana@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลัก สัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการประชุมวิพากษ์ร่างรูปแบบและคู่มือ แบบสอบถามก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้รูปแบบ แบบบันทึกการดำเนินงานตามรูปแบบ แบบสังเกตและจดบันทึก แบบบันทึกการประชุมสะท้อนผล และแบบประเมินรูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา และประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความสอดคล้อง ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>องค์ประกอบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย มีจำนวน 6 องค์ประกอบ เรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) สัมพันธภาพภายในองค์กร 2) บรรยากาศแบบเปิด 3) มุ่งเน้นสัจการแห่งตน 4) ค่านิยมร่วม 5) มุ่งเน้นความสำเร็จ และ 6) การทำงานเป็นทีม</li> <li>ผลการพัฒนารูปแบบได้ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) สัมพันธภาพภายในองค์กร 2) บรรยากาศแบบเปิด 3) มุ่งความสัจการแห่งตน 4) ค่านิยมร่วม 5) มุ่งเน้นความสำเร็จ และ 6) การทำงานเป็นทีม</li> <li>ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าการปฏิบัติตามรูปแบบโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินรูปแบบรายด้านโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.66, S.D. = 0.06)</li> </ol> 2024-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275773 โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2024-10-18T14:16:36+07:00 พิมพ์โศภิษฐ์ สดเอี่ยม pimso@kkumail.com บุญช่วย ศิริเกษ pimso@kkumail.com กรรณิกา ไวโสภา pimso@kkumail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงและระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9,104 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,092 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน จำแนกตามจังหวัดและตำแหน่งหน้าที่ การสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันโมเดลสมมุติฐาน 2) แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาและสถิติโมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าใช้ได้ทุกแนวทาง</p> 2024-12-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275959 ยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 2024-10-30T11:14:42+07:00 สุรินทร์ แก้วบุตรดี jojojang2520@gmail.com ชิษณพงศ์ ศรจันทร์ jojojang2520@gmail.com พิมพ์อร สดเอี่ยม jojojang2520@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 2) เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคล โดยการวิเคราะห์<br />และสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค PNI<sub>Modified</sub> ระยะที่ 2 จัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม โดยจัดการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญร่วมร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม ระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์ในขั้นตอนสุดท้าย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 พบว่า ปัจจุบันการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการธำรงรักษาบุคคล ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาบุคลากร สรุปได้ ดังนี้ ด้านการพัฒนาบุคลากรมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( ) 4.90 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 0.16 และน้อยที่สุดด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดแต่งตั้ง คิดเป็นคิดเป็นค่าเฉลี่ย ( ) 4.15 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 0.40 องค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ตามหลักธรรมอิทธิบาท 4 สุจริต 3 และอคติ 4 ประกอบด้วย กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ 4 แนวทาง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และมรรค 8 ประกอบด้วย กลยุทธ์ 3 กลยุทธ์ 7 แนวทาง 3) ยุทธศาสตร์ด้านการธำรงรักษาบุคคล ประกอบด้วย กลยุทธ์ 6 กลยุทธ์ 8 แนวทาง 4) ยุทธศาสตร์ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ 2 แนวทาง 5) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย กลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ 4 แนวทาง</p> 2024-12-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/273912 ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2024-09-28T09:51:12+07:00 เฉลิมพร ราศรีชัย cheetah.ying@gmail.com ศักดินาภรณ์ นันที cheetah.ying@gmail.com สุขุม พรมเมืองคุณ cheetah.ying@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) ตรวจสอบและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูหัวหน้างานเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1,088 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย และวิเคราะห์ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันมีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่ามากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล มีค่า 2) ด้านการบริหารเทคโนโลยีสำหรับสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 3) ด้านการพัฒนาครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล และ 4) ด้านการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามลำดับ</li> <li>ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มี 12 เป้าหมาย 52 แนวทางของนโยบาย 39 กลไกของนโยบาย</li> <li>ผลการตรวจสอบและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน</li> </ol> 2024-12-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/277115 Decision-making Logic, Business Model Innovation on Enterprise Performance of Digital Transformation Enterprises in Environmental Uncertainty 2024-11-07T11:42:27+07:00 Ma Chaoping superma@gzgs.edu.cn Busaya Vongchavalitkul superma@gzgs.edu.cn <p>This study aimed to analyze 1) the direct influence of decision-making logic (causation and effectuation) on business model innovation 2) the direct influence of decision-making logic (causation and effectuation) on enterprise performance 3) the direct influence of business model innovation on enterprise performance and 4) the moderating role of environmental uncertainty on decision-making logic (causation and effectuation) and business model innovation. Research methodology were quantitative method, total sample size 454 furniture manufacturing enterprises in Guangzhou, Guangdong Province, collected data by online survey. PLS-SEM was used to evaluate the reflective and structural models to test the hypotheses.</p> <p>Research results 1) causation and effectuation not only have a direct positive impact on enterprise performance, but also can have a positive impact on enterprise performance by influencing business model innovation. Business model innovation plays a role as a "connector" between decision-making logic and enterprise performance 2) the impact of causation on enterprise performance (β=0.355, p&lt;0.01) is slightly greater than that of effectuation (β=0.321, p&lt;0.01) 3) the impact of effectuation on business model innovation (β=0.317, p&lt;0.01) is greater than that of causation (β=0.181, p&lt;0.01) and 4) Environmental uncertainty negatively regulates causation and business model innovation (β=-0.142, p&lt;0.01), but positively regulates effectuation and business model innovation (β=-0.214, p&lt;0.01). This study not only enriches the research on decision-making logic outcome variables, but also enriches the research on antecedent variables of enterprise performance, and clarifies the influence degree of causation and effectuation. By understanding these relationships, enterprises can choose wise decision-making logic based on their actual situation to enhance their core competitiveness, improve their performance, and achieve sustainable development.</p> 2024-12-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276912 รูปแบบการสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยกลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กร ที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์ 2024-11-11T09:46:45+07:00 วีรวรรณ ศรรักษ์ wsornrak@gmail.com ตรีเนตร ตันตระกูล wsornrak@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความผูกพันองค์กรและรูปแบบการสร้างองค์กรแห่งความสุขของพนักงานธนาคารพาณิชย์ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์ 3) เพื่อจัดทำรูปแบบการสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยกลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กรที่ส่งผลต่อความความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงสำรวจโดยการเชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้บริหารธนาคารพาณิชย์และนักวิชาการ จำนวน 12 ราย โดยผู้วิจัยจึงกำหนดให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านต่าง ๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการให้ข้อมูลได้ (Marshall,1996) การวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรการกำหนดตัวอย่างของคอชแรน (Cochran, 1953)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การสนับสนุนขององค์กร (Organizational Supports) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ภาวะผู้นำและการเติบโตในสายอาชีพและโอกาสก้าวหน้าในงาน 2) ความผูกพันองค์กร (Employee Engagement) ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบ คือ การคิดและพูดถึงองค์กรในแง่ที่ดี ค้นพบใหม่ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ความทรงจำที่ดีต่อองค์กร 3) องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมืออาชีพในงาน สุขภาพกายใจที่ดีและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี</p> <p>โดยสรุป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยกลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์ อาทิ เป็นองค์กรที่เติบโตได้อย่างยั่งยืน คุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรดีขึ้น เกิดความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข รวมถึงส่งผลต่อการสนับสนุนสังคม สนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตยิ่งขึ้น </p> 2024-12-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274031 โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลองค์การ ของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2024-10-17T11:59:16+07:00 ศิวพล ดิถีสวัสดิ์ sivapol.d@gmail.com ชิษณุพงศ์ ทองพวง sivapol.d@gmail.com ไพศาล จันทรังษี sivapol.d@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรม ตามการรับรู้ของบุคลากรในคลินิกทันตกรรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 2) ศึกษาเส้นทางอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล<br />ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 384 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านวัฒนธรรมองค์การ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านประสิทธิผลองค์การมึค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) เส้นทางอิทธิพลของผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อวัฒนธรรมองค์การ และมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยผ่านวัฒนธรรมองค์การ ดังนั้น ผู้บริหารคลินิกทันตกรรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ควรเป็นผู้มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และมีความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมองค์การในการบริหารองค์กรเพื่อทำให้ประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมสูงขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน</p> 2024-12-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274438 รูปแบบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการรองรับการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะแบบบ้าน ของประเทศไทย 2024-10-18T13:19:19+07:00 ภัทราพร ทิพย์มงคล pattraporn@vru.ac.th ระชานนท์ ทวีผล Taweephol_r@su.ac.th พิทักษ์ ศิริวงศ์ Phitak@ms.su.ac.th <p>บทความวิชาการนี้เป็นการวิเคราะห์รูปแบบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการรองรับการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะแบบบ้านของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ<br />การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยว ยานพาหนะแบบบบ้าน และจุดจอดยานพาหนะแบบบ้าน จากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการพัฒนารูปแบบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม จะเป็นประโยชน์เป็นแนวคิดการสร้างความสมดุลระหว่างธรรมชาติและความต้องการของนักท่องเที่ยวสมัยใหม่ ที่ต้องการประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่ท้าทายและทำกิจกรรมที่น่าสนใจ รูปแบบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการรองรับการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะแบบบ้านของประเทศไทย จึงต้องมีการพัฒนาหลากหลายมิติ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาคท้องถิ่น เพื่อร่วมกันพัฒนารูปแบบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะแบบบ้านในอนาคต สามารถขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว และส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนาคต</p> 2024-12-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา