https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/issue/feed วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) 2024-06-24T17:22:17+07:00 Open Journal Systems https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/272118 ความต้องการของตลาดแรงงานและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ 2024-02-13T13:50:28+07:00 ชนัญญู ตินตะบุระ chananyoo.t@ku.th ณภัทร สำราญราษฎร์ napat.s@ku.th พิชญา ร่มโพธิ์ภักดิ์ phichaya.r@ku.th ปฤณพร บุญรังสี prinnaporn.b@ku.th มานะศิลป์ ศรทนงค์ manasin.s@ku.th <p style="font-weight: 400;"> งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดแรงงานและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ และเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ซึ่งเป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บัณฑิตในสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมบริการ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บัณฑิตในสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมบริการ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ผลงานวิจัยฉบับนี้ พบว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีวุฒิการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นหัวหน้างาน และสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่พัก ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการต่อตลาดแรงงานในธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ คุณลักษณะของผู้ให้บริการ การตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม กระบวนการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การใช้เทคโนโลยีในงานบริการ ความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านงานบริการ และการสื่อสาร และผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นต่อหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จากการสัมภาษณ์และเก็บรวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อความต้องการของตลาดแรงงานและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ</p> 2024-02-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/271543 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจรับส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-01-12T13:14:42+07:00 ศรราม เอนกลาภ sornram.ane@northbkk.ac.th พินิจ แกล้วเกษตรกรณ์ sornram.ane@northbkk.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจรับส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มประชากรที่ใช้บริการธุรกิจรับส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความแปรปรวน F-test หาความต่างของค่าเฉลี่ย ANOVA และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD (Fisher’s least – significant difference) และสถิติถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression Analysis) วิเคราะห์โดยวิธี Linear Regression โดยวิเคราะห์ตัวแปรทั้งหมดในครั้งเดียว (Enter) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยกลยุทธ์การตลาด 5A อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจส่งรับอาหารผ่านแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่าการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจรับส่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจส่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า ปัจจัยกลยุทธ์การตลาด 5A ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจรับส่งอาหารผ่านการประยุกต์ใช้ของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยกลยุทธ์การตลาด 5A สามารถร่วมกันอธิบายระดับการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพฯได้ร้อยละ 89.2</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/271623 ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ในจังหวัดนครนายก 2024-01-12T13:16:46+07:00 พนิดา วงษ์อนุ pppe1234567890@gmail.com สมยศ อวเกียรติ pppe1234567890@gmail.com สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล pppe1234567890@gmail.com <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ในจังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ในจังหวัดนครนายกจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ F test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD (Fisher’s least-significant difference). ผลการวิจัย พบว่า 1) การตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ ในจังหวัดนครนายกตามแผนการตลาด 5A มีระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ด้านเพศมีปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งไม่แตกต่างกัน ส่วนด้าน อายุ การศึกษา รายได้ และประสบการณ์ในการขายสินค้า มีปัจจัยในตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่ง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/271724 ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าแฟชั่นฉับพลันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-04-19T09:37:03+07:00 พิพัฒน์ พุ่มสุข tua.pp080839@gmail.com กอบกูล จันทรโคลิกา tua.pp080839@gmail.com จุฑามาศ วงศ์กันทรากร tua.pp080839@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันแบบจำลองการซื้อสินค้าแฟชั่นอย่างฉับพลัน และระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าแฟชั่นอย่างฉับพลันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัยประยุกต์ จากแนวคิดการซื้อเพื่อประโยชน์ การซื้อเพื่อความเพลิดเพลิน การมีส่วนร่วมในสินค้าแฟชั่น อิทธิพลผู้นำทางด้านแฟชั่น อำนาจในการซื้อ ความพร้อม และสถานการณ์ รวมไปถึงทฤษฎีการซื้ออย่างฉับพลัน โดยใช้วิธีการสำรวจเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 416 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร จากผู้ที่เคยซื้อและซื้อสินค้าแฟชั่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การกำหนดกลุ่มตัวอย่างมีขนาดตัวอย่างเพียงพอที่ทำให้การทดสอบทางสถิติ การประมาณค่าพารามิเตอร์ มีค่าคงที่และมีค่าความเชื่อมั่นสูง โดยแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 3 กลุ่ม ตามช่วงอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และความถี่ในการซื้อสินค้าต่อเดือน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน สถิติเชิงอนุมาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นอย่างฉับพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การซื้อความเพลิดเพลิน และการซื้อเพื่อประโยชน์ โดยกลุ่มตัวอย่าง ช่วงอายุที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับผู้มีอิทธิพลทางด้านแฟชั่น การบริโภคเพื่อความเพลิดเพลิน และสถานการณ์ในการซื้อสินค้าแฟชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับ ผู้มีอิทธิพลทางด้านแฟชั่น การซื้อเพื่อความเพลิดเพลิน อำนาจในการซื้อ และสถานการณ์ในการซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มตัวอย่างความถี่ในการซื้อต่อเดือนที่แตกต่างกันให้ความสำคัญ การมีส่วนร่วมในสินค้าแฟชั่น ผู้มีอิทธิพลทางด้านแฟชั่น การซื้อเพื่อความเพลิดเพลิน อำนาจในการซื้อ และสถานการณ์ในการซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/272225 แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต 2024-03-04T13:34:39+07:00 วรลักษณ์ ระวังภัย lsitchai@hotmail.com นิตติกร สุวรรณศิลป์ lsitchai@hotmail.com สิทธิ์ชัย ลิมาพร lsitchai@hotmail.com พรรษมน บุษบงษ์ lsitchai@hotmail.com <p> งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต โดยเน้นไปที่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้บริหารสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 6 คน และยังเพิ่มการวิจัยเชิงปริมาณในรูปของแบบสอบถาม เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหนี้สินที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 399 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ประกอบด้วย การวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า จากแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่กลุ่มตัวอย่างนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินมากที่สุด คือ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน และเป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหนี้สินที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ตพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหนี้สินทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านทัศนคติ ด้านพฤติกรรมการบริโภค ด้านวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ และด้านการขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดการเงิน มีความสัมพันธ์กับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินด้านการวางแผนทางการเงินในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน ด้านการประนอมหนี้ เป็นต้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/272720 อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์นำเข้าจากญี่ปุ่น กรณีศึกษาร้านขายยาแบบญี่ปุ่น 2024-03-18T16:05:31+07:00 วิริยา ตั้งจิตวิริยะกุล ta.wiriya_st@tni.ac.th สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ ta.wiriya_st@tni.ac.th <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ร้านขายยาแบบญี่ปุ่น 2. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์ ความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ และความตั้งใจซื้อ 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์ ความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการร้านขายยาแบบญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 510 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0 ผลการศึกษาพบว่าความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศที่มาของผลิตภัณฑ์ ความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ และความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และภาพลักษณ์ประเทศที่มาของผลิตภัณฑ์ไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญ</p> <p> </p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/272442 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเก้าอี้สำนักงานผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของกลุ่ม Generation y ในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-03-04T13:46:25+07:00 ชนากานต์ ต้องทรัพย์ chanakan.tong@northbkk.ac.th พินิจ แกล้วเกษตรกรณ์ chanakan.tong@northbkk.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเก้าอี้สำนักงานผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของกลุ่ม Generation y ในเขตกรุงเทพมหานคร.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าเก้าอี้สำนักงานผ่านช่องทางแอปพลิเคชันที่เป็นกลุ่ม Generation y รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ ความแปรปวน F test โดยหาค่าความต่างของค่าเฉลี่ย ANOVA และการเปรียบเทียบความแตกต่าง รายคู่แบบ LSD (Fisher’s least-significant difference). และสถิติถดถอยพหุคูณเชิงพหุ (Multiple Linear Regression) วิเคราะห์โดยวิธี Linear Regression โดยวิเคราะห์ตัวแปรทั้งหมดในครั้งเดียว (Enter) ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการบริการ และการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเก้าอี้สำนักงานผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของกลุ่ม Generation y ในเขตกรุงเทพมหานคร มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ของกลุ่ม Generation y ที่อายุแตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเก้าอี้สำนักงานผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า คุณภาพการบริการส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเก้าอี้สำนักงานผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นของกลุ่ม Generation y ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยคุณภาพการให้บริการสามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเก้าอี้สำนักงานผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของกลุ่ม Generation y ในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 95.6</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/272745 อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ และการรับรู้ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ที่มีต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวย่านสงขลาเมืองเก่า หลังสถานการณ์โควิด-19 2024-04-09T09:49:06+07:00 อนุวัต สงสม sanuwat52@gmail.com <p> งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ และการรับรู้ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ที่มีต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยว จำนวน 300 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ แบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวทางของลิเคิร์ท โมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ตัวแปรแฝง และ 11 ตัวแปรสังเกตได้ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดมีค่าความเชื่อมั่นขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.81-0.93 และค่าความแปรปรวนเฉลี่ยขององค์ประกอบ อยู่ระหว่าง 0.71-0.85 เช่นเดียวกับโมเดลการโครงสร้างที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c<sup>2</sup>/df = 1.67, CFI = 0.92, RMR = 0.02, RMSEA = 0.04) โดยพบว่าการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว และการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยว ด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.54 และ 0.38 ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับรู้ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 ด้วยขนาดอิทธิพล 0.42 ผลจากการวิจัยสามารถนําไปเป็นแนวทางในการกําหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด และมุ่งเน้นภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยของสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/272432 อิทธิพลของไลฟ์สไตล์ และส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงามผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ 2024-04-18T14:33:32+07:00 ณัฐนรี สกุลวงค์รัตน์ natnaree787@gmail.com พิเชษฐ์ชัย วามะลุน pichetchaixxx@gmail.com สุภนิช สุดหนองบัว supanit10748@gmail.com อุษา ศรีสุทธิกาญจนา usasri2001@gmail.com นิภา นิรุตติกุล nipa.niruttikul@gmail.com <p> การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลด้านรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6P’s) และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลด้านแรงจูงใจ (Motivation) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงามผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค ที่มีการตัดสินใจซื้อหรือเคยมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพื่อความงามผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์มาก่อน จำนวน 385 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงามผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ ส่วนปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงามผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ มีเพียงด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านแรงจูงใจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงามผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/273066 การพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2024-04-18T14:59:25+07:00 ราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ratrisahwat.111@gmail.com <p> งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คน ครูผู้สอน จำนวน 276 คน หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จำนวน 11 คน และผู้แทนสถานประกอบการ จำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 373 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1) นโยบายและเป้าหมายอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) เครือข่ายสถานประกอบการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) งบประมาณและทรัพยากรการผลิต ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูง 4 ขั้น ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การประสานงาน 3) การนำ/การปฏิบัติ และ 4) การตรวจสอบและประเมินผล ด้านผลผลิต ประกอบด้วย คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาและการเพิ่มขึ้นของผู้เรียนและสถานประกอบการ 2. ผลการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า หน่วยงาน/สถานประกอบการ ร่วมมือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.60 ผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.32 ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษา ที่มีงานทำ/ประกอบอาชีพอิสระประสบความสำเร็จ ร้อยละ 98.53</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/273286 กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-04-17T23:58:18+07:00 ญาณิศา กฤชเวชมนตรี yanisa.krit@northbkk.ac.th ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ yanisa.krit@northbkk.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับประกันวินาศภัย เพื่อศึกษาการตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และเพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจขายประกันวินาศภัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีใบอนุญาตขายประกันในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความแปรปรวน F-test โดยหาค่าความต่างของค่าเฉลี่ย ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD ทดสอบระดับความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจขายประกันวินาศภัย ด้วย Multiple Regression Analysis. ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับประกันวินาศภัยอยู่ในระดับมาก 2) การตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ลักษณะประชากรศาสตร์กลุ่ม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย พบว่า กลุ่ม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย ไม่แตกต่างกัน และ 4) กลยุทธ์การตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัยของผู้มีใบอนุญาตขายประกันในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลยุทธ์การตลาด ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ ด้านการดึงดูด ด้านการสอบถาม ด้านการลงมือทำ และด้านการสนับสนุน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัยของผู้มีใบอนุญาตขายประกันในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 7.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> </p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/273052 อิทธิพลของเกมมิฟิเคชันที่มีต่อคุณค่าทางความรู้สึกและคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Generation Z 2024-05-17T10:05:59+07:00 กนกกร ทรงพิโรจน์ kanokkorn.son@ku.th ณัฐฏ์ธกรณ์ สิงห์จันทร์ nattakorn.si@ku.th ธนไกร ไกรสิทธิ์ tanakrai.k@ku.th ธเนศร์ ชัยภูวภัทร thanate.c@ku.th วราภรณ์ ด่านศิริ marketing.kums@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z จำนวน 400 คน โดยมีตัวแปรคั่นกลางได้แก่ คุณค่าทางความรู้สึกและคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ ทำการวิจัยด้วยวิธีเชิงปริมาณ มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่าเกมมิฟิเคชันมีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณค่าทางความรู้สึกและคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ และตัวแปรทั้งสองมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากการทดสอบอิทธิพลของตัวแปรคั่นกลาง พบว่าเกมมิฟิเคชันมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อ โดยมีคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์เพียงด้านเดียวที่เป็นตัวแปรคั่นกลาง ซึ่งการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการนําเกมมิฟิเคชันไปประยุกต์ใช้ทางการตลาดกับผู้บริโภคในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ</p> <p> </p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/273636 อิทธิพลของทำเลที่ตั้งต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวสะพายเป้: กรณีศึกษาโฮสเทลในกรุงเทพมหานคร 2024-05-26T20:47:22+07:00 ภัทรวดี สง่าแสง wiraphong.pa@ku.th ณัฐวุฒิ สุขีรัตน์ wiraphong.pa@ku.th วีระพงษ์ ปัญญาธนคุณ wiraphong.pa@ku.th ตระหนักจิตต ทองมี wiraphong.pa@ku.th <p> ที่พักประเภทโฮสเทลในกรุงเทพมหานครมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงขึ้น โดยทำเลที่ตั้งเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จและความอยู่รอดทางธุรกิจ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาอิทธิพลของทำเลที่ตั้งต่อการตัดสินใจเลือกพักประเภทโฮสเทลของนักท่องเที่ยวสะพายเป้ในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยฉบับนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งพักค้างคืนในที่พักประเภทโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าเฉลี่ย ความถี่ และร้อยละ รวมทั้งสถิติเชิงอ้างอิง คือ การทดสอบการถดถอยพหุคูณ (multiple-regression) ผลการศึกษาพบว่าทำเลที่ตั้งใกล้ระบบขนส่ง (B=0.126, t=3.417, p-value=0.001) และทำเลที่ตั้งใกล้ร้านอาหารและบาร์ (B=0.087, t=2.337, p-value=0.020) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักประเภทโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในขณะที่ทำเลที่ตั้งอยู่ในย่านที่ปลอดภัย (B=0.071, t=1.641, p-value=0.102) และทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งท่องเที่ยว (B=0.033, t=1.151, p-value=0.251) ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักประเภทโฮสเทลของนักท่องเที่ยว</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/273630 นวัตกรรมสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของเยาวชน กรณีศึกษาหอศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2024-05-23T10:59:47+07:00 ศิวะรัฐ คำนุ khumnu_2499@hotmail.com วิสูตร โพธิ์เงิน khumnu_2499@hotmail.com ทิพเนตร์ แย้มมณีชัย khumnu_2499@hotmail.com พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ khumnu_2499@hotmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดีย และ 2) ศึกษาผลการใช้ของสื่อมัลติมีเดียข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจากวัตถุจัดแสดงภายในห้องประวัติศาสตร์ หอวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย ราชภัฏกาญจนบุรี ประกอบด้วย 2.1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าชมข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2.2) เพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าของผู้เข้าชมข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจากวัตถุจัดแสดงภายในห้องประวัติศาสตร์ หอวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&amp;D) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรมสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ค่าส่วนเบี่ยงมาตราฐาน 0.22 2) ผลการวัดความรู้ความเข้าใจ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลังเรียนอยู่ในระดับดี 3) การเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ค่าส่วนเบี่ยงมาตราฐาน 0.63 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อนวัตกรรมสื่อมัลติมีเดีย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 ค่าส่วนเบี่ยงมาตราฐาน 0.27</p> <p> </p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/273782 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัทผลิตฝาปิดขวดบรรจุเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง 2024-06-19T21:01:26+07:00 อังคณา ธนานุภาพพันธุ์ edu_1sigma@yahoo.com ดำรงค์ ถาวร edu_1sigma@yahoo.com พุทธชาด edu_1sigma@yahoo.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิล ปัจจัยบรรยากาศองค์การ และปัจจัยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตฝาปิดขวดบรรจุเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง (2) เพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตฝาปิดขวดบรรจุเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตฝาปิดขวดบรรจุเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ พนักงานฝ่ายสำนักงานที่ทำงานจำนวน 125 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิล ปัจจัยบรรยากาศองค์การและประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีการตรวจสอบความกลมกลืนของรูปแบบโดยมีค่าสถิติไค-สแควร์ () = 19.643 ที่องศาอิสระ (df) = 23, = 0.854,ค่าดัชนีความสอดคล้อง (GFI) = 0.972, ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.921, ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยของส่วนเหลือคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) = 0.00, ค่าดัชนีค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) = 0.030 3) โมเดลประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยบรรยากาศองค์การ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิล ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานผ่านปัจจัยบรรยากาศองค์การ</p> <p> </p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/273966 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อร้านคาเฟ่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-06-13T13:22:11+07:00 กันตภณ อมรเมฆพงศ์ sbcswk@ku.ac.th ชยกร จิวตระกูล sbcswk@ku.ac.th วสันต์ ยงพิศาลภพ sbcswk@ku.ac.th เสาวคนธ์ บุญสมธป sbcswk@ku.ac.th สิริกานต์ ทองพูน sbcswk@ku.ac.th <p> งานวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อร้านคาเฟ่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการคาเฟ่ และศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อร้านคาเฟ่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติ t-test และone-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพ นิสิต/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท ความถี่การใช้บริการร้านคาเฟ่ของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ 2-4 ครั้งต่อเดือน ใช้บริการร้านคาเฟ่กับเพื่อนสนิท/เพื่อนเก่า นิยมใช้บริการร้านคาเฟ่ช่วงกลางวัน และวัตถุประสงค์ในการใช้บริการร้านคาเฟ่เพื่อดื่มกาแฟและอื่นๆ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อร้านคาเฟ่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจโดยรวม และทุกด้านอยู่ระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ/ บรรยากาศ ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจต่อร้านคาเฟ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/274080 How individual impulsivenss moderate the relationship between impulse buying and cognitive appraisal. 2024-05-23T10:45:33+07:00 Amnart Sukanjanakul joejigo@hotmail.com Tatchalerm Sudhipongpracha tatcsu@tu.ac.th <p> งานวิจัยก่อนหน้านี้เกี่ยวกับบทบาทของการประเมินความคิด (cognitive appraisal) ต่อพฤติกรรมการซื้อของโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า (impulse buying) ได้อธิบายและกำหนดวิธีที่ผู้บริโภคประเมินการตัดสินใจซื้อของแบบฉับพลัน งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติส่วนบุคคลด้านความหุนหันพลันแล่นของแต่ละบุคคล (individual impulsiveness) ในฐานะปัจจัยที่มีอิทธิพลซึ่งช่วยในการอธิบายการประเมินความคิดของผู้บริโภค งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้เสนอแนะว่า ลักษณะนิสัยด้านการซื้อของแบบฉับพลันนั้นสัมพันธ์กับคุณสมบัติส่วนบุคคลด้านความหุนหันพลันแล่นของแต่ละบุคคล ซึ่งการประเมินความคิดมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะนิสัยบุคคลในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล งานวิจัยนี้วิเคราะห์ผลกระทบของความหุนหันพลันแล่นของแต่ละบุคคล ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการประเมินการตัดสินใจซื้อของแบบฉับพลัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความหุนหันพลันแล่นของแต่ละบุคคลส่งผลต่อวิธีที่ผู้บริโภคตีความสาเหตุของการซื้อสินค้า รวมถึงความพึงประสงค์ในตัวสินค้า สำหรับผู้บริโภคที่มีความหุนหันพลันแล่นสูง ความสัมพันธ์ระหว่างการซื้อของแบบฉับพลันกับความพึงประสงค์ในผลลัพธ์ (outcome desirability) จะแข็งแกร่งกว่าผู้บริโภคที่มีความหุนหันพลันแล่นต่ำ นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังขยายผลการศึกษาไปยังตัวชี้วัดการซื้อของแบบฉับพลันที่รู้จักกันดีสองประเภท ได้แก่ ประเภทสินค้าเพื่อความสุข (hedonic) หรือประเภทสินค้าเพื่อประโยชน์ใช้สอย (utilitarian) และระดับของเงินรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้ (disposable income) ว่าส่งผลต่อการประเมินการซื้อของแบบฉับพลันของผู้บริโภคหรือไม่</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/274082 The post-purchase stage of impulse buying: The mediating role of cognitive appraisal 2024-05-26T22:33:19+07:00 Amnart Sukanjanakul joejigo@hotmail.com Tatchalerm Sudhipongpracha tatcsu@tu.ac.th <p> บทความนี้เสนอรูปแบบแนวคิดเพื่ออธิบายกระบวนการหลังการตัดสินใจซื้อของแบบฉับพลัน (impulse buying) รูปแบบดังกล่าวผสมผสานทฤษฎีการประเมินความคิด (cognitive appraisal theory) เพื่อไขกลไกทางจิตวิทยาของผู้บริโภคหลังจากตัดสินใจซื้อของไปแล้ว นอกจากนี้ บทความนี้ยังทบทวนงานวิจัยด้านการซื้อของแบบฉับพลันและทฤษฎีการประเมินความคิด เพื่อให้เข้าใจกระบวนการหลังการตัดสินใจซื้อของแบบฉับพลันมากยิ่งขึ้น การซื้อของแบบฉับพลันมักกระตุ้นให้เกิดอารมณ์และการประเมินตนเองในแง่ลบ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์โดยรวมของแบรนด์ในสายตาผู้บริโภค และอาจส่งผลต่อรายได้ระยะยาวของบริษัท ในทางกลับกัน งานวิจัยบางชิ้นกลับพบผลกระทบในทางบวก ดังนั้น บทความนี้จึงตั้งคำถามวิจัย 3 ข้อ ดังนี้: ผู้บริโภครู้สึกอย่างไรหลังจากตัดสินใจซื้อของแบบฉับพลัน? อะไรเป็นสาเหตุของความรู้สึกเหล่านี้? ความรู้สึกเหล่านี้ส่งผลต่อแบรนด์ที่เกี่ยวข้องอย่างไร บทความนี้มุ่งศึกษาพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการสำรวจอย่างละเอียด และส่งเสริมการถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบทางอารมณ์ที่เกิดจากการซื้อของแบบฉับพลัน นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงทัศนคติต่อแบรนด์ที่เกิดจากอารมณ์ของผู้บริโภคในบริบทของการซื้อของแบบฉับพลัน สุดท้าย บทความนี้เสนอร่างแบบบูรณาการของกระบวนการหลังการตัดสินใจซื้อของแบบฉับพลัน</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/274131 คุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับพนักงานขายในธุรกิจค้าปลีก 2024-05-26T22:14:05+07:00 ธนกร ศิริกันต์ tansirigun@hotmail.com อาชัญญา รัตนอุบล tansirigun@hotmail.com วีรฉัตร์ สุปัญโญ tansirigun@hotmail.com <p style="font-weight: 400;"> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับพนักงานขาย ในธุรกิจค้าปลีก เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของพนักงานขาย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และ การประชุมกลุ่ม (focus group) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นพนักงานและลูกค้าร้านขายสินค้าเฉพาะอย่างในห้างสรรพสินค้าที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง จำนวน 1 ท่าน ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำนวน 5 ท่าน และ พนักงานขาย จำนวน 14ท่าน ที่ได้มาจากเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive selection) และลูกค้าจำนวน 23 ท่าน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบสะดวก (convenience sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และตีความข้อมูลแบบอุปนัย (analytical induction) ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับพนักงานขายในธุรกิจค้าปลีก ได้แก่ การพัฒนาความรู้ด้านการขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความรู้ด้านการขายที่พบว่าพนักงานขายจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับตัวเองในฐานะนักขาย 2) ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า 3) ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการขาย และ 4) ความรู้เกี่ยวกับสินค้า</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/274290 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2024-06-13T13:30:02+07:00 ภาสพงศ์ ภิรมย์คำ passapong.pir@ku.th ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล passapong.pir@ku.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 60 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย (Simple random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษา (การฝึกด้วยน้ำหนักเพื่อสุขภาพ) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมารตฐาน (S.D.) ค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (T-test Independent) ค่าความแตกต่างภายในกลุ่ม (T-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) ทฤษฎีพื้นฐานและหลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) วิธีดำเนินงานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5) แนวทางการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้ กลุ่มทดลองมีทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปได้</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/274700 ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะคณะกรรมการและโครงสร้างผู้ถือหุ้น ที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย 2024-06-13T11:35:39+07:00 สุรเชษฐ์ สิทธิปลื้ม nittayazaa@hotmail.com ฐิติพร พระโพธิ์ nittayazaa@hotmail.com นิตยา อำไพกุล nittayazaa@hotmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะคณะกรรมการ โครงสร้างผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทน 2) ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะคณะกรรมการและโครงสร้างผู้ถือหุ้น และ 3) เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 463 บริษัท โดยจำนวนดังกล่าวไม่รวมกลุ่มธุรกิจการเงิน ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการที่ใช้ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0<em>.</em>05 และ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะคณะกรรมการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.1822 โครงสร้างผู้ถือหุ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.0197 และอัตราผลตอบแทน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.4273 2) คุณลักษณะคณะกรรมการ ด้านขนาดของคณะกรรมการบริษัท ด้านสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระต่อคณะกรรมการบริษัท ด้านการควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีความสัมพันธ์และส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคุณลักษณะคณะกรรมการ ด้านจำนวนครั้งการเข้าประชุมของคณะกรรมการบริษัท และโครงสร้างผู้ถือหุ้น ไม่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) กลุ่มอุตสาหกรรมที่คุณลักษณะคณะกรรมการ ด้านขนาดของคณะกรรมการบริษัทด้านสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระต่อคณะกรรมการบริษัท ด้านการควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านจำนวนครั้งการเข้าประชุมของคณะกรรมการบริษัทและโครงสร้างผู้ถือหุ้น ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมไม่แตกต่างกัน</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/274816 คุณภาพการบริการของโรงแรมเพื่อสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต 2024-06-24T17:22:17+07:00 ปิยะภาคย์ ภูมิภมร piyapak54@hotmail.com วัสราภรณ์ ละนิล piyapak54@hotmail.com ปรางฉาย ปรัตคจริยา piyapak54@hotmail.com สุวิมล อินบริสุทธิ์ piyapak54@hotmail.com ศุภรดา สนามทอง piyapak54@hotmail.com อรวรา ยิ่งสมบัติ piyapak54@hotmail.com <p> การวิจัยเรื่องคุณภาพการบริการโรงเเรมเพื่อสุขภาพในจังหวัดภูเก็ตมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการบริการของโรงแรมเพื่อสุขภาพ (Wellness Hotel) ในจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับคุณภาพบริการของโรงแรมเพื่อสุขภาพ (Wellness Hotel) ในจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 400 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากนั้นทำการประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ตอบเเบบสอบถามเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51) มีสัญชาติไทย (ร้อยละ 78.3) มีอายุข่วงอายุ 39 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 30.5) มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรี / ปวส.มากที่สุด (ร้อยละ 55.3) ส่วนใหญ่มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 39.8) มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท (ร้อยละ 30.3) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อคุณภาพบริการโรงแรมเพื่อสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน โดยให้ความสำคัญเรื่องสถานที่ตั้งของโรงแรมมีความสะดวกต่อการเดินทาง (=4.44, SD.= 0.64), ความสะดวกในการจองห้องพัก ระบบการจองห้องพัก (=4.38, SD.= 0.64) , พนักงานมีอัธยาศัยที่ดีเเละยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา (=4.40, SD.= 0.60) , พนักงานติดต่อประสานงานกลับรวดเร็ว เมื่อได้รับการติดต่อจากลูกค้า (=4.35, SD.= 0.61) และโรงเเรมมีระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง (=4.48, SD.= 0.56)</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry)