https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/issue/feed PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY 2024-06-06T15:07:35+07:00 กองการจัดการ lawpridijournal@dpu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นวารสารวิชาการของคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งตีพิมพ์บทความทางวิชาการและบทความวิจัยทางด้านกฎหมาย จากบุคคลทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย</p> <p>จัดพิมพ์วารสารราย 6 เดือน </p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ปัจจุบันกำลังเปิดรับบทความ พ.ศ. 2566 </strong></p> <p>&gt; วารสารอยู่ใน TCI กลุ่มที่ 3 <a href="https://tci-thailand.org/detail_journal.php?id_journal=201">https://tci-thailand.org/detail_journal.php?id_journal=201</a></p> <p>&gt;&gt; มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความอย่างน้อย 3 คน</p> <p>&gt;&gt;&gt; ไม่มีค่าส่งบทความ</p> <p>&gt;&gt;&gt;&gt; มีค่าตอบแทนเมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์*</p> <p> </p> <p>คู่มือการใช้งานระบบ ThaiJO </p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1CdPHDgAQnd9MSngcZ8TFdZR2tTRPKfE_/view">https://drive.google.com/file/d/1CdPHDgAQnd9MSngcZ8TFdZR2tTRPKfE_/view</a></p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/261510 ปัญหาการลบทะเบียนประวัติอาชญากร 2022-12-18T15:03:11+07:00 กิตติศักดิ์ ฟ้องเสียง kittideprom@gmail.com กรรภิรมย์ โกมลารชุน kanpirom.kon@dpu.ac.th <p> จากการศึกษากฎหมายการลบทะเบียนประวัติอาชญากรในกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นว่า ทะเบียนประวัติอาชญากรนั้นส่งผลกระทบต่อตัวผู้กระทำความผิดในกรณีที่ผู้กระทำผิดนั้นสำนึกต่อการกระทำของตนแล้วต้องการที่จะกลับตนเป็นคนดีหรือผลต่อครอบครัวของผู้กระทำผิดและส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติแม้ทะเบียนประวัติอาชญากรจะถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในด้านต่างๆก็ตาม อาทิ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ข้อมูลทะเบียนประวัติ อาชญากร ได้แก่ประวัติของผู้กระทำผิด ลายพิมพ์นิ้วมือ เป็นต้น ในการสืบสวน สอบสวนติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การสั่งฟ้องของพนักงานเป็นไปโดยง่าย และศาลสามารถใช้ทะเบียนประวัติอาชญากรประกอบดุลพินิจในการพิจารณา พิพากษาคดี รวมทั้งพิจารณาลงโทษหรือเพิ่มโทษให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ก็ตามซึ่งประโยชน์ของทะเบียนประวัติอาชญากรนั้นก็สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ เพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนต่อความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำในขณะเดียวกันในปัจจุบันยังไม่มีกลไกลทางกฎหมายใดๆไป ที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลับตนเป็นคนดีแล้วและ สามารถกลับมา มีสิทธิต่างๆ และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลดังกล่าว จนทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถกลับสู่สังคมได้ด้วยเหตุที่มีทะเบียนประวัติอาชญากรติดตัวและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆตามมา</p> <p> อีกทั้งประเทศต่างๆได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวและแนวความคิดในเรื่องของการคงไว้ซึ่งทะเบียนประวัติอาชญากรได้เปลี่ยนแปลงไปโดยต้องการที่จะให้ความสำคัญต่อตัวผู้กระทำผิดที่สามารถแก้ไขฟื้นฟู หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และกลับตนเป็นคนดีมากกว่าซึ่งจะส่งผลให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้แทนที่จะเป็นการแก้แค้นทดแทนแต่เพียงอย่างเดียวดังจะเห็นได้จากบทความ งานวิชาการจนกระทั่งได้มีการออกกฎหมายการลบทะเบียนประวัติอาชญากรขึ้นบังคับใช้ในที่สุดโดยหลักการและเหตุผลของกฎหมายดังกล่าวคือ เพื่อที่จะให้ผู้กระทำผิดที่ขอลบทะเบียนประวัติอาชญากรกลับมามีสิทธิต่างเพื่อลดผลกระทบที่บุคคลนั้นหรือสังคมจะได้รับๆอีกครั้งและทำให้บุคคลนั้นสามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้ในที่สุด มากกว่าที่จะให้ผู้กระทำผิดที่กลับตัวเป็นคนดีแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมและประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นการให้โอกาสบุคคลนั้นสามารถประกอบอาชีพบางอย่างได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้หน่วยงานของรัฐและนายจ้างจะไม่สามารถเข้า ข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร และตัวผู้กระทำผิดสามารถที่จะปฏิเสธถึงการมีอยู่ของทะเบียนประวัติอาชญากรได้ด้วยเป็นผลให้บุคคลดังกล่าวมีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้ไม่ก่อปัญหาสังคมตามมาและสามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้ด้วยเหตุนี้จึงมีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และมลรัฐ เทกซัส สหรัฐอเมริกามาเป็นแนวทางในการออกกฎหมายการลบทะเบียนประวัติอาชญากรของไทย ให้มีความเหมาะสมกับความเป็นอยู่และสภาพสังคมไทย ตลอดจนเพื่อลดผลกระทบที่เกิดแก่ตัวผู้กระทำผิด และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมในอนาคต</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/266720 ปัญหาทางกฎหมายในการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุ 2023-04-19T11:28:29+07:00 ปิยทัศน์ มณีนวล 635154040005@dpu.ac.th จิรวุฒิ ลิปิพันธ์ jirawut.lin@dpu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในสถานการณ์ปัจจุบัน “สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society)” ได้กลายเป็นเรื่องที่ทุก ๆ ประเทศทั่วโลกเผชิญ และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุนี้ ทำให้มีอัตราผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย เนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุที่มีความเปลี่ยนแปลง รวมถึงเศรษฐกิจ และสังคมซึ่งต่างจากวัยอื่น ๆ ซึ่งความชราภาพหรือความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจนั้นอาจส่งผลต่อสติสัมปชัญญะด้วย อย่างไรก็ตาม เหตุผลดังกล่าวไม่ใช่ข้อกล่าวอ้างเมื่อผู้สูงอายุเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา แต่ในขณะที่หากเด็กและเยาวชนกระทำความผิดทางอาญาคนกลุ่มนี้จะได้รับการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาตามเกณฑ์อายุที่กฎหมายกำหนด แตกต่างจากถ้าผู้กระทำความผิดทางอาญาเป็นผู้สูงอายุไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่กล่าวถึงการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุ ในขณะที่ประเทศไทยสมัยอดีตมีการบันทึกเอาไว้ตามกฎหมายลักษณะวิวาทตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ต่อมาเมื่อการแพทย์และสาธารณสุขมีความก้าวหน้ามากขึ้น บุคคลที่อายุ 70 ปีขึ้นไปจึงอาจไม่ได้มีอาการสติสัมปชัญญะบกพร่องเสมอไปดังเช่นอดีต และกฎหมายอาญาตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อการร่างกฎหมายลักษณะอาญาก็ไม่มีหลักการในเรื่องนี้ คณะกรรมการร่างกฎหมายลักษณะอาญาจึงไม่ได้กำหนดเหตุยกเว้นโทษสำหรับบุคคลผู้กระทำความผิดที่อายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 แต่อย่างใด จนกระทั่งปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาก็มิได้มีการบัญญัติหลักกฎหมายดังกล่าวไว้อีกเช่นกัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุ โดยศึกษานอกจากกฎหมายอาญาของไทยในอดีตแล้ว ยังศึกษากฎหมายอาญาของต่างประเทศด้วย ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศฟิลิปปินส์ โดยความหลากหลายของระบบกฎหมายทั้ง 4 ประเทศนี้ เพื่อทำให้ทราบว่าประเทศไทยควรนำการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุกลับมาใช้ในกฎหมายอาญาในปัจจุบันหรือไม่ เพียงใดถึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด รวมถึงเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายอาญาของประเทศไทยต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/267420 มาตรการอื่นแทนการลงโทษทางอาญา ศึกษากรณี ผู้ค้ายาเสพติดรายย่อย 2023-05-22T09:14:35+07:00 อรทัย สุวรรณะ law_0918@hotmail.com จิรวุฒิ ลิปิพันธ์ jirawut.lin@dpu.ac.th <p> สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยยังคงรุนแรง อาจเนื่องจากการมีมาตรการทางอาญาที่เข้มงวดในการแก้ไขปัญหายาเสพติด นโยบายการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดียาเสพติดกับผู้ค้ายาเสพติดที่ผ่านมามีแนวคิดในการจัดการกับผู้ค้ายาเสพติดโดยมุ่งเน้นการปราบปรามเป็นหลัก การใช้กฎหมายยาเสพติดที่เข้มงวดรุนแรง นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้แล้ว ยังสร้างปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การมีนักโทษในคดียาเสพติดจำนวนมาก จนส่งผลให้มีปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ</p> <p> จากการศึกษาพบว่าการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดที่เป็นปัญหา คือการไม่สามารถแยกผู้กระทำความผิดแต่ละกลุ่มออกจากกันได้ เช่น กลุ่มผู้เสพ กลุ่มผู้ค้ารายย่อย กลุ่มผู้ค้ารายใหญ่ ทำให้เกิด การลงโทษผู้กระทำความผิดแบบเหมารวม เป็นการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนระหว่างการกระทำความผิด แม้ว่าจะมีขนาดความร้ายแรงของการกระทำความผิดที่แตกต่างกันก็อาจถูกลงโทษในอัตราโทษที่สูง ทำให้ผู้ค้ายาเสพติดรายย่อย ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดที่มียาเสพติดจำนวนน้อย ต้องได้รับโทษที่รุนแรง โดยที่ไม่สามารถใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษทางอาญากับผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยได้ เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายหรือค้ายาเสพติด เป็นความผิดที่กฎหมายได้กำหนดให้เป็นการกระทำความผิดอาญา และมีบทลงโทษที่รุนแรง กฎหมายจึงมุ่งเน้นการปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดให้หมดสิ้นไป โดยการใช้โทษจำคุกเป็นเครื่องมือในการลงโทษทางอาญา ทำให้ไม่สามารถนำมาตรการอื่นมาใช้กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เป็นเพียงผู้ค้ารายย่อยได้ ดังนั้นผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยซึ่งอาจเป็นเพียงผู้เสพยาเสพติดที่ผันตัวเองมาเป็นผู้ค้ายาเสพติด เพื่อแลกกับยาเสพติดเพื่อใช้ในการเสพ หรือผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยที่จำเป็นต้องกระทำความผิดเพื่อการหารายได้ในการดำรงชีพต้องถูกลงโทษจำคุก เข้าสู่เรือนจำ ทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ พฤติกรรมในการกระทำความผิด จนไม่อาจแก้ไขปรับปรุงตัวได้ และกระทำผิดซ้ำจนกลายเป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ได้</p> <p> ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยไม่ควรเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมที่มุ่งเน้นการลงโทษทางอาญาอันเนื่องจากปัญหาการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด ทำให้ผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยเข้าสู่เรือนจำจนเป็นปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ ทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และพฤติกรรมในการกระทำความผิดจนไม่อาจแก้ไขปรับปรุงตัวได้ และเกิดการกระทำผิดซ้ำจนกลายเป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่</p> <p> ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข โดยนำมาตรการอื่นแทนการลงโทษทางอาญามาใช้กับผู้ค้ายาเสพติดรายย่อย ซึ่งเป็นทางเลือกในการลงโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรง พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิด เพื่อให้เกิดการลงโทษที่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด และเพื่อลดจำนวนผู้ต้องขังที่เข้าสู่เรือนจำ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ยาเสพติด, ผู้ค้ารายย่อย, การลงโทษ, มาตรการทางเลือก</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/267654 มาตรการควบคุมการจงใจลดขนาดหรือแยกส่วนโครงการ ภายใต้กฎหมายที่ต้องดำเนินการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2023-06-13T08:50:33+07:00 เพ็ญพิชชา ทวีพงษ์ 635254030022@dpu.ac.th ดลนภา นันทวโรไพร dolnapa.nan@dpu.ac.th <p> สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาหลักการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการป้องกันการหลีกเลี่ยงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยการจงใจลดขนาดหรือแยกส่วนโครงการ โดยศึกษาเปรียบเทียบจากกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายเยอรมัน กฎหมายเวียดนาม กฎหมายอังกฤษ และกฎหมายมาเลเซีย รวมทั้งพิจารณากรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลปกครองไทย และคำพิพากษาของต่างประเทศ ดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research)</p> <p> จากการศึกษาพบว่า แนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตให้ดำเนินโครงการสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้โครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ เป็นโครงการที่ต้องจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย เพิ่มเติมจากโครงการที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อแบบ Positive List โดยนำประเด็นหรือกำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสะสมมาเป็นข้อพิจารณาด้วย และอาจให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญให้ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจ นอกจากนี้ ยังควรนำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์มาพิจารณาในระดับนโยบาย แผน และแผนงาน ก่อนการอนุมัติหรืออนุญาตให้จัดทำโครงการ โดยกำหนดให้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์มีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย เพื่อให้การตัดสินใจเลือกดำเนินโครงการหรืออนุญาตให้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามหลักการป้องกันหรือระวังไว้ก่อน และมีความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนได้มากที่สุด </p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>หลีกเลี่ยงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ลดขนาดโครงการ, แยกส่วนโครงการ, การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268134 ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายต่อการระดมทุนในตลาดทุน : ศึกษาเฉพาะ กรณีการระดมทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2023-06-23T16:23:13+07:00 นวินดา หัสรังค์ 625154080002@dpu.ac.th สมชาย รัตนชื่อสกุล somchai.rat@dpu.ac.th <p> สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความสำคัญในการระดมทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในตลาดทุน ในเรื่องของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และศึกษามาตรการทางกฎหมายและกฎเกณฑ์<br />ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการระดมทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในตลาดทุน รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม</p> <p> จากการศึกษาพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบปัญหาการขอสินเชื่อหรือการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และต้องการใช้ช่องทางระดมทุนจากตลาดทุนซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกต้องประสบกับข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคหรือเป็นปัญหาในหลายประการ เนื่องจากมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการระดมทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในตลาดทุนไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ โดยยังมีข้อจำกัดในส่วนที่เกี่ยวกับประเภทของวิสาหกิจ<br />ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่สามารถใช้สิทธิในการระดมทุน การจำกัดประเภทของผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ การบังคับให้ต้องเสนอขายผ่านตัวกลาง และการใช้ผู้สอบบัญชีตามรายชื่อที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด ซึ่งมาตรการเหล่านี้แตกต่างจากมาตรการที่ใช้บังคับในตลาดทุนของประเทศเกาหลีใต้ เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหราชอาณาจักรที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า</p> <p>ดังนั้น จึงได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเห็นควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สามารถระดมเงินทุนในตลาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จได้จริงในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการให้ตลาดทุนเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับความต้องการเงินทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ<br />ของประเทศ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> <strong>:</strong> วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ระดมทุน, ตลาดทุน </p> <p> </p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268513 ความชอบธรรมในการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการจำกัดช่องทางในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีกของประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด – 19 พ.ศ. 2563 2023-07-11T14:33:29+07:00 โยษิตา คณาโชติโภคิน yyosita.k@gmail.com <p>สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ส่งผลให้รัฐบาลมีการประกาศใช้มาตรการทางสาธารณสุข เรื่อง การเว้นระยะห่างทางสังคม และมีการรณรงค์ให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่เชื้อ จึงทำให้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางหลักในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางสังคม รวมถึงการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยที่นิยมใช้ช่องทางดังกล่าวในการขายสินค้า</p> <p>รัฐบาลไทยต้องการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงออกมาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่ายและเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่มาตรการดังกล่าว กลับมีลักษณะเป็นการจำกัดช่องทางในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีก ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยที่ใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางหลักในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีแนวโน้มที่จะไม่สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก</p> <p>งานวิจัยฉบับนี้ ศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดช่องทางในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีกภายใต้สถานการณ์การการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด – 19 พ.ศ. 2653 และวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องของมาตรการภายใต้พันธกรณีองค์การการค้าโลก จากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade หรือ ความตกลง GATT) และความตกลงว่าด้วยอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade Agreement: TBT) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการใช้มาตรการจำกัดช่องทางจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีก (Retail) ของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ ภายในประเทศ และพันธกรณีภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268755 ข้อจำกัดกฎหมายในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยสภาเทศบาล 2023-08-07T09:29:22+07:00 อนุสรณ์ โอโลรัมย์ pao2932@gmail.com <p>การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยกลไกการควบคุมโดยสภาเทศบาล (2) ศึกษาถึงหลักกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยสภาเทศบาล (3) เปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อจำกัดของกฎหมายไทย เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี โดยสภาเทศบาลเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมาย อันเป็นข้อจำกัดทางกฎหมายของสภาเทศบาลในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า (1) การปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี จำเป็นต้องถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ตามหลักการกระจายอำนาจปกครอง หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการควบคุมฝ่ายปกครอง และหลักความไม่ไว้วางใจ (2) สภาเทศบาลมีข้อจำกัดกฎหมายในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี ได้แก่ การรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลได้เพียงปีละครั้ง สภาเทศบาลไม่มีสิทธิอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ และไม่สามารถควบคุมการใช้จ่ายเงินสะสม ในสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินได้ (3) ประเทศญี่ปุ่น มีการกำหนดให้หัวหน้าฝ่ายบริหาร สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยความเห็นชอบของสภาเทศบาล เพื่อถ่วงดุลอำนาจบริหาร สมาชิกสภามีสิทธิยื่นญัตติอภิปราย&nbsp;&nbsp; ไม่ไว้วางใจหัวหน้าฝ่ายบริหารได้ และในกรณีที่มีภัยพิบัติฉุกเฉินเกิดขึ้น เมื่อหัวหน้าฝ่ายบริหารตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว ต้องเสนอให้สภารับรองในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภา (4) จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ดังนี้ ให้อำนาจสภาเทศบาลเรียกรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลได้อีกไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเทศบาล โดยความเห็นชอบจากสภา ให้สมาชิกสภามีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกเทศมนตรี และแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 โดยกำหนดว่า ภายหลังจากผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมตามความจำเป็น กรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นไปแล้วนั้น ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอรายงานการอนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมต่อสภาท้องถิ่น เพื่อให้สภาท้องถิ่นรับรอง ในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภาท้องถิ่น</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268928 บทบาทของเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย 2023-08-08T16:15:26+07:00 สุทัศน์ พรามกระโทก sutuh777@gmail.com <p> </p> <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 (2) ศึกษาการเปรียบเทียบปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ของกฎหมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560</p> <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาลหลบหนีไปทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลต้องล่าช้า ส่งผลกระทบต่อนโยบายในการป้องปรามอาชญากรรม สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการไม่มีเจ้าพนักงานกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลกำหนดเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้เมื่อเกิดการหลบหนีก็ไม่มีเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการติดตามจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดี (2) การเปรียบเทียบปัญหาของกฎหมายในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ.2562 มีการกำหนดหน้าที่และอำนาจทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ของทั้งหน่วยงาน U.S. Marshals ประเทศสหรัฐอเมริกา และเครือรัฐออสเตรเลีย (3) ตามกฎหมายของประเทศไทย เน้นการปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันมากกว่าการปล่อยชั่วคราวประเภทอื่น การกำหนดให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลกำหนด โดยการประเมินความเสี่ยง การเป็นผู้สอดส่องดูแล รับรายงานตัว เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้มีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการจับกุมจำเลยตามคำสั่งศาลได้โดยไม่ต้องอ้างเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ทันท่วงที เพื่อให้การปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการจับกุมจำเลยที่หลบหนีการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การปล่อยตัวชั่วคราว, เจ้าพนักงานตำรวจศาล, กฎหมาย</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University