PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU <p>วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นวารสารวิชาการของคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งตีพิมพ์บทความทางวิชาการและบทความวิจัยทางด้านกฎหมาย จากบุคคลทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย</p> <p>จัดพิมพ์วารสารราย 6 เดือน </p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ปัจจุบันกำลังเปิดรับบทความ พ.ศ. 2566 </strong></p> <p>&gt; วารสารอยู่ใน TCI กลุ่มที่ 3 <a href="https://tci-thailand.org/detail_journal.php?id_journal=201">https://tci-thailand.org/detail_journal.php?id_journal=201</a></p> <p>&gt;&gt; มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความอย่างน้อย 3 คน</p> <p>&gt;&gt;&gt; ไม่มีค่าส่งบทความ</p> <p>&gt;&gt;&gt;&gt; มีค่าตอบแทนเมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์*</p> <p> </p> <p>คู่มือการใช้งานระบบ ThaiJO </p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1CdPHDgAQnd9MSngcZ8TFdZR2tTRPKfE_/view">https://drive.google.com/file/d/1CdPHDgAQnd9MSngcZ8TFdZR2tTRPKfE_/view</a></p> th-TH [email protected] (กองการจัดการ) [email protected] (๋Jeeranan Thongsaneh) Sat, 30 Dec 2023 14:28:58 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัญหาความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลฐานให้สินบนตามมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268437 <p>ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ซึ่งได้วางกรอบให้รัฐภาคีกำหนดความรับผิดของนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมในการให้สินบนให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายภายใน โดยไม่กระทบต่อความรับผิดทางอาญาของบุคคลธรรมดา ซึ่งได้กระทำความผิด และมีมาตรการการลงโทษที่มีประสิทธิผล ได้สัดส่วน และมีผลเป็นการยับยั้งการกระทำความผิด ต่อมาประเทศไทยได้มีการกำหนดความรับผิดฐานให้สินบนไว้ในมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยบทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนิติบุคคล แนวความคิดเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดและโทษทางอาญากับทางปกครองของนิติบุคคล และแนวทางการกำหนดความผิดของนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของการกำหนดความรับผิดทางอาญาฐานให้สินบนของนิติบุคคลตามมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561</p> <p>จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยประสบปัญหาการกำหนดความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลฐานให้สินบนตามมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการให้สินบน พ.ศ. 2561 ทั้งปัญหาประสิทธิภาพของโทษ ข้อจำกัดการกำหนดความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามหลัก Identification Doctrine ทำให้บุคคลธรรมดาหลุดพ้นความรับผิดได้ ปัญหาการกำหนดความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลจากการให้สินบนของผู้แทนของนิติบุคคล ลูกจ้าง ตัวแทน บริษัทในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของนิติบุคคล ความเหมาะสมของความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลจากการไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม และขาดมาตรการป้องกันการให้สินบนของนิติบุคคล และได้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาโดยกำหนดโทษของนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดและโทษของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลไว้ในมาตรา 176 วรรคสอง แปรรูปความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลเป็นความผิดทางปกครองให้เหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด และให้นิติบุคคลต้องรับโทษทางปกครองจากการไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มกลไกสำหรับป้องกันการให้สินบนในลักษณะมาตรการเชิงรุก</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ความรับผิดทางอาญา, นิติบุคคล, ให้สินบน</p> วรรษมน จันทร์สำอางค์ Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268437 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุเพื่อการพาณิชย์ของภาคเอกชน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/261528 <p>วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุเพื่อการพาณิชย์ของภาคเอกชน และผู้ใช้ประโยชน์อยู่บนที่ราชพัสดุ โดยใช้สิทธิการเช่าตามสัญญาได้ใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากแง่มุมของปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชน และปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก ประกอบกับแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์ให้เห็นถึงความสำคัญและสภาพปัญหา พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ และนำไปสู่ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมบทบัญญัติ และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจ หรือแนวทางแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่อาศัย หรือผู้ประกอบกิจการบนพื้นที่นั้น ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้อง เพื่อให้ประเทศไทยมีการจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืนมีการอนุรักษ์ดินน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์บนที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมสิ่งแวดล้อม</p> <p>จากกรณีศึกษาพบว่าการเช่าที่ราชพัสดุระหว่างรัฐ(ผู้ให้เช่า)กับเอกชน(ผู้เช่า)นั้นประสบปัญหาหลายประการ เช่นระยะเวลาในการเช่าที่ราชพัสดุมีระยะเวลาการเช่าที่สั้นไปไม่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และเมื่อครบสัญญาเช่าที่ดิน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือในกรณีที่รัฐเรียกคืนพื้นที่เพื่อนำไปจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ทำให้ผู้เช่าต้องส่งคืนพื้นที่ หรืออาคารที่เช่าคืนให้แก่กรมธนารักษ์ หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าลงทุนสร้างขึ้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่กรมธนารักษ์ ในบางกรณีผู้ประกอบการอาจจะคำนวณความคุ้มทุนคาดเคลื่อนไปทำให้ประสบปัญหาขาดทุน เมื่อผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุนหลายราย ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เกิดความรังเรใจและลดแรงจูงใจในการลงทุน เพราะผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งเมื่อประสบปัญหาเกิดกรณีพิพาทขึ้นระหว่างคู่สัญญาซึ่งอีกฝ่ายเป็นรัฐกับอีกฝ่ายเป็นเอกชน สถานะของคู่สัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้เกิดความไม่เข้าใจ สับสน ในเรื่องเขตอำนาจศาล และการแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าว ว่าเป็นสัญญาในทางกฎหมายแพ่ง หรือสัญญาในทางกฎหมายปกครอง และเขตอำนาจศาลนั้นตกอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งในกรณีที่สถานะของคู่สัญญาไม่เท่าเทียมกันนั้นย่อมบั่นทอนความเชื่อมั่นของคู่สัญญาฝ่ายผู้เช่าว่าตนจะได้รับความเป็นธรรมในรูปแบบเช่นเดียวกันกับการทำสัญญาเช่าทั่วไปที่เอกชนทำกับเอกชนหรือไม่ เช่นนี้ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนเกิดความไม่มั่นใจ และลดแรงจูงใจที่จะเข้ามาลงทุนเช่าที่ดินของรัฐมาเพื่อประกอบธุรกิจ ผู้วิจัยจึงมีความคิดเห็นว่าเพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าว จึงควรมีผู้ไกล่เกลี่ยโดยคนกลางเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น อีกทั้งผู้ไกล่เกลี่ยนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายธุรกิจของภาคเอกชน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง และสัญญาต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาดังกล่าวจึงจะเป็นประโยชน์แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางแก้ไข เพื่อเป็นการปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการเช่าที่ราชพัสดุ และกฎกระทรวงการใช้ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2563 กฎกระทรวงการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 เกี่ยวกับการใช้และการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ เพื่อให้มีการใช้และจัดการที่ราชพัสดุอย่างถูกต้องเหมาะสม ประสงค์และเป็นประโยชน์ต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ที่ราชพัสดุ , การเช่าที่ราชพัสดุ , การใช้สิทธิประโยชน์ในที่ราชพัสดุ , การใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ</p> วทินา จันทร์พรมมา, ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล, อภิญญา เลื่อนฉวี Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/261528 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การออกแบบกฎหมายและมาตรการในการกำกับดูแลการประกันภัยในยุคดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/271096 <p>เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมประกันภัยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนการให้บริการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และกระบวนการตรวจสอบมีความซับซ้อนและทำได้ยากขึ้น ขณะที่กระบวนการทางกฎหมายใช้เวลานาน เกิดปัญหากฎหมายตามไม่ทันเทคโนโลยีและขาดกฎหมายที่กำกับดูแลจัดการกับปัญหาที่เกิดจาก Digital Insurance จึงจำเป็นต้องเตรียมการเพื่อรับมือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยต้องออกแบบกฎหมายและมาตรการในการกำกับดูแลประกันภัยในยุคดิจิทัลให้เหมาะสม กำกับดูแลเท่าที่จำเป็น กติกาในการกำกับดูแลควรมีลักษณะยืดหยุ่น มุ่งแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ นำกลไกด้านเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและกำหนดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสม โดยกฎหมายจะต้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้าน Digital Technology แต่ไม่ใช่ตัวสกัดกั้นการพัฒนาของเทคโนโลยี</p> <p><strong>คำสำคัญ : </strong>Digital Insurance , ปัญหากฎหมายตามไม่ทันเทคโนโลยี , กฎหมายและมาตรการในการกำกับดูแลประกันภัยดิจิทัล</p> สุทธิพล ทวีชัยการ Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/271096 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสกรณีแยกกันอยู่ก่อนการหย่า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/261640 <p>วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสก่อนการหย่า รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศตลอดจนศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาในการทดลองแยกกันอยู่ การทำบันทึกข้อตกลง รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรสระหว่างแยกกันอยู่ก่อนการหย่า โดยเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแยกกันอยู่ก่อนการหย่า เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของสามีภริยา</p> <p>จากการศึกษาพบว่าครอบครัวในสังคมไทยในปัจจุบันคู่ชายหญิงที่ตกลงแต่งงานกันและจดทะเบียนสมรสยังมีอายุน้อย รวมทั้งยังมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ไม่คงที่ เมื่อเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันเกิดขึ้น การที่กฎหมายกำหนดให้สามารถทำข้อตกลงในการแยกกันอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถปรับปรุงนิสัยให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อีกครั้ง หรืออาจจะเพื่อเตรียมตัวในการจัดการแบ่งแยกทรัพย์สินที่หามาร่วมกันหรือที่จะเกิดดอกผลในวันข้างหน้า ซึ่งยังไม่มีบทกฎหมายรองรับให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินที่เพียงพอต่อเจตนารมณ์ของผู้ใช้กฎหมายอย่างแท้จริง</p> <p>ดังนั้นการที่ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำบันทึกข้อตกลงที่ชัดแจ้ง ในกรณีที่สามีภริยาแยกกันอยู่ก่อนการหย่า โดยกำหนดว่าต้องทำบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือและมีพยานร่วมลงลายมือชื่อสองคน จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 หมวด 2 การจดทะเบียนสมรส ข้อ 13 (3) โดยให้คู่สมรสสามารถแก้ไขบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่นใดในช่องบันทึกท้ายสัญญาก่อนสมรสตลอดจนการกำหนดให้สามีภริยาสามารถเลือกระบบแยกทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เพื่อที่สามีภริยาจะได้สามารถจัดการทรัพย์สินของตนเพียงลำพังและสามารถแก้ไขสัญญาระหว่างแยกกันอยู่ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันตามกฎหมายซึ่งบุคคลทุกคนพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกันเพื่อให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งและดำรงชีวิตในสังคมอย่างมั่นคงต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>แยกกันอยู่ , ระบบแยกทรัพย์สิน, การทำบันทึกข้อตกลง</p> สุขสรร ศรีวรรณู, ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล, อภิญญา เลื่อนฉวี Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/261640 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ส่วนหน้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/271431 <p>ส่วนหน้า</p> ส่วนหน้า สารบัญ Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/271431 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับลักษณะยืมใช้คงรูป https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/262642 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะยืม<br />ในหมวดยืมใช้คงรูป เนื่องจากบทบัญญัติในหมวดยืมใช้คงรูปยังมีความไม่ชัดเจนในบางเรื่องก่อให้เกิดปัญหา<br />ในการปรับใช้บางประการ จึงจำเป็นต้องศึกษาบทบัญญัติในหมวดยืมใช้คงรูปเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศในระบบประมวลกฎหมาย ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี</p> <p>จากการศึกษาพบว่าสัญญายืมใช้คงรูปมีปัญหาเรื่องความรับผิดของผู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 643 กล่าวคือ ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของทรัพย์สินหากผู้ยืมไม่มีความผิดในการใช้ทรัพย์ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายที่เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอกส่งผลให้ผู้ยืมที่ได้ซ่อมแซมทรัพย์สินหรือได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้ยืมแล้วไม่สามารถเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ให้ยืมไปเรียกเอากับบุคลคลภายนอกผู้ทำละเมิดได้ ปัญหาหน้าที่ของผู้ให้ยืม<br />ในการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ที่ยืมเนื่องจากสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาฝ่ายเดียว การส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืมเป็นเพียงเงื่อนไขความสมบูรณ์ของสัญญาไม่ใช่หน้าที่ของผู้ยืม<br />ตามสัญญายืมใช้คงรูป และปัญหาสิทธิของผู้ให้ยืมในการเรียกทรัพย์ที่ยืมคืนก่อนกำหนดในกรณีที่ผู้ให้ยืมต้องการใช้ทรัพย์อย่างเร่งด่วนเนื่องจากเหตุการณ์อันไม่อาจคาดหมายได้เนื่องจากปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 646 ได้กำหนดสิทธิของผู้ให้ยืมในการเรียกทรัพย์คืนไว้เฉพาะกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลา<br />และไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการยืมไว้เท่านั้น</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> ปัญหา, กฎหมาย, ยืมใช้คงรูป</p> ธีรัตม์ พูลเกษม, พินิจ ทิพย์มณี Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/262642 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การเข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/264896 <p>ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์และ หากผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ผิดพลาด โดยล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จหรือลักษณะอันลามก อนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงจำเป็นต้องมีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ขึ้นมา</p> <p>จากการศึกษาพบว่า การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีได้หลายรูปแบบเป็นต้นว่า</p> <p>การกระทำความผิดในความผิดฐานทำลาย เข้าถึง หรือเผยแพร่ กล่าวคือการกระทำความผิดที่เป็นความผิดต่อคอมพิวเตอร์โดยแท้นั้นเอง เช่น การเข้าถึงทางกายภาพควรที่จะเข้าถึงโดยเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในกิจกรรมต่าง ๆ เกือบทุกอย่าง ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การศึกษา การสันทนาการ การแพทย์ การคมนาคม การเงิน การธนาคาร และการพาณิชย์ โดยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เป็นไปในลักษณะที่สังคมต้องพึ่งพาอาศัยการทำงานของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างขาดเสียมิได้ คำว่า “อาชญากรรมคอมพิวเตอร์” คือการกระทำอย่างนั้น กล่าวได้ว่า ในขณะนี้ยังไม่มีคำนิยามที่เป็นสากลว่าคำนี้หมายความถึงการกระทำอย่างใดบ้าง เนื่องจากการให้คำนิยามของคำนี้เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ หรือความมุ่งหมายของการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันและก่อให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ อย่างมาก ทั้งความเสียหายที่ประเมินค่าเป็นเงินได้และความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นเงินได้ ในส่วนของกฎหมายวิธีสบัญญัติเนื่องจากคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติและความสามารถในการกระทำต่าง ๆ ได้อย่างมากมายและมีประสิทธิภาพ ปัญหาเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการกระทำความผิดต่อคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคมมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับการทำงานของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย กล่าวคือสังคมจะดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย หากสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวทำงานด้วยความปกติในทางตรงกันข้าม หากสิ่งเหล่านี้ทำงานผิดพลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำด้วยความตั้งใจของมนุษย์ สังคมก็ย่อมจะได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้</p> <p>ผู้เขียนเห็นว่าการลงโทษตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จะเป็นการกระทำความผิดต่อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีผลกระทบต่อความลับ ความครบถ้วนซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าบทลงโทษนั้นยังน้อยอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับบทลงโทษของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยตรงควรที่จะให้เกิดความชัดเจนและเป็นหลักประกันในการบังคับใช้กฎหมายเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่บัญญัติฐานความผิดดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เพราะแท้จริงแล้วการควบคุม การระงับและปราบปรามเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การเข้าถึงโดยมิชอบ , อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ , ข้อมูลคอมพิวเตอร์</p> ฉัตรชัย ชูพงศ์, ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/264896 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ : ศึกษากรณีการระวางโทษที่ไม่ได้สัดส่วนจากการไม่มีลำดับชั้นโทษในประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268197 <p>ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ คือ ระบบที่นำหลักความได้สัดส่วนมาจัดเรียงความผิดตามระดับความหนักเบาของโทษ ซึ่งจะเปรียบเทียบความรุนแรงของความผิดและโทษให้ความผิดที่มีความรุนแรงของขนาดบทลงโทษเท่ากันจะอยู่ในชั้นของโทษเดียวกัน ส่วนความผิดที่มีความรุนแรงของบทลงโทษที่แตกต่างกันจะถูกจัดอยู่ต่างชั้นของโทษ ดังนั้น บทความชิ้นนี้มุ่งหวังจะศึกษาระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษมาปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้การลงโทษเป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน จุดมุ่งหมายของการศึกษาได้แก่ (1) แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักความได้สัดส่วน แนวคิดของหลักความได้สัดส่วน และแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาความร้ายแรงของความผิด (2) ศึกษาการกำหนดลำดับชั้นโทษในกฎหมายอาญาของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ และสภาพของลำดับชั้นโทษในประมวลกฎหมายอาญาของไทย (3) ศึกษาปัญหาในการระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วนและชั้นของโทษ รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้วิธีการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสาร จากหนังสือ วารสาร บทความทางวิชาการ ตำรา และเว็บไซต์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับการระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วน โดยพบปัญหาการระวางโทษจำคุกที่ไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิด ซึ่งเกิดขึ้นจากการไม่มีบทบัญญัติชัดเจนที่กำหนดให้นำหลักความได้สัดส่วนมาใช้ในกฎหมายอาญาและการขาดระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ สาเหตุหลักเกิดขึ้นมาจากการกำหนดระวางโทษเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง และขาดการแบ่งประเภทความผิดตามความร้ายแรง โดยข้อเสนอในการแก้ปัญหา คือ การนำระบบกำหนดลำดับชั้นโทษมาใช้ในประมวลกฎหมายอาญา และการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความร้ายแรงของความผิดในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะได้กล่าวในบทความชิ้นนี้ต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: หลักความได้สัดส่วน, ชั้นของโทษ, การจัดระดับโทษ, ความร้ายแรงของความผิด</p> เจนจิรา เชี่ยวชาญวิศวกิจ Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268197 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความสอดคล้องของกฎหมายไทยว่าด้วยการห้ามนำเข้าและการใช้สารคลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกลโฟเซตเพื่อใช้ในการเกษตรภายใต้พันธกรณีของความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268379 <p>การบริโภคสินค้าเกษตรที่อาจปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวัชพืชนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งรัฐบาลไทยมีความต้องการที่จะปกป้องประชาชนจากการบริโภคสินค้าดังกล่าว จึงมีการออกกฎหมายห้ามนำเข้าและใช้สารเคมีคลอร์ไพริฟอส และพาราควอต รวมทั้งจำกัดการใช้สารเคมีไกลโฟเซต โดยสารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช และวัชพืช ซึ่งส่งผลต่อชีวิต และสุขภาพของประชาชน ดังนั้นทางรัฐบาลไทยจึงได้ให้มีการออกกฎหมายเพื่อกำหนดมาตราการการควบคุมปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่อาจปนเปื้อนในสารเคมีทั้งสามชนิด แต่ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าเกษตรมาจำหน่ายยังประเทศไทย ในช่วงก่อน และระหว่างประกาศกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ รัฐคู่ค้าของประเทศไทยเช่น สหรัฐอเมริกา และ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลได้มีการเรียกร้องให้ประเทศไทยทบทวนการออกมาตรการดังกล่าว โดยอ้างว่ามาตรการของประเทศไทยเป็นมาตรการที่มีผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อการค้าระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการยื่นข้อเรียกร้องต่อองค์การการค้าโลกอันเกี่ยวกับมาตรการของไทยซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการค้าของประเทศไทยในอนาคต</p> <p>งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการการห้ามใช้คลอร์ไพริฟอส และ พาราควอต รวมทั้งการจำกัดการใช้ไกลโฟเซตภายใต้กฎหมายไทย และวิเคราะห์ความสอดคล้องภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก จากความตกลงทั่วไปว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures หรือความตกลง SPS) และ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade หรือ ความตกลง GATT) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเป็นแนวทาง และป้องกันการยื่นข้อพิพาทจากประเทศคู่ค้าของประเทศไทย</p> <p>การจัดบทความฉบับนี้มีวิธีการดำเนินการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ สื่อ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงบทความอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และข้อมูลของหน่วยงานเอกสารรวมถึงการศึกษาความตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรการการห้ามใช้สารเคมีซึ่งประกอบไปด้วย ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) หรือ SPS ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement Tariff and Tariff) หรือ GATT พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522</p> <p>ผลลัพธ์การวิจัย แม้ประเทศไทยจะมีมาตรการการห้ามใช้คลอร์ไพริฟอส พาราควอตและการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต เพื่อการบริโภคสินค้าเกษตรอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพต่อประชาชนแต่กฎหมายหรือข้อกำหนดดังกล่าวอาจขัดต่อพันธกรณีของการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขทั่วไปในการอ้างใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) และไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา XX ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT)</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> คลอร์ไพริฟอส, พาราควอต, ไกลโฟเซต, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า</p> ลลิฉัตร์ ศุภธนันท์พัทธ์ Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/268379 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การใช้สิทธิฟ้องคดีของผู้ถือหุ้นแทนบริษัทในบริษัทมหาชนจำกัด https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/261524 <p>สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวัตถุประสงค์ในการใช้สิทธิฟ้องคดีของ ผู้ถือหุ้นแทนในบริษัทมหาชนจำกัด (derivative actions) เรื่องของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร และมลรัฐเดลาแวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้สิทธิฟ้องคดีของผู้ถือหุ้นแทนในบริษัทมหาชนจำกัด (derivative actions) รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม</p> <p>จากการศึกษาพบว่าการฟ้องคดีของผู้ถือหุ้นแทนบริษัทในบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง<br />ผู้ถือหุ้นและคุ้มครองบริษัทจากคณะกรรมการที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง รักษาผลประโยชน์ของบริษัท อันเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย โดยบริษัทสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้กระทำความผิด <br />และหากบริษัทไม่ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับกรรมการดังกล่าวแล้วผู้ถือหุ้นย่อมสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไม่ชัดเจนอันเป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นทำให้ผู้ถือหุ้นไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้อย่างเต็มที่และยังส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหาย ซึ่งแตกต่างจากมาตรการการใช้สิทธิฟ้องคดีของผู้ถือหุ้นแทนบริษัทในบริษัทมหาชนจำกัดของสหราชอาณาจักร และมลรัฐเดลาแวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา</p> <p>ดังนั้น จึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเห็นควรให้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิฟ้องคดีของผู้ถือหุ้นแทนบริษัทในบริษัทมหาชนจำกัดตามมาตรา 85 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถือหุ้นและบริษัทได้อย่างแท้จริง</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> สิทธิฟ้องคดี, ผู้ถือหุ้น, บริษัทมหาชนจำกัด</p> อัญชิสา ทรรทุรานนท์, พินิจ ทิพย์มณี Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAW_DPU/article/view/261524 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700