https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/issue/feed วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2024-06-30T13:29:36+07:00 กองบรรณาธิการ suradej.bo@northbkk.ac.th Open Journal Systems <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของอาจารย์ นักการศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในรูปแบบของบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งนับว่าวารสารฉบับนี้จะเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัย แนวคิด ข้อมูล ข้อคิดเห็นทางวิชาการ องค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ อันจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/274202 ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 2 2024-05-16T09:30:26+07:00 กุสุมา คงเสถียร kusuma.nkc@gmail.com เบญจวรรณ ศรีมารุต Benjawan.s@gmail.com <p> วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 2) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู ในอำเภอบางใหญ่ จำนวน 140 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน<br /> ผลการศึกษาพบว่า<br />1. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลักนิติธรรม และหลักความรับผิดชอบ <br />2. การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการออกจากราชการ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านวินัยและการรักษาวินัยและด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ<br />3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/273756 การจัดการคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์และความไว้วางใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการจองที่พักซ้ำผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-05-06T13:36:47+07:00 จรัญญา ปานเจริญ charunya.pa@gmail.com สุกัญญา สิงห์ตุ้ย sukanya.sin@dpu.ac.th ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี chutitanrat.ut@gmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของแอปพลิเคชันจองที่พักบนมือถือตามความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความไว้วางใจในแอปพลิเคชันจองที่พักของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจจองที่พักซ้ำผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาผลกระทบของการจัดการคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์และความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจจองที่พักซ้ำผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการศึกษาแบบสำรวจภาคตัดขวางและเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคจำนวน 400 ราย ที่เคยจองที่พักผ่าน แอปพลิเคชันบนมือถือและอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทำการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br /> ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความเป็นส่วนตัวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการจัดการคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่อการจองที่พักออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร รองลงมา คือ ด้านความพร้อมของระบบ (System availability) ด้านประสิทธิภาพการใช้งาน (Efficiency) และด้านการทำให้บรรลุเป้าหมาย (Fulfilment) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร มีความไว้วางใจต่อแอปพลิเคชันบนมือถือในระดับสูงต่อการจองที่พักออนไลน์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความตั้งใจจองพักซ้ำผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือแตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าการจัดการคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์และความไว้วางใจ มีผลกระทบเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะจองที่พักซ้ำผ่านแอปพลิเคชันมือถือของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญ โดยความไว้วางใจ ความพร้อมของระบบ การทำให้บรรลุเป้าหมายและความเป็นส่วนตัว สามารถอธิบายความตั้งใจที่จะจองที่พักผ่านแอปพลิเคชันมือถือซ้ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครได้ ร้อยละ 35.9 (R<sup>2</sup> = 0.359, p-value = .000)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/274207 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนาก 2024-05-16T09:27:24+07:00 นิรวิทธ์ ขาวหนู nirawit.k@psru.ac.th นงลักษณ์ ใจฉลาด nongluck.ja@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตบางมูลนาก 2) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตบางมูลนาก และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตบางมูลนาก ประชากร คือ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตบางมูลนาก จำนวน 246 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสหวิทยาเขตบางมูลนาก จำนวน 152 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน <br />แล้วใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนากโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนาก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนาก ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/274002 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชาติในโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 2024-06-17T13:07:49+07:00 ปฐวี วรรณชัย aagwannachai@gmail.com นงลักษณ์ ใจฉลาด dr.nongluck@psru.ac.th <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง 2) คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชาติของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาชาติของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน <br /> ผลการวิจัย พบดังนี้<br />1. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง พบว่า ปัจจัยการบริหาร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านนโยบาย มีการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก <br />2. คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชาติของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีผลการพัฒนาด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก<br />3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชาติของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสายรุ้ง พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกกับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชาติในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/274154 แนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทย 2024-05-16T10:54:59+07:00 ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ panyawat.ch@northbkk.ac.th <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาของการประกอบการ ระบบนิเวศทางธุรกิจ ระบบการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของการประกอบการ เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคมจำนวน 5 ราย ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อนำมาเสนอแนะแนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทย ในประเทศไทย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน สามารถอยู่รอดได้จากการผลักดันของกลุ่มผู้ก่อตั้งทั้งในด้านเงินทุนและความสามารถในการประกอบการ ซึ่งการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานต้องใช้ระยะเวลาในมากในการศึกษาร่วมกันและอาจมีเป้าหมายที่ไม่ตรงกัน นอกจากนี้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยังมีจำกัดอันเนื่องจากความไม่มั่นใจธุรกิจเพื่อสังคมของสถาบันการเงินและความไม่สมบูรณ์ของแผนธุรกิจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยระบบนิเวศธุรกิจของเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน จะมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงและเข้าถึงผู้บริโภคได้ยากกว่าจากความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักและเชื่อมั่น โดยยังขาดผู้สนับสนุนด้านเทคนิคในการผลิต การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้การดำเนินเรื่องราวที่สอดคล้องกับชุมชนเพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งจะดำเนินการได้ภายใต้งบลงทุนที่ผู้ก่อตั้งมีอยู่ ระบบการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของธุรกิจเพื่อสังคม เป็นการจัดการองค์การที่ไม่สลับซับซ้อน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่โดยเน้นการทำงานผ่านแพลตฟอร์ม และทำการพัฒนาตราสินค้าเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยอาศัยแรงงานที่เน้นความชำนาญเฉพาะด้าน หรือการจ้างผู้รับเหมาเพื่อให้ลูกค้าได้ผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการและสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับชุมชน โดยแนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทยคือ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมของธุรกิจเพื่อสังคมและสถาบันการศึกษาการส่งเสริมให้เกิดคนกลางเพื่อจับคู่ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมกับศักยภาพของชุมชน และการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม เพียงพอ และเข้าใจบริบทในการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/273121 การพัฒนาครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วง วิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ น้ำแร่เมืองกำแพงเพชร 2024-05-06T13:13:05+07:00 เพ็ญศรี ยวงแก้ว pizzy.spygirl@gmail.com บุณยกฤต รัตนพันธุ์ boonyakrit.ra@gmail.com ราตรี สิทธิพงษ์ ratri.si@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสัดส่วนครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วงให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและให้ได้มาตรฐาน 2) ให้ความรู้ในการทำแผนธุรกิจให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ น้ำแร่เมืองกำแพงเพชรเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ น้ำแร่เมืองกำแพงเพชร 20 คน, การทดลองในห้อง ปฏิบัติการ, แบบสอบถามกับผู้บริโภค 400 คน และการประชุมเชิงปฏิบัติการกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ 20 คน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1. สัดส่วนครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วง ที่ผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการแล้วใน 1 ขวดๆ ละ 350 ml. ได้แก่ (1) สารปรับสภาพบำรุงเส้นผม ร้อยละ19.31 (2) สารสร้างเนื้อครีมนวดผม ร้อยละ 19.31 (3) โซเดียมไฮยารูรอน ร้อยละ 0.93 (4) สารทำให้ผมนุ่ม ร้อยละ 0.04 (5) น้ำหอมเฉพาะกลิ่น ร้อยละ 1.45 (6) สารสกัดจากดอกอัญชัญขาว ร้อยละ 1.00 (7) สารกันเสีย ร้อยละ 0.06 และ (8) น้ำแร่ ร้อยละ 57.92 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2564) เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส ผลิตภัณฑ์ปรับสภาพเส้นผมและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วง ในภาพรวมระดับมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องผมหวีง่าย (ค่าเฉลี่ย 4.08) รองลงมาคือ กลิ่นหอมของเนื้อครีม (ค่าเฉลี่ย 3.92) และความง่ายในการล้างออก (ค่าเฉลี่ย 3.82) ตามลำดับ 2. การให้ความรู้ในการทำแผนธุรกิจ พบว่า ทางกลุ่มสามารถประยุกต์ใช้โมเดลธุรกิจ 9 หัวข้อ ได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป ได้แก่ 1) กลุ่มลูกค้า 2) การเสนอคุณค่า 3) ความสัมพันธ์กับลูกค้า 4) ช่องทาง 5) กระแสรายได้ 6) พันธมิตรหลัก 7) กิจกรรมหลัก 8) ทรัพยากรหลัก และ 9) โครงสร้างต้นทุน</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/273720 ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 2024-05-06T13:20:46+07:00 เพียรใจ โพธิ์ถาวร pienja.ph@gmail.com พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ pornthip.tan@dpu.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรม<br />การใช้จ่ายของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ</p> <p> จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ระดับรายได้ต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว โรคประจำตัว และการเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ส่งผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้จ่าย ในขณะที่เพศ สถานภาพการสมรส แหล่งที่มาของรายได้หลัก การพักอาศัยอยู่กับใคร และการเป็นผู้มีค่าใช้จ่ายหลักในครอบครัวส่งผลเชิงลบกับพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในกรุงเทพและปริมณฑล</p> <p> สำหรับปัจจัยทางสังคมนั้น ด้านค่านิยมของสังคมและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงส่งผลเชิงบวก ในขณะที่ปัจจัยด้านทัศนคติส่งผลเชิงบวกกับค่าเดินทาง/พาหนะ แต่ส่งผลเชิงลบกับค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและค่าประกันภัย</p> <p> นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุด 3 ลำดับแรก จากค่าใช้จ่าย 15 ประเภท คือ ประเภทอาหาร และเครื่องดื่มเป็นเงิน 6,065.03 บาท ต่อ ค่าลงทุนเป็นเงิน 6,057.79 บาทต่อเดือน และค่าเล่าเรียนบุตรหลาน/ผู้อยู่ในอุปการะเป็นเงิน 4,673.09 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 14.96, 4.94 และ 11.52 ตามลำดับ</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/272969 รูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย 2024-03-22T15:10:58+07:00 เมธชนนท์ ประจวบลาภ edu.ynet@gmail.com ภัทรา วยาจุต feduptva@ku.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของเด็กและเยาวชนและสภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และ 2) พัฒนารูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณา แบ่งการวิจัยออกเป็นขั้นตอน ตอนที่ 1 ศึกษาบริบทของกลุ่มเป้าหมายและสภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย มีกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เด็กและเยาวชน ซึ่งเคยเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในระหว่างปีงบประมาณ 2564-2566 จำนวน 380 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และผู้บริหารสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย จำนวน 5 คน ใช้เทคนิคการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ตอนที่ 2 ออกแบบรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 14 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีเฉพาะเจาะจง มีประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือการวิจัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของเด็กและเยาวชน มีระดับความสนใจเนื้อหาการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพทุกด้านอยู่ในระดับมาก ลีลาการเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกทุกด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า มีวิธีการจัดและการใช้สื่อหลากหลาย จัดสภาพแวดล้อมทางด้านจินตภาพและสังคมภาพนำแหล่งวิทยการเพื่อการเรียนรู้ของหน่วยงานอื่นมาประยุกต์ใช้ กิจกรรมการเรียนรู้เข้าถึงเด็กและเยาวชนจำนวนมาก ปัญหาที่พบครอบคลุมปัจจัยภายในและภายนอก 2) รูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็ก และเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ แนวคิดการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ และการประเมิน</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/274061 ความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-05-16T09:32:27+07:00 วิยะดา วรานนท์วนิช wiyada.wa@northbkk.ac.th วัลภา คงพัวะ wanlapa.ko@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาสาเหตุของความไม่สมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาแนวทางการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เปรียบเทียบความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการทำงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ในการอธิบายความของข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการทำงาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายความของข้อมูลเกี่ยวกับความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง คือ t-test, F-test และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (LSD test) สำหรับการเปรียบเทียบความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการทำงาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> ประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร มีสภาพความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง สาเหตุของความไม่สมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และการ<strong>เ</strong>ปรียบเทียบความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ปัจจัยการทำงาน พบว่า ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนผู้ที่อยู่ในอุปการะ เช่น คู่สมรส ลูก พ่อ แม่ เป็นต้น และแหล่งที่มาของรายได้ที่นำมาเลี้ยงดูครอบครัวแตกต่างกันมีความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุงานแตกต่างกันมีความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อวัน จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการเดินทางระหว่างที่พักกับที่ทำงานแตกต่างกันมีความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/271932 คุณลักษณะของผู้ทรงอิทธิพลกับการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 2024-05-24T10:56:20+07:00 ศิรินธร เอี๊ยบศิริเมธี eapsirimetee@gmail.com <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ในจังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความคิดเห็นของคุณลักษณะผู้ทรงอิทธิพลที่ส่งผลกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรีที่เคยซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน <br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. การเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อของผู้บริโภคส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีในระดับเปิดรับมาก โดยมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ทาง TikTok มากที่สุด รองลงมาคือ YouTube,Instagram, Facebook, X และ Website ตามลำดับ<br /> 2. คุณลักษณะของผู้ทรงอิทธิพลส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย ด้านความเหมือน ด้านความชำนาญ ด้านความดึงดูด ด้านความไว้วางใจ และด้านความเคารพ ตามลำดับ<br /> 3. คุณลักษณะของผู้ทรงมีอิทธิพลด้านความดึงดูด ด้านความเคารพ และด้านความเหมือนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี <br /> 4. การเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อ TikTok, YouTube และ FaceBook มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/273950 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์คอมพิวติ้งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี 2024-05-06T13:47:01+07:00 ศิริวัลย์ จันทร์แก้ว siriwan_ac@thonburi-u.ac.th อังคณา อินเสือ angkana-ac@thonburi-u.ac.th วัฒนา เสรีคุณาคุณ wattana.tru55@hotmail.com จรรยวรรณ อุ้ยศิรพร janyawan.tick24@gmail.com อรสา อร่ามรัตน์ fbusoso@ku.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์คอมพิวติ้งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 350 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งประกอบไปด้วย นโยบายองค์กร ความพร้อมทรัพยากร ความสามารถด้านไอที ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ความซับซ้อนของระบบ และการแข่งขันเชิงธุรกิจ ส่งผลต่อความต้องการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์คอมพิวติ้งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/273492 ผลการใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชันเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2024-05-06T13:03:27+07:00 สุระสิทธิ์ เขียวเชย surasitk@nmc.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 0401106 บูรณาการการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนการการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน จำนวน 4 แผนๆ ละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบการวัดทักษะการแก้ปัญหา จำนวน 30 ข้อ (ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน) และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที<br /> ผลการศึกษาพบว่า <br /> 1. การเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> 2. การเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมเกมมิฟิเคชัน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/270704 การวิคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการการขนส่งแบบสีเขียว ของบริษัทขนส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 2023-12-22T11:01:30+07:00 อนุวัต เจริญสุข anuwat.ch@northbkk.ac.th จงโปรด คชภูมิ chongprod.ko@gmail.com วิไลรัตน์ เจริญไหมรุ่งเรือง wilairat.ch@gmail.com <p> จุดมุ่งหมายของงานวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการขนส่งแบบสีเขียว ของบริษัทขนส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าพนักงาน และพนักงานผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 200 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ</p> <p> ผลการศึกษารายด้านพบว่า ด้านเชื้อเพลิงมีอิทธิพลที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการขนส่งแบบสีเขียว มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาพจราจร ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการขนส่งแบบสีเขียว ของบริษัทขนส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล วิเคราะห์ได้ทั้งหมด 8 องค์ประกอบ โดยพบว่า องค์ประกอบที่มีน้ำหนักขององค์ประกอบมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านความตระหนักและความพร้อมขององค์กร อันดับ 2 ด้านผลกระทบจากการขนส่งสินค้า อันดับ 3 ด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการขนส่งสินค้า อันดับ 4 ด้านการบริการเชื้อเพลิง อันดับ 5 ด้านปัญหาการจราจร อันดับ 6 ด้านความร่วมมือกับคู่ค้าและสถานีบริการ อันดับ 7 ด้านนโยบาย และอันดับ 8 ด้านความพร้อมของผู้บริหาร</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ