วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของอาจารย์ นักการศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในรูปแบบของบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งนับว่าวารสารฉบับนี้จะเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัย แนวคิด ข้อมูล ข้อคิดเห็นทางวิชาการ องค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ อันจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น</p> North Bangkok University th-TH วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2286-8860 แนวทางการส่งเสริมช่องทางการตลาดที่สร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/268178 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและศึกษาแนวทางการส่งเสริมช่องทางการตลาดที่สร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง <br /> ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุขาดองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์การตลาด ทักษะการสื่อสาร การจัดตั้งราคาสินค้ายังไม่เหมาะสม การขนส่งมีต้นทุนสูง แหล่งจำหน่ายสินค้ายังไม่เป็นที่หลากหลาย และมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด 2) ปัญหาด้านเทคโนโลยี พบว่า สมาชิกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุขาดทักษะการสื่อสารออนไลน์ การถ่ายภาพ การโฆษณาในสื่อออนไลน์ และการใช้เครื่องมือสื่อสารผ่านสื่อสังคม (Social media) 3) ปัญหาด้านการตลาด พบว่า สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ การผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด บุคลากรด้านการตลาด ประสบการณ์ด้านการขายและการตลาด สถานที่ตั้งร้านค้าแบบออฟไลน์ ตัวแทนจำหน่ายในการขยายตลาด สำหรับแนวทางการส่งเสริมช่องทางการตลาดที่สร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ด้านช่องทางการตลาดผ่านออนไลน์ ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้าง Facebook Page มีการวางแผนในการโพสต์ผ่านสื่อ Facebook Page อย่างสม่ำเสมอ และการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ และด้านช่องทางการตลาดผ่านออฟไลน์ ควรมีการจัดแสดงสินค้า เพื่อเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน และควรสนับสนุนให้มีการเข้าร่วมงานจัดแสดงสินค้าตามงาน OTOP ในพื้นที่ต่าง ๆ</p> กานต์ วัฒนะประทีป ทิพย์สุดา หมื่นหาญ สุภาวดี สมศรี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 28 37 แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจซอฟต์แวร์ประยุกต์ในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/268478 <p>การวิจัยแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจซอฟต์แวร์ประยุกต์ในประเทศไทย โดยศึกษาจากผู้ประกอบการ 426 บริษัทและ ผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องธุรกิจฯ รวม 20 คน พบว่า สภาพปัจจุบันประสบปัญหา 2 ด้านดังนี้ ขาดแคลนบุคลากรทั้งด้านกำลังพลและทักษะที่จำเป็น และขาดเงินทุนเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ การวิเคราะห์ความแตกต่างของประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจฯจำแนกตามคุณลักษณะองค์กร ด้วย One-way ANOVA พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานแตกต่างกันตามจังหวัดที่ตั้ง อายุธุรกิจ ทุนจดทะเบียน จำนวนพนักงาน ประเภทผลิตภัณฑ์และบริการ และกลุ่มลูกค้าหลัก การวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการองค์กรส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจฯ (MRA) พบว่าปัจจัยการจัดการองค์กรดังนี้ กลยุทธ์องค์กร การจัดการกำลังคน การพัฒนาทักษะบุคลากร การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ การบริการหลังการขาย และการบริหารเงินทุนส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ และสังเคราะห์แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจฯ ได้ 4 แนวทาง คือ การกำหนดกลยุทธ์องค์กร การกำหนดแนวทางการบริหารเงินทุน การกำหนดแนวทางการบริการหลังการขาย และการกำหนดการบริหารความเสี่ยง<br /><br /></p> ฐิวากร ธัชหิรัญ ชัยวุฒิ จันมา เกียรติชัย วีระญาณนนท์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 38 47 ปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/270114 <p>การวิจัยนี้เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยในการดำเนินธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 700 คน ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้หลักการของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อน 5% ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมจำนวน 286 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA)<br /> ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ใช้เวลาทำงาน 51-60 ชั่วโมง/สัปดาห์ อายุของกิจการอยู่ที่ 6-10 ปี จำนวนพนักงานในกิจการ 1-30 คน ลงทุนของกิจการ 500,001-1,000,000 บาท ประเภทของธุรกิจ คือ การบริการ มีลักษณะการดำเนินงานแบบเจ้าของคนเดียวและห้างหุ้นส่วนจำกัด ส่วนใหญ่ไม่เคยประกอบธุรกิจประเภทอื่นก่อนธุรกิจปัจจุบัน และเคยทำงานที่อื่น ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อปัจจัยในการดำเนินธุรกิจด้านการเงิน (Financing) ค่าเฉลี่ยมากที่สุด</p> นิศราวรรณ ไพบูลย์พรพงศ์ สุนันทา ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ ยงยุทธ์ หอมทอง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 48 61 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระจกประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/267915 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ซื้อ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน 2) ปัจจัยความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน และ 3) ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาความสัมพันธ์โดยใช้การถดถอยแบบพหุคูณ<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ซื้อ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน เมื่อทำการเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ซื้อ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเจตคติ/ทัศนคติ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวม ได้ร้อยละ 11.60 (Adjusted R2 = .116) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ปัจจัยด้านการตลาด ด้านคุณสมบัติของกระจก ด้านราคาของกระจก ด้านความสะดวกในการซื้อ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการให้บริการร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรวมได้ร้อยละ 41.10 (Adjusted R<sup>2</sup> = .411) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> พีระสิทธิ์ คุณเลิศอาภรณ์ เกียรติชัย วีระญาณนนท์ อนันต์ ธรรมชาลัย Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 62 74 การพัฒนาเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/270697 <p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก 2) ศึกษาผลการใช้เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ของครูที่ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์โรงเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูประชาสัมพันธ์โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก จำนวน 21 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมจำนวน 42 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อของการพัฒนาเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที <br /> ผลการศึกษาพบว่า 1) เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก ในระดับมากที่สุด </p> ฤทัยกัญญา ชูทอง ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 75 84 อิทธิพลของการตลาดพันธมิตร การสื่อสารแบบปากต่อปากออนไลน์ และความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/267317 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบสมการโครงสร้างระหว่างการตลาดพันธมิตร การสื่อสารแบบปากต่อปากออนไลน์ ความไว้วางใจต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ และการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมการโครงสร้างระหว่างการตลาดพันธมิตร การสื่อสารแบบปากต่อปาก ความไว้วางใจต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ และการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่เคยพบเห็นการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านลิงก์พันธมิตร จำนวน 450 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage sampling) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสมการโครงสร้างการตลาดพันธมิตร การสื่อสารแบบปากต่อปากออนไลน์ และความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทยมีความเหมาะสม โดยมีองค์ประกอบ (1) การตลาดพันธมิตร ประกอบด้วย การแชร์ข้อมูล การแฝงลิ้งค์ และการสร้างคุณค่า (2) การสื่อสารแบบปากต่อปาก (eWOM) ประกอบด้วย ความไว้วางใจต่อผู้ส่งข่าวสาร และประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้รับสาร (3) ความไว้วางใจต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ ประกอบด้วย ความไว้วางใจในความเต็มใจช่วยเหลือ ความไว้วางใจในการเผยแพร่ข้อมูล และความไว้วางใจในผู้ขาย และ (4) ความตั้งใจซื้อออนไลน์ ประกอบด้วย ความตั้งใจในการทำธุรกรรมออนไลน์ ความตั้งใจในการซื้อซ้ำ และความตั้งใจในการแบ่งปันข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รูปแบบสมการโครงสร้างระหว่างการตลาดพันธมิตร การสื่อสารแบบปากต่อปาก ความไว้วางใจต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ และการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ยังพบว่า การตลาดพันธมิตรและความไว้วางใจต่อการซื้อสินค้าออนไลน์มีอิทธิพลทางตรงต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ และการตลาดพันธมิตร และการสื่อสารแบบปากต่อปากมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการวิจัยช่วยให้ผู้ขายสินค้าออนไลน์ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และผู้ประกอบการสามารถปรับปรุงการดำเนินงานแพลตฟอร์มการซื้อสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันให้มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ได้ โดยใช้กลยุทธ์การตลาดพันธมิตร และการสื่อสารแบบปากต่อปากเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคต่อไป</p> สุภาวดี สถาปนิกานนท์ จรัญญา ปานเจริญ จิราพร ชมสวน Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 85 101 ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/267923 <p> การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total quality management) ที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2) กลยุทธ์ธุรกิจ (Business strategy) ที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 3) วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) ที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และเป็นผู้ส่งมอบลำดับที่ 1 รวบรวม จำนวนประชากรในการวิจัยตามรายชื่อของสถาบันยานยนต์ (Thailand automotive institute) โดยมีจำนวน 447 บริษัท ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 282 ชุด โดยใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis: MRA) ใช้สถิติ Adjusted R<sup>2</sup>, ค่า F, ค่า t เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total quality management) กลยุทธ์ธุรกิจ <br /> ผลการวิจัย พบว่า การนำเครื่องมือการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร กลยุทธ์ธุรกิจ และวัฒนธรรมองค์กร ทำให้เกิดการจัดการศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรโดยรวม มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นผู้นำ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ของปัจจัยกลยุทธ์องค์กรโดยรวม มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมุ่งเน้นด้านต้นทุน มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรโดยรวม มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัฒนธรรมแบบลำดับชั้น มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ(Multiple regression analysis: MRA) พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรทั้ง 6 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 52.10 โดยสามารถอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านความเป็นผู้นำที่เปลี่ยนไป 1 หน่วยวิเคราะห์ จะส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เปลี่ยนไป .293 หน่วยวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม พบว่า ด้านความเป็นผู้นำ มีน้ำหนักมากที่สุด<br /> ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์ธุรกิจ ทั้ง 3 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม ได้ร้อยละ 64.40 โดยสามารถอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การมุ่งเน้นด้านต้นทุน ที่เปลี่ยนไป 1 หน่วยวิเคราะห์ จะส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เปลี่ยนไป .317 หน่วยวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม พบว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การมุ่งเน้นด้านต้นทุน มีน้ำหนักมากที่สุด <br /> ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม ได้ร้อยละ 72.10 โดยสามารถอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมแบบการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไป 1 หน่วยวิเคราะห์ จะส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เปลี่ยนไป .260 หน่วยวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม พบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรแบบการเปลี่ยนแปลง มีน้ำหนักมากที่สุด </p> สุวรรณี หงษ์วิจิตร เกียรติชัย วีระญาณนนท์ ชัยวุฒิ จันมา Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 102 115 การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ของเด็กและเยาวชน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/269107 <p>บุหรี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตรายส่งผลต่อสุขภาพ ปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นบุหรี่ไฟฟ้าให้มีรสชาติและมีกลิ่นหอม ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมุ่งเป้าไปยังเด็กและเยาวชน ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงการบริโภคบุหรี่เป็นจำนวนมาก การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่อย่างเพียงพอ จะช่วยให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยสามารถนำการศึกษาตลอดชีวิตมาใช้จัดการศึกษาสำหรับส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างต่อเนื่อง คือ (1) การศึกษาในระบบ จัดทำหรือพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีเนื้อหารายวิชาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ (2) การศึกษานอกระบบนำศาสตร์และศิลป์การสอนผู้ใหญ่ไปใช้และจัดทำหลักสูตรหรือการอบรมระยะสั้นที่มีเนื้อหาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย พัฒนาสื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ หรือระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสุขภาพ</p> ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล เมธชนนท์ ประจวบลาภ เจษฎากร อังกูลพัฒนาสุข ฐาณิษา สุขเกษม Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 1 11 การจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคม: การพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/269772 <p> บทความนี้นำเสนอแนวคิดและความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคม ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคม การวางแผนและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคม แนวทางการวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน รวมถึงบทวิเคราะห์ และแนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของการนำไปใช้ในการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู <br /> การจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคม เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนบูรณาการการเรียนรู้ทางวิชาการกับการบริการสังคมในชุมชนเชื่อมโยงเข้ากับเป้าหมายของหลักสูตรผ่านการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้สอน นักศึกษา และชุมชน จะช่วยให้เกิดการนำความรู้ที่ได้จากห้องเรียนไปสู่การประยุกต์ใช้ในภาคสนาม และสะท้อนผลสิ่งที่ได้คิดและลงมือทำอย่างมีความหมาย การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความยั่งยืนและท้าทาย การเรียนรู้แบบบริการสังคมจึงถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความรู้สู่การบริการสังคม การพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการผลิตครูดี ครูเก่ง และการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงต้องส่งเสริมคุณลักษณะครูที่ดีออกสู่สังคม เป็นการบูรณาการทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่อยู่ในรายวิชา เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ และทักษะร่วมแก้ปัญหาตามความต้องการของชุมชน และสะท้อนจากประสบการณ์ที่ได้รับผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ </p> สุธน วงค์แดง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 12 2 12 27