แนวทางการบริหารโปรแกรมภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย ของเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ

Authors

  • ยศัสวิน เข็มแดง Singapore International School of Bangkok
  • นันทรัตน์ เจริญกุล

Keywords:

การบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ, โปรแกรมภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย, โรงเรียนนานาชาติ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโปรแกรมภาษาไทย วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทยของเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ และ 2) นำเสนอแนวทางการบริหารโปรแกรมภาษาไทย วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทยของเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโปรแกรมภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทยของเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.467, SD = 0.608) และมาก (M = 4.345, SD = 0.238) ตามลำดับ โดยที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การบริหารงานวิชาการ (PNIModified = 1.012) การบริหารงานบุคลากร บริหารงานทั่วไป (PNIModified = 0.868) และการบริหารงานบุคลากร (PNIModified = 0.755) ตามลำดับ แนวทางการบริหารโปรแกรมภาษาไทย วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทยของเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ มีทั้งหมด 3 แนวทาง ดังนี้ 1) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการบริหารงานวิชาการ 2) พัฒนาการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการบริหารงานบุคลากร และ 3) ปรับปรุงการให้ความสำคัญกับลูกค้าในการบริหารงานทั่วไป

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
โรงเรียนนานาชาติเวลล์ส (2559). โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย ของเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559. [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนนานาชาติเวลล์ส.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอ็ดเวิร์ด เซลรีส. (2541). ทีคิวเอ็ม: การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การในองค์การทางการศึกษา. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

ภาษาอังกฤษ
Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of contest specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49 - 60.
Shiba, S., Graham, A., and Walden, D. (1993). A New American TQM: Four Practical Revolutions in Management. Portland, Oregon: Productivity Press.
Tenner, A.R. and Detoro, I.J. (1992). Total Quality Management: Three Steps to Continuous Improvement. Massachusetts: Addison-Wesley.

Downloads

Published

2019-10-15

How to Cite

เข็มแดง ย., & เจริญกุล น. (2019). แนวทางการบริหารโปรแกรมภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย ของเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402020 (11 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/200915