ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • เบญจรัตน์ ใจบาน
  • ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร

Keywords:

กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์, กรณีศึกษา, ทักษะการทำงานกลุ่ม, นักเรียนประถมศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาและ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา จำนวน 16 แผน และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 4 แผน แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบบันทึกพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา มีทักษะการทำงานกลุ่มหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ทักษะ โดยทักษะที่พัฒนามากที่สุด คือ ทักษะการวางแผน

References

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2528). การพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. รายงานผลการวิจัย ทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมี. (2552). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์. (2553). การวิเคราะห์ผลของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดลองแบบอนุกรมเวลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตรดาว ใจจันทร์. (2558). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการพิพาทเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองในประชาคมอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยะนันท์ บุญโพธิ์. (2554). การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม โดยใช้การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิกซอว์ร่วมกับผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2547). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: ปัณณรัชต์.

วรุตน์ อินทฤทธิ์. (2558). ผลของการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยใช้วิธีกรณีศึกษาที่มีต่อมโนทัศน์ประชาธิปไตยและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิศรุติ อินทร์เลี้ยง. (2558). การเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2549). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: แฮนด์เมสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.

สุวพิชญ์ เกษมสุข. (2560). การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการทำงานกลุ่มและคุณภาพผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cannon-Bower, J. A., Tannenbaum, S. I., Salas, E., & Volpe, C. E. (1995). Defining competencies and establishing team training requirement. In R. A. Guzzo & E. Salas (Eds.), Team Effectiveness and Decision Making in Organizations. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Hastie, C. R., Fahy, K. M., Parratt, J. A., & Grace, S. (2016). Midwifery students experience of teamwork projects involving mark-related peer feedback. Women Birth, 29(3), 252-259.

Hybels, S., & Weaver, R. L. (1979). Speech Communication. New York: D. Van Nostrand Company.

Johnson, D. W., & Johnson, F. P. (1982). Joining together: Group Theory and Group Skills. New Jersey: Prentice Hall.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1989). Cooperation and competition: Theory and research. Edina. MN: Interaction Book Company.

Downloads

Published

2019-12-27

How to Cite

ใจบาน เ., & ลัญฉวรรธนะกร ฉ. (2019). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402058 (11 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/224868