@article{ค่อมสิงห์_แกมเกตุ_2018, title={ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบและค่าการเดาของนักเรียน ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ}, volume={12}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110510}, abstractNote={<p>         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดแรงจูงใจในการสอบรายข้อในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการสอบของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำและค่าการเดาของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ (q) กับเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  ตัวอย่างวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จำนวน 662 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดแรงจูงใจในการสอบและแบบสอบการศึกษาแนวโน้มการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ วิชาวิทยาศาสตร์</p> <p>          ผลวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดแรงจูงใจในการสอบมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เมื่อนำแบบวัดแรงจูงใจชุดดังกล่าวไปใช้วัดแรงจูงใจในการสอบต่อข้อสอบรายข้อ พบว่ามีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.57 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ<br> ครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.53 – 0.65 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 0.26, p = 0.61, df = 1, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00)  2) กลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกันมีค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจในการสอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  3) ในภาพรวมแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.30)  และแรงจูงใจในการสอบและค่าการเดาไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  4) ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบและเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.63) </p> <p>The purposes of this research were: 1) to develop and investigate the quality of test-taking motivation questionnaires in low-stake testing; 2) to compare the test-taking motivation of students with different students’ academic achievement; 3) to study the correlation among test-taking motivation, test scores in low-stake testing and guessing parameters with different students’ academic achievements; and 4) to study the correlation between the ability parameter (q) and the cumulative grade point average in Science. The participants were 662 eighth-grade students in Bangkok. The research tools were test-taking motivation questionnaires and a low stakes test (Trends in International Mathematics and Science Study: TIMSS). </p> <p>             The research findings were as follows: 1) The test-taking motivation questionnaire uses a Likert-type scale. Correlation was from 0.20 – 0.57. Cronbach’s Alpha reliability was from 0.53 – 0.56. The structural model of test-taking motivation fit well with the empirical data (Chi-square = 0.26, p = 0.61, df = 1, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00);  2) There were significant consequences in test-taking motivation under different students’ ability levels at .05;  3) Overall, there was a correlation (0.30) between test-taking motivation and test scores but there was no correlation between test-taking motivation and guessing parameters under different student’s abilities; and 4) There was a correlation (0.63) between the ability parameter and Science’s cumulative grade point average.</p>}, number={1}, journal={An Online Journal of Education}, author={ค่อมสิงห์ พรพิมล and แกมเกตุ วรรณี}, year={2018}, month={Jan.}, pages={290–306} }