@article{บางศรี_บุญญานันต์_2017, title={บทบาทการเป็นอาจารย์ศิลปะและศิลปินของ รองศาสตราจารย์สัญญา วงศ์อร่าม ROLES IN ART INSTRUCTOR AND ARTIST OF SANYA WONG-ARAM}, volume={11}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84622}, abstractNote={<p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบคิด ทัศนคติ การทำงานของรองศาสตราจารย์สัญญา วงศ์อร่ามในบทบาทของอาจารย์ด้านศิลปศึกษา และศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ในส่วนที่เชื่อมโยงกับการเรียนการสอนศิลปศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบสังเคราะห์ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ กรณีศึกษา ผู้ร่วมงานที่เป็นอาจารย์จำนวน 4 คน ลูกศิษย์จำนวน 8 คน และผู้ร่วมงานที่เป็นเพื่อนศิลปิน 3 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการเป็นอาจารย์ศิลปศึกษาและศิลปินของรองศาสตราจารย์สัญญา วงศ์อร่าม<br /> ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการเป็นอาจารย์ศิลปะ มีระบบคิดในการสอนศิลปะ โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติในการเรียนครั้งแรกเพื่อตรวจสอบความสามารถของผู้เรียน วิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างถูกต้อง ด้านทัศนคติในการสอนศิลปะมีความเมตตาและเห็นใจต่อผู้เรียน ด้านการทำงานในฐานะอาจารย์ศิลปศึกษา มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างเท่าเทียมกัน โดยการสอนเป็นรายบุคคลและวิจารณ์ผลงาน เพื่อผู้เรียนนั้นสามารถเข้าใจในสิ่งที่ตนเองควรปฏิบัติและแก้ไขอย่างถูกต้อง บทบาทการเป็นศิลปิน มีระบบคิดการทำงาน โดยการร่างภาพต้นแบบเพื่อศึกษา น้ำหนัก แสงเงา ทำให้ผลงานออกมามีคุณภาพ ทัศนคติต่อศิลปะ เป็นความชื่นชอบในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ โดยมีกระบวนการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์ การทำงานศิลปะมีขั้นตอนที่ต้องศึกษาข้อมูลเอกสารและการลงพื้นที่เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งผลงานศิลปะแต่ละประเภทต้องใช้ความสามารถหลายด้าน ผลงานศิลปะที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจึงได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ</p><p>This qualitative research aimed to study the thinking systems, attitude, and work systems of Asst. Prof. Sanya Wong-Aram in the role of lecturer in art education and artists related with art education. The instruments used in this study were structured interviews, observation forms and synthesis instruments. The data was collected from the interviews, observation forms, case studies, four teachers, eight students and three artists. The data were collected to analyze the relationship between the role in art education and artists of Asst. Prof. Sanya Wong-Aram. <br />The research findings were as follows: His role of being a lecturer in art education has demonstrated his thinking system. He allowed students to do their work by themselves for the first time to check their artistic ability. He analyzed and reviewed student’s work so that they can develop properly. His attitude in art education is that of compassion and sympathy for students. As a lecturer, his purpose was to provide one-on-one teaching with a student so that students can reflect on themselves with the assistance of effective feedback. In the role of an artist, he worked systematically by sketching a draft to study the shadow of light to produce good work. His attitude toward art is that of passion to create artwork perfectly. His artwork required in-depth information that required preliminary research. Each of his works of art required advanced capabilities which are recognized nationally and internationally.</p>}, number={4}, journal={An Online Journal of Education}, author={บางศรี สกุล and บุญญานันต์ โสมฉาย}, year={2017}, month={Apr.}, pages={129–145} }