TY - JOUR AU - ภาสุธนรัฐ, ชญาดา PY - 2022/06/29 Y2 - 2024/03/29 TI - บทบาทของผู้ใหญ่บ้าน ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ JF - รัฐศาสตร์พิจาร JA - PSC VL - 9 IS - 17 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/258344 SP - 43 - 57 AB - <p><span style="font-weight: 400;">การศึกษาวิจัย เรื่อง “บทบาทของผู้ใหญ่บ้าน ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารงานหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย  ผู้บังคับบัญชา ได้แก่ นายอำเภอ และปลัดอำเภอประจำตำบล จำนวน     5 คน และประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า พบว่าผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ มีหน้าที่ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน โดยแสดงออกซึ่งบทบาทในการบริหารจัดการตามตัวแบบของมินซ์เบิรก์ (Mintzberg's Managerial Roles) โดยมีบทบาทสำคัญ คือ ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านโดยปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ของตำแหน่ง ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และทำหน้าที่ตามความคาดหวังของประชาชนในหมู่บ้าน ตามประเพณีและวัฒนธรรมที่เคยปฏิบัติต่อกันมา ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของหมู่บ้านคือ การที่ผู้ใหญ่บ้านมีความรู้ความสามารถ มีทีมงานที่ดี และมีคุณธรรมจริยธรรมในการครองตนในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ส่วนปัญหาและอุปสรรค ในการสร้างความเข้มแข็ง คือ การใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังคงเป็นจุดอ่อนของผู้ใหญ่บ้านโดยส่วนใหญ่ การสั่งงานของส่วนราชการที่ไม่ทับซ้อนและบูรณาการ การทำงานจะสามารถลดภาระหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านได้ ข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านในบางครั้งต้องอาศัยความเสียสละของประชาชนในหมู่บ้าน ประเด็นสุดท้ายคือการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องของประชาชน</span></p> ER -