https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/issue/feed รัฐศาสตร์พิจาร 2023-12-31T00:49:34+07:00 ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์ [email protected] Open Journal Systems <p><em>รัฐศาสตร์พิจาร</em> ศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการ จากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษาเกี่ยวกับสาขารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐประศาสนศาสตร์ สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การเมืองการปกครอง และเอเชียศึกษาในกรอบอาณาบริเวณศึกษา (Area study) <em><strong>โดยไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ </strong></em>วารสารรัฐศาสตร์พิจารมีการจัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ม.ค.–มิ.ย. และ ก.ค.–ธ.ค.) โดยใช้การกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind Peer Review) ทั้งนี้ บทความทุกชิ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป จะผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่าน </p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/271433 บทนำ 2023-12-28T15:27:39+07:00 waralee sangnark [email protected] 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/261633 มันต้องเรียกว่า “สมประโยชน์” มากกว่าที่จะเรียกว่า “ถูกบีบบังคับ” : บทวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจของ จอมพล ป.พิบูลสงครามในกรณีญี่ปุ่นบุกไทย พ.ศ. 2484 2023-09-11T12:47:10+07:00 supachai supapol [email protected] <p>บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจของ จอมพล ป. พิบูลสงครามในกรณีที่ญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศไทย พ.ศ. 2484 ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาเลือกทฤษฎีการตัดสินใจของAlexander George มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดสินใจของจอมพล ป. พิบูลสงครามในสถานการณ์ดังกล่าวที่ว่า ทำไมเขาถึงยินยอมอนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถใช้ไทยเป็นฐานเพื่อรุกรานอาณานิคมของอังกฤษ และทำไมเขาถึงเขาถึงกล้าประกาศสงครามต่ออังกฤษและอเมริกา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในฐานะที่เป็นผู้ตัดสินใจสุดท้ายต่อเหตุการณ์ในกรณีนี้ เขาได้คิดคำนวณเรียบร้อยแล้วว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์มากที่สุดถ้าได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าวไม่ใช่การตัดสินใจแบบฉับพลันอันเกิดมาจากสถานการณ์บีบบังคับ แต่การตัดสินใจดังกล่าวของจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นการคิดแบบไตร่ตรองและคำนวณมาล่วงหน้าเป็นอย่างดีแล้ว สำหรับปัจจัยที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในกรณีนี้ก็ได้แก่ 1) การรับรู้หรือทัศนคติของตัวผู้ตัดสินเองที่เขาค่อนข้างจะมองญี่ปุ่นว่าเป็นมิตร ซึ่งการรับรู้ดังกล่าวนี้ได้ก่อตัวมาจากความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเรื่อยมาจนกระทั่งเกิดสงครามไทยอินโดจีน 2) ความเชื่อพื้นฐานของ จอมพล ป.พิบูลสงครามเอง ที่มีแนวโน้มเอนเอียงว่าในท้ายที่สุดฝ่ายอักษะจะมีชัยในสงคราม (3) จอมพล ป. พิบูลสงครามได้รับการเสริมแรงสร้างความมั่นใจจากบรรดาที่ปรึกษาคนสนิทซึ่งบุคคลส่วนมากเหล่านี้ต่างๆมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนญี่ปุ่น โดยเฉพาะหลวงวิจิตรวาทการ</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/263109 กลยุทธ์ทางการเมืองของจาณักยะในบทละครสันสกฤตเรื่อง มุทรารากษสะ 2023-08-23T09:45:33+07:00 chayanut chindarak [email protected] <p>บทความเรื่องนี้มุ่งนำเสนอรูปแบบการวางกลยุทธ์ทางการเมืองของจาณักยะในบทละครสันสกฤตเรื่อง มุทรารากษสะ โดยเปรียบเทียบกับคัมภีร์อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ ผลการศึกษาพบว่า จาณักยะนำรูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างรัฐของคัมภีร์อรรถศาสตร์ที่ใช้คุณหกร่วมกับอุบายสี่ โดยมีสภาพสามคอยกำกับ เพื่อทำสงครามหรือสงบศึก มากำหนดรูปแบบการวางกลยุทธ์ทางการเมืองในบทละคร มีกระบวนการเริ่มจาก (1) กำหนดนโยบายตรงกับคุณหก คือ sandhi (สันติภาพ) ว่า “จะนำอำมาตย์รากษสะมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพระเจ้าจันทรคุปตะ” เพื่อธำรงอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าจันทรคุปตะ (2) จัดทำแผนการนำนโยบายไปปฏิบัติตรงกับคุณหก คือ vigraha (การยั่วยุ) ว่า “ต้องสร้างความแตกแยกระหว่างอำมาตย์รากษสะกับพันธมิตร”<strong>&nbsp; </strong>(3) กำหนดแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ (3.1) ผู้ดำเนินการ คือ สายลับ (3.2) วิธีการ คือ อุบายต่างๆ ภายใต้กรอบแนวคิดของอุบายสี่ คือ sāma <br>(การผูกไมตรี) dāna (การให้รางวัล) bheda (การยั่วยุ) และ daṇḍa (การลงโทษ) มีวิธีการ ได้แก่ การฆ่า การสืบราชการลับ การปลอม และการหลอก (3.3) เครื่องมือ คือ วัตถุ 3 ชิ้น ได้แก่ แหวนตราประทับ จดหมายปลอม และเครื่องประดับ กระบวนการทั้งหมดใช้สภาพองค์ประกอบของรัฐ 7 ประการของฝ่ายตนและฝ่ายศัตรู คอยประเมินให้ทำการเมื่อได้เปรียบ ได้แก่ (1) kṣaya สภาพอ่อนแอ (2) sthāna สภาพเท่าเทียมกัน (3) vṛddhi สภาพแข็งแกร่ง</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/266534 การจัดวางความคิดทางการเมือง : ความพยายามในการรื้อถอนชุดอุดมการณ์เก่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม 2023-04-27T10:54:24+07:00 Weerachon Ketsakul [email protected] <p>บทความชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะทำการศึกษากลไกสำคัญที่คณะผู้ก่อการในฐานะรัฐบาลของระบอบใหม่ใช้สำหรับการรื้อถอนชุดอุดมการณ์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 – พ.ศ. 2490 โดยการศึกษาในครั้งนี้ผู้เขียนใช้แนวความคิดที่ว่าด้วย “การจัดวางความคิดทาง การเมือง” เป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยเน้นทำการศึกษาในมิติที่ว่าด้วย “การรื้อถอนชุดอุดมการณ์ที่ถูกจัดวางไว้แล้ว” ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่ากลไกที่คณะผู้ก่อการใช้ในการรื้อถอนชุดอุดมการณ์เก่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ประกอบด้วย การยกเลิกองค์กรที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน การปรับปรุงกองทัพ และการยกเลิก พระราชพิธีสำคัญ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับพระมหากษัตริย์อันเป็นองค์ประธานหลักแห่งอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่อย่างไรก็ดีจากการที่คณะผู้ก่อการพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจทั้งในมิติทางการเมืองและในมิติทางวัฒนธรรม ผ่านกลไกต่าง ๆ นั้นยังไม่เพียงพอที่จะรื้อถอนชุดอุดมการณ์ของระบอบเก่าได้อย่างถอนรากถอนโคน</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/271435 แนวทางการพิจารณาและการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์พิจารของศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา 2023-12-28T16:17:33+07:00 waralee sangnark [email protected] 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/270230 International Initiatives in Thai Foreign Affairs and its Lost Decade? 2023-10-29T17:34:50+07:00 Kittipos Phuttivanich [email protected] <p>This research article argues that the lost years of Thailand roles as an initiator in regional cooperation are the result of the changing great power politics. The US and China has competed with each other to play the leading role in initiating and driving many regional architectures since early 2010’s. Applying the neorealist and constructivist paradigm with this case allows the author to see that there are more than one international structures a state has to encounter at the same time, namely the international structure, a regional structure and a sub-regional structure. Certainly, a state acts differently in each structure. The geopolitical competition between the US and China has taken place in both regional and sub-regional levels, where Thailand used to play a very active role before the rival. Therefore, the current lost decade of Thai foreign policy actually means the period when Thailand has to reconsider its role in both regional and sub-regional structure.</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/262820 ความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาล: ความท้าทายของการบริหารจัดเก็บรายได้ท้องถิ่นของไทย 2023-08-03T09:27:33+07:00 ศิวาภรณ์ ไชยเจริญ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายในการจัดหารายได้ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลของไทย งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาลในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 รวมถึงนำเสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความหลากหลายในการจัดหารายได้ในการบริหารจัดเก็บรายได้ของเทศบาล การศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยสุ่มตัวอย่างเทศบาลจำนวน 344 แห่งทั่วประเทศ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บรายได้และบริบทพื้นที่ของเทศบาลตัวอย่างจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ตัวแบบของความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยหลายตัวแปรโดยวิธี Generalized Least Square (GLS) ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความหลากหลายดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 62.10 และพบว่า เทศบาลนครมีความหลากหลายในการจัดหารายได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างเชิงสถาบัน ภูมิภาค บริบทของเศรษฐกิจชุมชน ขีดความสามารถในการจัดหารายได้ ความเป็นอิสระทางด้านรายได้ และประสิทธิภาพของการบริหารงานของเทศบาลมีอิทธิพลต่อความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาลอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ การศึกษาวิจัยนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าความหลากหลายในการจัดหารายได้เป็นความท้าทายต่อการพัฒนานโยบายการบริหารจัดเก็บรายได้ของเทศบาลและองค์กรปกครองท้องถิ่นในรูปแบบอื่นต่อไป</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/263301 การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของไทยและความท้าทายในศตวรรษที่ 21 2023-12-12T16:02:55+07:00 กานต์รวี วิชัยปะ [email protected] <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยเรื่อง “การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย และความท้าทายในศตวรรษที่ 21” มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อสำรวจสถานภาพองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ของไทยในปัจจุบัน 2.เพื่อศึกษาความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนสำหรับวิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเอกสาร วิธีเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ว่ามีการจัดโครงสร้างการเรียนการสอนในคณะ ภาควิชา หรือหลักสูตร รวมทั้งการศึกษาผลงานวิชาการและงานวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีในประเทศไทยของนักวิชาการกลุ่มต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย มีการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์การบริหารงานภาครัฐอย่างเป็นสหวิทยาการ มีการศึกษาที่มุ่งสู่การศึกษาการบริหารงานที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงตามบริบทการพัฒนาและการสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการบริหารงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และ 2. ความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์พบว่า รัฐประศาสนศาสตร์เชื่อว่าการวิจัยเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานภาครัฐ เป็นการวิจัยสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของมนุษย์จึงต้องมีการวิจัยเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> รัฐประศาสนศาสตร์, สถานภาพองค์ความรู้, ความท้าทายทางในศตวรรษที่ 21</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 รัฐศาสตร์พิจาร