รัฐศาสตร์พิจาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC <p><em>รัฐศาสตร์พิจาร</em> ศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการ จากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษาเกี่ยวกับสาขารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐประศาสนศาสตร์ สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การเมืองการปกครอง และเอเชียศึกษาในกรอบอาณาบริเวณศึกษา (Area study) <em><strong>โดยไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ </strong></em>วารสารรัฐศาสตร์พิจารมีการจัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ม.ค.–มิ.ย. และ ก.ค.–ธ.ค.) โดยใช้การกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind Peer Review) ทั้งนี้ บทความทุกชิ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป จะผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2-3 ท่าน </p> th-TH <p><em>All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.</em></p> <p><em>All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.</em> </p> sakonrat.ji@rumail.ru.ac.th (ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์) ps.critique@gmail.com (ธนากรณ์ อินทร) Sun, 30 Jun 2024 20:41:17 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพิจารณาและการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์พิจารของศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/275118 waralee sangnark Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/275118 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 กระบวนทัศน์ว่าด้วยรัฐบุรุษใน โพลิติคัส ของเพลโต https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/274589 <p>บทความวิชาการชิ้นนี้ต้องการตีความบทสนทนาเรื่อง<em>โพลิติคัส</em>ของเพลโตในลักษณะที่แตกต่างไปจากการตีความของนักวิชิการก่อนหน้าที่เชื่อว่าบทสนทนาดังกล่าวมีลักษณะกระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบ หรือสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างเป็นหนึ่งเดียว อันเป็นเหตุที่ทำให้บทสนทนานี้ถูกลดทอนความสำคัญหรือถูกด้อยค่าลงในหมู่ผู้ที่ศึกษาความคิดของเพลโต ดังนั้นบทความวิชาการชิ้นนี้จึงต้องการเข้าไปมีส่วนในข้อถกเถียงเหล่านั้น โดยพยายามตอบคำถามดังกล่าวผ่านข้อเสนอหลักเกี่ยวกับรัฐบุรุษและกระบวนทัศน์สำหรับรัฐบุรุษ โดยเชื่อว่าโพลิติคัส คือการนำเสนอ “กระบวนทัศน์” ว่าด้วยรัฐบุรุษ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และซับซ้อน โดยนำเอาพาราไดม์จากการถักทอ (weaving) การดูแลฝูงสัตว์ และตำนานว่าด้วยยุคแห่งเทพเจ้ามาใช้เป็นตัวแบบหรืออุปมานิทัศน์ โดยมีข้อเสนอหลักประการแรกคือ ความเป็นรัฐบุรุษจัดได้ว่าเป็นแบบสำหรับผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของผู้อยู่ภายใต้การปกครองโดยไม่จำกัดหน่วยหรือขนาดของความสัมพันธ์ รัฐบุรุษจึงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ครอบครองหรือใช้อำนาจหน้าที่โดยตรงแต่อาจเป็นผู้ให้ความรู้คำปรึกษาแนะนำหรือรวมไปจนถึงสมาชิกของชุมชนทางการเมืองที่เข้าถึงความรู้ดังกล่าวและนำมาใช้ในชีวิตทางการเมืองของตน ส่วนข้อเสนอประการที่สองคือความรู้ความเชี่ยวชาญที่รัฐบุรุษควรมีคือการแยกแยะและถักทอองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ของชุมชนทางการเมืองเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและสมดุลย์ โดยสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและช่วงจังหวะเวลาในทางปฏิบัติ ซึ่งหมายรวมถึงการถักทออุปนิสัยของกลุ่มพลเมือง กลุ่มที่ทำหน้าที่ต่างๆ และพาราไดม์ของนิติรัฐ</p> วีระ สมบูรณ์, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/274589 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 The four-dimensional theses for one fundamental synthesis: Lacan’s subject as the subject of resistance https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273302 <p>This article aims to explore Jacques Lacan’s idea of the subject, which is sporadic in his writings and teachings. It argues that Lacan’s subject is and will always be the subject of resistance. To understand the nature of the Lacanian subject, this inquiry focuses on four fundamental theses: (1) mirror-stage, (2) negation, (3) trauma, and (4) woman. The article takes on a philosophical task in this regard. The synthesis of all the theses suggests that Lacan’s subject is the subject of resistance. This type of subject is preoccupied with agility, movement, speech, and action, which nurtures a dissonance from the consecutive consonance posited by the Other. Its presence marks the logic of disruptive ego-consciousness. Lacan compels everyone to negate ego-consciousness as a true locus of the subject. This marks a flamboyant declaration of independence of Lacan’s disjunctive synthesis about the subject as a revolutionary subject. It is unlike the conceptualisation of the subject that is consistently envisioned in a psychoanalytic community under the dominance of scientific behaviouralists such as Erik Erikson’s focus on ego identity and Carl Jung’s optimism of the unity of consciousness and the unconscious of the subject.</p> Chyatat Supachalasa Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273302 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ราชการส่วนภูมิภาคกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในรัฐไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/272286 <p>บทความนี้บรรยายถึงราชการส่วนภูมิภาคของรัฐไทยที่มีพัฒนาการมาจาก “ระบบเทศาภิบาล” ของรัฐสยามในยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับราชการส่วนภูมิภาคในระดับมณฑล จังหวัด และอำเภอของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในยุคปฏิวัติ ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332) ถัดมาเมื่อรัฐไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ต่อเนื่องถึงยุคเริ่มต้นการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 นั้น ราชการส่วนภูมิภาคได้ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการนำและติดตามนโยบายของรัฐบาลกลางไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลมาโดยตลอดในช่วง 5-6 ทศวรรษที่ผ่านมา</p> <p>แนวคิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (ผวจ.) ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบราชการไทยในปัจจุบันให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่โดยข้อเท็จจริงที่การเลือกตั้งในทุกระดับมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันอย่างแพร่หลายทั่วรัฐไทย ประกอบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ในรัฐไทยเกือบทั้งหมดมีปัญหาฉกรรจ์เรื้อรังหลายเรื่องหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ปัญหาการใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าเงินลงทุน ปัญหาการจ้างบุคคลากรเกินปริมาณงาน และความ ไร้วินัยการคลังภายใต้บริบทการบริหารงานท้องถิ่นที่มีอิสระสูงมาก ผู้เขียนมีความเห็นว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดควรเป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่ไกลนักในการรอคอยให้วัฒนธรรมการเมืองใหม่เติบโตขึ้นมาเป็นเสียงข้างมากอย่างชัดเจนในสังคมไทย อันจะส่งผลให้เวทีการเลือกตั้งในอนาคตหลุดพ้นจากวิถีธนาธิปไตย และเมื่อนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยที่จะต้องเลือกตัดสินใจร่วมกันว่าควรเปลี่ยนโครงสร้างระบบราชการให้เป็นไปตามรูปแบบของประเทศญี่ปุ่น หรือให้คงไว้เหมือนเดิมตามรูปแบบของฝรั่งเศส</p> <p> </p> สุกิจ เจริญรัตนกุล Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/272286 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาความเป็นอิสระของท้องถิ่นไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/264399 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาความหมาย คุณลักษณะ และปัญหาข้อจำกัดความเป็นอิสระของท้องถิ่นไทย โดยศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมวิชาการ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และการจัดประชุมกลุ่มย่อย และได้วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยเทคนิคเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าท้องถิ่นไทยประสบปัญหาข้อจำกัดด้านความเป็นอิสระหลายประการ โดยเฉพาะในด้านการดำเนินภารกิจการจัดบริการสาธารณะ การบริหารการเงินการคลัง การบริหารงานบุคคล และอำนาจดำเนินการภารกิจนอกเขตพื้นที่หรือนวัตกรรมใหม่ การเร่งแก้ไขเพื่อให้ท้องถิ่นไทยสามารถดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อให้สามารถบริหารจัดการพื้นที่ได้เต็มที่ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ส่วนราชการ ฝ่ายวิชาการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังต่อไป</p> วีระศักดิ์ เครือเทพ, กิรพัฒน์ เขียนทองกุล, สิริภากร สระทองจันทร์ Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/264399 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความเพียงพอของมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: บทสรุปเบื้องต้นว่าด้วยการเลือก อย่างเป็นเหตุเป็นผล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273112 <p>บทความชิ้นนี้ต้องการวิเคราะห์มาตรการป้องกันการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างของไทยเพื่อสะท้อนว่ามาตรการป้องกันการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างของไทยที่ผ่านมา ยังไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ กล่าวคือ แม้จะมีการตรากฎหมายสำคัญถึง 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งต่างก็มีการกำหนดบทลงโทษทางอาญา ทั้งจำคุกและปรับ ที่สำคัญกฎหมายฉบับล่าสุดยังให้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการให้มีการลงโทษทางวินัยสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (e-Government Procurement) และระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System: GFMIS) ตลอดจนการนำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) มาเป็นข้อบังคับตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ ซึ่งเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเข้าร่วมติดตามและตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้ในทุกขั้นตอน ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การรายงาน “พฤติการณ์ที่ส่อไปในทางทุจริตหรืออาจนำไปสู่การทุจริตได้” ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการชี้แจงหรือแก้ไข แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนและยังเกี่ยวพันกับระดับการสนับสนุนขององค์กรภาคประชาสังคมที่ได้รับการยอมรับในสังคมอีกด้วย จุดนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เพียงพอของมาตรการป้องกันจากภายนอก (External Control) และจำเป็นต้องนำมาตรการควบคุมภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจกระทำการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Internal Control) ภายใต้กรอบการอธิบายของแนวคิดการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Rational Choice Theory) มาพิจารณาประกอบเพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนต่อไป</p> บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์ Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273112 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 A Comparative Study: Lessons and Solutions for Developing Knowledge Regarding the 21st Century Bureaucracy https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273996 <p>This article aims to present a study using comparative methods to create knowledge about the 21st-century bureaucracy, which is facing the problem of fragmented knowledge from efforts to develop theories suitable for the complex, diverse, and dynamic environments of each society today. This complexity makes it challenging to understand and apply such knowledge practically, potentially leading to the decline of the discipline similar to the field of public administration in the past. Therefore, this article proposes a solution by using a comparative study approach to create models of relationships between social contexts and practices in the form of conditions, which will lead to the connection, organization, and integration of fragmented knowledge into a unified whole.</p> Sakonrat Jirarungruangwong Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273996 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาปริญญาเอกทางรัฐประศาสนศาสตร์: การศึกษาเฉพาะกรณี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273467 <p>การศึกษาระดับปริญญาเอกมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพราะผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ และใช้ความรู้ในการชี้นำสังคม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบถึงประโยชน์ที่ดุษฎีบัณฑิตได้รับจากการศึกษาในระดับปริญญาเอก และข้อเสนอแนะที่ต้องการให้โครงการปรับปรุงเพื่อให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยกำหนดให้โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้วราว 300 คนตลอดระยะเวลา 23 ปีที่ผ่านมา มีดุษฎีบัณฑิตที่ออกไปทำงานอยู่ในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชนในภาคส่วนต่าง ๆ ดุษฎีบัณฑิตส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ทางตรงในด้านองค์ความรู้ที่เรียนจากหมวดวิชาหลัก ระเบียบวิธีวิจัย และกระบวนการวิจัย สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริหารงานในระดับต่าง ๆ มีความเข้าใจการบริหารงานภาครัฐและเอกชนมากขึ้น มีทักษะในการค้นคว้าและ การทำวิจัย การใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนประโยชน์ทางอ้อมได้แก่ ทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ การประสานงาน การฝึกฝนความอดทน การได้รับความเชื่อมั่นและการยอมรับ การลดอัตตา และมองสิ่งต่างๆได้รอบด้านมากขึ้น ดุษฎีบัณฑิตมีข้อเสนอแนะให้โครงการกระตุ้นและสนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการและลงตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับชาติและระดับสากลให้มากขึ้น</p> สุวรรณี แสงมหาชัย, อุทัย เลาหวิเชียร Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/273467 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทนำ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/275117 waralee sangnark Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์พิจาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC/article/view/275117 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700