https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/issue/feed
วารสารศึกษิตาลัย
2024-12-17T18:19:19+07:00
พระมหาสมเด็จ มหาสมิทฺธิ,ผศ.ดร.
Sjmcunk@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong><img src="https://so01.tci-thaijo.org/public/site/images/sjmcunk/185191296_213102410382646_5958403632020282334_n.png" width="115" height="90" /><br /><br /></strong> วารสารศึกษิตาลัย ISSN: 2730-3330 (Print) ISSN: 2822-1168 (Online) เป็นวารสารวิชาการของวัดศรีสุมังคล์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ และผลงานวิชาการของนักวิชาการ ในมิติทางด้านพุทธศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p>
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275719
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารทางการเมือง การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
2024-10-01T16:37:13+07:00
อภิวัฒชัย พุทธจร
apiwatchai.phut@mcu.ac.th
พระมหาณัฏฐพจน์ ขนฺติธโร
apiwatchai.phut@mcu.ac.th
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า
apiwatchai.phut@mcu.ac.th
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> การสื่อสารทางการเมือง เป็นการสื่อสารที่มีรากฐานมาจากวาทกรรมทางการเมืองในยุคกรีกโบราณ โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารที่มีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน การสื่อสารที่ประสบผลสำเร็จส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงในระดับต่าง ๆ ของสังคม กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย 1) ด้านผู้ส่งสาร ได้แก่ ผู้ส่งสารที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมืองและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งให้แก้ผู้รับสารได้เข้าใจยิ่งขึ้น 2) ด้านสาร ได้แก่ เนื้อหาในการสื่อสารต้องมีความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน 3) ด้านช่องสาร ได้แก่ ช่องทางในการสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่อความรวดเร็วและชัดเจนในการรับสาร 4) ด้านผู้รับสาร ได้แก่ ผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสารและทัศนคติต่อสารที่ดี นอกจากนี้ พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารทางการเมืองเป็นอย่างมาก โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณและเผยแพร่หลักธรรมคำสอน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข การใช้สื่อทางการเมืองในรูปแบบของออนไลน์ โดยพระสงฆ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความรู้ ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การเผยแพร่หลักธรรมคำสอนและการสนทนาธรรมผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่เพียงทำให้การสื่อสารทางการเมืองได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างพระสงฆ์กับประชาชนและช่วยสร้างสังคมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความร่วมมือในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ อย่างมีสติและเหตุผลให้มากขึ้น</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275991
การจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาจังหวัดหนองคาย
2024-08-31T14:55:05+07:00
พระครูสมุห์หัตถพร ปิยธมฺโม (คำเพชรดี)
hattaporn.kum@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การจัดการศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในจังหวัดหนองคาย มุ่งเน้นการพัฒนาให้เหมาะสมกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติและยอมรับในความแตกต่าง โดยการศึกษาพหุวัฒนธรรมนี้ ต้องการให้เกิดการเข้าใจในวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม และความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรม การจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรม ยังเน้นการสร้างมุมมองที่เปิดกว้าง การปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสม และการตรวจสอบเป้าหมายการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างและทัศนคติที่ดีต่อการอยู่ร่วมกัน ครอบคลุมประเด็น เช่น การบูรณาการเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย สร้างความยุติธรรมในการเรียนรู้ และลดอคติระหว่างวัฒนธรรม แนวทางพหุวัฒนธรรมยังส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองและยอมรับวัฒนธรรมของผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม ไม่เพียงมุ่งเน้นการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เกิดความเสมอภาคและเคารพในความแตกต่าง โดยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน บทความนี้ได้เสนอการบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการพัฒนาสังคมที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงสนับสนุนแนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ในการเชื่อมโยงสังคมหลากวัฒนธรรมผ่านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข การพัฒนาทักษะทางสังคม เช่น การสื่อสารและความเข้าใจระหว่างบุคคล และการเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืน</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/276848
การเปรียบเทียบกฎหมายล้มละลายและกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ของประเทศไทยและการล้มละลายของวิสาหกิจของสปป.ลาว
2024-10-13T01:43:52+07:00
เล่งสัก บุนทะลาด
daransan1730@gmail.com
ดารณี แสงนิล
daransan1730@gmail.com
คมกฤช ฟองย้อย
daransan1730@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายล้มละลายและกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยประเทศไทยได้ตรากฎหมายล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการปรับโครงสร้างหนี้และรักษาสภาพคล่อง กฎหมายไทยยังได้นำหลักการพักการชำระหนี้ มาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายทันที ซึ่งช่วยให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพิ่มโอกาสในการรักษาสภาพเศรษฐกิจและการจ้างงาน ส่วนกฎหมายล้มละลายของ สปป.ลาว ซึ่งเดิมมีอิทธิพลจากกฎหมายฝรั่งเศส ได้กำหนดให้ใช้เฉพาะกับวิสาหกิจและนิติบุคคล โดยไม่ครอบคลุมถึงบุคคลธรรมดา ส่วนสปป.ลาวยังไม่มีการนำหลักการพักการชำระหนี้มาใช้ ส่งผลให้ลูกหนี้ขาดความยืดหยุ่นในการฟื้นฟูกิจการ และขาดมาตรการช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ยากลำบากทางการเงิน การเปรียบเทียบเงื่อนไขในการยื่นคำร้องขอล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ โดยในประเทศไทยกำหนดเกณฑ์การยื่นคำร้องสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีหนี้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และนิติบุคคลที่มีหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท ขณะที่ใน สปป.ลาว กำหนดเงื่อนไขการล้มละลายของวิสาหกิจในกรณีมีหนี้เกิน 10 ล้านกีบ โดยมีมาตรการการควบคุมและแต่งตั้งผู้จัดการแผนธุรกิจเพื่อเข้ามาบริหารกิจการตามมติของเจ้าหนี้ ส่วนลาวยังขาดกฎหมายและกระบวนการที่รองรับบุคคลธรรมดาในกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ รวมถึงการขาดลำดับการชำระหนี้ที่ครอบคลุมและการฟื้นฟูกิจการที่เป็นระบบ จึงเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเติบโตของธุรกิจ</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/276857
การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL Plus บูรณาการอภิปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2024-10-13T01:16:16+07:00
สลักดาว ไตรินทร์
656150720026@npu.ac.th
อธิราชย์ นันขันตี
656150720026@npu.ac.th
พิจิตรา ธงพานิช
656150720026@npu.ac.th
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL Plus บูรณาการอภิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL Plus บูรณาการอภิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL Plus บูรณาการอภิปัญญา ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลนครพนม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 37 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบวัดทักษะการคิด แบบสอบถาม</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL Plus บูรณาการอภิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนในการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 16.03 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.14 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL Plus บูรณาการอภิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL Plus บูรณาการอภิปัญญา ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุดขึ้นไป</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/273578
การพัฒนาผลการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่นโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2024-06-20T00:43:05+07:00
สิริมา ภาวงค์
656150720067@npu.ac.th
อธิราชย์ นันขันตี
656150720067@npu.ac.th
พิจิตรา ธงพานิช
656150720067@npu.ac.th
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) ศึกษาทักษะในการประดิษฐ์ชิ้นงาน หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองตากวย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 11 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะในการประดิษฐ์ชิ้นงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนในหน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนที่ 26.91 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.7 2) ทักษะในการประดิษฐ์ชิ้นงานในหน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น พบว่า มีระดับทักษะอยู่ในเกณฑ์สูงมาก โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนที่ 4.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 96.04 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงมาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.69</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/277261
การพัฒนาผลการเรียนรู้ทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2024-11-08T09:44:50+07:00
ศิริวัฒน์ โทจันทร์
656150720059@npu.ac.th
อธิราชย์ นันขันตี
656150720059@npu.ac.th
พิจิตรา ธงพานิช
656150720059@npu.ac.th
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามเกณฑ์ร้อยละ 80 2. เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองหอยป่าหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 85.23 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 2) นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีทักษะการอ่านและการเขียนคำสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/271976
การลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
2024-08-27T15:30:37+07:00
โชติกา บุญเทียม
chothikamsu@hotmail.com
สมเกียรติ เกียรติเจริญ
chothikamsu@hotmail.com
รังสรรค์ อินทน์จันทน์
chothikamsu@hotmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ 2) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ 3) เพื่อศึกษาการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนตามทะเบียนราษฎรในตำบลโพรงมะเดื่อ ประชากร จำนวน 2,863 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน คำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .949 (R = .949) อธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 90.0 มีค่า R<sup>2</sup> = .900 และมีค่า F = 382.282 แสดงว่า ตัวแปรอิสระส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ 4) ข้อเสนอแนะต่อการลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ คือ ควรมีการส่งเสริมในการให้ทุนเกษตรกรในการปลูกผักปลอดสารพิษ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณสำหรับเครื่องมือในการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร </p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/272886
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจรับบริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ในโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
2024-10-02T23:13:02+07:00
สารัช วงศ์สุนทรพจน์
sarach.k.w@gmail.com
ปาลิดา ศรีศรกำพล
sarach.k.w@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> </strong>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และส่วนประสมทางการตลาดบริการทั้งหมด 7 ด้าน ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ในโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างประชากรที่ศึกษา โดยเป็นผู้เคยมีประสบการณ์หรือผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่อายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายวิธี โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test, One-way ANOVA การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40-49 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพเป็นข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และมีระดับรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 25,000 บาท โดยผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ในโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน <em>(</em><em>p</em><em>></em><em>0.05)</em> และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร และด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ในโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p<0.05</em>)</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275994
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคต่อดุลการชำระเงินภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน
2024-10-11T14:20:55+07:00
กีรติ เพชรภักดี
miew_bigd2b@hotmail.com
ศักรินทร์ นนทพจน์
miew_bigd2b@hotmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่ส่งผลกระทบต่อดุลการชำระเงิน โดยศึกษาภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน ศึกษาผ่านประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 ประเทศ ซึ่งประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ได้แก่ ประเทศกรีซ และประเทศเอกวาดอร์ ส่วนประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ได้แก่ ประเทศไทย และประเทศอินโดนีเซีย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ และนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาแปรผล มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษานโยบายการคลังและดุลการชำระเงิน ใน 4 ประเทศ ที่มีการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ในประเทศกรณีศึกษา คือ ประเทศกรีซ และประเทศเอกวาดอร์ ประเทศที่เป็นตัวอย่างในการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว คือ ประเทศไทย และประเทศอินโดนีเซีย โดยศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2536-2565 รวมทั้งสิ้น 30 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เศรษฐกิจของไทยอยู่ทั้งในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวและเศรษฐกิจเติบโต โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าดุลการชำระเงิน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาค และมูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และลอยตัว</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคต่อดุลการชำระเงิน ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ประกอบด้วย ประเทศกรีซและประเทศเอกวาดอร์ ด้านค่าใช้จ่ายรัฐบาล (G<sub>i,t</sub>) มีผลต่อดุลการชำระเงิน โดยเมื่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ดุลการชำระเงินเพิ่มขึ้นด้วย 2) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาคด้านรายได้ที่แท้จริง (Y<sub>i,t</sub>) ไม่มีความสัมพันธ์กับดุลการชำระเงิน และผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคต่อดุลการชำระเงิน ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ประกอบด้วย ประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Ex<sub>i,t</sub>) มีผลต่อดุลการชำระเงิน โดยเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ดุลการชำระเงินเพิ่มขึ้นด้วย 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคด้านปริมาณเงิน (M<sub>i,t</sub>) ไม่มีความสัมพันธ์กับดุลการชำระเงิน</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/276360
ระบบการประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาชั้นพนักงานสอบสวน
2024-09-20T10:31:21+07:00
สาริศา สุกน้อยพะเนา
Sarisa.s@kkumail.com
สุนทรี บูชิตชน
Sarisa.s@kkumail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนในการให้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา รวมถึงกระบวนการยุติธรรมในระบบประกันตัว การใช้ดุลพินิจในการตั้งข้อหา และการควบคุมนายประกันอาชีพ และการเปรียบเทียบกับกฎหมายระบบการประกันตัวในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงระบบการประกันตัวในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากหนังสือ บทความ และเอกสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า พนักงานสอบสวนในประเทศไทยมีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาคดีอาญา โดยต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นประกันตัวเพื่อสู้คดี แต่ระบบประกันตัวมุ่งเน้นที่หลักประกันและการพิจารณาความร้ายแรงของข้อหา โดยมีนายประกันอาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องในการประกันตัวแทนผู้ต้องหา กระบวนยุติธรรมในระบบประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา จะต้องมีการควบคุมการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนและควบคุมนายประกันอาชีพ กระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวนในประเทศไทย มีทั้งชั้นพนักงานสอบสวนและชั้นพนักงานอัยการ แต่ละชั้นมีกฎหมายกำหนดการยื่นประกันตัวผู้ต้องหาไว้ จากการศึกษาพบว่า ควรมีกฎหมายกลางกำหนดไม่ให้มีการซ้ำซ้อน ประเทศอังกฤษมีแนวทางการประกันตัว โดยไม่เน้นการใช้หลักประกัน แต่ให้ผู้ต้องหาทำการรับรองว่าจะมาตามนัด ในสหรัฐอเมริกาผู้พิพากษามีบทบาทในการพิจารณาเรื่องการประกันตัว เพื่อควบคุมอำนาจระหว่างพนักงานสอบสวนและผู้พิพากษา ดังนั้น จึงควรมีหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนและการส่งหลักประกัน เพื่อให้สิทธิผู้ต้องหาได้รับการพิจารณาคดีอย่างเท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญไทย</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย