วารสารศึกษิตาลัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ <p><strong><img src="https://so01.tci-thaijo.org/public/site/images/sjmcunk/185191296_213102410382646_5958403632020282334_n.png" width="115" height="90" /><br /><br /></strong> วารสารศึกษิตาลัย ISSN: 2730-3330 (Print) ISSN: 2822-1168 (Online) เป็นวารสารวิชาการของวัดศรีสุมังคล์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ และผลงานวิชาการของนักวิชาการ ในมิติทางด้านพุทธศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> วัดศรีสุมังคล์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43100 th-TH วารสารศึกษิตาลัย 2730-3330 <p><strong>สงวนสิทธิ์โดย</strong> วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์ <br /><strong>เลขที่</strong> 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย<br /><strong>โทร.</strong> 086-8894578 <br /><strong>E-mail : <a href="mailto:Sjmcunk@gmail.com">Sjmcunk@gmail.com</a><br />Website :<a href="https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ">https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ</a></strong></p> แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/271075 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากร จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาแนวทางการสร้างความสุขของบุคลากร ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงของความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.52) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) เมื่อพิจารณาผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของความสุขบุคลากร ภาพรวมพบว่า ค่า <em> </em>อยู่ระหว่าง 0.741 - 0.859 ด้านความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นพบว่ามีค่า <em> </em>สูงที่สุดและมีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม รองลงมาคือ ด้านผู้นำและบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหาร ด้านลักษณะของงานในองค์กร ด้านความสุขของสมาชิกในองค์กร และด้านความผูกพันต่อองค์กรตามลำดับ แนวทางการสร้างเสริมความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย พบว่า ผู้บริหารองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ควรเห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เอื้อและเหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น บุคลากรในองค์กรควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน และองค์กรมีการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง</p> ธีระพงษ์ บุบผาดา สิทธิชัย สอนสุภี Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 29 42 แนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275900 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งพิจารณาจากปัญหา ดังนี้ 1) การกำหนดคุณวุฒิขั้นต่ำของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร หรือ 2) การเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารกฎหมาย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า นับตั้งแต่พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 มาตรา 58/1 มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและต้องมีคุณสมบัติ 1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งในขณะที่การกำหนดคุณวุฒิขั้นต่ำของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายกเมืองพัทยา จะต้องมีคุณวุฒิสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นที่ผู้มีความรู้จะสามารถบริหารท้องถิ่นให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประชาชนได้ดี และจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น 2) เคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ดังกล่าวอาจจะไม่มีการพัฒนาการศึกษา จึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2562 มาตรา 58/1 “(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า” และให้ยกเลิกในส่วนของเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา</p> ศิวัช นุกูลกิจ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 43 56 แนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/271077 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 285 คน โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.978 ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เพื่อหาแนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับสภาพที่เป็นจริง อยู่ในระดับมาก ( = 3.76) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ระดับสภาพที่เป็นจริงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน ความต้องการจำเป็นการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 คือ ด้านการดำเนินการคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.221) ลำดับที่ 2 คือ ด้านการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.219) ลำดับที่ 3 คือ ด้านการกำกับติดตามคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.203) และลำดับที่ 4 คือ ด้านการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.199)</p> สุรัชดา นันทอง สิทธิชัย สอนสุภี Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 57 70 แนวทางการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275331 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) หาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร การวิจัยนี้เป็นการแบบผสมผสาน เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประชากรผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 67 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การหาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างศึกษากับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) การประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร การใช้เครื่องมือประเมินแนวทางด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านทักษะการตัดสินใจ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม ด้านทักษะการจูงใจ ด้านทักษะการสร้างบรรยากาศองค์การ และด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เป็นลำดับสุดท้าย 2) แนวทางการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 5 ทักษะ คือ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการจูงใจ ทักษะการสร้างบรรยากาศองค์การ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร 3) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ณัฐธิชา ทองยืน พิมพ์พร จารุจิตร์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 71 84 การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275326 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษ ให้ตามเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยขั้นต้นและเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 คน สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test for Dependent Samples</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสามารถทักษะการอ่านและการเขียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน มีคะแนนทดสอบก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย 12.22 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 61.11 และมีความสามารถการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 16.97 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.86 ของกลุ่มตัวอย่าง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การเปรียบเทียบความสามารถทักษะการอ่านและการเขียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนมีคะแนนค่าเฉลี่ย 12.22 คะแนน อยู่ในระดับพอใช้ และมีคะแนนหลังเรียนค่าเฉลี่ย 16.97 คะแนน อยู่ในระดับดี 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77</p> จิตติศักดิ์ แดนดงเมือง อธิราชย์ นันขันตี พิจิตรา ธงพานิช Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 85 98 นิราศลอนดอน: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทัศนคติเชิงบวกที่คนไทยมีต่อภาพลักษณ์ของประชาชนชาวอังกฤษ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275388 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา เนื้อหา สาระของนิราศลอนดอน 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์นิราศลอนดอนที่เกี่ยวข้องกับสภาพบ้านเมืองและประชาชนในประเทศอังกฤษ 3) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติเชิงบวกของคนไทย ที่มีต่อประเทศอังกฤษผ่านนิราศลอนดอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ และเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับนิราศลอนดอน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า “นิราศลอนดอน” มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทยภายหลังจากการที่ประเทศไทยได้ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้แต่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 “นิราศลอนดอน” มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนชาวอังกฤษ ในด้านการยกย่องชื่นชมประชาชนชาวอังกฤษว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีความประพฤติดี จนได้เป็นที่มาของคำว่า ผู้ดีอังกฤษ การยกย่องชื่นชมบ้านเมืองของอังกฤษว่ามีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะเมืองที่ปรากฏในบทกวีคือ ลอนดอน ลิเลอร์พูล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และพอร์ทมัธ การยกย่องชื่นชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษว่ามีสวยงาม ยิ่งใหญ่ เช่น พระราชวังบักกิงแฮม และพิพิธภัณฑ์อังกฤษ หรือบริติช มิวเซียม เป็นต้น การยกย่องชื่นชมภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษ ว่ามีการใช้ภาษาและกิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน ประเพณีการต้อนรับทูตต่างเมืองมีความคล้ายคลึงกันกับไทย คณะผู้ต้อนรับทูตไทยให้เกียรติต่อคณะทูตเป็นอย่างดี กวีมีทัศนคติเชิงบวกต่อคนอังกฤษ โดยนำเสนอผ่านทางบทกวีที่บรรยายถึงความรู้สึกนึกคิดในทางที่ดีต่อคนอังกฤษ ด้วยการบรรยายที่เห็นภาพลักษณ์อย่างชัดเจน</p> พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ (ผมไผ) พระมหาอําพล ธนปญฺโญ (ชัยสารี) พระมหาสมเด็จ มหาสมิทฺธิ (อัตสาร) พระมหาเกริกเกียรติ นิรุตฺติเมธี (ไพศาลเจริญลาภ) มุจจรินทร์ ทัศดรกุลพัฒน์ วัฒนา มุลเมืองแสน Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 99 112 แนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของทนายความอาสาในการคุ้มครองสิทธิของจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีอาญา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275877 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของทนายความอาสาในการคุ้มครองสิทธิของจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีอาญา ซึ่งพิจารณาจากปัญหา ดังนี้ 1) การกำหนดอายุของทนายความอาสา 2) การจัดหาทนายความอาสา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารทางกฎหมาย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดคุณสมบัติของทนายความอาสา 1) ประกาศคณะกรรมการทนายความอาสา (กทอ) เรื่องการรับสมัครและแต่งตั้งทนายความอาสา (ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2563) กำหนดให้ผู้ที่จะมาเป็นทนายความอาสาจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 23 ปี ในวันรับสมัคร ซึ่งการกำหนดอายุขั้นต่ำดังกล่าวน้อยเกินไป อาจทำให้ขาดความรอบครอบและประสบการณ์ในการดำเนินคดี และ 2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. 2549 ข้อ 6 ในการจัดหาทนายความอาสา ให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา จากบัญชีที่กระทรวงจัดส่งให้ตามลำดับหมายเลขของบัญชีที่จัดไว้ การกำหนดบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจไม่ได้ทนายความอาสาที่ไม่ตรงกับความเชี่ยวชาญแห่งคดีที่เกิดขึ้น จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติม 1) ประกาศคณะกรรมการทนายความอาสา (กทอ) เรื่องการรับสมัครและแต่งตั้งทนายความอาสา คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นทนายความอาสา (ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2563) ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ในวันรับสมัคร และ 2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. 2549 ข้อ 6 ให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามความเชี่ยวชาญแห่งคดี จากบัญชีที่กระทรวงจัดส่งให้ตามลำดับหมายเลขของบัญชีที่จัดไว้</p> วัชรินทร์ เหรียญหล่อ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 113 126 ปัญหาความรับผิดทางการแพทย์จากการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในวิชาชีพเวชกรรม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/269034 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาความรับผิดทางการแพทย์จากการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย และแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ บทความทางกฎหมาย บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม และทำการศึกษาเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเกิดความเสียหายจากการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์<br />ใช้ในวิชาชีพเวชกรรมในสถานพยาบาลของประเทศไทยนั้น กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย<br />ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องการรับรองเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพ<br />เวชกรรม การกำหนดตัวบุคคลที่ต้องรับผิดทางกฎหมายและกระบวนการในการเยียวยาความเสียหาย<br />ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้เสียหาย แพทย์ หรือผู้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการแก้ไขด้วยการปรับปรุงมาตรการ ข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตรับรองเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยให้มีการกำหนดคำนิยามที่ชัดเจน กำหนดกระบวนการขออนุญาต และให้มีหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม และแนวทางในแก้ไขปัญหาความรับผิดจากการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม โดยให้มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดและบุคคลที่ต้องรับผิดให้ชัดเจน รวมไปถึงการเยียวยาความเสียหายที่เป็นธรรมและสมควรแก่กรณีมากยิ่งขึ้น</p> ณิชาภา วงษ์ปัญญา ปรมาภรณ์ วีระพันธ์ ดามร คำไตรย์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 127 140 สำนักปฏิบัติธรรมกับพุทธวิธีการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในบริบทของสังคมไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275743 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสำนักปฏิบัติธรรม และเพื่อศึกษารูปแบบของสำนักปฏิบัติธรรมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันมีสำนักปฏิบัติธรรมที่มุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับสิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น โดยมีระเบียบข้อกำหนดในการจัดตั้งสถานที่ปฏิบัติธรรม เพื่อใช้ในการอนุเคราะห์แก่ประชาชนได้เข้าไปศึกษาหลักธรรมคำสอน โดยในประเทศไทยมีสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ 5 สาย ได้แก่ 1. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายพุท – โธ ตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายสัมมา – อะระหัง ตามแนวของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสาโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ 3. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายพอง – ยุบ ตามแนวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ราชวรมหาวิหาร 4. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายอานาปานสติ ตามแนวของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ และ 5. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายเคลื่อนไหว ตามแนวของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ในส่วนของการศึกษารูปแบบของสำนักปฏิบัติธรรมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ พบว่า การจัดตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในสังคมปัจจุบัน โดยแยกประเด็นศึกษาแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต แนวคิดพระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม สำนักปฏิบัติธรรมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งวัดได้ปรับตัวในการสร้างสถานที่สัปปายะ ด้วยหลัก 5 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย ทำให้เด็กยุคใหม่หันมาสนใจและเข้าสู่สำนักปฏิบัติธรรมในรูปแบบนี้มากขึ้น เพราะวัดมีความสะอาด มีความปลอดภัย มีความน่ารื่นรมย์ </p> อนันต์ คติยะจันทร์ พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ สมพงษ์ แสนคูณท้าว กมลลักษ์ ศรีวิรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 1 14 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านหนองเขื่อนช้าง: กรณีศึกษาพัฒนาการชุมชนและกลุ่มสตรีทอผ้า ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/275832 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนบ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตลอดจนพัฒนาการทางเศรษฐกิจของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้างในมิติทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตวรรณกรรมทางประวัติศาสตร์นิพนธ์ โดยใช้ระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผ่านความทรงจำร่วม ของบุคคลสำคัญภายในชุมชน และบุคคลร่วมสมัย ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านหนองเขื่อนช้างมีพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 และเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 โดยภูมินามของชุมชนแห่งนี้ตั้งขึ้นตามชุดความรู้ตำนานโขลงช้างลงมาเล่นน้ำ โดยแบ่งมิติการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภายใต้บริบทของพัฒนาการทางเศรษฐกิจชุมชนได้ 4 มิติเวลาด้วยกัน คือ มิติเวลาที่ 1 ยุคการก่อตัวเป็นชุมชนเกษตรกรรม ซึ่งเป็นระยะที่มีการผลิตใช้ภายในครัวเรือน หนองเขื่อนช้างเป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆ มิติเวลาที่ 2 ยุคก่อตัวเป็นชุมชนหัตถกรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการขยายตัวทางการศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม ทำให้ภาครัฐและภาคการศึกษาเข้าไปมีส่วนพัฒนาชุมชนในระยะเริ่มวางรากฐาน มิติเวลาที่ 3 ยุคได้รับการพัฒนาจากภาครัฐ ห้วงเวลานี้รัฐได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนารูปแบบการทอ ลวดลาย สีสัน กรรมวิธีการผลิต ตลอดจนวางแผนการตลาดให้กับชุมชนอย่างเด่นชัด และสุดท้ายมิติเวลาที่ 4 ยุคแปรสภาพจากชุมชนหัตถกรรมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางภูมิปัญญาของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านจากความเป็น “สังคมชนบท” ไปเป็น “สังคมเมือง” จนถึงปัจจุบัน</p> พีรภัทร ฉัตรพิบูลย์ภูเวียง ห้าวเหิม ยิ่งศักดิ์ คชโคตร วีระนุช แย้มยิ้ม อุเทณ วัชรชิโณรส Copyright (c) 2024 วารสารศึกษิตาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 15 28