https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/issue/feed T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2023-12-28T00:00:00+07:00 กองบรรณาธิการ [email protected] Open Journal Systems <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>วัตถุประสงค์/ขอบเขต ของวารสารวิชาการ T-VET Journal</strong></span></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี ในด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ และด้านอื่นๆ ที่มีลักษณะทั้งเป็นรูปแบบ วิธีการ หรือสื่อสิ่งประดิษฐ์อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีวศึกษา และการศึกษา เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาสถานประกอบการ ชุมชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ต่อไป</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ครู อาจารย์ ในด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการนำผลวิจัยไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ และการฝึกอบรมวิชาชีพให้ได้ประโยชน์สูงสุด</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/269932 การพัฒนาระบบติดตามการเข้า-ออกสถานประกอบการของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ระดับปริญญาตรีวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย โดยการรายงานระบุตำแหน่งบนแผนที่ 2023-11-16T13:40:51+07:00 Patcharaporn Pimpa [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนาระบบติดตามการเข้า-ออกสถานประกอบการ<br>ของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลระดับปริญญาตรีวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย<br>โดยการรายงานระบุตำแหน่งบนแผนที่2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบระบบที่พัฒนา<br>ขึ้น3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของระบบโดยเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบได้แก่ภาษา<br>PHP JavaScript จัดเก็บฐานข้อมูลด้วย MySQL และแสดงผลผ่าน Google Map API<br>เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ<br>และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง<br>ผลการวิจัยพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์โดยระบบที่พัฒนาขึ้น<br>มีประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.27 และมีค่าเบี่ยงเบน<br>มาตรฐานเท่ากับ 0.60 ส่วนความพึงพอใจในการใช้งานของระบบอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.45 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54&nbsp;</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/266442 The The participation of educational institutions and establishments of food and nutrition in the administration of vocational education in the dual system of affiliated institutions Institute of Vocational Education: Bangkok 2023-05-26T09:49:53+07:00 อาระยา ฉายชูวงษ์ [email protected] <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงาน อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร &nbsp;กลุ่มตัวอย่างคือ &nbsp;ผู้อำนวยการวิทยาลัย 2 คน &nbsp;รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 2 คน&nbsp; หัวหน้างานทวิภาคี 2 คน และครูฝึกในสถานประกอบการ 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการของสาขาอาหารและโภชนาการ ในการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในสังกัด สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร&nbsp; ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1.ด้านการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงาน อาชีวศึกษาระบบ&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทวิภาคี 2.การมีส่วนร่วมอบรมพัฒนาบุคลากรร่วมกัน 3.การมีส่วนร่วมในการนิเทศนักเรียน นักศึกษา 4.การมีส่วนร่วมในเชิงทัศนคติ 5.ด้านนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <ol start="6"> <li class="show">ด้านแหล่งเรียนรู้ และข้อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงาน อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ได้ 7 ด้าน 1. ด้านการจัดอบรมครูฝึกในสถานประกอบการ 2. ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาครู 3. ด้านบุคลากรเข้าฝึกอาชีพ&nbsp; 4. ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกงาน 5. ด้านการทำงาน 6. ด้านทักษะของครูฝึก 7. ด้านการทำแผนการฝึกร่วมกัน</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/270010 ชุดทำความสะอาดท่อเดรนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 2023-10-16T16:19:36+07:00 นายนรา เหนือคูเมือง [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดทำความสะอาดท่อเดรนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (2) หาความพึงพอใจของผู้ใช้ชุดทำความสะอาดท่อเดรนเครื่องปรับอากาศแบบแยก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ &nbsp;และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยการสร้างชุดทำความสะอาดท่อเดรนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนบรรจุในกล่องสีเขียว มีความแข็งแรง ทนทานและสามารถใช้งานได้ดี การหาประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบพบว่า ได้นำชุดทำความสะอาดท่อเดรนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนไปทดลองใช้ทดลองกับ Air Split Type Unit ขนาด 53,200 BTU.ท่อเดรนน้ำทิ้ง PVC สีฟ้า ขนาด 1/2 นิ้วค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาท่อเดรนน้ำทิ้งอุดตันคือ 16 นาที ต่อ1 เครื่อง แสดงว่ามีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้ดี และการหาความพึงพอใจของผู้ใช้งานชุดทำความสะอาดท่อเดรนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.07(S.D.=0.486) อยู่ในระดับมาก</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/266733 การศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน 2023-05-19T10:41:01+07:00 คุณัชญา ทิพยานุรักษ์สกุล [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)&nbsp;เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย&nbsp; กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 400 คน ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จากการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ได้จากแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (&nbsp;= 3.58; S.D. = .13) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยี (&nbsp;= 3.57; S.D. = .39) ด้านผู้สอน (&nbsp;= 3.61; S.D. = .20) และด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน (&nbsp;= 3.78; &nbsp;&nbsp;&nbsp;S.D. = .18) อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดการเรียนรู้ (&nbsp;= 3.45; S.D. = .20) และด้านผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง (&nbsp;= 3.50; S.D. = .33) ตามลำดับ 2) ความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (&nbsp;= 3.70; S.D. = .17) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านผู้สอน (&nbsp;= 3.90; S.D. = .06) ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน(&nbsp;= 3.80; S.D. = .54) ด้านอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยี (&nbsp;= 3.73; S.D. = .29) ด้านการจัดการเรียนรู้ อยู่ในลำดับมาก (&nbsp;= 3.61; S.D. = .22) และด้านผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง (&nbsp;= 3.47; &nbsp;&nbsp;&nbsp;S.D. = .15) ตามลำดับ 3) แนวทางการแก้ปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ ได้แก่ การสนับสนุนในเรื่องของระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต การใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยี การจัดสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายมาก รวมถึงควรมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย แปลกใหม่ ทันสมัย เทคนิคการสอนใหม่ๆ การสอนแบบสนุกสนาน มีเกมส์ กิจกรรมคลายเคลียด ถือเป็นแนวทางช่วยให้การเรียนการสอนออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น&nbsp;</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/266734 ผลการทดลองการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก 2023-05-19T10:40:15+07:00 kitti kuttannan [email protected] <p>การวิจัยเรื่องผลการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก เพื่อทดลองใช้การฝึกอบรมระยะสั้น&nbsp; เพื่อศึกษาทักษะที่ได้จากการฝึกอบรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ารับ การฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ลักษณะงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งผู้วิจัยมีวิธีดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้&nbsp; ขั้นตอนที่ 1&nbsp; สำรวจข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2&nbsp; ทดลองใช้การฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3&nbsp; ศึกษาสมรรถนะที่ได้จากการฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 4&nbsp;&nbsp; ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนของผู้เข้ารับการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก&nbsp;&nbsp; กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเจาะจงนักเรียนโรงเรียนวัดยาง (มีนะวิทยา) &nbsp;จำนวน 19 คนที่สมัครเข้าเรียนหลักสูตรระยะสั้นกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก เรื่องงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปงานกราฟฟิก โดยมีนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจำนวน 7 &nbsp;คนร่วมกับนักเรียนปกติจำนวน 12 คนผลการทดลอง พบว่านักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีผลการเรียนระดับ 2 จำนวน &nbsp;2 คน ผลการเรียนระดับ 2.5 จำนวน 4 คนและผลการเรียนเท่ากับ&nbsp; 3.5 &nbsp;จำนวน 1 คน ผลการประเมินทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก &nbsp;มีผลการเรียนในระหว่าง 37-47&nbsp; จากคะแนนเต็ม 60 คิดเป็นร้อยละ 62-78 และสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้ารับการอบรมพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = &nbsp;4.46 , S.D. = 0.60) จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างสามารถเรียนรวมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267481 Energy saving grill without cancer risk 2023-10-25T15:15:53+07:00 Panika manetarpo [email protected] <p>The objective of research testing the machine to tackle for a solution as mentioned above, the lengthiest igniting times for charcoal It was found that the longest ignition times of charcoal in non-toxic energy-saving furnaces were 50.33, 75.67 and 90.33 minutes, PM 2.5 content was 58 Ug/m3, CO2 was 2,093 ppm and CO was 254 ppm at fuel weights of 250, 500 and 750 g of fuel weight, respectively. From the study of the degree of the louvre shutter type inclination that affects the temperature - at the angle of inclination 0 degrees, the rate of temperature increase was at the least ( = 9.8°C), at 90 degrees, the temperature increase was at the highest rate ( = 20.52 °C). After studying the stove temperature of a suitable non-toxic energy-saving grill assembly set, pork at 100°C gets roasted in about 6 minutes, and pork at 250 °C get roasted in about 4 minutes. The amount of Polar found while using the non-toxic energy-saving grill assembly set is less than a conventional stove. The average result of the satisfactory rating ( = 4.09)</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/268460 แนวทางการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับวิถีธรรมชาติ ด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆกรณีศึกษา : ระบบบำบัดทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก 2023-10-19T09:32:59+07:00 นาง วรนุช พรเสนาะ [email protected] <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับวิถีธรรมชาติธรรมชาติเพื่อการการบำบัดน้ำเสีย 2) ตรวจสอบคุณภาพน้ำจากการออกแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับวิถีธรรมชาติเพื่อการบำบัดน้ำเสีย โดยดำเนินการศึกษา ณ บริเวณบ่อบำบัดน้ำเสียทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก ซึ่งทำการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด (ประเภท ค) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหาคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับวิถีธรรมชาติด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับวิถีธรรมชาติด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 7 พารามิเตอร์ ได้แก่ สี กลิ่น ค่าความเป็นกรดและด่าง ค่าบีโอดี ค่าตะกอนหนัก ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด ค่าซัลไฟค์ ค่าทีเคเอ็น ค่าน้ำมันและไขมัน ส่วนที่เกินค่ามาตรฐาน พบว่า ค่าปริมาณสารแขวนลอยมีปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนค่าอื่น ๆ ของการบำบัดน้ำเสียมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาดโดยคิดเป็นร้อยละ 80.0, 41.5, 0.0, 19.8, 4.32 และ 10.00 ตามลำดับ</p> 2024-01-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/263502 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนา ทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 2023-05-31T08:32:14+07:00 Sayamon Nitipongsuwan [email protected] <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ&nbsp; การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัด&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ประชากรที่ใช้ใน&nbsp; การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาดินและการจัดการดินเพื่อการเกษตร รหัสวิชา 30502 – 2004 ในภาคเรียนที่ 1 &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหารายวิชาที่เรียน 2) แบบประเมินทักษะอาชีพเกษตรกรรม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent) &nbsp;</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า I-CP-DE Model ประกอบด้วย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3) องค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) องค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล โดยขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ มี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ขั้นกำหนดปัญหาและศึกษาข้อมูล&nbsp; (I-Investigation) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างองค์ความรู้หรือโครงงาน (C-Construction) ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนการเรียนรู้ (P-Planning) ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติ (D-Doing) และขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงานและประเมินผล (E-Evaluation) 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 83.60/83.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 18.10 คะแนน และ 33.20 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนน พบว่า คะแนนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ทักษะอาชีพเกษตรกรรมของผู้เรียนหลังใช้รูปแบบ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.65, = 0.37) 3. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงาน&nbsp;&nbsp; เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (</strong><strong>= 4.59, = 0.48) &nbsp;</strong></p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/269751 กล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์ 2023-10-20T09:53:19+07:00 เจต ถาวร [email protected] <p>งานวิจัยสร้างกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์มีวัตถุประสงค์</p> <p>1. เพื่อสร้างกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์&nbsp; 2. เพื่อหาประสิทธิภาพ 3. เพื่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน &nbsp;ในการหาประสิทธิภาพนั้น มีการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน โดยการประเมินตามแบบสอบถามประเมินคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ตอนที่ 1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สอบถามความพึงพอใจด้านการออกแบบ ตอนที่ 3 สอบถามความพึงพอใจด้านการใช้งาน เพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ผลการประเมินการศึกษาสรุปได้ว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการออกแบบชิ้นงานนั้นมีความพึงพอใจในระดับมากซึ่ง ( x =4.52 ) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการใช้งานนั้นมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดซึ่ง ( x =4.60 ) กล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์สามารถใช้งานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ผลการทดลองสรุปได้ว่าในการทดลอง 5 ครั้ง ได้อัตราการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนี้ พัดลมขนาด 18 นิ้ว 220 โวลต์ 1แอมป์ 199 วัตต์ ค่าเฉลี่ย 4.4 ชั่วโมง เครื่องซักผ้า 220 โวลต์ 3 แอมป์ 625 วัตต์ ค่าเฉลี่ย 1.6 ชั่วโมง ชาร์จโทรศัพท์มือถือขนาด 5 โวลต์ 2.4 แอมป์ 12 วัตต์ ค่าเฉลี่ย 58.6 ชั่วโมง การทดลองนี้เป็นการทดลอง การใช้งานเพียง 1 อุปกรณ์หากใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆพร้อมกัน จำนวนชั่วโมงการใช้งานกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์จะน้อยลง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/265911 การพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมของนักเรียน วิทยาลัยเทคนิคพังงา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการสร้าง ผู้ประกอบการนวัตกรรม 2023-05-03T10:22:33+07:00 Pratin Lainjumroon [email protected] <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur 2)<strong> </strong>เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur ให้มีความเหมาะสม 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur 4) เพื่อศึกษาผลจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur และ 5) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้แบบการ : STEAM for Innopreneur รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินทักษะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม 4) แบบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test One Sample Group</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneurมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน 2) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ: STEAM for Innopreneur ให้มีคุณภาพ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 พบว่ามีประสิทธิภาพ 83.11/83.16 4) ผลการนำไปใช้จริง (Implement) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 พบว่า มีประสิทธิภาพ 85.68/84.25 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ฯ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-01-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/252676 สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนภาษาอังกฤษในยุคปกติใหม่ 2023-10-31T09:59:50+07:00 Thitaree Chanthawat [email protected] <p><span class="TextRun SCXW147415883 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="none"><span class="NormalTextRun SCXW147415883 BCX0">ในยุคปกติใหม่ที่มีผลมาจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน การใช้ชีวิตในแต่ละวันรวมไปถึงเรื่องของการศึกษาที่ต้องปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีถ่ายทอดเพื่อสื่อสารกับผู้เรียนให้สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุคนี้จึงจำเป็นต้องมีเทคนิคดึงดูดความสนใจของผู้เรียนโดยการใช้วิธีการที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เช่น&nbsp;</span><span class="SpellingError SCXW147415883 BCX0">เฟซ</span><span class="NormalTextRun SCXW147415883 BCX0">บุ</span><span class="SpellingError SCXW147415883 BCX0">๊ก</span><span class="NormalTextRun SCXW147415883 BCX0">&nbsp;ทวิต</span><span class="SpellingError SCXW147415883 BCX0">เต</span><span class="NormalTextRun SCXW147415883 BCX0">อร์&nbsp;</span><span class="SpellingError SCXW147415883 BCX0">ยูทูป</span><span class="NormalTextRun SCXW147415883 BCX0">&nbsp;ซึ่งการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษตลอดจนสามารถค้นคว้าหาความรู้ข้อมูลต่าง ๆ ได้และส่งเสริมการเรียนการด้วยตนเองจนเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพต่อไป</span></span><span class="EOP SCXW147415883 BCX0" data-ccp-props="{&quot;201341983&quot;:0,&quot;335551550&quot;:6,&quot;335551620&quot;:6,&quot;335559731&quot;:851,&quot;335559739&quot;:160,&quot;335559740&quot;:259}">&nbsp;</span></p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/252921 รูปแบบการเสริมสร้างวินัย และความซื่อสัตย์ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านตอง “เด็กดี สี่บี ศรีบ้านตอง” 2023-10-24T13:40:20+07:00 วุฒิชัย โลนันท์ [email protected] <p>การจัดการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่เริ่มจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบมาจนถึงปัจจุบันเห็นได้ว่า แผนการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาในระดับต่าง ๆ แต่ละฉบับที่ออกมาต่างก็มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา เด็กไทย ซึ่งแนวทางในการจัดการศึกษาได้ วางไว้ว่า &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;“มุ่งพัฒนาชีวิตประชาชน ให้มีความสุขและอยู่ดีกินดีมีความสำนึกในความเป็นไทย รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ฝึกฝนการปรับตัวในสังคมเน้นลักษณะ นิสัย ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ประหยัด และ มีระเบียบวินัย การจัดการศึกษาในแต่ละระดับจึงเป็นกระบวนการที่ สำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ กล่าวคือให้ความรู้ และคุณธรรม” รูปแบบการเสริมสร้างวินัยและความซื่อสัตย์ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านตอง “เด็กดี สี่บี ศรีบ้านตอง” สามารถปลูกฝังนักเรียนในด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้มีทักษะกระบวนการคิดมีวินัย มีความซื่อสัตย์ พอเพียง มีความรับผิดชอบ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์และอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองส่งลูกหลานมาเรียนที่โรงเรียนเพิ่มมากขึ้น และเป็นการพัฒนาที่แทบจะไม่ได้ใช้งบประมาณในการพัฒนา เพียงแต่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องร่วมมือกัน มุ่งมั่นที่จะพัฒนานักเรียนของตนอย่างเต็มกำลังความสามารถและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือไม่เข้มงวดแต่ก็ไม่ตามใจ เน้นย้ำ ซ้ำทวน นักเรียนอยู่เสมอ รวมไปถึงช่วยกันเสริมแรงบวกให้กับนักเรียนที่ทำความดีเป็นที่ประจักษ์ให้กำลังใจและชมเชย สร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการปฏิบัติตนในสังคม สร้างคนดี คนเก่งให้ประเทศชาติสืบไป</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/253135 กระบวนการอไจล์และการเปลี่ยนฉับพลันในมหาวิทยาลัยไทย 2023-10-16T15:44:06+07:00 ทศพล สิทธิ [email protected] <p>มหาวิทยาลัยไทยในศตวรรษที่ 21 พบกับความท้ายทายที่มากขึ้น ทั้งจากผลของการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก เช่น การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล การเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล การแปลงเป็นดิจิทัล รวมถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่มากขึ้นในระดับนานาชาติ ทั้งการแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาเดิมที่มีอยู่แล้วทั่วทั้งโลก และการแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาดิจิทัลที่กำลังมีบทบาทที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลของการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ เช่น ประเทศไทย 4.0 หรือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความท้าทายเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์กร ที่จำเป็นจะต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณที่ถูกจำกัด ข้อกำหนดในการจัดการศึกษา หรือจำนวนนักศึกษาที่ลดลงจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของ นิสิต นักศึกษา หรือผู้เข้ารับบริการการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น <br>กระบวนการอไจล์ คือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการบริหารงานชนิดอื่นๆนอกเหนือจากกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี<br>ในบทความนี้จะกล่าวถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการอไจล์เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนฉับพลันในอุดมศึกษาไทย เช่น การบริหารองค์กรและโครงสร้างการเรียนรู้ , การออกแบบหลักสูตรการสอน , การเรียนการสอน , การวัดและประเมินผล , รายวิชาและห้องเรียนออนไลน์ รวมถึงผลลัพธ์ที่จะได้จากการนำกระบวนการอไจล์มาใช้ ทั้งการใช้กระบวนการบางส่วนหรือเต็มรูปแบบ</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 T-VET Journal