T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3 <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>วัตถุประสงค์/ขอบเขต ของวารสารวิชาการ T-VET Journal</strong></span></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี ในด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ และด้านอื่นๆ ที่มีลักษณะทั้งเป็นรูปแบบ วิธีการ หรือสื่อสิ่งประดิษฐ์อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีวศึกษา และการศึกษา เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาสถานประกอบการ ชุมชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ต่อไป</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ครู อาจารย์ ในด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการนำผลวิจัยไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ และการฝึกอบรมวิชาชีพให้ได้ประโยชน์สูงสุด</p> สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 th-TH T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2539-7176 รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272417 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิค สุโขทัย 2. สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 3. ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 4. เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยา ลัยเทคนิคสุโขทัย โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทาง การพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และครูของสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีในเรื่องของงานครูที่ปรึกษา จำนวน 3 แห่ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย โดยการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจำ นวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างในการทดลองได้แก่ ครูที่ปรึกษาจำนวน 86 คน โดยแบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ปรึกษาจำนวน 92 คน และผู้เรียนจำนวน 327 คน แบบสอบถาม</p> <p>ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วิธีการพัฒนาครูที่ปรึกษามี 4 วิธีคือ ด้านการพัฒนาด้วยระบบของประเทศ ด้านการพัฒนาจากหน่วย งานต้นสังกัด ด้านการพัฒนาจากเครือข่ายวิชาชีพ และด้านการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาครูที่ปรึกษามี 5 กระบวนการคือ ด้านการวิเคราะห์ปัญหา ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติตามแผน ด้านการประเมินผล และด้านการพัฒนา องค์ประกอบที่ 3 คุณลักษณะของครูที่ปรึกษา มี 5 ด้านคือ ด้านความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการช่วยเหลือผู้เรียนทางการเรียน และด้านการช่วยเหลือผู้เรียนทางสังคม ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบผู้วิจัยได้นำร่างรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย นำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ฯ โดยจัดสนทนากลุ่มซึ่งผู้ ทรงคุณวุฒิได้วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะหลังจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไข ตามฉันทามติของผู้ทรงคุณวุฒิ จึงได้รูปแบบที่เหมาะสม ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยทั้ง 3 องค์ประกอบกับครูที่ปรึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 86 คน ซึ่งครูที่ปรึกษาได้ทดลองใช้ตามคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัย เทคนิคสุโขทัยพบว่า ครูที่ปรึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</p> Thawat sonngaidee Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 31 53 การพัฒนาทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267253 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนเรื่อง การเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ 80/80 กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ ภาคครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ แบบฝึกหัดระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียน แบบวัดทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ และแบบประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดฝึกทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ81.45/81.03 2 )ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน เรื่อง การเขียนเสน้ในงานเขียนแบบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIPA ร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกล่าวเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติวิจัย 0.05</p> Chalanton Sudoudom Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 180 201 การพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC โดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267276 <p><strong>บทความวิจัย</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่เรียน เรื่อง แนวแกนและโค้ด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;กับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่1 สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling Random) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของแบบวัดทักษะการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test One Sample Group</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติCNC ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D.= 0.18) และผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ พบว่าประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>=84.58, E<sub>2</sub>=92.90) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80</p> Surachet Aralnumas Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-07-10 2024-07-10 8 15 135 149 การสร้างและหาประสิทธิภาพรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273598 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนาสร้างรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า การหาประสิทธิภาพของรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และ เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบบันทึกประสิทธิภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้สถิติที่ใช้ในการทดลอง คือ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 คน</p> <p>ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า 1) การหาประสิทธิภาพของรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า คือ ปรับความเร็วมอเตอร์ระดับที่ 1 การใช้งานเฉลี่ย 101 นาที ปรับความเร็วมอเตอร์ระดับที่ 2 การใช้งานเฉลี่ย 67 นาที และ ปรับความเร็วการหมุนของมอเตอร์ระดับที่ 3 การใช้งานเฉลี่ย 34 นาที ค่าเฉลี่ยของความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่อยู่ที่ 59 นาที 2) การหาความพึงพอใจของผู้ใช้รถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ด้านการออกแบบชิ้นงานหัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ รูปทรงลักษณะทางกายภาพอุปกรณ์มีความเหมาะสม อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.8,S.D.=0.44) และ หัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ขนาดน้ำหนักของอุปกรณ์มีความเหมาะสม อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( =4.2,S.D.=0.44) ด้านการใช้งานหัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.8,S.D.=0.44) และหัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความเร็วในการชาร์จไฟ 1 ชั่วโมง อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( =4.2,S.D.=0.54) สรุประดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.5,S.D.=0.50)</p> รัตนะ พาขุนทด Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 85 101 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาโครงการ 2 เพื่อสร้างชุดควบคุมความดันลบสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสงยูวีซี โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ STEM ร่วมกับ MIAP ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/268459 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา หาประสิทธิภาพและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาโครงการ 2 เพื่อสร้างชุดควบคุมความดันลบสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสงยูวีซี โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ STEM ร่วมกับ MIAP ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร จำนวน 17 คน ให้มีปะสิทธิภาพ 80/80 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ให้นักศึกษาเรียนจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในวิชาโครงงาน 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งภายหลังจากที่เรียนเสร็จในแต่ละครั้งจะทำการประเมินสมรรถนะภาคความรู้และภาคปฏิบัติจากใบกิจกรรม ใบมอบหมายงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์การประเมินประสิทธิภาพระหว่างเรียนและคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน คือ 82.42/82.35 ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมากกว่าร้อยละ 80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการเรียนรู้มากกว่า .60 และผลวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.61</p> somsak morsaeng Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-07-10 2024-07-10 8 15 ชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ควบคุมด้วย โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273693 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ควบคุมด้วย โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ 2) หาคุณภาพชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์จำนวน 20 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1)ดฝึกระบบนิวเมติกส์ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ มีคุณภาพอยู่ในระดับบดีมาก 2)ความพึงพอใจของผเรียนที่มีต้องชุดฝึกระบบนิวเมติกส์ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับบมากที่สุด</p> thammanoon khamjit Udomsak Phayakkhadej Charoen Thonghan Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 72 84 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในการพัฒนานวัตกรรมกล่องควบคุมความดันบวกโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยใบกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ ADDIE Model ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่เรียนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ ภาคเรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/268541 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง หาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินผล วิธีดำเนินการวิจัยโดยนำชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model ไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model มีประสิทธิภาพ 84.73/81.25 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน โดยรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ การปฏิบัติงานก่อให้เกิดทักษะ แรงจูงใจ และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เรียนที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งาน</p> เกษตร เมืองทอง Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 112 134 การศึกษาแนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุนเข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273719 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นในการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ 2) จัดทำแนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 180 คน ได้มาจากการเลือกแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นในการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า การลงเยี่ยมบ้านนักเรียน สังเกตสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( <strong><em> </em></strong>= 4.81) และ 2) แนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ตั้งคณะกรรมการค้นหา คัดกรองนักเรียนทุน (2) รับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติของนักเรียนทุน (3) ลงพื้นที่ค้นหา คัดกรองนักเรียนทุน และ (4) คัดกรองผ่านระบบ https://vec.thaieduforall.org/</p> Akkarat Poolkrajang Rinradee Papanai Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 215 231 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียน วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/270152 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กับนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ภาคเรียนที่ 1/2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย จำนวน 65 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 29 คน กลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มควบคุมจัดการเรียนรู้แบบปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test for independent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก</p> samoe vetsaton Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 54 71 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์ เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/252595 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีคุณภาพ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ลงเรียนรายวิชา 24121601 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่สร้างขึ้นประกอบด้วยการใช้งานมาร์คเกอร์ร่วมกับแอปพลิเคชัน 2) สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> <p> </p> ทศพล สิทธิ สุภาณี เส็งศรี กอบสุข คงมนัส Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมี รายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272325 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การ เป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) รายงานผลการใช้แนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 4) ประเมินผลการใช้ทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 19 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมือ จำนวน 19 คน รวมจำนวน 58 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด </p> Tipawan Wongwichien Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 202 214 การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267110 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 ได้แก่อาจารย์ผู้สอน การจัดการเรียนการสอน อาคารสถานที่ การบริการนักศึกษา และกิจกรรมนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 จำแนกตามชั้นปี และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม มีค่าความตรง 0.60-1.00 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่&nbsp; ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มที่เป็นอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) สรุปผลดังนี้ 1) ทัศนคติที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สภาพแวดล้อมด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ สภาพแวดล้อมด้านอาจารย์ผู้สอน ข้อที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริการนักศึกษา 2) ทัศนคติที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน จำแนกตามสาขาวิชาพบว่าระดับทัศนคติของนักศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอาคารสถานที่ ด้านกิจกรรมนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.05</p> somchat boonsri Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 150 163 สมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 ที่สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐต้องการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272476 <p>การพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นกำลังคนที่มีความต้องการสูงในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ควรพัฒนาในทุกด้านให้ตรงต่อความต้องการของสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐอย่างแท้จริงเพื่อประสิทธิภาพในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างตามความต้องการของตลาดแรงงานด้านธุรกิจการก่อสร้างเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาคนในสาขาวิชาช่างก่อสร้างต่อไป สมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญประกอบด้วย สมรรถนะด้านการใช้ทักษะชีวิต (Life Skills) สมรรถนะด้านทักษะ (Skill) สมรรถนะด้านความรู้ (Knowledge) และสมรรถนะด้านการคิด (Thinking) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาคนในสาขาวิชาช่างก่อสร้างต่อไปโดยเฉพาะสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน</p> Phadej Boonpeng Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 4 16 การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในนักเรียนรุ่นใหม่ของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/274359 <p>การบริหารจัดการสถานศึกษาในเรื่องของสุขภาพจิตกับนักเรียนรุ่นใหม่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจากการศึกษาปัญหาทางด้านภาวะสุขภาพจิตและผลกระทบด้านจิตใจของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จากการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) พบว่า มีนักเรียนที่ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์จนถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้า ดังนั้นการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง “การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในนักเรียนรุ่นใหม่ของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก” สามารถพัฒนานักเรียนรุ่นใหม่ในด้านความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิต ผ่านองค์ประกอบ 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับบุคคลอื่น (2) การเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของผู้อื่น (3) การควบคุมอารมณ์ตนเองในสภาวะต่างๆ โดยจะทำให้นักเรียนรุ่นใหม่มีภูมิคุ้มกันที่มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ผ่านการเอาใจใส่และให้คำแนะนำจากครูที่ปรึกษาและครูผู้สอน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้องร่วมมือกัน มุ่งมั่นที่จะพัฒนานักเรียนรุ่นใหม่อย่างเต็มกำลังความสามารถผ่านการดำเนินกิจกรรมของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลกอย่างสม่ำเสมอ</p> ปรีชา ตั้งสุขขีย์ศิริ Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2024-06-28 2024-06-28 8 15 17 30