T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3 <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>วัตถุประสงค์/ขอบเขต ของวารสารวิชาการ T-VET Journal</strong></span></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี ในด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ และด้านอื่นๆ ที่มีลักษณะทั้งเป็นรูปแบบ วิธีการ หรือสื่อสิ่งประดิษฐ์อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีวศึกษา และการศึกษา เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาสถานประกอบการ ชุมชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ต่อไป</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ครู อาจารย์ ในด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการนำผลวิจัยไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ และการฝึกอบรมวิชาชีพให้ได้ประโยชน์สูงสุด</p> th-TH vintc03@gmail.com (กองบรรณาธิการ) vintc03@gmail.com (นางสาวเจนจิรา พึ่งพร) Sat, 16 Nov 2024 12:58:22 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC โดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267276 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC กับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปีที่1 สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการ สุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในงานวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.70-1.00 3) แบบวัดทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ หาค่าความยากของงานมีค่าอยู่ที่ 0.83-0.95 และอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ที่ 0.68-0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D.= 0.18) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC มีประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>=84.58, E<sub>2</sub>=87.78) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 3) นักศึกษาคณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่งกว่าเกณฑ์ กำหนด</p> สุรเชษฐ์ อรัญนุมาศ, เมธา อึ่งทอง, น่านน้ำ บัวคล้าย Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267276 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 การสร้างและหาประสิทธิภาพรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273598 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนาสร้างรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า การหาประสิทธิภาพของรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และ เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบบันทึกประสิทธิภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้สถิติที่ใช้ในการทดลอง คือ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 คน</p> <p>ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า 1) การหาประสิทธิภาพของรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า คือ ปรับความเร็วมอเตอร์ระดับที่ 1 การใช้งานเฉลี่ย 101 นาที ปรับความเร็วมอเตอร์ระดับที่ 2 การใช้งานเฉลี่ย 67 นาที และ ปรับความเร็วการหมุนของมอเตอร์ระดับที่ 3 การใช้งานเฉลี่ย 34 นาที ค่าเฉลี่ยของความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่อยู่ที่ 59 นาที 2) การหาความพึงพอใจของผู้ใช้รถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ด้านการออกแบบชิ้นงานหัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ รูปทรงลักษณะทางกายภาพอุปกรณ์มีความเหมาะสม อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.8,S.D.=0.44) และ หัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ขนาดน้ำหนักของอุปกรณ์มีความเหมาะสม อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( =4.2,S.D.=0.44) ด้านการใช้งานหัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.8,S.D.=0.44) และหัวข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความเร็วในการชาร์จไฟ 1 ชั่วโมง อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( =4.2,S.D.=0.54) สรุประดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานรถวีลแชร์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.5,S.D.=0.50)</p> รัตนะ พาขุนทด, เจต ถาวร Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273598 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาโครงการ 2 เพื่อสร้างชุดควบคุมความดันลบสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสงยูวีซี โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ STEM ร่วมกับ MIAP ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/268459 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา หาประสิทธิภาพและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาโครงงาน 2 เพื่อสร้างชุดควบคุมความดันลบสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสงยูวีซี โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ STEM ร่วมกับ MIAP ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร จำนวน 17 คน ให้มีปะสิทธิภาพ 80/80 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ให้นักศึกษาเรียนจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในวิชาโครงงาน 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งภายหลังจากที่เรียนเสร็จในแต่ละครั้งจะทำการประเมินสมรรถนะภาคความรู้และภาคปฏิบัติจากใบกิจกรรม ใบมอบหมายงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)ประสิทธิผลของการพัฒนาการเรียนรู้มากกว่า .60 และ 3)ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.61</p> สมศักดิ์ หมอแสง Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/268459 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 ชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ควบคุมด้วย โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273693 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ควบคุมด้วย โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ 2) หาคุณภาพชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ชุดฝึกระบบนิวแมติกส์ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์จำนวน 20 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1)ดฝึกระบบนิวเมติกส์ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ มีคุณภาพอยู่ในระดับบดีมาก 2)ความพึงพอใจของผเรียนที่มีต้องชุดฝึกระบบนิวเมติกส์ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับบมากที่สุด</p> อุดมศักดิ์ พยัคฆเดช, เจริญ ทองหาญ, ธรรมนูญ ขำจิตต์ Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273693 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่เรียนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ ภาคเรียนวิชาไมโครคอนเลอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/268541 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง หาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินผล วิธีดำเนินการวิจัยโดยนำชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model ไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model มีประสิทธิภาพ 84.73/81.25 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน โดยรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ การปฏิบัติงานก่อให้เกิดทักษะ แรงจูงใจ และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เรียนที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งาน</p> เกษตร เมืองทอง Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/268541 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาแนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุนเข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273719 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นในการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ 2) จัดทำแนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 180 คน ได้มาจากการเลือกแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นในการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า การลงเยี่ยมบ้านนักเรียน สังเกตสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( <strong><em> </em></strong>= 4.81) และ 2) แนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ตั้งคณะกรรมการค้นหา คัดกรองนักเรียนทุน (2) รับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติของนักเรียนทุน (3) ลงพื้นที่ค้นหา คัดกรองนักเรียนทุน และ (4) คัดกรองผ่านระบบ https://vec.thaieduforall.org/</p> รินรดี ปาปะใน, อัคครัตน์ พูลกระจ่าง, วณิชย์ อ่วมศรี, ปานเพชร ชินินทร Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/273719 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/270152 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กับนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ภาคเรียนที่ 1/2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย จำนวน 65 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 29 คน กลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มควบคุมจัดการเรียนรู้แบบปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test for independent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก</p> เสมอ เวชสถล, มาลี แผงดี, สุธีรัตน์ คล้ายสมบูรณ์ Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/270152 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 พัฒนาสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์ เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/252595 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีคุณภาพ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ลงเรียนรายวิชา 24121601 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่สร้างขึ้นประกอบด้วยการใช้งานมาร์คเกอร์ร่วมกับแอปพลิเคชัน 2) สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> <p> </p> ทศพล สิทธิ, สุภาณี เส็งศรี, กอบสุข คงมนัส Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/252595 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272325 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การ เป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) รายงานผลการใช้แนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 4) ประเมินผลการใช้ทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 19 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมือ จำนวน 19 คน รวมจำนวน 58 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด</p> <p>2) แนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและการมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยการประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนที่ 1 (Plan) การวางแผนพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาฯ ขั้นตอนที่ 2 (Do) การดำเนินแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาฯ ขั้นตอนที่ 3 (Check) การกำกับติดตามการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาฯ ขั้นตอนที่ 4 (Act) การปรับปรุงการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาฯ</p> <p> 3) ศักยภาพการใช้แนวทางที่พัฒนาขึ้นกับศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาโดยสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงสุดจำนวน 20 ทีม ได้รับการประเมินในระดับ 5 ดาว และสถานศึกษา 37 ทีม ได้รับการประเมินในระดับ 4 ดาว และการต่อยอดธุรกิจที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในสถานศึกษา ภายใต้กิจกรรมโครงการอาชีวะสร้างสรรค์แปรฝันสู่ธุรกิจ หรือ RRR Awards จำนวน 19 โครงการ โดยมีรายได้จากการดำเนินงานในช่วงเดือน กันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทั้งสิ้น 744,198 บาท</p> <p> 4) แนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและมีรายได้ระหว่างเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด</p> ทิพวรรณ์ วงศ์เชียร Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272325 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267110 <p>บทคัดย่อ</p> <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง1 และ2) เปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 จำแนกตามชั้นปี และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม มีค่าความตรงเท่ากับ 0.60-1.00 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มที่เป็นอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สภาพแวดล้อมด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ สภาพแวดล้อมด้านอาจารย์ผู้สอน ข้อที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การบริการนักศึกษา 2) ทัศนคติที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน จำแนกตามสาขาวิชาพบว่าระดับทัศนคติของนักศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอาคารสถานที่ ด้านกิจกรรมนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.05</p> นนทพงศ์ ยอดทอง, นวลปรางค์ ภาคสาร, บุญเรือน เอกสนธิ์, ขวัญดาว ศิริแพทย์, สมชาติ บุญศรี Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267110 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272417 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิค สุโขทัย 2. สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 3. ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 4. เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยา ลัยเทคนิคสุโขทัย โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทาง การพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และครูของสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีในเรื่องของงานครูที่ปรึกษา จำนวน 3 แห่ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย โดยการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจำ นวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างในการทดลองได้แก่ ครูที่ปรึกษาจำนวน 86 คน โดยแบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ปรึกษาจำนวน 92 คน และผู้เรียนจำนวน 327 คน แบบสอบถาม</p> <p>ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วิธีการพัฒนาครูที่ปรึกษามี 4 วิธีคือ ด้านการพัฒนาด้วยระบบของประเทศ ด้านการพัฒนาจากหน่วย งานต้นสังกัด ด้านการพัฒนาจากเครือข่ายวิชาชีพ และด้านการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาครูที่ปรึกษามี 5 กระบวนการคือ ด้านการวิเคราะห์ปัญหา ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติตามแผน ด้านการประเมินผล และด้านการพัฒนา องค์ประกอบที่ 3 คุณลักษณะของครูที่ปรึกษา มี 5 ด้านคือ ด้านความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการช่วยเหลือผู้เรียนทางการเรียน และด้านการช่วยเหลือผู้เรียนทางสังคม ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบผู้วิจัยได้นำร่างรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย นำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ฯ โดยจัดสนทนากลุ่มซึ่งผู้ ทรงคุณวุฒิได้วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะหลังจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไข ตามฉันทามติของผู้ทรงคุณวุฒิ จึงได้รูปแบบที่เหมาะสม ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยทั้ง 3 องค์ประกอบกับครูที่ปรึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 86 คน ซึ่งครูที่ปรึกษาได้ทดลองใช้ตามคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัย เทคนิคสุโขทัยพบว่า ครูที่ปรึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</p> ธวัช สอนง่ายดี Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272417 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267253 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนเรื่อง การเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ 80/80 กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ ภาคครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ แบบฝึกหัดระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียน แบบวัดทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ และแบบประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดฝึกทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ81.45/81.03 2 )ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน เรื่อง การเขียนเสน้ในงานเขียนแบบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIPA ร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกล่าวเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติวิจัย 0.05</p> ชลันธรณ์ สุดอุดม, เมธา อึ่งทอง, วรวุฒิ กังหัน Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/267253 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในนักเรียนรุ่นใหม่ของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/274359 <p>การบริหารจัดการสถานศึกษาในเรื่องของสุขภาพจิตกับนักเรียนรุ่นใหม่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจากการศึกษาปัญหาทางด้านภาวะสุขภาพจิตและผลกระทบด้านจิตใจของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จากการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) พบว่า มีนักเรียนที่ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์จนถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้า ดังนั้นการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง “การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในนักเรียนรุ่นใหม่ของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก” สามารถพัฒนานักเรียนรุ่นใหม่ในด้านความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิต ผ่านองค์ประกอบ 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับบุคคลอื่น (2) การเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของผู้อื่น (3) การควบคุมอารมณ์ตนเองในสภาวะต่างๆ โดยจะทำให้นักเรียนรุ่นใหม่มีภูมิคุ้มกันที่มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ผ่านการเอาใจใส่และให้คำแนะนำจากครูที่ปรึกษาและครูผู้สอน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้องร่วมมือกัน มุ่งมั่นที่จะพัฒนานักเรียนรุ่นใหม่อย่างเต็มกำลังความสามารถผ่านการดำเนินกิจกรรมของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลกอย่างสม่ำเสมอ</p> ปรีชา ตั้งสุขขีย์ศิริ Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/274359 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 ที่สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐต้องการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272476 <p>การพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นกำลังคนที่มีความต้องการสูงในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ควรพัฒนาในทุกด้านให้ตรงต่อความต้องการของสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐอย่างแท้จริงเพื่อประสิทธิภาพในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างตามความต้องการของตลาดแรงงานด้านธุรกิจการก่อสร้างเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาคนในสาขาวิชาช่างก่อสร้างต่อไป สมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญประกอบด้วย สมรรถนะด้านการใช้ทักษะชีวิต (Life Skills) สมรรถนะด้านทักษะ (Skill) สมรรถนะด้านความรู้ (Knowledge) และสมรรถนะด้านการคิด (Thinking) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาคนในสาขาวิชาช่างก่อสร้างต่อไปโดยเฉพาะสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน</p> เผด็จ บุญเป็ง, พูนชัย ยาวิราช, ไพโรจน์ ด้วงนคร, ไพรภ รัตนชูวงศ์ Copyright (c) 2024 T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/272476 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700