วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS <p>เพื่อเป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผลงานในเชิงบูรณาการหลักรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ บริหารการศึกษา พระพุทธศาสนาปรัชญา และนิติศาสตร์ ตลอดจนบทความวิชาการที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ และประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม มีกำหนดเผยแพร่วารสารฉบับปกติ (Regular Issues) ปีละ 6 ฉบับ </p> Learning Organization Network of Political Science th-TH วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2730-2970 Grammar and Plagiarism Checking for English Learners: The Case of Grammarly Users https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273405 <p><strong>Abstract:</strong></p> <p>&nbsp;</p> <p>In recent decades, digital technology and artificial intelligence (AI) have evolved dramatically, and there have been an increasing number of applications to support language instruction effectively, and English writing skill teaching in particular: the qualitative documentary study and content analysis were used in the literature review. The literature review was conducted using the following databases: EBSCO, Google Scholar, Scopus, Web of Science, and ScienceDirect. Purposive sampling was employed to undertake six interviews with a university student majoring in English in Thailand. Semi-structured interviews were employed. Content analysis of credible and legitimate sources was made. NVivo was used to analyze the literature review data. The findings reveal that all students perceived that English proficiency via communication and writing could improve their skills if they used Grammarly to generate articles with numerous unique ideas and correct grammar and if lecturers encouraged students to use Grammarly to instruct and learn. From the same perspective, Grammarly is one of the educational technology devices that impacts students' writing, both what they write and how they write. AI has made it easier for students to prepare, write, and edit themselves. Many tools have been developed to enhance the process of teaching and learning writing due to the problems that students have in learning how to write and the benefits of employing technology in language instruction. Grammarly is one such AI tool for educational technology in English academic writing. This software is frequently used at many colleges and institutions worldwide and is thought to be helpful. Based on the practical demands and the utility of Grammarly, some valuable advice is provided for adequately utilizing the programme to reduce students' writing errors and avoid plagiarism. The recommendation is to consider a quantitative questionnaire for general explanation in further study.</p> penpim phuangsuwan Supaprawat Siripipatthanakul Pongsakorn Limna Sutithep Siripipattanakul Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 1 20 Strategic Management for Academic Excellence in Middle School Administration: Navigating the Digital in Chongqing, China. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271571 <p>The objectives of this study were: 1) to study strategic management in the digital age toward excellence in academic administration in middle schools in Chongqing, China; 2) to study the scope of academic administration; and 3) to study the relationship between strategic management in the digital age and the scope of academic administration in middle schools in Chongqing, China. With a sample size of 363.31 people, the research tools for this research and the questionnaire were five-level rating scales. The statistics used for data analysis were frequency distribution, percentage, average, standard deviation, and multiple regression.</p> <p>The study's findings show that while participants, mainly young female principals with doctoral degrees, recognize the importance of various strategic management aspects in academic administration, there remains a disconnect between strategic management in the digital age and the broader scope of academic administration. This suggests a pressing need to address teachers' workload and enhance the workplace environment. Despite the emphasis on teaching content, teachers require additional skill development and digital teaching tools to adequately prepare for the digital era. This research adds valuable insights to the evolving discourse on the role of strategic management in academic administration in today's digital age.</p> Wenbo Qin Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 21 36 นวัตกรรมการตลาดที่นำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจโรงพิมพ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272831 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1). เพื่อศึกษาสภาพของธุรกิจโรงพิมพ์ โดยเน้นศึกษาปัญหาด้านการตลาดของธุรกิจโรงพิมพ์ในปัจจุบัน 2). เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการตลาดที่นำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจโรงพิมพ์ 3).เพื่อพัฒนาแบบจำลองธุรกิจที่เป็นต้นแบบของนวัตกรรมการตลาดที่นำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจโรงพิมพ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการโรงพิมพ์ และลูกค้าของโรงพิมพ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 146 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) การวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) สามารถหาความสัมพันธ์เพื่อการพยากรณ์แบบถดถอยเชิงเส้น (Liner Regression Analysis) &nbsp;และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 12 รายจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นจะตรวจสอบข้อมูลแบบ Triangulation และการสร้างข้อสรุปอุปนัยผลการศึกษาพบว่า</p> <p>สภาพของธุรกิจโรงพิมพ์โดยเน้นศึกษาปัญหาด้านการตลาดของธุรกิจโรงพิมพ์ในปัจจุบันพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ภาพรวม พบว่าในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (= 3.909 S.D = 0.619)&nbsp; เมื่อจำแนกรายด้าน&nbsp; ด้านที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) &nbsp;(= 3.980 S.D = 0. 720) ด้านกระบวนการ (Process) (= 3.947 S.D = 0. 670) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion)&nbsp; &nbsp;&nbsp;(= 3.927 S.D = 0. 662) ตามลำดับ ผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการตลาดที่นำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจโรงพิมพ์ พบว่าปัจจัยด้านความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงลบจาก ปัจจัยด้านนวัตกรรม (Innovation)&nbsp; อยู่ในระดับต่ำ (Direct Path Coefficient = -0.01)&nbsp; ปัจจัยด้านความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงลบจากปัจจัยด้านนวัตกรรม (Innovation) อยู่ในระดับต่ำ (Direct Path Coefficient = -0.11) และ ปัจจัยด้านความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) อยู่ในระดับต่ำ (Direct Path Coefficient = -0.05)ปัจจัยด้านผลสำเร็จอย่างยั่งยืน (Sustainable) ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงลบจากปัจจัยด้านนวัตกรรม (Innovation) อยู่ในระดับต่ำ (Direct Path Coefficient = -0.04) ปัจจัยด้านความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) อยู่ในระดับต่ำ (Direct Path Coefficient = -0.02) ผลการพัฒนาแบบจำลองธุรกิจที่เป็นต้นแบบของนวัตกรรมการตลาดที่นำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจโรงพิมพ์พบว่าการเพิ่มมูลค่าของสินค้านั้น ต้องมุ่งเน้นคุณภาพของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และบริการที่เป็นมิตร ซึ่งลูกค้าในปัจจุบันคือกลุ่มหน่วยงานราชการ บริษัทใหญ่ๆ&nbsp; การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายด้วยเทคโนโลยีที่สามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว</p> ธนิดา กิจจารักษ์ ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 37 54 การถือครองเงินสดและอัตราการเจริญเติบโตของบริษัทในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273006 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการถือครองเงินสดกับผลการดำเนินงานโดยวัดค่าจากการเจริญเติบโตของบริษัทในประเทศไทย และเพื่อเป็นข้อมูลให้นักลงทุนในการใช้งบการเงินวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตอันจะทำให้มีการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 358 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลที่ได้จากการวิจัย พบว่า การเจริญเติบโตของบริษัทในด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และ ด้านอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการถือครองเงินสด ส่วนการเจริญเติบโตของบริษัทในด้านอัตราการเจริญเติบโตของสินทรัพย์ และ ด้านอัตราการเจริญเติบโตของยอดขาย ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการถือครองเงินสด</p> พรชนก เฉลิมพงษ์ รุ่งรัศมี ดีปราศัย Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 55 72 การมีส่วนร่วมของบุคลากรภาครัฐในการพัฒนาองค์กรเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัล ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273632 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาถึงระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรภาครัฐในการพัฒนาองค์กรเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัล 2. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรค ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรภาครัฐในการพัฒนาองค์กรเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัล 3. เพื่อศึกษาถึงแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรภาครัฐในการพัฒนาองค์กรเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ จำนวน 260 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane โดยใช้หลักการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลให้ครบตามต้องการโดยไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทำการพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านกรอบความคิดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ปัญหาและอุปสรรค คือ 1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางส่วนยังเก่า 2. ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง 3. การจัดฝึกอบรมด้านทักษะดิจิทัลไม่สม่ำเสมอ 4. การใช้งานระบบสารสนเทศมีความซับซ้อน 5. ขาดการประชุมของทุกสายงานร่วมกัน 6. การออกแบบระบบมีความซ้ำซ้อน โดยข้อเสนอแนะ คือ 1. ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 2. กำหนดตัวชี้วัดเรื่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3. ควรมีการประชุมหารือกันทุกภาคส่วน 4. จัดอบรมสร้างองค์ความรู้ด้านดิจิทัล 5. ประชาสัมพันธ์ระบบต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์ 6. ผู้นำองค์กรควรเป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีมาใช้</p> นครินทร์ โพธิ์วุฒินุกูล สุริยะ ประกายสาธก Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 73 95 กลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทย ภายใต้มาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/270679 <p>งานวิจัยนี้ศึกษา มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) และ ผลกระทบต่อการปรับกลยุทธ์ของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ไทย ผ่านตัวแบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการแข่งขันอันประกอบด้วย การวิเคราะห์ SWOT และ TOWS เมทริกซ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจกล้วยไม้ไทยภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี 2) วิเคราะห์กลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ประกอบการส่งออกกล้วยไม้ไทยภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี และ 3) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทยภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมโดยการค้นคว้ารวบรวมทั้ง แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการสร้างกรอบแนวคิดของการวิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และ นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยประกอบด้วย 1) บริบทและสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน โดยใช้ SWOT Analysis เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและความท้าทายของธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ไทยภายใต้การกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี 2) การวิเคราะห์กลยุทธ์จากการใช้จุดแข็ง (Strengths) ในการรับมือภัยคุกคาม (Threats) การใช้จุดแข็งเพื่อรับมือกับอุปสรรค (ST) ในการส่งออกกล้วยไม้ไทย โดยใช้ TOWS Matrix เป็นเครื่องมือ 3) ผลลัพธ์จากการทำ TOWS Matrix นำมากำหนดเป็นกลยุทธ์การแข่งขันภายใต้มาตรกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ข้อเสนอแนะหลักจากผลการวิจัย ได้แก่ การรวมกลุ่มผู้ประกอบการเป็นคลัสเตอร์เพื่อเพิ่มอำนาจการเจรจาต่อรอง การเชื่อมโยงเครือข่ายฐานข้อมูลภาครัฐเพื่อสร้างความได้เปรียบในเวทีการค้าโลก และ การเพิ่มความสามารถในเชิงแข่งขันของผู้ประกอบการไทยบนพื้นฐานของนวัตกรรมการผลิต การตลาด ตลอดจนการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล</p> อัญชราภรณ์ เลาหรุ่งพิสิฐ ไชยนันท์ ปัญญาศิริ ภัสสรกันต์ ทรัพย์มหาโชค Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 96 112 บทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272766 <p> งานวิจัยเรื่อง บทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา 2) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา และ 3) เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 18 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ จำนวน 6 คน หัวหน้าคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา จำนวน 6 คน และเจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการในวุฒิสภา จำนวน 6 คน จากการวิจัยพบว่า 1) ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา พบว่า คณะกรรมาธิการเป็นองค์กรภายในวุฒิสภาที่ประกอบด้วยบุคคลที่ได้รับเลือกจากสมาชิกวุฒิสภา หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ที่วุฒิสภาแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ตามที่วุฒิสภามอบหมาย และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้รายงานต่อสภา 2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา พบว่า บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ คือ การพิจารณาร่างกฎหมายที่เข้าสู่การพิจารณารัฐสภา การรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะและนำข้อมูลสภาพปัญหาความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภา และ 3) แนวทางการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา พบว่า คณะกรรมาธิการในวุฒิสภาต้องดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ ทั้งการใช้ดุลพินิจและการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา ต้องไม่เป็นการลิดรอนหรือบั่นทอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและเป็นไปตามหลักนิติธรรม คณะกรรมาธิการในวุฒิสภาควรได้รับทรัพยากรที่จำเป็น รวมถึงเจ้าหน้าที่ เอกสารการวิจัย และเทคโนโลยี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งรายงานได้อย่างทันท่วงทีไปยังวุฒิสภา</p> พรชัย สุทธิวรชัย Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 113 128 ผลสัมฤทธิ์การพัฒนายุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดีเด่น) กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพะเยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273496 <p>บทคัดย่อ<br>​ บทความวิจัยนี้ นำเสนอการศึกษาผลสัมฤทธิ์การพัฒนายุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดีเด่น) กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่บรรลุผลสัมฤทธิ์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ การพัฒนา และ 3) หาแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้สูตร IOC ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา 6 แห่ง จำนวน 30 คน <br>ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการในการกำหนดยุทธศาสตร์และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ จังหวัดพะเยา มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การวิเคราะห์นโยบายและวิสัยทัศน์ (2) การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล (3) การกำหนดแผนดำเนินงาน (4) การกำหนดยุทธศาสตร์ (5) การลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ (6) การสร้างความเป็นเจ้าของ และ (7) การขยายผลการดำเนินงาน 2) ปัจจัยที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ มี 5 ปัจจัย ดังนี้ (1) ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่เปิดกว้าง เข้มแข็งและไม่รวมอำนาจ (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ (3) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น (4) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ (5) ทักษะ ความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และ 3) แนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบผลสัมฤทธิ์ จังหวัดพะเยา จากการสังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย คือ ตัวแบบ FGCE มีองค์ประกอบ ได้แก่ (1) การกำหนดยุทธศาสตร์และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ (2) การวางแผนยุทธศาสตร์ภาครัฐ (3) องค์ประกอบที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ และ (4) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานราชการ</p> พระครูวราศักดิ์ เรือนสอน Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 129 149 The Influence of Airline Service Quality on Customer Loyalty with Customer Satisfaction as a Mediator https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272238 <p>This research investigates the complex correlation between the quality of airline services, customer satisfaction, and customer loyalty in Chongqing, China. Using Structural Equation Modeling (SEM), we analyzed the direct influence of service quality on customer satisfaction and its subsequent impact on loyalty in a sample of 323 individuals with diverse income levels. The structural equation modeling (SEM) research showed that the service quality construct, which encompasses dependability, responsiveness, assurance, and empathy, had a path coefficient 1.00. This indicates a virtually perfect positive impact on customer satisfaction. Moreover, customer satisfaction was a significant mediator in the connection, with a path coefficient of .28, indicating a substantial impact on customer loyalty. The research objective was to investigate the relationship between service quality and customer loyalty, assess the significant impact of these elements, and develop a model to understand their interconnectedness in the airline industry in Chongqing. The empirical data supported a high-fidelity model, as shown by favorable fit indices such as GFI, AGFI, CFI, and TLI, an appropriate ratio of Chi-square to degrees of freedom, and a significant p-value. The low RMSEA and RMR values further supported the model's integrity, while the high NFI suggested significant predictive potential. The results emphasize the crucial need for airlines to prioritize service quality to improve customer happiness. The emphasis on this aspect is vital for cultivating loyalty, which is essential for attaining long-term commercial prosperity. This research highlights the significance of ongoing enhancements in service quality to establish a devoted client base, which is crucial to gaining a competitive advantage and achieving profitability in Chongqing's fiercely competitive aviation market. The strong statistical evidence and practical consequences of this study support adopting a customer-centric strategy for business operations in the airline industry.</p> Yuyao Wu Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 150 171 ภาวะผู้ตามที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพลสำนักนโยบายและแผนกลาโหม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273544 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้ตามที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสำนักนโยบายและแผนกลาโหม และ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกำลังพลสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 235 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน โดยการใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise) ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ระดับภาวะผู้ตามในการปฏิบัติงานของกำลังพลสำนักนโยบายและแผนกลาโหม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ผู้ตามแบบมีประสิทธิพลมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบทำงานเอาตัวรอด ผู้ตามแบบปรับตาม และผู้ตามแบบห่างเหิน ตามลำดับระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพลสำนักนโยบายและแผนกลาโหม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ <br>ด้านความถูกต้องในการปฏิบัติงาน มีค่ามากที่สุด รองลงมาคือด้านความสำเร็จตรงเวลาในการปฏิบัติงาน <br>ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการปฏิบัติงาน ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในการปฏิบัติงาน และด้านความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ ภาวะผู้ตาม<br>ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพลสำนักนโยบายและแผนกลาโหม มีประสิทธิภาพร่วมกัน ร้อยละ 36.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> Tunyaporn Jeemali Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-15 2024-06-15 7 3 190 205 ผลการปฏิบัติงานของพนักงานของเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273655 <p>การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการปฏิบัติงานของพนักงานของเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ศึกษาเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของพนักงานของเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานของเทศบาลตำบลรอนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช&nbsp; จำนวน 110 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การทดสอบสมมติฐาน t-test&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานของเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน (2) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของพนักงานของเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ด้านสมรรถนะ ด้านการกระจายอำนาจ และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานของเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ธัญสุดา ด้วงแก้ว อำนวย ปิ่นพิลา Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-15 2024-06-15 7 3 206 216 แนวนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/269396 <p>การศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี และ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาแรงงานฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน 3 ท่าน ผู้บริหารอำนวยการระดับสูงกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 3 ท่าน ผู้บริหารอำนวยการระดับต้นกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 3 ท่าน บริหารระดับสูงกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมจำนวน 3 ท่าน ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมแห่งชาติจำนวน 1 ท่าน และ รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมแห่งชาติจำนวน 2 ท่าน และผู้บริหารระดับสูงอุดมศึกษาภาครัฐที่เป็นส่วนราชการจำนวน 2 ท่าน รวมทั้งสิ้น 17 ท่าน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลให้การตีความ หรือแปลความจากบทสัมภาษณ์ ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตามวัตถุประสงค์ข้อที่1 เพื่อศึกษาแนวนโยบายด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานไทบเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี&nbsp; ผลการศึกษาพบว่าแนวนโยบายด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ประกอบด้วยแนวทาง 6 ด้านได้แก่ (1) การพัฒนาสมรรถนะฝีมือแรงงานไทยด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่ และระบบดิจิตอลในการตอบสนองตลาดแรงงานภายในประเทศและต่างประเทศ (2)ความสามารถ (Ability) และความเชี่ยวชาญของแรงงานในการตอบสนองอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (3) การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในความรู้ใหม่ๆและเพิ่มทักษะในวิทยาการสมัยใหม่ตลอดเวลา (4) ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม (5) การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าในระดับสูง (6) การพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้รองรับความต้องการของตลาดแรงงานโลก&nbsp;&nbsp; วัตถุประสงค์ที่2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์&nbsp; ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาแรงงานฝีมือไปปฏิบัติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้แก่ (1) การจัดทำแผนงาน โครงการ และแผนปฏิบัติการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย ให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์ชาติ20ปีและความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ (2)การมีงบประมาณที่เพียงพอกับการที่จะพัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละภาคส่วน (3) หน่วยงานรับผิดชอบมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการนำนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติ (4) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (5) การมีระบบ ติดตาม ควบคุมและการประเมินผล&nbsp; และจาก วัตถุประสงค์ข้อที่3 เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ &nbsp;สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการนำแนวนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติ ได้แก่&nbsp; (1)การที่นายจ้างไม่เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ปรับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงไม่ส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (2)การขาดงบประมาณในการจัดทำโครงการต่างๆ ที่จะส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และการจัดทำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเช่นการจัดทำข้อมูล Big Data เชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ สถานศึกษา และข้อมูลแรงงาน (3)ขาดการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ให้บรรลุผลสำเร็จ (4)การประสานงานระหว่างหน่วยยังไม่สามารถดำเนินการไปด้วยดี เนื่องจากมีหลายหน่วยงานค่อนข้างมาก จึงทำให้เป็นปัญหา อุปสรรค ในการทำงานที่บางครั้งมีความเข้าใจไม่สอดคล้องกัน&nbsp;&nbsp; โดยจากวิจัยมีข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยได้แก่สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน และภาคเอกชน จะต้องร่วมมือและประสานงานกันในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการพัฒนาแรงงานในทุกมิติและในทุกช่วงวัยทั้งที่อยู่ในวัยศึกษา วัยแรงงาน และวัยนอกแรงงานให้เป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพ มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง&nbsp; เพื่อให้มีสมรรถนะตอบสนองอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต</p> <p>&nbsp;</p> หทัยกาญจน์ ทวีทอง Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-15 2024-06-15 7 3 217 233 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาคอุตสาหกรรมไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273490 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาคอุตสาหกรรมไทย และ 2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาคอุตสาหกรรมไทย เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 285 ราย และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน จากผู้ประกอบการ ผู้บริหารหน่วยงานรัฐ และนักวิชาการ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.812 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.834 ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีน้ำหนักของความสัมพันธ์ด้านความรู้ความสามารถของพนักงาน มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการออกแบบและพัฒนาการผลิต ด้านจัดการเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิต และด้านการวางแผนและการควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับโดยทั้ง 4 องค์ประกอบ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า องค์ประกอบทั้งสี่เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อการจัดการการผลิตสมัยใหม่โดยการผลิตที่ผสมผสานกันระหว่างแรงงานฝีมือกับเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถพัฒนายกระดับฝีมือแรงงงานให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความรู้ทักษะและความสามารถด้วยระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนารูปแบบชิ้นงานเครื่องประดับให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พัฒนพงษ์ สุหญ้านาง ทิฆัมพร พันลึกเดช สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-25 2024-06-25 7 3 234 250 บทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/273656 <p>การวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้นำท้องถิ่นเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมุ่งทบทวนและรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้นำท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาล และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มผู้นำท้องถิ่นของเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ 1) นายกเทศมนตรี 2) ปลัดเทศบาล 3) ประธานสภาเทศบาล 4) ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และ 5) สมาชิกสภาเทศบาล</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้นำท้องถิ่นนั้นได้มีการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่การแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และได้มีการนำหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 หลัก คือ 1) ด้านหลักนิติธรรม 2) ด้านหลักคุณธรรม 3) ด้านหลักความโปร่งใส 4) ด้านหลักความมีส่วนร่วม 5) ด้านหลักความรับผิดชอบ 6) ด้านหลักความคุ้มค่า มาใช้ในการปกครองและบริหาร ซึ่งหลักธรรมาภิบาลถือเป็นหัวใจสำคัญต่อการบริหารงานของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและบุคคลจะทำให้ช่องว่างของการทุจริตคอร์รัปชันลดลง มีความโปร่งใส ไร้ข้อครหาต่าง ๆ ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นและสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นธรรม</p> ปฏิพล บุญชัยศรี กฤษณะ จันทร์เรือง Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-29 2024-06-29 7 3 251 267 การดำเนินชีวิตให้อยู่ยืนยาวถึง 100 ปี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272376 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตให้อยู่ยืนยาวถึง 100 ปี การวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลเก็บรวบรวมได้จากเอกสารต่างๆ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โสตทัศนวัสดุ และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้รู้เรื่องดี 10 ท่าน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทำการวิเคราะห์โดยวิธีการต่างๆ ต่อไปนี้ การจำแนกแยกแยะเป็นประเภทต่างๆ การทำข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ การเอาข้อมูลมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การสังเคราะห์และการสรุปความ</p> <p>การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยเปิดเผยให้รู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินชีวิตให้มีอายุยืนถึง 100 ปี ซึ่งมีดังนี้ การดูแลจิตใจ การดูแลจิตวิญญาณ การรักษาพลังงานให้อยู่ในระดับสูง การรู้จักดูแลตัวเอง การลดความเครียด การเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชั่วอายุคนต่างๆ และผู้คนในหลายๆ วงการ การกินอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกาย เพื่อรักษาความทนทาน ความแข็งแรง และโครงสร้างของร่างกายให้อยู่สภาพที่ดี การหลีกเลี่ยงสาเหตุการตายจากโรคต่างๆ ที่สามารถป้องกันได้ (เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคไต และโรคแอลไซเมอร์ส) การอาศัยอยู่ในเขตที่มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี (เช่น ใกล้ทะเล ใกล้ภูเขา และเขตชนบท) การประหยัดเงิน เพื่อความมั่นคง และความสำเร็จตลอดชีวิต และการแสวงหาความสงบทางใจพร้อมๆ กับการแสวงหาความสุขในชีวิต</p> สถิตย์ นิยมญาติ ณัฐวรรณ สาสิงห์ ชินภัทร พุทธชาติ วิเชียร รุจิธำรงกุล ฐิติพร ขีระจิตร Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ 2024-06-07 2024-06-07 7 3 172 189