วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS <p>เพื่อเป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผลงานในเชิงบูรณาการหลักรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ บริหารการศึกษา พระพุทธศาสนาปรัชญา และนิติศาสตร์ ตลอดจนบทความวิชาการที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ และประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม มีกำหนดเผยแพร่วารสารฉบับปกติ (Regular Issues) ปีละ 6 ฉบับ </p> th-TH [email protected] (Sunthan Chayanon) [email protected] (Kunthida Unjit) Mon, 18 Mar 2024 12:58:09 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 The การคุกคามทางเพศต่อเพศชายในโลกออนไลน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/269606 <p>การศึกษาเรื่อง การคุกคามทางเพศต่อเพศชายในโลกออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหมายสาเหตุและพฤติกรรมของการคุกคามทางเพศต่อเพศชายในโลกออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์การคุกคามทางเพศต่อเพศชายในโลกออนไลน์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า การคุกคามทางเพศในเพศชาย (Sexual harassment of males) คือ การกระทำหรือพฤติกรรมที่ทำร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อเพศชายในเรื่องทางเพศหรือเพศสภาพ โดยมีสาเหตุการเกิดการคุกคามทางเพศต่อเพศชาย คือ การนำเรื่องเพศมาแสวงหาประโยชน์ทางธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค ซึ่งสามารถจำแนกพฤติกรรมการคุกคามทางเพศต่อเพศชาย ได้แก่ การคุกคามทางคำพูด การคุกคามทางสายตาและสีหน้า และการคุกคามทางข้อความที่เขียนหรือพิมพ์ลงในสื่อสังคมออนไลน์และสถานการณ์การคุกคามทางเพศต่อเพศชายในโลกออนไลน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต จากสถิติและรายงานการประชุมรายงานเชิงวิชาการที่อธิบายถึงจำนวนเพศชายที่ถูกคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การศึกษาข้อมูลสถานการณ์การคุกคามทางเพศต่อเพศชายในโลกออนไลน์นั้นแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนควรได้รับสิทธิและศักดิ์ศรีอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศใดทุกคนควรได้รับสิทธิและศักดิ์ศรีอย่างเท่าเทียมเพื่อลดปัญหาการคุกคามทางเพศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต</p> maythita chirakitbunya, ธันยวรรธน์ เจริญสุข Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/269606 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสำคัญและประโยชน์ของคณะกรรมาธิการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271997 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คณะกรรมาธิการถือเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการดำเนินงานของรัฐสภา เนื่องจากรัฐสภามีอำนาจและหน้าที่กว้างขวางและครอบคลุมกิจการทุกด้านของประเทศ จะต้องพิจารณาปัญหากฎหมายที่หลากหลาย ดังนั้น จึงทำให้รัฐสภาจะต้องรับทราบข้อเท็จจริงและความเป็นไปในด้านต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาและการตัดสินใจแต่ด้วยข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณงานของรัฐสภาได้ รวมถึงสมาชิกมีระยะเวลาในการประชุมที่จำกัด และสมาชิกรัฐสภาแต่ละบุคคลมีองค์ความรู้และความสามารถที่แตกต่างกัน รัฐสภาจึงจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่ง เพื่อรับผิดชอบในการพิจารณากฎหมายเฉพาะเรื่องหรือเพื่อดำเนินงานในกิจการต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ของสภา และตามที่ได้รับมอบหมาย ส่งผลดีทำให้สมาชิกสามารถเข้าใจถึงปัญหาและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้คณะกรรมาธิการมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว</p> พรชัย สุทธิวรชัย, วิจิตรา ศรีสอน Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271997 Thu, 18 Apr 2024 00:00:00 +0700 เรื่อง ภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/270936 <p>ภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่งผลให้หน่วยงานได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจะวัดประสิทธิผลแบบตัวบ่งชี้เดี่ยว แต่ปัญหาที่สำคัญคือ การยากที่จะยอมรับได้ว่าตัวบ่งชี้เดี่ยวเหล่านี้ จะมีความหลากหลายและครอบคลุมและเพียงพอต่อการวัดภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพราะหน่วยงานโดยทั่วไป จะมีวัตถุประสงค์หลายประการ การที่จะประเมินภาวะผู้ตามโดยใช้ตัวบ่งชี้เดี่ยวจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะจะไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาวะผู้ตามทั้ง 5 ด้าน กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยตัวแปรที่สำคัญ ๆ เข้ามาเป็นเกณฑ์ในการประเมินภาวะผู้ตาม และควรมีการวัดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยใช้ตัวบ่งชี้หลายตัว<br>เพื่อให้ผลการประเมินเกิดประโยชน์และส่งผลต่อการพัฒนาหน่วยงานและต้องคำนึงถึงนโยบายของหน่วยงาน ทิศทางการพัฒนา และความคุ้มค่าในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานมากที่สุด</p> <p><strong>คำสำคัญ (</strong><strong>Keywords): &nbsp;</strong>ภาวะผู้ตาม, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน</p> <p>&nbsp;</p> ธัญพร จี๋มะลิ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/270936 Thu, 25 Apr 2024 00:00:00 +0700 การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยุค Society 5.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272193 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความเสี่ยงภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยุค Society 5.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยุค Society 5.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยุค Society 5.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (ประเภทนิติบุคคล) จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.778 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.823 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลวิจัยพบว่า การบริหารความเสี่ยงภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยุค Society 5.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.104, S.D.= 0.521) และมีการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยุค Society 5.0 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.807, S.D.= 0.687) สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การบริหารความเสี่ยงทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ คือ ด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการบ่งชี้เหตุการณ์ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านการตอบสนองความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามประเมินผล แตกต่างกัน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยุค Society 5.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และด้านการเงิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์, อรวรรณ จำพุฒ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272193 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271037 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน และ 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรี จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.834 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน พบว่า อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.676, S.D. = 0.505) และมีการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน พบว่า อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.790, S.D. = 0.534) และพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการเรียนรู้ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และด้านการพึ่งตนเอง สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืน ได้ร้อยละ 40.80 (R<sup>2</sup> = 0.408) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับแนวทางการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีอย่างยั่งยืนคือ ภาครัฐควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน และภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้นำชุมชนให้เข้าใจถึงขั้นตอนการพัฒนาชุมชนอย่างถูกต้อง รวมถึงหน่วยงานรัฐควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนโดยการสื่อสารที่ดีกับชุมชนให้มากขึ้นและเปิดโอกาสประชาชนให้แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลความต้องการของชุมชนเพื่อให้การพัฒนาชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้แท้จริง</p> พรรณวิภา ศุภธนพัฒน์ , ฉัตรชัย เทียมลม, ชัยณรงค์ ณ ลำพูน, สุรินทร์ โซนี่ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271037 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการโรงแรม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271035 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการโรงแรม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการโรงแรม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการธุรกิจโรงแรม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการโรมแรมอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 275 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.941 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคาดหวังในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการ ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.746, S.D. = 0.665) สูงกว่าความพึงพอใจโดยรวม ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.671, S.D. = 0.593) ตามลำดับ ปัจจัยด้านราคา อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.019, S.D. = 0.732) และปัจจัยด้านการรับรู้ อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.938, S.D. = 0.737) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการโรงแรมอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า โมเดลมีความเหมาะสมสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับแนวการพัฒนาคุณภาพการให้บริการธุรกิจโรงแรม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ ควรมีช่องทางการติดต่อที่หลากหลายและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องพักควรทำความสะอาดอยู่เสมอ &nbsp;พนักงานโรงแรมควรสังเกตพฤติกรรมของผู้มาใช้บริการทุกคน &nbsp;พนักงานควรมีความรู้ด้านภาษาเพื่อให้สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ และควรมีการสังเกตพฤติกรรมของผู้มาใช้บริการที่แตกต่างกันเพื่อให้บริการได้อย่างเหมาะสมกับทุกคน</p> ชัยณรงค์ ณ ลำพูน, สุรินทร์ โซนี่, พรรณวิภา ศุภธนพัฒน์ , ฉัตรชัย เทียมลม Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271035 Wed, 10 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความผูกพันองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271036 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความผูกพันองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความผูกพันองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 290 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.815 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ในภาพรวมครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 มีแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในระดับปานกลาง และมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความผูกพันองค์กร ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความผูกพันองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า โมเดลมีความเหมาะสมสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับแนวการเสริมสร้างความผูกพันองค์กรและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู พบว่า &nbsp;ควรส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ โดยส่งเสริมให้ครูเห็นเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรร่วมกัน และสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อช่วยให้เอาชนะอุปสรรค ซึ่งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้การทำงานของครูมีชีวิตชีวาและมีเจตคติที่ดีในการทำงานระหว่างกันและกัน</p> สุรินทร์ โซนี่, พรรณวิภา ศุภธนพัฒน์ , ฉัตรชัย เทียมลม, ชัยณรงค์ ณ ลำพูน Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271036 Wed, 10 Apr 2024 00:00:00 +0700 การถอดบทเรียนการจัดการความรู้การพัฒนาผู้ประกอบการเกี่ยวกับแพะ สู่ธุรกิจฮาลาลเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272200 <p>โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบ และการถอดบทเรียนการจัดการความรู้ในการพัฒนาผู้ประกอบการเกี่ยวกับแพะสู่ธุรกิจฮาลาล ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบที่เหมาะสม โดยเฉพาะทักษะการจัดการด้านการการเงิน ตลอดจนพัฒนาเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมแก่การพัฒนาผู้ประกอบการในอนาคต</p> <p>จากการดำเนินการวิจัย พบว่า สามารถถอดบทเรียนการจัดการความรู้ชุดโครงการในปัจจัยสู่ความเสร็จของงาน ประกอบด้วย 1.การศึกษาบริบทพื้นที่และการทำงานของผู้ประกอบการอย่างลึกซึ้งก่อนวางแผนดำเนินการวิจัย 2.การคัดเลือกผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ (ศักยภาพ Mindset) 3. การสร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจให้กับผู้ประกอบการ 4.การเชื่อมโยงการทำงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ และมหาวิทยาลัย 5.การมีเครื่องมือการวิเคราะห์ และเครื่องมืองานวิจัยที่หลากหลาย รวมถึงองค์ความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่แหล่งทุนหนุนเสริม ทำให้สามารถปรับกระบวนการวิจัยให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป 6.การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมและยืดหยุ่นต่อการนำไปใช้งาน ตามสถานกาณ์ VUCA 7.การทำงานเป็นทีม ความเต็มใจของทีมนักวิจัย การให้ความร่วมมือ มีความสามัคคี และมีความสุขในการทำงาน 8.การมีระบบที่ปรึกษา (Coach) โดยแหล่งทุนที่มีการพัฒนานักวิจัยอย่างต่อเนื่อง และ 9.การสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงาน เช่น การให้รางวัลเป็นการเสริมแรง สร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของการเป็นผู้ประกอบการเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาผู้ประกอบการเกี่ยวกับแพะ ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถสร้างรายได้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น อันนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป</p> กนกวลี คงสง, ปฐมพงค์ กุกแก้ว, อโณทัย ทิพเนตร, จินดาพร คงเดช Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272200 Wed, 10 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการข้อมูลบัตรบุคลากรผ่านเว็บไซต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271591 <p><strong>บทคัดย่อ </strong><strong>(</strong><strong>Abstract)</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการข้อมูลบัตรบุคลากรผ่านเว็บไซต์&nbsp;&nbsp;2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศการจัดการข้อมูลบัตรบุคลากรผ่านเว็บไซต์&nbsp;&nbsp;กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร และบุคลากร กลุ่มงานอำนวยการ&nbsp;สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 12 คน&nbsp;ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบสารสนเทศการจัดการข้อมูลบัตรบุคลากร&nbsp;&nbsp;และแบบประเมินประสิทธิภาพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ&nbsp;ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลบัตรบุคลากรผ่านเว็บไซต์&nbsp;&nbsp;ที่พัฒนาขึ้น สามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการข้อมูลบัตรบุคลากร&nbsp;&nbsp;ค้นหาข้อมูลบัตรประเภทต่างๆ รายงานการออกบัตรทั้งหมด &nbsp;รายงานการออกบัตรที่มีการแก้ไขข้อมูล &nbsp;รายงานการออกบัตรรายวัน เดือน ปี &nbsp;และรายงานการออกบัตร ผู้ที่เกษียณประจำปีงบประมาณ ช่วยให้ลดระยะเวลา&nbsp;ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน&nbsp;กำลังคน และทรัพยากรในการดำเนินงาน&nbsp;2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศการจัดการข้อมูลบัตรบุคลากรผ่านเว็บไซต์&nbsp;มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.58&nbsp;อยู่ในระดับมากที่สุด&nbsp;&nbsp;3) แนวทางและข้อเสนอแนะ&nbsp;ในอนาคตอาจมีแนวทางจัดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์&nbsp;ในรูปแบบ&nbsp;Digital ID โดยอ้างอิงข้อกำหนดและจัดทำมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์&nbsp;(องค์การมหาชน) หรือ&nbsp;ETDA ได้จัดทำไว้เรียบร้อยแล้วมาปรับใช้ได้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>&nbsp;(</strong><strong>Keywords</strong><strong>):</strong><strong>&nbsp;</strong>ระบบสารสนเทศ&nbsp;,<strong>&nbsp;</strong>การจัดการข้อมูล,&nbsp;บัตรบุคลากร</p> จักรพันธ์ จันทร์เขียว, มัจรี สุพรรณ, พรพรรณ วงศ์ทวีสุขเจริญ, ศศิวิมล มณีมั่งคั่ง Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271591 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการในการป้องกันหลังการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ธุรกิจบริการขนส่งพัสดุ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271292 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธุรกิจบริการขนส่งพัสดุ 2) ศึกษาคุณภาพการให้บริการในการป้องกันหลังการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ของธุรกิจบริการขนส่งพัสดุ และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการให้บริการในการป้องกันหลังการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ของธุรกิจบริการขนส่งพัสดุ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้ใช้บริการขนส่งพัสดุในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ค่า F-test (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า &nbsp;1) ผู้ใช้บริการธุรกิจบริการขนส่งพัสดุส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้บริการระหว่าง 1 – 5 ปี โดยส่วนใหญ่ใช้บริการจากบริษัท Flash Express ระหว่างช่วงเวลา 13.00 - 15.00 น. และส่งสินค้า 1 ครั้ง/วัน มีจำนวนการส่งสินค้าในแต่ละครั้งต่ำกว่า 5 ชิ้น น้ำหนักของพัสดุระหว่าง 500 - 1000 กรัม 2) คุณภาพการให้บริการในการป้องกันหลังการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในการส่งมอบสินค้าของธุรกิจบริการขนส่งพัสดุโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผู้ใช้บริการธุรกิจบริการขนส่งพัสดุที่มี เพศ และอายุ แตกต่างกันมีความเห็นต่อคุณภาพการให้บริการในการป้องกันหลังการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 แตกแต่งกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กฤษณะ ดาราเรือง, สรพงษ์ ศรีเดช, พนิดา นิ่มวัฒน์, ชุติมา พราหมณนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271292 Thu, 18 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการควบคุมภายในตามหลัก COSO ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272192 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการควบคุมภายในตามหลัก COSO ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2) ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ 3) ปัจจัยการควบคุมภายในตามหลัก COSO ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่) จำนวน 303 ตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.754 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.827 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบปกติหรือวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยการควบคุมภายในตามหลัก COSO ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.164, S.D.= 0.512) และมีประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.020, S.D.= 0.686) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยการควบคุมภายในตามหลัก COSO ได้แก่ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านการตอบสนองความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุม และด้านการติดตามประเมินผล ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ด้านการวางแผน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่า ปัจจัยการควบคุมภายในตามหลัก COSO ได้แก่ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ด้านการบ่งชี้เหตุการณ์ด้านการตอบสนองความเสี่ยง ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามประเมินผล ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ด้านการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> จันทนา อินทฉิม, อรวรรณ จำพุฒ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272192 Fri, 19 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการใช้ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271203 <p>ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ (Incoterms<sup>®</sup> Rules) เป็นชุดข้อตกลงมาตรฐานที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายกันทั่วโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1936 อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ข้อตกลงการค้าดังกล่าวจำนวนมากยังคงตีความหลักเกณฑ์ของข้อตกลงดังกล่าวที่แตกต่างกัน ผู้ใช้ยังคงมีปัญหาการโต้แย้งกันอันเนื่องมาจากการขาดความเข้าใจในรายละเอียดที่กำหนดในแต่ละแบบ การเลือกใช้แบบข้อตกลงการค้าที่ถูกต้องสามารถเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการส่งมอบสินค้าไปยังลูกค้า ลดความเสี่ยงและควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อที่จะศึกษาปัญหาที่สำคัญและแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวในการใช้ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ใช้ Incoterms<sup>®</sup> Rules จากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบจำนวน 12 ท่าน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศยังขาดความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ข้อตกลงที่แตกต่างไปจากข้อกำหนดและเกณฑ์มาตรฐานไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย มีการใช้แบบสำหรับการขนส่งทางน้ำโดยเฉพาะกับการขนส่งทางอากาศและทางถนน นอกจากนั้น ผู้ใช้ยังไม่มีแนวทางในการเลือกแบบข้อตกลงที่เหมาะสมสำหรับรายการค้าที่จะทำการซื้อขาย บริษัทได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดให้มีการอบรมข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง ผู้ซื้อและผู้ขายยืนยันภาระหน้าที่ของ&nbsp; แต่ละฝ่ายทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ควรมีหนังสือคู่มือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศจากสถาบันที่น่าเชื่อถือไว้สำหรับใช้ในการอ้างอิง ควรเลือกใช้ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าตามขีดความสามารถของตนเองโดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านการปฏิบัติงานและด้านกฎหมาย หากมีข้อตกลงที่แตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน&nbsp; ควรระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาซื้อขาย</p> ฉัตรพล มณีกูล Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271203 Fri, 19 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272117 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในด้านอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น &nbsp;อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตรากำไรสุทธิใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ จำนวน 493 บริษัท รวมทั้งสิ้น 1,972 ข้อมูล จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2562 - 2565 รวม 4 ปีจากรายงานประจำปี งบการเงินแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และ SETSMART สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ขนาดของคณะกรรมการส่งผลต่อการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น และด้านอัตรากำไรสุทธิ &nbsp;สัดส่วนของกรรมการอิสระส่งผลต่อการดำเนินงานด้านอัตรากำไรสุทธิ &nbsp;และสัดส่วนการถือครองหุ้นของคณะกรรมการบริษัทส่งผลต่อการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะทำให้มีผลการดำเนินงานที่สูงขึ้นและเพิ่มความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน</p> กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์, วิชุดา สมงาม, พิธาน แสนภักดี Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272117 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนเขตเทศบาลในจังหวัดพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษพื้นที่ ภาคตะวันออก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271298 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1). เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2). เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกตั้งโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและ3). เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนเขตเทศบาลในจังหวัดพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 90,865 คน คํานวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ 1,188 คนโดยแยกเป็น เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 397 คน เทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 394 คน และเทศบาลนครระยองจำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามจำนวน &nbsp;3 ตอนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยการหาค่า จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย ค่า(t-test) และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพบว่าในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก &nbsp;(= 3.66, S.D.=0.75) ข้อที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ปัจจัยด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ &nbsp;(= 3.89, S.D.=0.72)&nbsp; ปัจจัยด้านพรรคการเมืองที่สังกัด (= 3.66, S.D.=0.71)&nbsp; ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร &nbsp;(= 3.60, S.D.=0.75)&nbsp; ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด คือปัจจัยด้านนโยบายของผู้สมัคร (= 3.57, S.D.=0.85) ผลการศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกตั้งพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกันการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05&nbsp; ยกเว้นด้านปัจจัยด้านพรรคการเมืองที่สังกัด &nbsp;อายุแตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05&nbsp; ยกเว้น ปัจจัยด้านนโยบายของผู้สมัคร &nbsp;ระดับการศึกษาแตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นปัจจัยด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ&nbsp; ส่วนอาชีพและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แนวทางการพัฒนาการตัดสินใจเลือกตั้งพบว่าพิจารณาจาก การเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี เป็นผู้มีการศึกษาดี เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน &nbsp;ได้เข้าร่วมจัดเวทีปราศรัยตามจุดสำคัญต่าง ๆ &nbsp;เลือกจากการมีนโยบายที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นโยบายมุ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม &nbsp;เลือกจากสังกัดพรรคการเมืองที่ชื่นชอบ และสังกัดพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล</p> ไชยะ เทพา Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/271298 Thu, 25 Apr 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงที่มีต่อผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272191 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารความเสี่ยงของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 2) ระดับผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และ 3) อิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงที่มีต่อผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 87 โรงแรม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบเจาะจง&nbsp;(Purposive sampling) โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.787 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.859 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบปกติหรือวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ระดับการบริหารความเสี่ยงของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต อยู่ในระดับมาก ( = 3.871, S.D.= 0.248) และผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต อยู่ในระดับมาก ( = 3.716, S.D.= 0.282) โดยพบว่า การบริหารความเสี่ยงทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการบ่งชี้เหตุการณ์ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านการตอบสนองความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามประเมินผล มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่า การบริหารความเสี่ยงด้านการบ่งชี้เหตุการณ์ด้านการประเมินความเสี่ยง และด้านการติดตามประเมินผล มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> อรวรรณ จำพุฒ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/272191 Thu, 25 Apr 2024 00:00:00 +0700