https://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/issue/feedAPHEIT Journal2015-06-19T13:24:34+07:00APHEITapheitacadamic@gmail.comOpen Journal Systems<p>วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานด้านวิชาการ ด้านการวิจัย และบทความเชิงวิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย และเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและความรู้ ความก้าวหน้าใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานด้านวิชาการและการวิจัยในสาขาต่างๆ</p>https://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35283แนวทางการยกระดับภูมิปัญญา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมล้านนาสู่การบริหาร ธุรกิจโรงแรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง2015-06-19T12:16:48+07:00รัญจวน ประวัติเมืองrunjun15@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมล้านนา ระดับสุนทรียภาพ และวิเคราะห์การบริหารเพื่อหาแนวทางยกระดับด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเน้นการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย เพื่อค้นหาภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และวัฒนธรรม ตลอดจนการบริหารงานโรงแรมระดับ 3 ดาว ใช้การสังเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลด้วยวิธีตรวจสอบ สามเส้า ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ อย่างละ 400 ตัวอย่างเพื่อดูระดับสุนทรียภาพ และประมวลผลโดยการใช้คอมพิวเตอร์หาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วย One – Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่าภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ 10 กลุ่ม คือ 1) อาหาร 2) ภาษา 3) การแต่งกาย 4) กิจกรรมประเพณี 5) สภาพภูมิศาสตร์ อากาศและพืชพันธุ์ไม้ 6) ดนตรี 7) สถาปัตยกรรม 8) จิตรกรรมและประติมากรรม 9) บุคลิกลักษณะและวิถีชีวิต 10.) อื่น ๆ อาทิ หัตถกรรมพื้นบ้าน และการแพทย์แผนไทย ส่วนระดับความสุนทรียภาพ พบว่าคุณค่าจากสภาพธรรมชาติและอากาศสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่คุณค่าทางสถาปัตยกรรม บุคลิกลักษณะท่าทางกิริยามารยาทของผู้คน ความงามเกี่ยวกับคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมและกิจกรรมทางประเพณีตามลำดับ สำหรับแนวทางการยกระดับผู้บริหารโรงแรมต้องสร้างเสริมองค์ความรู้ด้าน วัฒนธรรมให้กับบุคลากรโรงแรมที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สร้างเครือข่ายทุกระดับทั้งหน่วยงานและชุมชน สร้างและจัดโรงแรมเป็นศูนย์เรียนรู้ แสดง จำหน่าย และให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว โดยสภาวัฒนธรรมทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และใช้ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือปรับความสมดุลระหว่างการทำ ธุรกิจกับความรับผิดชอบที่มีต่อชุมชน</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35284การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุดมศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย2015-06-19T12:16:48+07:00จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์chamroenrat@hotmail.com<br />การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติและเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุดมศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างแบบสัมภาษณ์และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติเป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยระดับรองอธิการบดีขึ้นไป หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการด้านปรัชญาในประเภทหรือสาขาต่าง ๆ หรือเป็นราชบัณฑิตประเภทปรัชญา หรือที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐหรือเอกชน หรือเป็นผู้มีตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่รองศาสตราจารย์ขึ้นไป หรือเป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชนไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมที่ได้มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน นำผลการสัมภาษณ์มาสร้าง พัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านแบบสอบถามจำนวน 5 คน นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มที่มิใช่กลุ่มตัวอย่าง หลังจากนั้นจึงนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร 390 คน ได้รับกลับคืนมา 297 ชุด คิดเป็นร้อยละ 76.15 และคัดเลือกข้อความที่มีการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยระดับ 3 หรือระดับมากขึ้นไปมากำหนดเป็นตัวชี้วัด จัดทำเป็นร่างรูปแบบ พร้อมแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับประกอบร่าง นำไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถาม 25 คน ที่เป็นผู้บริหารระดับสูง 5 คน ผู้บริหารระดับกลาง 5 คน ผู้บริหารระดับต้น 5 คน อาจารย์ 5 คน และบุคลากร 5 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นผู้บริหารระดับสูง ระดับกลางหรือระดับต้นมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโทที่ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หรือเป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไปมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของรูปแบบตามเทคนิคเดลฟาย 2 รอบและได้ความคิดเห็นที่สอดคล้องกันเป็นฉันทามติ จึงได้รูปแบบการบริหารจัดการอุดมศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย<br />การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนของไทย มีการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66) เรียงลำดับจากด้านการบริหารจัดการงานวิชาการ งานทั่วไป งบประมาณ ทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย ซึ่งมีรูปแบบด้านการบริหารจัดการงานวิชาการมีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติโดยมีการคัดกรองปัจจัยป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตที่มีสัดส่วนที่พอเพียง ด้านการบริหารจัดการทั่วไป มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติโดยกำหนดเป็นปรัชญาสถาบันและวิสัยทัศน์อันเป็นภาพการบริหารจัดการอุดมศึกษาในอนาคตที่ชัดเจน ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ มีรูปแบบการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติโดยสถาบันจัดทำแผนงบประมาณเพื่อการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างมีเหตุผล ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีรูปแบบการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ โดยสถาบันกำหนดการคัดเลือก การสอบคัดเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้และคุณธรรมจริยธรรม ด้านการบริหารจัดการงานวิจัย มีรูปแบบการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติเน้นที่กระบวนการทำวิจัยอย่างมีเหตุผลโดยกำหนดให้ภารกิจการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35286การนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดฉะเชิงเทรา2015-06-19T12:16:48+07:00ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์hokao1@hotmail.com<p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประการแรก ศึกษาระดับการนำหลักธรรมาภิบาล และปัจจัยที่มีผลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ ประการที่สองเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำหลักธรรมมาภิบาลไปปฏิบัติ และ ประการที่สามเพื่อเป็นข้อเสนอแนะสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยโดยใช้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกตามคำถามที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์ข้อมูลพหุคูณถดถอยแบบปติ</p><p>ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดฉะเชิงเทรามีการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลทุกด้านได้แก่หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลัก ความพร้อมรับผิด และหลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.71</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35287ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย2015-06-19T12:16:48+07:00มนสิชา อนุกูลmonsichaanukun@gmail.comการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ประชากรกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้จำนวน 433 แห่ง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุด (2) สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (3) สภาพแวดล้อมภายนอก (4) คุณลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (5) การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (6) ผลประกอบการจากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุด สภาพแวดล้อมภายในองค์กร สภาพแวดล้อมภายนอก และคุณลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยสภาพแวดล้อมภายในองค์กรมีอิทธิพลต่อการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุด คุณลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสภาพแวดล้อมภายนอก ส่วนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลประกอบการ นอกจากนี้ผลประกอบการจากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุด สภาพแวดล้อมภายในองค์กร สภาพแวดล้อมภายนอก และคุณลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยสภาพแวดล้อมภายในองค์กรมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลประกอบการจากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมภายนอก คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุด และคุณลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35288ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการเลือกซื้ออาคารชุดในราคาระดับปานกลางแนวตามรถไฟฟ้า2015-06-19T13:24:34+07:00พรชัย อรัณยกานนท์pc.589@hotmail.com<p>การวิจัยนี้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการเลือกซื้ออาคารชุดในราคาระดับปานกลางตามแนวรถไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยของการตัดสินใจของลูกค้าในการเลือกซื้ออาคารชุดในราคาระดับปานกลางตามแนวรถไฟฟ้า (2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การขายสำหรับอาคารชุดในราคาปานกลางตามแนวรถไฟฟ้า และ (3) การประเมินกลยุทธ์การขาย ประชากรการวิจัยเป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อและพักอาศัยอยู่ในอาคารชุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ส่วนตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 496 ราย</p><p> ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการเลือกซื้ออาคารชุดในราคาระดับปานกลางตามแนวรถไฟฟ้า มี 5 ปัจจัย เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) ปัจจัยด้านการตลาด (น้ำหนักองค์ประกอบ .96) (2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรม (น้ำหนักองค์ประกอบ .93) (3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (น้ำหนักองค์ประกอบ .90) (4) ปัจจัยด้านจิตวิทยา (น้ำหนักองค์ประกอบ .89) และ (5) ปัจจัยด้านภูมิหลังลูกค้า (น้ำหนักองค์ประกอบ .89) ตามลำดับ มีกลยุทธ์การขายสำหรับอาคารชุดระดับราคาปานกลาง จำนวน 4 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์ราคาขายเริ่มต้น (2) กลยุทธ์อาคารชุดแต่งครบ (3) กลยุทธ์ค่าส่วนกลาง และ (4) กลยุทธ์ใกล้รถไฟฟ้า ส่วนการประเมินกลยุทธ์การขาย พบว่า สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งนี้ควรมีการควบคุมกลยุทธ์โดยการใช้ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินกลยุทธ์การขายสำหรับโครงการอาคารชุดในราคาระดับปานกลางผ่านมุมมองเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์เพื่อที่ทำให้องค์กรดำเนินการกลยุทธ์ประสบความสำเร็จ</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35289ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จทางการเงินของทายาทธุรกิจหลังการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย2015-06-19T12:16:53+07:00สิริรัฐ บุญรักษาboonrugsa_s@hotmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัวที่พัฒนาขึ้น และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อของความสำเร็จทางการเงินของทายาทธุรกิจหลักการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัว ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ทายาทธุรกิจครอบครัวซึ่งจดทะเบียนบริษัทจำกัดกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งยังคงดำเนินกิจการอยู่ในปี พ.ศ.2555 จำนวน 462,550บริษัท โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นทายาทธุรกิจตั้งแต่รุ่นที่ 2 ขึ้นไป จำนวน 450 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมกราคม 2556- พฤศจิกายน 2557 ในการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง(Structural Equation Modeling: SEM) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัว</p><p>ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำของทายาทธุรกิจ ความผูกพันของทายาทและคุณค่าทางวัฒนธรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัว และภาวะความเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัว นอกจากนี้ความสำเร็จทางการเงินหลังการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัวได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากภาวะผู้นำของทายาทธุรกิจ ความผูกพันของทายาท และคุณค่าทางวัฒนธรรมมี ซึ่งทั้งหมดมีความสอดคล้องกับสมมติฐานทางการวิจัยที่กำหนดไว้</p><p> </p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35290MARKETING INTEGRATION STRATEGY AND SUSTAINED COMPETITIVE ADVANTAGE: AN EMPIRICAL INVESTIGATION OF ANTECEDENTS AND CONSEQUENCES IN THE EXPORTING FIRMS FROM GEMS AND JEWELRY BUSINESSES IN THAILAND2015-06-19T12:16:54+07:00Cheewan Thongsodsangcheewan.th@spu.ac.th<p style="text-align: left;">This study examined the influence two dimensional of marketing integration strategy (MIS) on sustained competitive advantage via mediating effects of marketing collaboration efficiency, product innovation capability, and marketing responsiveness. Moreover, two antecedent constructs were comprised of modern marketing vision and business network through moderating effect on marketing experience. Here, 219 gems and jewelry exporting businesses in Thailand were chosen as the sample. This paper reported that both dimensions of MIS had a significant impact on marketing collaboration efficiency and product innovation capability. Likewise, marketing collaboration efficiency and product innovation capability had a potential positive influence on marketing responsiveness leading to sustained competitive advantage. Additionally, the two factor antecedents had a significant positive effect on each dimension of MIS as expected while only the modern marketing vision had no significant effect on dynamic learning orientation. The findings indicated that the marketing experience did not moderate the relationships among antecedents and MIS. Accordingly, the potential discussion with the results is implemented in the study. Theoretical and managerial contributions were explicitly provided. Conclusion, suggestions and directions of the future research were also highlighted<em>. </em></p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35291Can Management Accountants Play an Important Role in Moving Towards a Corporate Sustainability? : Evidence of Thailand2015-06-19T12:16:56+07:00Neungruthai Petcharatneungruthai.pe@spu.ac.thThis study aims to examine (1) management accountants’ roles in driving sustainable success to create a corporate sustainability, (2) environmental information in annual reports based on the indicators of the Global Reporting Initiatives (GRI) for effective management decisions, and (3) environmental information in the reports and the information identified by the environmental management accounting (EMA) practices. Management accountants drive as a collaborator with a company to provide environmental information incorporating in the reports for investment decisions. A set of survey is created to conduct environmental performance indicators in annual reports of 2011 and 2012 of two-hundred listed companies in Thailand. Regression analysis is considered appropriate for this study to analyse the relationship among variables. Positive accounting theory explains the findings. The results of the study reveal that environmental information incorporated in annual reports is positively relevant to the indicators of the GRI guidelines. Environmental information in the reports is also significantly related to the data identified based on the EMA practices for enhancement of management decisions. Management accountants’ roles in driving sustainable success create sustainable value from providing quality data on environmental sustainability to incorporate in the corporate disclosures2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35292ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย2015-06-19T12:16:57+07:00กัลยาภรณ์ ปานมะเริงkalyaporn.pa@spu.ac.th<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (3) จัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยได้ศึกษาเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากบริษัท 8 กลุ่ม และสุ่มแบบโควต้า กลุ่มละ 21 บริษัท รวมทั้งสิ้น 168 บริษัท บริษัทละ 3 คน รวม 504 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำผลการวิเคราะห์มาจัดกลุ่มตามประเด็นที่ต้องการศึกษา ผลการวิจัย พบว่า (1) ในภาพรวม คณะกรรมการตรวจสอบมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นด้านที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านอำนาจหน้าที่ และด้านการประชุม ตามลำดับ และ (2) ตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษาของคณะกรรมการตรวจสอบ ประสบการณ์ในการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบ มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบฯ</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35293สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความรู้ความสามารถของนักบัญชี ที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครราชสีมา2015-06-19T12:16:58+07:00ฐิติรัตน์ มีมากmthiti@hotmail.com<p>วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน และความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพของรายงานการเงินของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนครราชสีมา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ทำบัญชีของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 283 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p><p>ผลการวิจัยพบว่าสภาพแวดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในด้านความสามารถในหน้าที่ของบุคลากร ด้านคุณค่าความซื่อสัตย์และจรรยาบรรณ และด้านการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนครราชสีมา โดยส่งผลถึงร้อยละ 54.40 และความรู้ความสามารถของนักบัญชี ในด้านจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ด้านความรู้ทางวิชาชีพ และด้านทักษะทางวิชาชีพ ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนครราชสีมา โดยส่งผลถึงร้อยละ 66.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนครราชสีมา สามารถนำผลการวิจัยที่ได้มาปรับปรุงสถานประกอบ การให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี และเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการบัญชีของธุรกิจ SMEs ให้มีความรู้ความสามารถ และมีการนำเสนอข้อมูลทางการบัญชีที่มีคุณภาพ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35294ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์การที่เป็นเลิศและผลการดำเนินงานขององค์การ : การศึกษาเชิงประจักษ์ธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย2015-06-19T12:16:59+07:00วาริณี เจียมโชติรัตน์accyfon@gmail.com<p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองลักษณะองค์การที่เป็นเลิศและผลการดำเนินงานของธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์การที่เป็นเลิศและผลการดำเนินงานของธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารของธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกขั้นต้นของรางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม ตั้งแต่ปี 2552 - 2556 จำนวนทั้งหมด 482 ท่าน ซึ่งผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้โมเดลสมการโครงสร้าง ในการสร้างแบบจำลองการวิจัย และหาความสัมพันธ์ของลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศต่อผลการดำเนินงานขององค์การ ผลการวิจัยพบว่า การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และการมุ่งเน้นการปฏิบัติการมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35295The Integrated Education Curriculum Reformation and the Permanency in Career Development in the Field of Information Technology2015-06-19T12:16:59+07:00Thitirath Cheowsuwanthitirath.ch@up.ac.thIn the area of Northern Thailand, there were no qualified graduates to serve the required fields of IT labor markets since the graduates tend to choose the popular fields of studies rather than what the labor markets have been expected. Since Thailand will be entering in to the ASEAN markets in 2015, there is a crucial need to reform educational administration in order to engage the graduates to have the passions in studying in accordance with the required fields of labor markets which would lead to the permanence of their careers. The educational reformation will cover 4 provinces in the Northern regions by engaging both government and private sectors and analyze their needs to develop qualified curriculum which will be able to produce graduates that can serve the demands of labor markets. The reformed curriculum was conducted in 26 institutes along with the education of the new curriculum was given to the teachers in the sampled institutes. The results indicated that the curriculum that best match the needs of the labor markets of the communities were software development curriculum, mixed-media production, and computer graphics and animation production. The reformed curriculum educated to the sampled groups of teachers indicated that their skills have been improved up to 69.6%, the performances of the graduates have been increased up to 45.3% while the happiness in the study of the reformed curriculum was as high as 86%.2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35296Migration and Well-being of Migrants : A Comparative Study of Thai and Cambodian Migrant Workers2015-06-19T12:17:01+07:00สุมาลี ไชยศุภรากุลchaisumaree@hotmail.com<p>This research had the following three objectives: (1) To study the motivation and patterns of migration of Thai and Cambodian migrant workers, (2) To study the well-being of Thai migrant workers in comparison with their Cambodian counterparts; and (3) To study the migrant workers perceptions of the meaning of the term “well-being” in their own context. This research hypothesized that the migrant workers would have a greater level of well-being after migrating than before, and that Thai migrant workers would have a greater level of well-being than the Cambodian migrant workers since the Thai migration is domestic, thus requiring less adaptation, and the Thai migrant workers would experience less prejudice from local residents compared to non-Thai migrant workers. This was a qualitative research study which used in-depth interviews to collect information from 18 key informants, including seven Thai migrant workers, nine Cambodian migrant workers, and two Thai employers of Cambodian migrant workers. The data were analyzed in accordance with interpretive sociology and phenomenology principles. This study found that both Thai and Cambodian migrant workers were seeking better work conditions and moved in a circular migration pattern. Overall well-being was greater as a consequence of the migration, and Cambodian migrant workers gave a higher self-assessment rating for their well-being than their Thai counterparts. Both groups of migrant workers gave highest priority to family happiness. It is recommended that in order to improve their well-being, both the employers and migrant workers should be encouraged to increase the skills of these workers so that they can move to a higher-paid employment.</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35297การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร2015-06-19T12:17:02+07:00วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนาdafish-morent@hotmail.com<p>การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 400 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ปัจจัยโดยการสร้างตัวแปรใหม่ของกลุ่มตัวแปรด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุจะไปซื้อของคนเดียวมากที่สุด ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายและการตัดสินใจซื้อสินค้า คือ ตัวของผู้สูงอายุเอง มีวิธีการชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าจากสื่อหนังสือพิมพ์ ความถี่ในการซื้อสินค้าและบริการในช่วง 1 ปีที่ ผ่านมา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความถี่ในการซื้อ 3 อันดับแรก คือ ซื้ออาหารและเครื่องใช้ภายในบ้านมากที่สุด รองลงมาคือ ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องแต่งกาย ตามลำดับ องค์ประกอบปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1 สินค้าประดับยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มที่ 2 สินค้าเครื่องสำอาง กลุ่มที่ 3 การท่องเที่ยวและการรักษาพยาบาล กลุ่มที่ 4 สินค้าที่เกี่ยวกับของใช้ส่วนตัวและเครื่องใช้ภายในบ้าน</p>2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35298ระดับประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย2015-06-19T12:17:03+07:00ธณัฐพล ชะอุ่มgolf37199@hotmail.comการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย คือ เทศบาลตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดภาคกลาง จำนวน 424 แห่ง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงของผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9849 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอันดับค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในภาพรวม พบว่า มีระดับความสำเร็จมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ความสามารถในการสร้างความพึงพอใจ รองลงมา คือ การพัฒนาองค์การ กระบวนการภายใน ผลลัพธ์การดำเนินการ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดหาและการจัดสรรทรัพยากร<br /><br />2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/apheitjournals/article/view/35299Digital Communication: Lesson-learned from countries which successfully have implemented 3G and Digital TV2015-06-19T12:17:04+07:00Usa Silraungwilaiusa@eau.ac.thAt present time, digital communication has become a key communication strategy to support a wide range of business activities (Flournoy, 2004, p. 112; 2009): such as e-Business, e-Commerce, e-Public Relations, and e-Marketing. Accordingly, Digital Media can build customer satisfaction by providing the means to increase interaction and personalized messages between customers and businesses. Thailand was moving to digital communication society since the Office of Thai National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC) approved for 3G licenses and Digital TV licenses in year 2013, (Office of Thai National Broadcasting and Telecommunications Commission, 2014). As communication scholar, I would like to suggest stakeholders: such as government, the NBTC, policy makers, TV broadcasters, and broadcasting and telecommunications services providers: to concern more about digital communication effectiveness through lessons-learned from countries who successfully have implemented 3G and Digital TV. This paper addresses 3G/4G and digital television overview, background/support, interconnectivity, viability and constraints, and successful and unsuccessful applications.2015-06-19T00:00:00+07:00Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย