TY - JOUR AU - การีซอ, ทรงกิต AU - อิงคโรจน์ฤทธิ์, วรภัทร์ PY - 2020/10/12 Y2 - 2024/03/29 TI - การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา JF - สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย JA - arch-KKU-BEI VL - 19 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/bei.2020.13 UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/241264 SP - 23-42 AB - <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินประสิทธิภาพทางความยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืน ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลางกรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยทำการศึกษาด้วยวิธีการประเมินมหาวิทยาลัยตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World Ranking) เน้นการประเมินในหัวข้อที่ 2 ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อันได้แก่ 1.อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 2.อาคารอัจฉริยะทั้งหมดของมหาวิทยาลัย 3.พลังงานทดแทนซึ่งผลิตได้ในมหาวิทยาลัย 4.ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 5.อัตราส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนหารด้วยการใช้พลังงานทั้งหมดต่อปี 6.องค์ประกอบของอาคารสีเขียวที่ดำเนินการตามนโยบายการก่อสร้างและปรับปรุงทั้งหมด 7.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 8.ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากาทั้งหมดโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหัวข้อการประเมินข้อที่ 2 และแสดงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนโดยคำนึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ จากการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีคะแนนเฉลี่ยในช่วงระหว่าง 901 ถึง 1,200 คะแนนของกลุ่มช่วงคะแนนที่ 4 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาเมื่อได้ทำการประเมินมีคะแนนอยู่ที่ 525 หากดำเนินการตามเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุดจะได้รับคะแนน 1,075 คะแนน จึงสามารถขยับจากกลุ่มช่วงคะแนนที่ 3 ไปสู่กลุ่มช่วงคะแนนที่ 4 ได้ ซึ่งการดำเนินงานโดยการตั้งเป้าหมายนั้น ทำให้สามารถเพิ่มคะแนนและเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่าเดิมและมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน</p> ER -