https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/issue/feed สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย 2024-01-15T00:00:00+07:00 Built Environment Inquiry Journal [email protected] Open Journal Systems <div id="sponsors"> <p>วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย<br />คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จากวารสารกลุ่มที่ 2 ได้เลื่อนเป็นกลุ่มที่ 1 ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564</p> <p>Editor : ผศ. ดร. ปัทมพร วงศ์วิริยะ</p> </div> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/265662 Local Textiles Development to The Royal Peacock Certification Quality Thai Silk in Kalasin Province 2023-02-28T11:23:19+07:00 Kittanut Yanpisit [email protected] <p>‘Local Textiles Development to The Royal Peacock Certification (The RPC) Quality Thai Silk in Kalasin Province’ is public-service, academic article of which presenting Kalasin local textiles elevating process in community-based producer and entrepreneur groups with regard to The Royal Peacock logo and standard certification by Participatory Action Research (PAR). The target population was 20 groups of producer and entrepreneur in Kalasin Province participated in textiles product analysis, workshop training series in The Royal Peacock Certificationstandard requirements, product prototype production for The RPC standard, standardcertifying process, and trends and benefit from standardization. The findings included the success in the silk and cotton textiles of the producer and entrepreneur groups were certified The Royal Peacock Certification standard as well with the elevating training process on knowledge, green technology and skills in natural dyeing and primary fiber inspection leading to certified silk products. The product results in standardization by authorized officials of The Queen Sirikit Department of Sericulture from all of the 20 groups (100%) and more in the groups have been producing to be certified with the trend in producing certified local textiles to a greater extent income increasing in community-base, silk product entrepreneurs. </p> 2024-01-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/266068 การศึกษาความเหลื่อมล้ำในเมืองด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ 2023-03-16T13:55:01+07:00 รชยา พรมวงศ์ [email protected] ปัทมพร วงศ์วิริยะ [email protected] จตุพร หงส์ทองคำ [email protected] <p>จากปรากฏการณ์ความเหลื่อมล้ำในมิติด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงด้านสังคมเศรษฐกิจ เท่านั้น หากยังรวมถึงโอกาสในการเข้าถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในเมือง โดยเฉพาะการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ของเมือง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปรากฏการณ์การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมือง เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในมิติด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมือง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลพฤติกรรมการเข้าถึงพื้นที่เมืองนครราชสีมา จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ยังคงมีความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองระหว่างกลุ่มอายุต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่คนวัยหนุ่มสาวในวัยทำงาน เป็นกลุ่มที่เดินทางเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองด้วยระบบขนส่งส่วนบุคคลและขับด้วยตนเองมากที่สุด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุตอนต้นและตอนกลาง มักจะเดินทางโดยเป็นผู้โดยสารของระบบขนส่งส่วนบุคคล และมีการเดินและปั่นจักรยานบ้างเป็นส่วนน้อยสำหรับพื้นที่สาธารณะในละแวกบ้าน โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมือง เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่การสัญจรให้ปลอดภัย และมีชีวิตชีวา สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้เดินทาง ตลอดจนผสานการเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งทุกระบบ ซึ่งนักวางแผนพัฒนาเมืองไม่ควรมองข้ามในการนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองของคนทุกกลุ่มและรองรับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต</p> 2024-02-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/268136 การวิิเคราะห์โครงสร้างไม้ในสิิมอีีสาน จัังหวััดร้อยเอ็็ด 2024-01-05T08:46:08+07:00 อรรถ ชมาฤกษ์ [email protected] <p> งานวิจัยโครงสร้างไม้ในสิมอีสานสกุลช่างจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจและวิเคราะห์เพื่อทราบถึงวิธีแก้ปัญหาด้านโครงสร้างของช่างโบราณ ในการวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจสิมในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 4 หลัง โดยมีการจัดทำภาพจำลองส่วนประกอบโครงสร้างไม้เพื่อการวิเคราะห์แรงต่างๆที่เกิดขึ้นในโครงสร้างตลอดจนวิเคราะห์ถึงการเลือกใช้วิธีการเข้าไม้ในรอยต่อของส่วนต่างๆของช่างโบราณ</p> <p>จากการวิจัยนี้พบว่า ช่างโบราณที่ทำการก่อสร้างสิมทั้ง 4 หลังมีการใช้รูปแบบโครงสร้างหลังคาไม้ในระบบโครงถัก มีการออกแบบให้ถ่ายแรงผ่านศูนย์กลางของส่วนประกอบโครงสร้างเพื่อลดแรงดัด และมีการเลือกการเข้าไม้ที่จุดเชื่อมต่ออย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้าง หากแต่การเลือกใช้ขนาดของส่วนประกอบโครงสร้างนั้น พบว่าช่างโบราณที่ก่อสร้างสิมในงานวิจัยนี้ นิยมเลือกใช้ไม้ที่มีขนาดหน้าตัดใหญ่ทั้งสิ้น</p> <p> </p> 2024-02-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/268388 อัตลักษณ์และการเปลี่ยนแปลงด้านสถาปัตยกรรมของเรือนโคราช: กรณีศึกษาบ้านโคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา 2023-07-03T11:00:29+07:00 การุณย์ ศุภมิตรโยธิน [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุอัตลักษณ์เรือนโคราชของบ้านโคกกระชาย ถอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการปลูกสร้างเรือน พร้อมทั้งวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านสถาปัตยกรรม โดยสำรวจรังวัดเรือนกรณีศึกษา 6 หลัง และสัมภาษณ์ ผู้อยู่อาศัย ช่างก่อสร้าง และปราชญ์ชาวบ้าน จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการวิเคราะห์รูปลักษณ์ จากการศึกษาพบว่า เรือนโคราชของชาวโคกกระชายมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยมีรูปแบบเรือนที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบโครงสร้าง ได้แก่ เรือนสองจั่วและเรือนสามจั่ว ซึ่งองค์ประกอบโครงหลังคาแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานเทคนิคการก่อสร้างรูปแบบเก่าและใหม่เข้าด้วยกันอย่างลงตัว และมีเทคนิคการติดตั้งที่แตกต่างจากที่อื่น นอกจากนั้นยังพบลักษณะเฉพาะของฝาเรือนที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านรูปแบบและระบบการติดตั้ง ลักษณะเฉพาะดังกล่าวเกิดจาก การที่ช่างสร้างที่พักอาศัยตามแบบแผนเรือนโคราชและได้มีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงด้วยภูมิปัญญาของช่างท้องถิ่น เพื่อให้เข้ากับบริบทพื้นที่และวิถีชีวิต จึงเกิดลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ประกอบกับการเกิดขึ้นของวัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบเรือน โครงสร้าง และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโดยตรง</p> 2024-03-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย