สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
<div id="sponsors"> <p>วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย<br />คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จากวารสารกลุ่มที่ 2 ได้เลื่อนเป็นกลุ่มที่ 1 ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564</p> <p>Editor : ผศ. ดร. ปัทมพร วงศ์วิริยะ</p> </div>
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Faculty of Architecture, Khon Kaen University)
th-TH
สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
2651-1177
<p>ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p>
-
การจัดหมวดหมู่ประเภทตราสินค้าสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/273840
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดประเภทตราสินค้า (Brand Type) ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทการประกอบกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไทย และสำรวจจำนวน SME ไทยในแต่ละประเภทตราสินค้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิง ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและการวิจัยเอกสาร เพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดหมวดหมู่ประเภทตราสินค้า นำมาสู่การสังเคราะห์และจัดประเภทตราสินค้าที่สะท้อนเจตจำนง (Purpose) ในการดำเนินกิจการ ซึ่งสามารถสื่อสารและสร้างจุดเด่นที่แตกต่างให้กับตราสินค้าของ SME ได้โดยผู้วิจัย และผ่านการพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาพบว่าประเภทตราสินค้าที่เหมาะสมกับบริบทการดำเนินกิจการของ SME ไทย มีทั้งสิ้น 7 ประเภท ได้แก่ 1) Sustainable Brand: แบรนด์ยั่งยืน 2) Disruptive Brand: แบรนด์เปลี่ยนโลก 3) Culture Brand: แบรนด์วัฒนธรรม 4) Aesthetics Brand: แบรนด์สุนทรียะ 5) Experience Brand: แบรนด์สร้างประสบการณ์ 6) Performance Brand: แบรนด์เปี่ยมประสิทธิภาพ และ 7) Value Brand: แบรนด์คุ้มค่า จากการใช้แบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME ของไทย จำนวน 2,723 ราย ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่าตราสินค้า 7 ประเภทนี้ปรากฏอยู่ใน 4 ภาคธุรกิจ คือ ภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคการเกษตร โดย Value Brand มีจำนวนมากที่สุดคิดเป็น 66% ตามด้วย Performance Brand 16.8% Aesthetics Brand 7.3% Culture Brand 5.2% Experience Brand 2.1% Disruptive Brand 1.4% และ Sustainable Brand 1.2% ตามลำดับ</p> <p><span style="font-weight: 400;">โดยประเภทตราสินค้าที่เหมาะสมกับ </span><span style="font-weight: 400;">SME </span><span style="font-weight: 400;">ไทยทั้ง 7 ประเภทนี้ สามารถสื่อสารเจตจำนงในการดำเนินกิจการ จุดเด่น และสร้างคุณค่าให้กับตราสินค้า รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้า </span><span style="font-weight: 400;">(Brand Identity Design) </span><span style="font-weight: 400;">ที่สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละประเภทตราสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่าง โดดเด่น และคุณค่าให้กับตราสินค้าของผู้ประกอบการไทยได้ต่อไป</span></p>
กอบกิจ จำจด
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
23 3
39
57
10.14456/bei.2024.20
-
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นย่านเมืองเก่ากำแพงเพชร กรณีศึกษาถนนเทศา และถนนราชดำเนิน จังหวัดกำแพงเพชร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/268859
<p class="06-"><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรือนพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศา และถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นำไปสู่การจำแนกประเภท ถนนเทศาเป็นถนนสายแรกของเมืองกำแพงเพชรขนานไปตามลำน้ำปิงเป็นเส้นทางสัญจรทางบกที่เชื่อมกับเส้นทางสัญจรทางน้ำ ถนนราชดำเนินเส้นทางสัญจรทางบกขนานกับถนนเทศาถนนเส้นนี้ตัดเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประภาสต้น ณ เมืองกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานสิ่งปลูกสร้าง<br />ที่สำคัญมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกาย สังคม และเศรษฐกิจ ริมถนน </span>2<span lang="TH"> สายนี้ งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยจากการทบทวนเอกสาร การสำรวจ การจัดทำรังวัด สัมภาษณ์เจ้าของเรือนหรือผู้อยู่อาศัยเรือน และสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีความรู้ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศา และถนนราชดำเนิน มีความคล้ายคลึงกับเรือนภาคกลาง เรือนไทยเดิมเป็นเรือนค้าขายจะมีใต้ถุนไม่สูงมากเพื่อให้ค้าขายสะดวก แต่ยังคงอัตลักษณ์ของเรือนไทยเดิมไว้ สามารถจำแนกประเภทได้ </span>3<span lang="TH"> กลุ่ม คือ </span>1) <span lang="TH">เรือนแถวไม้ชั้นเดียว </span>2) <span lang="TH">เรือนแถวไม้ 2 ชั้น และ</span>3) <span lang="TH">เรือนคหบดีและเรือนข้าราชการ และอิทธิพลที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศาและถนนราชดำเนิน คือ </span>1) <span lang="TH">การเมืองการปกครอง </span>2) <span lang="TH">สภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ </span>3) <span lang="TH">ด้านการประกอบอาชีพ และ</span>4) <span lang="TH">ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างพื้นถิ่น</span></p>
พัชรีรัต หารไชย
วีระพล พลีสัตย์
พรนรินทร์ สายกลิ่น
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
23 3
1
19
10.14456/bei.2024.18
-
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/269335
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม ลักษณะทางกายภาพทางสังคมวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและองค์ประกอบภายในย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมา วิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพและแนวโน้มการพัฒนา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาย่านดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยรวบรวมข้อมูลอาคารกรณีศึกษาและวิถีชีวิตจากเจ้าของอาคาร ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากนักวิชาการ ข้อมูลโครงการและนโยบายที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐ การสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวด้วยแบบสอบถาม เพื่อนำมากำหนดทิศทางการพัฒนา จากนั้นจึงจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากกลุ่มตัวแทนทุกภาคส่วนมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งสามารถสรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ คือ 1) การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าและรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ โดยจัดทำฐานข้อมูล ประเมินคุณค่าอาคารและเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือการมอบรางวัลจากหน่วยงานทางด้านการอนุรักษ์ให้กับอาคารเก่า การกำหนดแนวทาง นโยบาย มาตรการ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่จากหน่วยงานราชการ รวมถึงการออกกฎหมายเทศบัญญัติท้องถิ่นควบคุมอาคารและพัฒนาพื้นที่ 2) การพัฒนาพื้นที่ภายในย่าน ได้แก่ การปรับปรุงอาคารสถานที่สำคัญ การสร้างพื้นที่วัฒนธรรม การปรับ ภูมิทัศน์ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การฟื้นฟูผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ การเดินชมเมืองโดยใช้แผนที่และแอพพลิเคชั่นนำเที่ยวที่ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ การจัดแพ็กเกจท่องเที่ยวหรืองานเทศกาลประจำปี ทั้งนี้ การที่จะพัฒนาย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ยั่งยืนได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ภาควิชาการ องค์กรอิสระ รวมถึงคนในชุมชน ในการขับเคลื่อนให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนา</p>
การุณย์ ศุภมิตรโยธิน
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
23 3
20
38
10.14456/bei.2024.19