สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku <div id="sponsors"> <p>วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย<br />คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จากวารสารกลุ่มที่ 2 ได้เลื่อนเป็นกลุ่มที่ 1 ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564</p> <p>Editor : ผศ. ดร. ปัทมพร วงศ์วิริยะ</p> </div> th-TH <p>ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> journalarchkku@gmail.com (Built Environment Inquiry Journal) journalarchkku@gmail.com (Built Environment Inquiry Journal ) Mon, 16 Sep 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นย่านเมืองเก่ากำแพงเพชร กรณีศึกษาถนนเทศา และถนนราชดำเนิน จังหวัดกำแพงเพชร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/268859 <p class="06-"><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรือนพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศา และถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นำไปสู่การจำแนกประเภท ถนนเทศาเป็นถนนสายแรกของเมืองกำแพงเพชรขนานไปตามลำน้ำปิงเป็นเส้นทางสัญจรทางบกที่เชื่อมกับเส้นทางสัญจรทางน้ำ ถนนราชดำเนินเส้นทางสัญจรทางบกขนานกับถนนเทศาถนนเส้นนี้ตัดเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประภาสต้น ณ เมืองกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานสิ่งปลูกสร้าง<br />ที่สำคัญมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกาย สังคม และเศรษฐกิจ ริมถนน </span>2<span lang="TH"> สายนี้ งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยจากการทบทวนเอกสาร การสำรวจ การจัดทำรังวัด สัมภาษณ์เจ้าของเรือนหรือผู้อยู่อาศัยเรือน และสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีความรู้ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศา และถนนราชดำเนิน มีความคล้ายคลึงกับเรือนภาคกลาง เรือนไทยเดิมเป็นเรือนค้าขายจะมีใต้ถุนไม่สูงมากเพื่อให้ค้าขายสะดวก แต่ยังคงอัตลักษณ์ของเรือนไทยเดิมไว้ สามารถจำแนกประเภทได้ </span>3<span lang="TH"> กลุ่ม คือ </span>1) <span lang="TH">เรือนแถวไม้ชั้นเดียว </span>2) <span lang="TH">เรือนแถวไม้ 2 ชั้น และ</span>3) <span lang="TH">เรือนคหบดีและเรือนข้าราชการ และอิทธิพลที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศาและถนนราชดำเนิน คือ </span>1) <span lang="TH">การเมืองการปกครอง </span>2) <span lang="TH">สภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ </span>3) <span lang="TH">ด้านการประกอบอาชีพ และ</span>4) <span lang="TH">ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างพื้นถิ่น</span></p> พัชรีรัต หารไชย, วีระพล พลีสัตย์, พรนรินทร์ สายกลิ่น Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/268859 Tue, 24 Sep 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/269335 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม ลักษณะทางกายภาพทางสังคมวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและองค์ประกอบภายในย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมา วิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพและแนวโน้มการพัฒนา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาย่านดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยรวบรวมข้อมูลอาคารกรณีศึกษาและวิถีชีวิตจากเจ้าของอาคาร ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากนักวิชาการ ข้อมูลโครงการและนโยบายที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐ การสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวด้วยแบบสอบถาม เพื่อนำมากำหนดทิศทางการพัฒนา จากนั้นจึงจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากกลุ่มตัวแทนทุกภาคส่วนมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งสามารถสรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ คือ 1) การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าและรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ โดยจัดทำฐานข้อมูล ประเมินคุณค่าอาคารและเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือการมอบรางวัลจากหน่วยงานทางด้านการอนุรักษ์ให้กับอาคารเก่า การกำหนดแนวทาง นโยบาย มาตรการ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่จากหน่วยงานราชการ รวมถึงการออกกฎหมายเทศบัญญัติท้องถิ่นควบคุมอาคารและพัฒนาพื้นที่ 2) การพัฒนาพื้นที่ภายในย่าน ได้แก่ การปรับปรุงอาคารสถานที่สำคัญ การสร้างพื้นที่วัฒนธรรม การปรับ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ภูมิทัศน์ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การฟื้นฟูผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ การเดินชมเมืองโดยใช้แผนที่และแอพพลิเคชั่นนำเที่ยวที่ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ การจัดแพ็กเกจท่องเที่ยวหรืองานเทศกาลประจำปี ทั้งนี้ การที่จะพัฒนาย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ยั่งยืนได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ภาควิชาการ องค์กรอิสระ รวมถึงคนในชุมชน ในการขับเคลื่อนให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนา</p> การุณย์ ศุภมิตรโยธิน Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/269335 Tue, 24 Sep 2024 00:00:00 +0700 การจัดหมวดหมู่ประเภทตราสินค้าสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/273840 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดประเภทตราสินค้า (Brand Type) ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทการประกอบกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไทย และสำรวจจำนวน SME ไทยในแต่ละประเภทตราสินค้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิง ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและการวิจัยเอกสาร เพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดหมวดหมู่ประเภทตราสินค้า นำมาสู่การสังเคราะห์และจัดประเภทตราสินค้าที่สะท้อนเจตจำนง (Purpose) ในการดำเนินกิจการ ซึ่งสามารถสื่อสารและสร้างจุดเด่นที่แตกต่างให้กับตราสินค้าของ SME ได้โดยผู้วิจัย และผ่านการพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาพบว่าประเภทตราสินค้าที่เหมาะสมกับบริบทการดำเนินกิจการของ SME ไทย มีทั้งสิ้น 7 ประเภท ได้แก่ 1) Sustainable Brand: แบรนด์ยั่งยืน 2) Disruptive Brand: แบรนด์เปลี่ยนโลก 3) Culture Brand: แบรนด์วัฒนธรรม 4) Aesthetics Brand: แบรนด์สุนทรียะ 5) Experience Brand: แบรนด์สร้างประสบการณ์ 6) Performance Brand: แบรนด์เปี่ยมประสิทธิภาพ และ 7) Value Brand: แบรนด์คุ้มค่า จากการใช้แบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME ของไทย จำนวน 2,723 ราย ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่าตราสินค้า 7 ประเภทนี้ปรากฏอยู่ใน 4 ภาคธุรกิจ คือ ภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคการเกษตร โดย Value Brand มีจำนวนมากที่สุดคิดเป็น 66% ตามด้วย Performance Brand 16.8% Aesthetics Brand 7.3% Culture Brand 5.2% Experience Brand 2.1% Disruptive Brand 1.4% และ Sustainable Brand 1.2% ตามลำดับ</p> <p><span style="font-weight: 400;">โดยประเภทตราสินค้าที่เหมาะสมกับ </span><span style="font-weight: 400;">SME </span><span style="font-weight: 400;">ไทยทั้ง 7 ประเภทนี้ สามารถสื่อสารเจตจำนงในการดำเนินกิจการ จุดเด่น และสร้างคุณค่าให้กับตราสินค้า รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้า </span><span style="font-weight: 400;">(Brand Identity Design) </span><span style="font-weight: 400;">ที่สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละประเภทตราสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่าง โดดเด่น และคุณค่าให้กับตราสินค้าของผู้ประกอบการไทยได้ต่อไป</span></p> กอบกิจ จำจด, อารยะ ศรีกัลยาณบุตร Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/273840 Tue, 24 Sep 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรสำหรับโครงการฟาร์มอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/273936 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาและออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและเรขศิลป์สำหรับโครงการฟาร์มอัจฉริยะ "KKU Farm Dee" มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้ระเบียบการดำเนินการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ&nbsp;การทบทวนวรรณกรรมจากหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและเรขศิลป์ ร่วมกับการสนทนากลุ่มโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ การตลาด และเกษตร โดยผลการวิจัยแบบออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ชื่อ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แบรนด์ สโลแกน ตราสัญลักษณ์ และลวดลายเรขศิลป์ พบว่าการออกแบบตราสัญลักษณ์และลวดลายจำเป็นจะต้องสื่อสารถึงตัวตนของแบรนด์ ความมั่นคง น่าเชื่อถือ จดจำง่าย และสามารถสื่อความหมายสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแบรนด์ โดยแนวทางการออกแบบองค์ประกอบทางเรขศิลป์สำหรับแบรนด์สินค้าเกษตรควรเน้นย้ำถึงการสื่อสารความสัมพันธ์ของแบรนด์กับผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้อัตลักษณ์องค์กรบนแพลตฟอร์มของสื่อต่างๆ ควรรักษาความสม่ำเสมอทั้งในด้านภาพลักษณ์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการวางแผนและควบคุมทิศทางการสื่อสารอย่างเป็นระบบเพื่อการสื่อสารแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อรรคพล ล่าม่วง, มนต์ธิดา เลิศนิมานรดี, ธนสิทธิ์ จันทะรี Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/273936 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้สูงอายุ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/274460 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เสมือนจริง เรื่องการตรวจน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุ 2)เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้สูงอายุต่อสื่อประชาสัมพันธ์ที่พัฒนาใหม่ โดยมีกลุ่มประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 4,161 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 1,562 คน ใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Yamane) ที่ความเชื่อมั่น 98% โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ตามมาตรประเมินค่าลิเคอร์ท (Likert scale) 5 ระดับ เครื่องมือวิจัยมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (IOC=.673; Cronbach’s Alpha=.781) พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ใหม่ในระดับพึงพอใจมาก (Mean=4.029; S.D.=.674) และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจแยกเป็นรายด้านประเมิน 3 อันดับแรก คือ 1)ช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพในผู้สูงอายุ มีระดับพึงพอใจมากที่สุด (Mean=4.479; S.D.=.574) 2)ภาพประกอบสื่อประชาสัมพันธ์มีความสวยงาม มีระดับพึงพอใจมากที่สุด (Mean=4.426; S.D.=.606) 3)ช่วยส่งเสริมความรู้สึกที่ตนเองต้องดูแลสุขภาพ มีระดับพึงพอใจมากที่สุด (Mean=4.374; S.D.=.731) เป็นต้น เมื่อวิเคราะห์ EFA ปรากฏค่า KMO=.498 และค่า Bartlett’s Test ระดับ Sig.=.000 ซึ่งทั้ง 15 ตัวแปร มีความความสัมพันธ์กันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความพึงพอใจในผู้สูงอายุต่อสื่อประชาสัมพันธ์ใหม่ มีค่า Communalities = .603-.860 พบว่า ปัจจัยการสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของกลุ่มผู้สูงอายุมี 6 ปัจจัย คือ ปัจจัย 1 ความรู้สึกใส่ใจต่อสุขภาพผู้สูงอายุ, ปัจจัย 2 คุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์, ปัจจัย 3 การดูแลสุขภาพ, ปัจจัย 4 ความตระหนักรู้ในการตรวจเลือด, ปัจจัย 5 ความกลมกลืนของเนื้อหา และปัจจัย 6 การสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นต้น</p> เจนจิรา หาญยืน, พจนา โพธิ์จันดี, สมชาย เซะวิเศษ, ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/274460 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 การอ่านแบบแปลนในงานออกแบบชุมชนเมืองที่สื่อถึงการจัดวางขอบเขตแบบจำแนกเฉพาะ และแบบครอบคลุม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/272093 <p>การทำแผนที่รูปพื้นดิน (figure-ground mapping) เป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการวางผังที่ดินและเมือง ซึ่งระบุขอบเขตเชิงพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากกฎการแบ่งเขต สถาปนิกใช้เทคนิคที่คล้ายกันในการสร้างความแตกต่างของ Poché เพื่อถ่ายทอดความตั้งใจในการออกแบบ การถอดเนื้อหาผ่าน 'แผนผัง' นี้ กำหนดความสัมพันธ์ภายในขอบเขตเฉพาะพื้นที่ภายในและขยายวงออกทั่วทั้งเมือง แนวโน้มการขยายตัวของเมืองพยามก้าวไปสู่ระบบการอยู่อาศัยที่หนาแน่นในรูปแบบสถาปัตยกรรมแนวตั้ง โดยเฉพาะโครงการที่ถูกขับเคลื่อนหรือร่วมสนับสนุนโดยหน่วยงานของรัฐ ที่เน้นให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้มีแนวโน้มที่จะกำหนดขอบเขต 'พิเศษเฉพาะ' แนวโน้มของการรักษาความไม่เท่าเทียมทางสังคมนี้ จำกัดพลเมืองส่วนมากทั่วไปให้อยู่ในโซนที่ถูกวางแบบแผนกำหนดไว้เท่านั้น</p> <p>การจัดแบ่งขอบเขตด้วยการวาดแผนผังพื้นดินซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางสังคม “รูปแบบพิเศษ” นี้ จะแบ่งออกเป็น 3 เงื่อนไข ได้แก่ เส้นสายที่กำหนดการแบ่งแยกอย่างชัดเจน (a1) ชุมทางแยกเชื่อมที่มิดชิดไร้รอยต่อ (a2) และนิยามรัดกุมในการจัดกลุ่มเครือข่าย (a3)&nbsp; ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกขั้วของการแบ่งขอบเขตคือ “รูปแบบครอบคลุม” เช่นความเป็นมาของการออกแบบชุมชนเมืองยุคหลังสมัยใหม่ เน้นการใช้ชีวิตที่กลมกลืนและคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกัน ยุทธวิธีการครอบคลุมนี้จะสำแดงร่องรอยของคุณลักษณะความเป็นเอกภาพ (b1) สลายความรัดกุมตามจุดแยกหรือจุดเชื่อมต่อ (b2) และทำให้น้ำหนักของนิยามการจัดกลุ่มเจือจางลง (b3)</p> <p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจว่าเงื่อนไขของขอบเขตที่อธิบายผ่านแผนผังพื้นที่ดินว่าจะมีอิทธิพลต่อบริบททางสังคมและกายภาพอย่างไร การวิเคราะห์การออกแบบชุมชนเมืองและโครงการสถาปัตยกรรม การศึกษานี้จะตรวจสอบความผันผวนระหว่างการแบ่งเขตแบบพิเศษและแบบครอบคลุมรวม การค้นพบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกสำหรับการกำหนดคุณสมบัติพิเศษ และเพื่อสร้างสมดุลระหว่างกระบวนการออกแบบเมืองและสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนขึ้นในปัจจุบัน</p> ธนัฐวัสส์ วงศ์ทิมารัตน์, ลิขิต กิตติศักดินันท์ Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/272093 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมจากผักตบชวา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/270747 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำผักตบชวาที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันซึ่งมีคุณสมบัติเด่นทางด้านองค์ประกอบทางเคมี และมีเส้นใยเซลลูโลสจำนวนมาก มาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความร้อนของกรอบอาคารในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่จะช่วยลดปริมาณการใช้คอนกรีต และวัสดุสังเคราะห์ทดแทนการใช้วัสดุกันความร้อนที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟมโพลียูลีเทน โพลีสไตรีน ฉนวนใยแก้ว แผ่นยิปซั่มและ สีเคลือบสะท้อนความร้อน เป็นต้น ทำการศึกษาศักยภาพในการพัฒนาเป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดไม่รับน้ำหนัก ประกอบด้วย การผลิตแผ่นวัสดุตัวอย่างที่มี 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดกว้าง 20 x ยาว 20 x หนา 7.5 เซนติเมตร ขนาดลูกบาศก์ 15 เซนติเมตร และขนาดลูกบาศก์ 5 เซนติเมตร ที่มีอัตราส่วนผสมของ ซีเมนต์ : ทราย : น้ำ เท่ากับ 1 : 1.5 : 0.5 และมีการใส่ผักตบชวาในอัตราส่วนต่าง ๆ กันรวม 5 สูตร (A1 – A5) ได้แก่ 0.08 , 0.1, 0.125 , 0.15 และ 0.175 ตามลำดับ เพื่อทดสอบการขึ้นรูป หาค่าความหนาแน่น การดูดซึมน้ำ การนำความร้อน (k) การต้านแรงอัด และแรงดัด ผลการทดสอบพบว่าทุกสูตร มีค่าการนำความร้อน ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงพลังงาน โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.3 - 0.47 W/m.K และมีค่าการต้านแรงอัดชิ้นวัสดุตัวอย่างทดสอบเฉลี่ยที่อายุ 28 วัน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. 58-2533 เพียงเล็กน้อย (≥2.5 เมกะพลาสคัล) โดยสูตร A1 มีค่าใกล้เคียงค่ามาตรฐานมากสุด (1.89 เมกะพลาสคัล) และมีค่าการดูดซึมน้ำที่ (ร้อยละ 15.86) ซึ่งใกล้เคียงค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2226-2548 (≤ร้อยละ14) ผลการทดสอบในภาพรวมยืนยันว่าเส้นใยจากผักตบชวามีศักยภาพในการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อการนำไปใช้ในอนาคต</p> กุลวดี ปิติวิทยากุล, โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์, ณัฏรี ศรีดารานนท์ Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/270747 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 อัตลักษณ์สถานที่ของสวนสุนัขแบบไม่ทางการ : กรณีศึกษาพื้นที่ว่างในกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/270262 <p> จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยในปัจจุบันโครงสร้างของครัวเรือน “ไร้ลูกหลาน” มีอัตรา<br />การเติบโต (growth rate) ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับตลาดสัตว์เลี้ยงที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่าการเลี้ยงสัตว์เป็น<br />ส่วนหนึ่งของการสร้างความเป็นครอบครัวในครัวเรือนไร้ลูกหลาน ซึ่ง “สุนัข” เป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยมที่สุด สุนัขกลายเป็นส่วน<br />หนึ่งของครอบครัวเสมือนเป็นภาพตัวแทนบุตร สุนัขจึงถูกให้ความสำคัญ ใส่ใจในทุกรายละเอียด ทั้งสุขภาพอนามัยและชีวิต<br />ความเป็นอยู่ รวมถึงส่งเสริมให้ได้ออกกำลังกายปลดปล่อยพลังงานอย่างอิสระ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องการพื้นที่ พื้นที่นั้นต้อง<br />ส่งเสริมให้กิจกรรมดำเนินได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตามพื้นที่สาธารณะในไทยปัจจุบันมักไม่ได้รองรับการใช้งานของกลุ่มคน<br />เลี้ยงสุนัขอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการใช้พื้นที่ลักษณะสวนสุนัขแบบไม่ทางการขึ้น ดังเช่นบริเวณพื้นที่ว่างในกระทรวง<br />สาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ซึ่งกลายเป็นแหล่งพบปะของกลุ่มคนรักสุนัข การวิจัยพื้นที่ดังกล่าวพบว่าคุณลักษณะทางกายภาพ<br />กิจกรรมและความหมาย ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติส่งเสริมให้เกิดอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการ ที่สะท้อนให้เห็นถึง<br />คุณภาพของพื้นที่<br />งานวิจัยนี้มุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์สถานที่ของสวนสุนัขแบบไม่ทางการของกลุ่มคนรักสุนัข โดยใช้การ<br />วิเคราะห์แบบตีความ การวิจัยแสดงเห็นว่าคุณลักษณะทางกายภาพ กิจกรรมและความหมาย เป็นปัจจัยนำไปสู่ความเป็น<br />อัตลักษณ์สถานที่ของสวนสุนัขแบบไม่ทางการ สร้างความเข้าใจพื้นที่สำหรับกิจกรรมรูปแบบเฉพาะของกลุ่มคนรักสุนัข นำไปสู่<br />แนวทางในการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับสัตว์เลี้ยงที่สามารถตอบโจทย์การอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชน<br />สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป</p> เกดสุดา เมธีวิวัฒน์, ณรงพล ไล่ประกอบทรัพย์, คัทลียา จิรประเสริฐกุล Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/270262 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 แผ่นวัสดุดูดซับเสียงจากเส้นใยชานอ้อย และวัสดุประสานจากธรรมชาติ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/270768 <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำเส้นใยชานอ้อยที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากโรงงานอุตสาหกรรม และวัสดุประสานจากธรรมชาติ (น้ำยางพารา และยางบง) มาพัฒนาเป็นแผ่นวัสดุรองพื้นดูดซับเสียงภายในอาคาร เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากวัสดุธรรมชาติ 100% โดยการผลิตแผ่นตัวอย่างที่กำหนดให้มีความหนาแน่น 400 กก./ลบ.ม. และมีอัตราส่วนโดยน้ำหนักของ ชานอ้อย: น้ำยางพารา: ยางบง: น้ำ ที่แตกต่างกัน ทำการขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดร้อนที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส แรงดัน 100 กก./ตร.ซม. เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นทำการทดสอบค่าความหนาแน่น การรับแรงดัด การรับแรงดึง และการดูดซับเสียง เปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547)</p> <p>ผลทดสอบพบว่าแผ่นที่มีอัตราส่วนผสม (โดยน้ำหนัก) ของชานอ้อย:ยางพารา เท่ากับ 60:40 และยางบง:น้ำ เท่ากับ 1:3 โดยอัตราส่วนของยางบงเท่ากับ 10% ของน้ำหนักชานอ้อย และยางพารา นั้นมีคุณสมบัติในภาพรวมดีที่สุดคือมีการรับแรงดัดเท่ากับ 1.415 MPa แรงดึงเท่ากับ 0.203 MPa และการดูดซับเสียงด้านผิวขรุขระเท่ากับ 0.325 NRC มีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาต่อยอดมากที่สุด จากผลการทดสอบจะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำ เส้นใยธรรมชาติจากชานอ้อยไปพัฒนาต่อยอดเป็นแผ่นรองพื้นภายในอาคารที่สามารถดูดซับเสียงและป้องกันเสียงกระแทกจากของตกหล่นภายในอาคารได้ อย่างไรก็ตามควรพัฒนาคุณสมบัติด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นรวมถึงคุณสมบัติด้านการลามไฟเพื่อการนำไปใช้งานในอนาคต</p> ณัฐณิชา ภมะราภา, ณัฏรี ศรีดารานนท์, โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/270768 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700