@article{ตั้งเรือนรัตน์_2020, title={การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลาง}, volume={5}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/217280}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลาง โดยแบ่งแนวการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนของการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางทั้งในสายตะวันตกและสายตะวันออก และ 2) ส่วนของการวิเคราะห์แบ่งประเภทของความเป็นกลาง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางแบ่งเป็นสองแนว คือแนวคิดเชิงอภิปรัชญาและแนวคิดเชิงสังคมประยุกต์  แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางในสายตะวันตกมักเป็นแนวคิดเชิงสังคมประยุกต์  เช่น หลักความยุติธรรมของเพลโต หลักความพอดีของศาสนายูดาห์ เป็นต้น ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางในสาย ตะวันออกมักเป็นแนวคิดเชิงอภิปรัชญา เช่น หลักจุง-หยุง  ของขงจื๊อ หลักโยคะ ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หลักมัชเฌนธรรมของพุทธศาสนา เป็นต้น</p> <p>ในส่วนของการวิเคราะห์แบ่งประเภทของความเป็นกลาง พบว่ามีรูปแบบความเป็นกลางทั้งหมด 9 ประเภท คือ ประเภทกึ่งกลาง ประเภทเท่ากัน ประเภทสมดุล ประเภทไม่เอนเอียง ประเภทเสมอภาค ประเภทดุลยภาพ ประเภทยุติธรรม ประเภทพอประมาณและประเภทไม่ยึดติด โดยความเป็นกลางทั้ง 9 ประเภทสามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ๆออกมาได้ 2 หมวดหมู่ คือ ความเป็นกลางสัมบูรณภาพ และความเป็นกลางสัมพัทธภาพ</p>}, number={1}, journal={พุทธมัคค์}, author={ตั้งเรือนรัตน์ ขวัญชัย}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={25–32} }