@article{ปนฺตนนฺโท_2020, title={การพัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่างประเทศ}, volume={5}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/242307}, abstractNote={<p>การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศได้เริ่มต้นจากคนไทยที่ไปประกอบอาชีพอยู่ต่างประเทศ ซึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องการที่พึ่งทางจิตใจจึงนำความเป็นชาวพุทธและพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่และอุปัฏฐากพระภิกษุที่อาราธนามาจากประเทศไทยเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ ด้วยเหตุที่ชาวพุทธในต่างประเทศมีการปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรมและมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้รับการขนานนามว่า “ธรรมทูตคฤหัสถ์” และการที่พระภิกษุซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองได้เพราะคฤหัสถ์ชาวพุทธให้การเกื้อหนุนอุปัฏฐากอุปถัมภ์และดูแลทุกอย่าง อีกทั้งพระภิกษุจะไม่สามารถเผยแผ่ได้อย่างเต็มที่ ถ้าไม่มีคฤหัสถ์ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และเมื่อคฤหัสถ์ได้พัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตแล้วเผยแผ่คำสอนแก่บุคคลใกล้ชิดให้ได้เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศด้วยแล้วธรรมทูตคฤหัสถ์ชาวพุทธถือว่ามีบทบาทสำคัญที่ช่วยสื่อสารทำให้คนท้องถิ่นเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมีพัฒนาการไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น บทความนี้นำเสนอการพัฒนาศักยภาพการเผยแผ่, ความเป็นมาของธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่, ธรรมทูตคฤหัสถ์กับการเผยแผ่ และการพัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ</p>}, number={2}, journal={พุทธมัคค์}, author={ปนฺตนนฺโท พระมหาไพฑูรย์}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={69–78} }