@article{ทวีสิน_2021, title={การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาวอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด}, volume={6}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/244419}, abstractNote={<p>สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการประสานความร่วมมือ  ดังนั้น  การที่จะให้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ของชุมชนยังคงอยู่สืบไปต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในทุกภาคส่วน และพัฒนาความร่วมมือนั้นให้อยู่ในระดับอุดม การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่”และเพื่อหาแนวทางในการการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลจากภาคสนาม  ด้วยการ  สำรวจ  สังเกตผู้มีส่วนร่วม   สัมภาษณ์ผู้รู้  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย  กลุ่มผู้รู้  จำนวน  26  คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ  10  คน กลุ่มบุคคลทั่วไป  จำนวน  6  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์  ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  และนำข้อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า  ปัญหาที่พบในการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด คือ ขาดการประสานความร่วมมือกับชุมชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา  การวางแผนการดำเนินงาน  การลงทุนและปฏิบัติงาน  การติดตามและประเมินผล โดยการใช้กลยุทธ์คือ  การประชุมกลุ่มย่อย  การมีส่วนร่วมสรุปผล  การอภิปรายผล  ร่วมกันในการแสดงความคิดเป็น ผู้ศึกษาค้นคว้าและกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า เพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด มีปัจจัยที่ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมที่สำคัญ  4  ประการคือ ค่าตอบแทนในการเข้าร่วมเซิ้งผ้าหมี่  งบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้ออุปการณ์เซิ้งผ้าหมี่  จุดศูนย์รวมและหน่วยงานที่รับผิดชอบการเซิ้งผ้าหมี่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเซิ้งผ้าหมี่   และ แนวทางการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” มีขั้นตอนทั้งสิ้น 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ - สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน  การวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต  การกำหนดกิจกรรม  การดำเนินกิจกรรม   และ  การประเมินผล  จะทำให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาประเพณีเซิ้งผ้าหมี่ ชุมชนเกิดความเข้มแข็งพร้อมเผยแพร่ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ให้ออกสู่สาธารณะชนทั่วไป</p>}, number={1}, journal={พุทธมัคค์}, author={ทวีสิน ณฐนนท}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={165–176} }