@article{เพ็งพรหม_สมานญาติ_ฐิตสาโร_2022, title={รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์}, volume={7}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/249157}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ วิธีการศึกษาเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 16 รูป/คน ในเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ผู้ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น จำนวน 368 รูป/คน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตรวจสอบหาค่าความสอดคล้องของข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนา เป็นการนำหลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ควบคู่กับการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปเพื่อให้การบริหารงานบุคคลนั้นเป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์ คือเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อประโยชน์สุขต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในองค์กร ส่วนรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ POLC-2D CYCLE MODEL ประกอบด้วย 4 หลัก 2 ฐาน 4 วงจร ดังนี้ 4 หลัก ได้แก่ P-Planning : การวางแผน, O-Organizing : การจัดองค์กร, L-Leading : การนำ, C-Controlling : การควบคุม 2 ฐาน ได้แก่ ฐานคุณธรรมสำหรับการบริหารตนและการบริหารงานบุคคลตามแนวพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ฐานที่ 1 (D1 - Dhamma1 = Aparihaniyadhamma) คือ อปริหานิยธรรม 7 เพื่อการบริหารงานบุคคล ฐานที่ 2 (D2 - Dhamma2 = Brahma Vihara Dharmas) คือ พรหมวิหารธรรม 4 เพื่อการบริหารตน 4 วงจร ได้แก่ ระบบการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยว่าด้วย การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ประกอบด้วย 1) การได้มาซึ่งบุคลากร 2) การบำรุงรักษาบุคลากร 3) การพัฒนาบุคลากร และ 4) การให้บุคลากรพ้นออกจากงาน</p>}, number={1}, journal={พุทธมัคค์}, author={เพ็งพรหม เอกลักษณ์ and สมานญาติ สุพรรณี and ฐิตสาโร พระมหาสหัส}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={192–203} }