@article{ชวลิตธาดา_2022, title={สรรถนะด้านอาชีพต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ}, volume={7}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/249165}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ 2. เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 1) ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ /ครูวิชาการ/ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 181 คน 2) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 181 คน  3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 839 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 701 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   </p> <p>ผลการวิจัยการศึกษาการบริหารจัดการการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพในภาพรวม พบว่า 1. การศึกษาวิธีการและกระบวนการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. การศึกษาสมรรถนะด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ ในภาพรวมมีสมรรถนะอยู่ในระดับมาก 3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>}, number={1}, journal={พุทธมัคค์}, author={ชวลิตธาดา สมชัย}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={1–9} }