TY - JOUR AU - แสงมะโน, สุรวุฒิ AU - ธีรวโร , พระปลัดวสันต์ AU - ธรรมบุตร , บัญชา AU - ไทยมิตร, แสงอาทิตย์ AU - กุมพล, พระพจนันท์ PY - 2020/12/30 Y2 - 2024/03/29 TI - พระพุทธเจ้าชนะมารในปรัชญา 5 กระบวนทัศน์ JF - พุทธมัคค์ JA - Buddhamagga VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241187 SP - 51-60 AB - <p>ท่านเชื่อในเรื่องอภินิหารหรือไม่ ?&nbsp; ในบทสวดพุทธชยมงคลคาถา ซึ่งเป็นบทสรรเสริญถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ 8 ครั้งของพระพุทธเจ้าที่ทรงเอาชนะมารในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างราบคาบ พระคาถาบทนี้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาในบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายตลอดมาแต่ครั้งโบราณกาล&nbsp; โดยนำไปใช้สวดในพิธีต่าง ๆ มากมาย หรือแม้แต่ในพิธีหลวงก็เช่นกัน ถึงแม้จะมีบางคนสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะมารมากมายเหล่านี้ได้อย่างไร&nbsp; แต่ก็ไม่มีใครกล้าตั้งคำถามขึ้นมา เพราะคงจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับสังคมนั้นทันที&nbsp; ความเชื่อเช่นนี้ก็มีอยู่ศาสนาเทวนิยมอื่น ๆ ด้วยเช่น คริสต์ และอิสลาม เป็นต้น เพราะศาสนาเหล่านี้เชื่อในอภินิหารของพระผู้เป็นเจ้า ว่าสามารถดลบันดาลสิ่งใดๆ ให้เกิดกับชีวิตมนุษย์ได้&nbsp; กระบวนทัศน์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับความเชื่อในปาฏิหาริย์จึงมีอยู่เสมอ&nbsp; แต่ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย&nbsp; โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม การศึกษา เพศ วัย สภาพสังคม และความคิดของคนในยุคนั้น ๆ ดังนั้น ทฤษฎีปรัชญาจึงแบ่งกระบวนทัศน์เหล่านี้ในแต่ละยุคเรียกว่า “ปรัชญา 5 กระบวนทัศน์” เพื่อที่จะอธิบายกระบวนทัศน์เหล่านั้นให้ชัดเจน&nbsp; &nbsp;&nbsp;และทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะใช้สติปัญญาอย่างต่อเนื่องของมนุษย์ ผู้เป็นเวไนยสัตว์และประเสริฐกว่าสัตว์อื่นๆ สำหรับชาวพุทธแล้ว กระบวนทัศน์ที่ใช้เหตุและผลอย่างมีสติปัญญารู้คิด กอปรกับมีศรัทธาอันมั่นคงในอภินิหารของพระพุทธเจ้าที่ปรากฎอยู่ในพุทธชยมงคลคาถานี้&nbsp;&nbsp; ก็ย่อมทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ว่า สาระที่แท้จริงของพระคาถานั้นอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมที่ทรงเอาชนะต่อมารทั้งหลาย&nbsp;&nbsp; และพระองค์ทรงกระทำเป็นแบบอย่างให้ปรากฎ&nbsp; เมื่อนั้น ศรัทธาที่มีอยู่ย่อมพัฒนาไปสู่ปัญญาที่ถูกต้องแท้จริงคือ “สัมมาทิฐิ”&nbsp; อันเป็นหนึ่งในอริยมรรค 8 ซึ่งจะนำไปสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ในที่สุดนั่นเอง</p> ER -