TY - JOUR AU - สารรัตน์, ธันยพงศ์ AU - แก้วสมุทร์, สาคร AU - ทับทิมศรี, อรพร AU - รุ้งแก้ว, นาฎอนงค์กร PY - 2020/12/30 Y2 - 2024/03/29 TI - พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ JF - พุทธมัคค์ JA - Buddhamagga VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/243516 SP - 105-120 AB - <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษากระบวนการสร้าง การสืบทอด การเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) จัดการองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ข้อให้เป็นระบบ อยู่ในสภาพพร้อมใช้และเข้าถึงได้ง่าย</p><p>ผลการศึกษาพบว่า อาณาบริเวณบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของพวกขอมและลาวตามลำดับ และได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชนมาตั้งบ้านแปงเมืองแถบนี้ และได้รับบรรดาศักดิ์ให้ปกครองบ้านเมือง ผนวกกับความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และที่ตั้งสัมพันธ์ ส่งผลให้พื้นที่แถบนี้มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่สืบเนื่องตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัฐไทยปัจจุบัน และส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาในเวลาต่อมา</p><p>ภูมิปัญญาที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นแห่งนี้ ซึ่งเป็นผลผลิตของความพยายามที่จะดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และสังคม ซึ่งประกอบด้วยประชากรอย่างน้อย 2 กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ๆ คือ ลาวและเขมร อาจตระหนักในคุณค่าของกันและกัน ได้แก่ ภูมิปัญญาการรำแม่มด (บ้านจะกุด) ภูมิปัญญาการสานหมวกและทอเสื่อกก (บ้านหนองบัว) และภูมิปัญญาการย้อมผ้าจากผลกระเบาและการทำเกวียน (บ้านกระเบา) ซึ่งวัฒนธรรมภูมิปัญญาทั้ง 4 ด้านนี้ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ สืบทอด เปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน</p> ER -